ไม่ใช่ที่ชาติไทยเท่านั้น หากแต่ชาติไหนก็ตามมีรัฐบาลชั่วสมคบกับต่างชาติ ทำการข่มเหงและโกงชาติบ้านเมือง ที่นั่นจะต้องไม่สงบและจะเกิดการเปลี่ยนแปลงไม่เร็วก็ช้าครับ!
“คาร์ล มาร์กซ์” กับ “เฟรเดอริค เองเกลส์” เป็นสองสหายที่ให้กำเนิด “ลัทธิมาร์กซิสต์” หรือ “ลัทธิคอมมิวนิสต์” ซึ่งชาติลัทธิทุนนิยมสามานย์ทั้งหลาย ต่างหวาดกลัว “ปีศาจคอมฯ” จนขี้ขึ้นสมอง..
ธันวาคม ค.ศ. 1848 (พ.ศ.2391) หรือ 165 ปีที่แล้ว มาร์กซ์ ตีพิมพ์ “แถลงการณ์พรรคคอมมิวนิสต์” (The Communist Manifesto) เพื่อเสนอหลักการสังคมนิยมคอมมิวนิสต์ต่อชาวโลก
แต่ “กรุงโรมไม่ได้สร้างเสร็จในวันเดียว” แม้ “มาร์กซ์-เองเกลส์” จะพยายามให้เกิดการปฏิวัติ แต่ก็ยังไม่เกิดรัฐคอมมิวนิสต์ขึ้นบนโลกใบนี้ เพราะลัทธิคอมมิวนิสต์ยังเป็นแค่ “อาหารสมอง” และแบบ “ฝึกหัดการลุกขึ้นสู้” ของชนผู้ยากไร้ทั้งโลกเท่านั้น
จนช่วงสงครามโลกครั้งที่ 1 (World War 1) ระหว่างวันที่ 28 กรกฎาคม 1914 ถึง 11 พฤศจิกายน 1918 (พ.ศ. 2457 ถึง พ.ศ. 2461) ทำให้ความยากจนระบาดไปทั่วรัสเซีย เป็นเงื่อนไขให้ “วลาดิมีร์ เลนิน” (Vladimir Lenin) นักทฤษฎีมาร์กซิสต์และนักปฏิวัติผู้ชาญฉลาด หัวหน้าพรรคบอลเชวิก นำประชาชนลุกขึ้นสู้จนชนะ จน “สหภาพสาธารณรัฐสังคมนิยมโซเวียต” ก่อเกิดขึ้นบนโลกใบนี้ในปี ค.ศ. 1917 (พ.ศ.2460)
เลนินจึงก้าวขึ้นสู่ตำแหน่งนายกรัฐมนตรี รัฐสังคมนิยมคอมมิวนิสต์ที่ยิ่งใหญ่แห่งแรกของโลก ที่ปักหลักสนับสนุนนักปฏิวัติไปทั่วโลก ให้ลุกขึ้นสู้กับรัฐทุนนิยมสามานย์ ซึ่งมีชาติอเมริกาเป็นหัวหน้าใหญ่
เลนินเป็นแรงบันดาลใจของนักปฏิวัติโลก รวมทั้งนักปฏิวัติชาวละตินอเมริกาทั้งหลาย ที่มีรัฐบาลคอยกดขี่ปราบปรามประชาชนของตนเอง และร่วมกับต่างชาติปล้นทรัพยากรอันมีค่ากันอย่างโจ๋งครึ่ม
คิวบาก็เป็นอีกแห่งหนึ่งที่มีการลุกขึ้นสู้กับรัฐบาลเผด็จการทหาร เพราะชาวคิวบาส่วนใหญ่ยากจนจนขาดปัจจัย 4 นั่นคือ อาหาร-เครื่องนุ่งห่ม-ที่อยู่อาศัย-ยารักษาโรค ฯลฯ
คิวบา (Cuba) มีประชากรประมาณ 10 กว่าล้านคน เป็นเกาะที่ตั้งอยู่ในทะเลแคริบเบียน ทิศเหนือใกล้ประเทศเม็กซิโก ทิศใต้ใกล้ประเทศอเมริกา โดยจุดขุดเจาะน้ำมันที่คิวบาให้สัมปทานกับจีนนั้น ห่างจากรัฐฟลอริดาของอเมริกาแค่ 95 กิโลเมตรเท่านั้น
การปฏิวัติเปลี่ยนแปลงการปกครองคิวบา ในปี ค.ศ. 1959 (พ.ศ. 2502) สาเหตุสำคัญมาจากอเมริกาเข้าครอบงำคิวบาทางด้านเศรษฐกิจและการเมือง ตั้งแต่ต้นคริสต์ศตวรรษที่ 20 โดยบริษัทอเมริกันและบริษัทต่างชาติอื่นๆ ได้เข้าไปลงทุนขยายกิจการปลูกอ้อย และทำอุตสาหกรรมผลิตน้ำตาล จนผู้ผลิตรายย่อยกับระดับชาติของคิวบา ต้องปิดกิจการกันเป็นจำนวนมาก
สถิติช่วงปี ค.ศ. 1959 (พ.ศ. 2502) ระบุว่า บริษัทอเมริกันได้เป็นเจ้าของโรงงานผลิตน้ำตาลใหญ่ที่สุดถึง 9 ใน 10 แห่งของคิวบาเลยหล่ะ
เท่านั้นไม่พอ บริษัทอเมริกันยังเป็นเจ้าของกิจการน้ำมัน และเหมืองแร่เกือบทั้งหมด เป็นเจ้าของกิจการไฟฟ้า และโทรศัพท์อีกถึงร้อยละ 90 รวมทั้งกิจการรถไฟอีกร้อยละ 50 กิจการธนาคารอีกร้อยละ 25 อีกด้วย
แต่ละปีคิวบาต้องนำเข้าสินค้ามหาศาลจากอเมริกา ทำให้คิวบาต้องพึ่งพาอเมริกา ซึ่งเป็นอุปสรรคต่อการพัฒนาอุตสาหกรรมขั้นเริ่มต้นของคิวบา สภาพเช่นนี้ทำให้เศรษฐกิจคิวบา ได้ถูกครอบงำและกำหนดโดยประเทศอเมริกาอย่างแท้จริง
ส่วนทางการเมืองนั้น ผู้บริหารชาติและข้าราชการคิวบาระดับต่างๆ ก็ตกอยู่ใต้อิทธิพลของชาติอเมริกา โดยไม่มีมาตรการช่วยเหลือนายทุนคิวบา และมิได้ปกป้องผลประโยชน์ชาติแม้แต่น้อย
นั่นทำให้ประชาชนชาวคิวบาไม่พอใจ รัฐบาลเผด็จการทหารของประธานาธิบดีบาติสตา ที่ทำตัวเป็นขี้ข้าอเมริกาและต่างชาติ อีกทั้งยังคอยแต่ปราบปรามเข่นฆ่า ประชาชนชาวคิวบาที่มีความเห็นแตกต่างทางการเมืองกับรัฐบาลเผด็จการทหารบาติสตาอยู่ตลอดเวลา
วันที่ 26 กรกฎาคม ค.ศ. 1953 (พ.ศ. 2496) ฟิเดล คาสโตร นักปฏิวัติชาวคิวบาจึงนำกองกำลังติดอาวุธกว่า 100 คน บุกเข้าโจมตีค่ายทหาร “มอนกาดา” (Moncada) ที่เมืองซานติอาโก เด กูบา แต่ต้องพ่ายแพ้แก่ฝ่ายทหารของรัฐบาล ทว่าการกระทำครั้งนั้น ได้กลายเป็นจุดเริ่มต้นการปฏิวัติโค่นล้มประธานาธิบดีบาติสตา และเป็นที่มาของ “ขบวนการ 26 กรกฎาคม”
ครั้งนั้น ฟิเดล คาสโตร และน้องชาย ราอูล คาสโตร ถูกจับและถูกพิพากษาให้จำคุกเป็นเวลา 15 ปี แต่ในเดือนพฤษภาคม ค.ศ. 1955 (พ.ศ. 2498) กลุ่มของคาสโตรได้รับการอภัยโทษ จึงได้เดินทางไปอเมริกาและเม็กซิโก ก่อนจะเดินทางกลับมาปฏิวัติที่คิวบาอีกครั้งหนึ่ง
2 ธันวาคม ค.ศ. 1956 (พ.ศ. 2499) ฟิเดล คาสโตร และ เช กูวารา ซึ่งพบกันที่ประเทศเม็กซิโก ได้นำกองกำลังติดอาวุธ 82 คน เดินทางจากเม็กซิโกมาขึ้นฝั่ง ที่จังหวัด “โอเรียนเต” ของคิวบา แต่เพราะเป็นคืนเดือนมืดพวกเขาจึงขึ้นฝั่งผิดจุดนัดหมายกันไว้ จึงปะทะกับทหารของรัฐบาลบาติสตา จนกองกำลังคาสโตรและเชรอดชีวิตมาได้เพียงแค่ 12 คน ทั้งหมดต้องหนีไปยึดเทือกเขา “มาเอสตรา” เป็นฐานทำการปฏิวัติคิวบาต่อไป
อ่านต่อฉบับหน้าว่า..คาสโตรและเชปฏิบัติการยึดคิวบาได้อย่างไรนะครับ!
“คาร์ล มาร์กซ์” กับ “เฟรเดอริค เองเกลส์” เป็นสองสหายที่ให้กำเนิด “ลัทธิมาร์กซิสต์” หรือ “ลัทธิคอมมิวนิสต์” ซึ่งชาติลัทธิทุนนิยมสามานย์ทั้งหลาย ต่างหวาดกลัว “ปีศาจคอมฯ” จนขี้ขึ้นสมอง..
ธันวาคม ค.ศ. 1848 (พ.ศ.2391) หรือ 165 ปีที่แล้ว มาร์กซ์ ตีพิมพ์ “แถลงการณ์พรรคคอมมิวนิสต์” (The Communist Manifesto) เพื่อเสนอหลักการสังคมนิยมคอมมิวนิสต์ต่อชาวโลก
แต่ “กรุงโรมไม่ได้สร้างเสร็จในวันเดียว” แม้ “มาร์กซ์-เองเกลส์” จะพยายามให้เกิดการปฏิวัติ แต่ก็ยังไม่เกิดรัฐคอมมิวนิสต์ขึ้นบนโลกใบนี้ เพราะลัทธิคอมมิวนิสต์ยังเป็นแค่ “อาหารสมอง” และแบบ “ฝึกหัดการลุกขึ้นสู้” ของชนผู้ยากไร้ทั้งโลกเท่านั้น
จนช่วงสงครามโลกครั้งที่ 1 (World War 1) ระหว่างวันที่ 28 กรกฎาคม 1914 ถึง 11 พฤศจิกายน 1918 (พ.ศ. 2457 ถึง พ.ศ. 2461) ทำให้ความยากจนระบาดไปทั่วรัสเซีย เป็นเงื่อนไขให้ “วลาดิมีร์ เลนิน” (Vladimir Lenin) นักทฤษฎีมาร์กซิสต์และนักปฏิวัติผู้ชาญฉลาด หัวหน้าพรรคบอลเชวิก นำประชาชนลุกขึ้นสู้จนชนะ จน “สหภาพสาธารณรัฐสังคมนิยมโซเวียต” ก่อเกิดขึ้นบนโลกใบนี้ในปี ค.ศ. 1917 (พ.ศ.2460)
เลนินจึงก้าวขึ้นสู่ตำแหน่งนายกรัฐมนตรี รัฐสังคมนิยมคอมมิวนิสต์ที่ยิ่งใหญ่แห่งแรกของโลก ที่ปักหลักสนับสนุนนักปฏิวัติไปทั่วโลก ให้ลุกขึ้นสู้กับรัฐทุนนิยมสามานย์ ซึ่งมีชาติอเมริกาเป็นหัวหน้าใหญ่
เลนินเป็นแรงบันดาลใจของนักปฏิวัติโลก รวมทั้งนักปฏิวัติชาวละตินอเมริกาทั้งหลาย ที่มีรัฐบาลคอยกดขี่ปราบปรามประชาชนของตนเอง และร่วมกับต่างชาติปล้นทรัพยากรอันมีค่ากันอย่างโจ๋งครึ่ม
คิวบาก็เป็นอีกแห่งหนึ่งที่มีการลุกขึ้นสู้กับรัฐบาลเผด็จการทหาร เพราะชาวคิวบาส่วนใหญ่ยากจนจนขาดปัจจัย 4 นั่นคือ อาหาร-เครื่องนุ่งห่ม-ที่อยู่อาศัย-ยารักษาโรค ฯลฯ
คิวบา (Cuba) มีประชากรประมาณ 10 กว่าล้านคน เป็นเกาะที่ตั้งอยู่ในทะเลแคริบเบียน ทิศเหนือใกล้ประเทศเม็กซิโก ทิศใต้ใกล้ประเทศอเมริกา โดยจุดขุดเจาะน้ำมันที่คิวบาให้สัมปทานกับจีนนั้น ห่างจากรัฐฟลอริดาของอเมริกาแค่ 95 กิโลเมตรเท่านั้น
การปฏิวัติเปลี่ยนแปลงการปกครองคิวบา ในปี ค.ศ. 1959 (พ.ศ. 2502) สาเหตุสำคัญมาจากอเมริกาเข้าครอบงำคิวบาทางด้านเศรษฐกิจและการเมือง ตั้งแต่ต้นคริสต์ศตวรรษที่ 20 โดยบริษัทอเมริกันและบริษัทต่างชาติอื่นๆ ได้เข้าไปลงทุนขยายกิจการปลูกอ้อย และทำอุตสาหกรรมผลิตน้ำตาล จนผู้ผลิตรายย่อยกับระดับชาติของคิวบา ต้องปิดกิจการกันเป็นจำนวนมาก
สถิติช่วงปี ค.ศ. 1959 (พ.ศ. 2502) ระบุว่า บริษัทอเมริกันได้เป็นเจ้าของโรงงานผลิตน้ำตาลใหญ่ที่สุดถึง 9 ใน 10 แห่งของคิวบาเลยหล่ะ
เท่านั้นไม่พอ บริษัทอเมริกันยังเป็นเจ้าของกิจการน้ำมัน และเหมืองแร่เกือบทั้งหมด เป็นเจ้าของกิจการไฟฟ้า และโทรศัพท์อีกถึงร้อยละ 90 รวมทั้งกิจการรถไฟอีกร้อยละ 50 กิจการธนาคารอีกร้อยละ 25 อีกด้วย
แต่ละปีคิวบาต้องนำเข้าสินค้ามหาศาลจากอเมริกา ทำให้คิวบาต้องพึ่งพาอเมริกา ซึ่งเป็นอุปสรรคต่อการพัฒนาอุตสาหกรรมขั้นเริ่มต้นของคิวบา สภาพเช่นนี้ทำให้เศรษฐกิจคิวบา ได้ถูกครอบงำและกำหนดโดยประเทศอเมริกาอย่างแท้จริง
ส่วนทางการเมืองนั้น ผู้บริหารชาติและข้าราชการคิวบาระดับต่างๆ ก็ตกอยู่ใต้อิทธิพลของชาติอเมริกา โดยไม่มีมาตรการช่วยเหลือนายทุนคิวบา และมิได้ปกป้องผลประโยชน์ชาติแม้แต่น้อย
นั่นทำให้ประชาชนชาวคิวบาไม่พอใจ รัฐบาลเผด็จการทหารของประธานาธิบดีบาติสตา ที่ทำตัวเป็นขี้ข้าอเมริกาและต่างชาติ อีกทั้งยังคอยแต่ปราบปรามเข่นฆ่า ประชาชนชาวคิวบาที่มีความเห็นแตกต่างทางการเมืองกับรัฐบาลเผด็จการทหารบาติสตาอยู่ตลอดเวลา
วันที่ 26 กรกฎาคม ค.ศ. 1953 (พ.ศ. 2496) ฟิเดล คาสโตร นักปฏิวัติชาวคิวบาจึงนำกองกำลังติดอาวุธกว่า 100 คน บุกเข้าโจมตีค่ายทหาร “มอนกาดา” (Moncada) ที่เมืองซานติอาโก เด กูบา แต่ต้องพ่ายแพ้แก่ฝ่ายทหารของรัฐบาล ทว่าการกระทำครั้งนั้น ได้กลายเป็นจุดเริ่มต้นการปฏิวัติโค่นล้มประธานาธิบดีบาติสตา และเป็นที่มาของ “ขบวนการ 26 กรกฎาคม”
ครั้งนั้น ฟิเดล คาสโตร และน้องชาย ราอูล คาสโตร ถูกจับและถูกพิพากษาให้จำคุกเป็นเวลา 15 ปี แต่ในเดือนพฤษภาคม ค.ศ. 1955 (พ.ศ. 2498) กลุ่มของคาสโตรได้รับการอภัยโทษ จึงได้เดินทางไปอเมริกาและเม็กซิโก ก่อนจะเดินทางกลับมาปฏิวัติที่คิวบาอีกครั้งหนึ่ง
2 ธันวาคม ค.ศ. 1956 (พ.ศ. 2499) ฟิเดล คาสโตร และ เช กูวารา ซึ่งพบกันที่ประเทศเม็กซิโก ได้นำกองกำลังติดอาวุธ 82 คน เดินทางจากเม็กซิโกมาขึ้นฝั่ง ที่จังหวัด “โอเรียนเต” ของคิวบา แต่เพราะเป็นคืนเดือนมืดพวกเขาจึงขึ้นฝั่งผิดจุดนัดหมายกันไว้ จึงปะทะกับทหารของรัฐบาลบาติสตา จนกองกำลังคาสโตรและเชรอดชีวิตมาได้เพียงแค่ 12 คน ทั้งหมดต้องหนีไปยึดเทือกเขา “มาเอสตรา” เป็นฐานทำการปฏิวัติคิวบาต่อไป
อ่านต่อฉบับหน้าว่า..คาสโตรและเชปฏิบัติการยึดคิวบาได้อย่างไรนะครับ!