ASTVผู้จัดการรายวัน - ปตท.สผ.จ่อยื่นขอสัมปทานปิโตรเลียมเพิ่มเติมที่พม่าทั้งบนบกและทะเล หลังพม่าเตรียมเปิดให้สัมปทานเร็วๆนี้ แย้มต่างชาติแห่ชวนร่วมลงทุน ด้านแหล่งซอติก้าคาดว่าจ่ายก๊าซฯเร็วกว่าแผนในปลายธ.ค.นี้ ส่วนแหล่งมอนทาราผลิตได้แน่กลางพ.ค.นี้ เผยไตรมาส 1 กำไรพุ่ง 15% แตะ 2 หมื่นล้านบาท เล็งออกหุ้นกู้ดอลลาร์พันล้านเหรียญในปีนี้ชี้เป็นหุ้นกู้ระยะยาวไถ่ถอนเมื่อเลิกกิจการ
นายเทวินทร์ วงศ์วานิช ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ปตท.สำรวจและผลิตปิโตรเลียม จำกัด (มหาชน)(ปตท.สผ.) เปิดเผยว่า รัฐบาลพม่าเตรียมเปิดให้สัมปทานปิโตรเลียมใหม่ทั้งบนบกและในทะเล ซึ่งบริษัทฯมีความสนใจยื่นขอสัมปทานปิโตรเลียมเพิ่มเติมทั้งบนบกและในทะเลโดยจะร่วมทุนกับพันธมิตร เนื่องจากบริษัทฯมีความคุ้นเคยสภาพธรณีวิทยาและยังเป็นผู้ดำเนินการ(โอเปอเรเตอร์)ในแปลงสัมปทานปิโตรเลียมหลายแปลงในพม่าอยู่แล้ว ทำให้มีต่างชาติหลายรายชวนปตท.สผ.เข้าร่วมยื่นขอสัมปทานครั้งนี้
“บริษัทฯอยู่ระหว่างเตรียมข้อเสนอเพื่อยื่นขอสัมปทาน โดยแปลงสัมปทานบนบกน่าจะมีความชัดเจนได้กลางปีนี้ ปัจจุบันมีพาร์ทเนอร์หลายรายสนใจชวนให้ปตท.สผ.เข้าร่วมทุน ซึ่งการยื่นสัมปทานครั้งนี้ บริษัทฯไม่ได้ตั้งเป้าหมายที่จะเป็นโอเปอเรเตอร์ ถ้าพาร์ทเนอร์เป็นบริษัทที่มีความเข้มแข็งพอ เนื่องจากบริษัทฯมีบุคลากรจำกัดทั้งนี้การเข้าถือหุ้นในการขอสัมปทานครั้งนี้บริษัทฯจะถือหุ้นไม่ต่ำกว่า 20% ”
นอกจากนี้ บริษัทฯได้รับอนุญาตให้เข้าไปศึกษาปริมาณสำรองปิโตรเลียมในแปลง MD7-8 ของพม่า เนื่องจากแปลงดังกล่าวอยู่ใกล้กับแปลงน้ำลึกทะเลอันดามันของปตท.สผ.อยู่แล้ว ซึ่งมีศักยภาพที่จะพบปิโตรเลียมได้ จึงได้ดำเนินการขออนุญาตจากรัฐบาลพม่าในการเข้าไปศึกษาฯในแปลงปิโตรเลียมดังกล่าว โดยบริษัทฯจะเข้าไปดำเนินการสำรวจไปพร้อมกัน
ส่วนแปลง M9 หรือ ซอติก้า ที่พม่านั้น บริษัทฯคาดว่าจะดำเนินการผลิตก๊าซฯเชิงพาณิชย์ได้เร็วกว่ากำหนดจากเดิมปลายมี.ค. 57 เป็นปลายธ.ค.56 หรือม.ค.57 น่าจะจ่ายก๊าซฯให้พม่าได้ โดยปริมาณก๊าซฯดังกล่าวจะป้อนเข้าไทย 240 ล้านลบ.ฟุต/วัน และอีก 60 ล้านลบ.ฟุต/วันจะขายให้พม่า โดยมีกำลังการผลิตส่วนเกินอีก 10% ทางรัฐบาลพม่าขอซื้อทั้งหมดเพื่อใช้ในภาคอุตสาหกรรมและไฟฟ้า
ทำให้ปริมาณมีก๊าซฯจ่ายให้พม่าเกือบ 100 ล้านลบ.ฟุต/วัน
นอกจากนี้ยังมองหาโอกาสการลงทุนสำรวจและผลิตปิโตรเลียมในต่างประเทศเพิ่มเติมที่มีศักยภาพทวีปแอฟริกา และลาตินอเมริกา โดยปตท.สผ.ได้มีการเข้าไปลงทุนในอัลจีเรีย และโมซัมบิกอยู่แล้วทำให้การเข้าไปสำรวจฯในแอฟริกาไม่น่าจะลำบาก ขณะที่ลาตินอเมริกาก็เป็นที่น่าสนใจ โดยเฉพาะบราซิล ซึ่งกำลังจะเปิดให้สัมปทานปิโตรเลียมอยู่
ส่วนการสำรวจและพัฒนาแหล่ง Rovuma Offshore Area 1 ในโมซัมบิกนั้น ขณะนี้อยู่ระหว่างการประเมินปริมาณสำรองก๊าซฯในแหล่งดังกล่าวก่อนยื่นขอรัฐบาลโมซัมบิกในการพัฒนาต่อไป โดยตั้งเป้าหมายที่จะผลิตแอลเอ็นจีปีละ 10 ล้านตันในปี 2562 ขณะนี้ได้มีการเจรจาหาขายก๊าซแอลเอ็นจีที่ผลิตได้ไปยังจีน อินเดีย และไทย โดยได้เจรจาขายแอลเอ็นจีให้ไทยจำนวน 2 ล้านตัน/ปี
คาดว่ามีความชัดเจนในปลายปีนี้หรือต้นปี 2557
นายเทวินทร์ กล่าวถึงความคืบหน้าโครงการมอนทารา ออสเตรเลียว่า บริษัทฯมั่นใจว่าโครงการมอนทาราจะเริ่มผลิตน้ำมันดิบได้ในกลางเดือนพ.ค.นี้ ล่าช้ากว่าที่คาดหมายไว้ว่าจะผลิตได้ในปลายเม.ย. 2556 เนื่องจากการดีเลย์ติดตั้งอุปกรณ์บางส่วนและระบบความคุมอิเลกทรอนิกส์ ขณะที่มรสุมน่าจะค่อยๆลดลงไป โดยเบื้องต้นแหล่งมอนทาราจะผลิตน้ำมันดิบได้ 2 หมื่นบาร์เรล/วัน
และขยับเพิ่มขึ้นเป็น 3 หมื่นบาร์เรล/วันในปลายปี 2556
ความล่าช้าในการผลิตน้ำมันดิบแหล่งมอนทารา จะไม่ส่งผลกระทบต่อผลการดำเนินงานบริษัทฯ เนื่องจากเป็นไปตามแผนงานอยู่แล้วว่าจะผลิตได้ในไตรมาส 2 นี้ เพียงแต่เลื่อนจากเดือนเม.ย.เป็นพ.ค.แทน สำหรับผลการดำเนินงานไตรมาส 1/2556 บริษัทฯมีกำไรสุทธิ 680 ล้านเหรียญสหรัฐ เทียบเท่า 20,258 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 15%จากช่วงเดียวกันของปีก่อน โดยเป็นผลมาจากการดำเนินงานตามปกติจำนวน 585ล้านเหรียญสหรัฐ และกำไรจากรายการที่ไม่เกี่ยวข้องกับการดำเนินงานปกติ จำนวน 95 ล้านเหรียญสหรัฐ
สำหรับรายได้รวมของ ปตท.สผ. และบริษัทรายย่อยในไตรมาสนี้ มีจำนวน 1,907 ล้านเหรียญสหรัฐ (เทียบเท่า 56,824 ล้านบาท) เมื่อเปรียบเทียบกับไตรมาส 1 ปี 2555 จำนวน 1,627 ล้านเหรียญสหรัฐ (เทียบเท่า 50,448 ล้านบาท) เพิ่มขึ้น 280 ล้านเหรียญสหรัฐ คิดเป็นร้อยละ 17 โดยส่วนใหญ่เป็นผลจากปริมาณการขายปิโตรเลียมเฉลี่ยเพิ่มขึ้นเป็น 291,476 บาร์เรลเทียบเท่าน้ำมันดิบต่อวัน
สูงกว่าช่วงเดียวกันของปีก่อนที่มีปริมาณการขาย 253,411 บาร์เรลเทียบเท่าน้ำมันดิบต่อวัน ราคาขายผลิตภัณฑ์เฉลี่ยที่เป็นเงินเหรียญสหรัฐ ในไตรมาสนี้เพิ่มขึ้นเป็น 67.03 เหรียญสหรัฐต่อบาร์เรล
ส่วนค่าเงินบาทที่แข็งค่าขึ้นนั้น ไม่ส่งผลกระทบต่อผลประกอบการของบริษัทฯ เนื่องจากรายได้และรายจ่ายอิงสกุลเงินดอลลาร์สหรัฐอยู่แล้ว แต่เนื่องจากบริษัทอยู่ในตลาดหลักทรัพย์ฯ ทำให้ต้องแปลงมูลค่าเป็นสกุลบาท ทำให้มีผลกระทบลดลงบ้าง
อย่างไรก็ตาม ในปีนี้บริษัทฯมีแผนจะออกหุ้นกู้วงเงิน 1 พันล้านเหรียญสหรัฐ และรีไฟแนนซ์เงินกู้/หุ้นกู้เดิมที่ครบกำหนดชำระอีก 1 พันล้านเหรียญสหรัฐด้วย โดยบริษัทฯอยู่ระหว่างพิจารณาว่าจะออกหุ้นกู้ระยะยาวที่มีลักษณะคล้ายทุนสกุลดอลลาร์สหรัฐ เพื่อเป็นทางเลือกให้กับนักลงทุนที่ต้องการออมระยะยาว โดยจะไถ่ถอนเมื่อเลิกกิจการเหมือนกับที่เคยออกหุ้นกู้ชนิดระบุชื่อผู้ถือ ประเภทด้อยสิทธิที่มีลักษณะคล้ายทุน ชำระคืนเงินต้นเพียงครั้งเดียว ไถ่ถอนเมื่อเลิกกิจการ ไม่มีประกัน ไม่มีการแปลงสภาพจำนวน 5 พันล้านบาทเมื่อก่อนหน้านี้แล้ว และอาจออกหุ้นกู้สกุลบาทจำนวนหนึ่ง แล้วสว็อปเป็นดอลลาร์สหรัฐ ใช้ลงทุนโครงการต่างๆ ซึ่งจะเพื่อช่วยดูดซับเงินดอลลาร์ในประเทศ
นายเทวินทร์ วงศ์วานิช ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ปตท.สำรวจและผลิตปิโตรเลียม จำกัด (มหาชน)(ปตท.สผ.) เปิดเผยว่า รัฐบาลพม่าเตรียมเปิดให้สัมปทานปิโตรเลียมใหม่ทั้งบนบกและในทะเล ซึ่งบริษัทฯมีความสนใจยื่นขอสัมปทานปิโตรเลียมเพิ่มเติมทั้งบนบกและในทะเลโดยจะร่วมทุนกับพันธมิตร เนื่องจากบริษัทฯมีความคุ้นเคยสภาพธรณีวิทยาและยังเป็นผู้ดำเนินการ(โอเปอเรเตอร์)ในแปลงสัมปทานปิโตรเลียมหลายแปลงในพม่าอยู่แล้ว ทำให้มีต่างชาติหลายรายชวนปตท.สผ.เข้าร่วมยื่นขอสัมปทานครั้งนี้
“บริษัทฯอยู่ระหว่างเตรียมข้อเสนอเพื่อยื่นขอสัมปทาน โดยแปลงสัมปทานบนบกน่าจะมีความชัดเจนได้กลางปีนี้ ปัจจุบันมีพาร์ทเนอร์หลายรายสนใจชวนให้ปตท.สผ.เข้าร่วมทุน ซึ่งการยื่นสัมปทานครั้งนี้ บริษัทฯไม่ได้ตั้งเป้าหมายที่จะเป็นโอเปอเรเตอร์ ถ้าพาร์ทเนอร์เป็นบริษัทที่มีความเข้มแข็งพอ เนื่องจากบริษัทฯมีบุคลากรจำกัดทั้งนี้การเข้าถือหุ้นในการขอสัมปทานครั้งนี้บริษัทฯจะถือหุ้นไม่ต่ำกว่า 20% ”
นอกจากนี้ บริษัทฯได้รับอนุญาตให้เข้าไปศึกษาปริมาณสำรองปิโตรเลียมในแปลง MD7-8 ของพม่า เนื่องจากแปลงดังกล่าวอยู่ใกล้กับแปลงน้ำลึกทะเลอันดามันของปตท.สผ.อยู่แล้ว ซึ่งมีศักยภาพที่จะพบปิโตรเลียมได้ จึงได้ดำเนินการขออนุญาตจากรัฐบาลพม่าในการเข้าไปศึกษาฯในแปลงปิโตรเลียมดังกล่าว โดยบริษัทฯจะเข้าไปดำเนินการสำรวจไปพร้อมกัน
ส่วนแปลง M9 หรือ ซอติก้า ที่พม่านั้น บริษัทฯคาดว่าจะดำเนินการผลิตก๊าซฯเชิงพาณิชย์ได้เร็วกว่ากำหนดจากเดิมปลายมี.ค. 57 เป็นปลายธ.ค.56 หรือม.ค.57 น่าจะจ่ายก๊าซฯให้พม่าได้ โดยปริมาณก๊าซฯดังกล่าวจะป้อนเข้าไทย 240 ล้านลบ.ฟุต/วัน และอีก 60 ล้านลบ.ฟุต/วันจะขายให้พม่า โดยมีกำลังการผลิตส่วนเกินอีก 10% ทางรัฐบาลพม่าขอซื้อทั้งหมดเพื่อใช้ในภาคอุตสาหกรรมและไฟฟ้า
ทำให้ปริมาณมีก๊าซฯจ่ายให้พม่าเกือบ 100 ล้านลบ.ฟุต/วัน
นอกจากนี้ยังมองหาโอกาสการลงทุนสำรวจและผลิตปิโตรเลียมในต่างประเทศเพิ่มเติมที่มีศักยภาพทวีปแอฟริกา และลาตินอเมริกา โดยปตท.สผ.ได้มีการเข้าไปลงทุนในอัลจีเรีย และโมซัมบิกอยู่แล้วทำให้การเข้าไปสำรวจฯในแอฟริกาไม่น่าจะลำบาก ขณะที่ลาตินอเมริกาก็เป็นที่น่าสนใจ โดยเฉพาะบราซิล ซึ่งกำลังจะเปิดให้สัมปทานปิโตรเลียมอยู่
ส่วนการสำรวจและพัฒนาแหล่ง Rovuma Offshore Area 1 ในโมซัมบิกนั้น ขณะนี้อยู่ระหว่างการประเมินปริมาณสำรองก๊าซฯในแหล่งดังกล่าวก่อนยื่นขอรัฐบาลโมซัมบิกในการพัฒนาต่อไป โดยตั้งเป้าหมายที่จะผลิตแอลเอ็นจีปีละ 10 ล้านตันในปี 2562 ขณะนี้ได้มีการเจรจาหาขายก๊าซแอลเอ็นจีที่ผลิตได้ไปยังจีน อินเดีย และไทย โดยได้เจรจาขายแอลเอ็นจีให้ไทยจำนวน 2 ล้านตัน/ปี
คาดว่ามีความชัดเจนในปลายปีนี้หรือต้นปี 2557
นายเทวินทร์ กล่าวถึงความคืบหน้าโครงการมอนทารา ออสเตรเลียว่า บริษัทฯมั่นใจว่าโครงการมอนทาราจะเริ่มผลิตน้ำมันดิบได้ในกลางเดือนพ.ค.นี้ ล่าช้ากว่าที่คาดหมายไว้ว่าจะผลิตได้ในปลายเม.ย. 2556 เนื่องจากการดีเลย์ติดตั้งอุปกรณ์บางส่วนและระบบความคุมอิเลกทรอนิกส์ ขณะที่มรสุมน่าจะค่อยๆลดลงไป โดยเบื้องต้นแหล่งมอนทาราจะผลิตน้ำมันดิบได้ 2 หมื่นบาร์เรล/วัน
และขยับเพิ่มขึ้นเป็น 3 หมื่นบาร์เรล/วันในปลายปี 2556
ความล่าช้าในการผลิตน้ำมันดิบแหล่งมอนทารา จะไม่ส่งผลกระทบต่อผลการดำเนินงานบริษัทฯ เนื่องจากเป็นไปตามแผนงานอยู่แล้วว่าจะผลิตได้ในไตรมาส 2 นี้ เพียงแต่เลื่อนจากเดือนเม.ย.เป็นพ.ค.แทน สำหรับผลการดำเนินงานไตรมาส 1/2556 บริษัทฯมีกำไรสุทธิ 680 ล้านเหรียญสหรัฐ เทียบเท่า 20,258 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 15%จากช่วงเดียวกันของปีก่อน โดยเป็นผลมาจากการดำเนินงานตามปกติจำนวน 585ล้านเหรียญสหรัฐ และกำไรจากรายการที่ไม่เกี่ยวข้องกับการดำเนินงานปกติ จำนวน 95 ล้านเหรียญสหรัฐ
สำหรับรายได้รวมของ ปตท.สผ. และบริษัทรายย่อยในไตรมาสนี้ มีจำนวน 1,907 ล้านเหรียญสหรัฐ (เทียบเท่า 56,824 ล้านบาท) เมื่อเปรียบเทียบกับไตรมาส 1 ปี 2555 จำนวน 1,627 ล้านเหรียญสหรัฐ (เทียบเท่า 50,448 ล้านบาท) เพิ่มขึ้น 280 ล้านเหรียญสหรัฐ คิดเป็นร้อยละ 17 โดยส่วนใหญ่เป็นผลจากปริมาณการขายปิโตรเลียมเฉลี่ยเพิ่มขึ้นเป็น 291,476 บาร์เรลเทียบเท่าน้ำมันดิบต่อวัน
สูงกว่าช่วงเดียวกันของปีก่อนที่มีปริมาณการขาย 253,411 บาร์เรลเทียบเท่าน้ำมันดิบต่อวัน ราคาขายผลิตภัณฑ์เฉลี่ยที่เป็นเงินเหรียญสหรัฐ ในไตรมาสนี้เพิ่มขึ้นเป็น 67.03 เหรียญสหรัฐต่อบาร์เรล
ส่วนค่าเงินบาทที่แข็งค่าขึ้นนั้น ไม่ส่งผลกระทบต่อผลประกอบการของบริษัทฯ เนื่องจากรายได้และรายจ่ายอิงสกุลเงินดอลลาร์สหรัฐอยู่แล้ว แต่เนื่องจากบริษัทอยู่ในตลาดหลักทรัพย์ฯ ทำให้ต้องแปลงมูลค่าเป็นสกุลบาท ทำให้มีผลกระทบลดลงบ้าง
อย่างไรก็ตาม ในปีนี้บริษัทฯมีแผนจะออกหุ้นกู้วงเงิน 1 พันล้านเหรียญสหรัฐ และรีไฟแนนซ์เงินกู้/หุ้นกู้เดิมที่ครบกำหนดชำระอีก 1 พันล้านเหรียญสหรัฐด้วย โดยบริษัทฯอยู่ระหว่างพิจารณาว่าจะออกหุ้นกู้ระยะยาวที่มีลักษณะคล้ายทุนสกุลดอลลาร์สหรัฐ เพื่อเป็นทางเลือกให้กับนักลงทุนที่ต้องการออมระยะยาว โดยจะไถ่ถอนเมื่อเลิกกิจการเหมือนกับที่เคยออกหุ้นกู้ชนิดระบุชื่อผู้ถือ ประเภทด้อยสิทธิที่มีลักษณะคล้ายทุน ชำระคืนเงินต้นเพียงครั้งเดียว ไถ่ถอนเมื่อเลิกกิจการ ไม่มีประกัน ไม่มีการแปลงสภาพจำนวน 5 พันล้านบาทเมื่อก่อนหน้านี้แล้ว และอาจออกหุ้นกู้สกุลบาทจำนวนหนึ่ง แล้วสว็อปเป็นดอลลาร์สหรัฐ ใช้ลงทุนโครงการต่างๆ ซึ่งจะเพื่อช่วยดูดซับเงินดอลลาร์ในประเทศ