วานนี้ (29 เม.ย.56) ศูนย์วิจัยมหาวิทยาลัยกรุงเทพ (กรุงเทพโพลล์) ได้ดำเนินการสำรวจความคิดเห็นของผู้ใช้แรงงานเรื่อง “มุมมองแรงงานหลังได้รับค่าแรงขั้นต่ำ 300 บาท”
โดยเก็บข้อมูลจากแรงงานที่มีอายุ 18 ปีขึ้นไปในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล พบว่า ผู้ใช้แรงงานส่วนใหญ่ร้อยละ 75.1 ไม่มีภูมิลำเนาอยู่ในกรุงเทพฯ และปริมณฑล ขณะที่ร้อยละ 24.9 มีภูมิลำเนาอยู่ ทั้งนี้เมื่อถามถึงสาเหตุที่ผู้ใช้แรงงานไม่ทำงานในภูมิลำเนาที่เกิด ร้อยละ 64.8 ระบุว่ามีงานให้เลือกน้อย รองลงมาร้อยละ 33.4 ระบุว่าในกทม. และปริมณฑลมีสวัสดิการที่ดีกว่า และร้อยละ 33.3 ระบุว่าได้ค่าแรงต่ำกว่า 300 บาท โดยเมื่อถามต่อว่า “หากสามารถแก้ปัญหาดังกล่าวข้างต้นได้ ตั้งใจที่จะกลับไปทำงานในภูมิลำเนาเกิดหรือไม่” ร้อยละ 80.0 ตั้งใจว่าจะกลับ ขณะที่ร้อยละ 20.0 ตั้งใจว่าจะไม่กลับ
ส่วนผลกระทบที่มีต่อการทำงาน หลังจากมีการปรับขึ้นค่าแรงขั้นต่ำเป็น 300 บาท แรงงานส่วนใหญ่ร้อยละ 65.4 ระบุว่าไม่ได้รับผลกระทบ ขณะที่ร้อยละ 34.6 ระบุว่าได้รับผลกระทบ ในจำนวนนี้ร้อยละ 16.5 ระบุว่าทำงานล่วงเวลา (OT) ได้น้อยลง ร้อยละ 9.2 ระบุว่าต้องทำงานหนักมากขึ้น และร้อยละ 4.2 ระบุว่าไม่มีการปรับขึ้นค่าจ้างในช่วงที่ผ่านมา
เมื่อถามถึงชีวิตความเป็นอยู่ หลังจากมีการปรับขึ้นค่าแรงขั้นต่ำ 300 บาท พบว่า ส่วนใหญ่ร้อยละ 45.9 เห็นว่ามีชีวิตความเป็นอยู่เหมือนเดิม (เพิ่มขึ้นร้อยละ 9.4 จากการสำรวจในปี 55) ขณะที่ร้อยละ 44.2 เห็นว่าดีขึ้น (ลดลง
ร้อยละ 16.5) และร้อยละ 9.9 เห็นว่าแย่ลง (เพิ่มขึ้นร้อยละ 7.1) โดยเมื่อถามสาเหตุที่ทำให้ชีวิตความเป็นอยู่ไม่ดีขึ้นอันดับแรกคือ ข้าวของแพงขึ้น (ร้อยละ 85.9) รองลงมาคือ ขาดสวัสดิการช่วยเหลือ/สวัสดิการแย่ลง ( ร้อยละ 7.1) และงานไม่มั่นคง ไม่รู้จะถูกเลิกจ้างตอนไหน (ร้อยละ 4.4)
สุดท้ายเมื่อถามว่า “มีความกังวลว่าจะตกงานมากน้อยเพียงใด หลังจากการขึ้นค่าแรง 300 บาทมีผลทำให้ผู้ประกอบการ SME มีการลดพนักงานลง 15% (ข้อมูลจากสภาอุตสาหกรรมฯ) เพื่อประคองกิจการให้อยู่รอด” ร้อยละ 73.2 กังวลน้อยถึงน้อยที่สุด ขณะที่ร้อยละ 26.8 กังวลมากถึงมากที่สุด
ที่กระทรวงแรงงาน นายเผดิมชัย สะสมทรัพย์ รมว.แรงงาน กล่าวถึงกรณีสภาองค์การลูกจ้างแห่งประเทศไทยจะยื่นข้อเรียกร้อง 11 ข้อต่อนายกรัฐมนตรีเนื่องในวันแรงงานแห่งชาติ 1 พ.ค.นี้ ว่า ข้อเรียกร้องในเรื่องการให้รัฐบาลรับรองอนุสัญญาองค์การแรงงานระหว่างประเทศ ฉบับที่ 87 และ 98 เพื่อให้ได้รับสิทธิในการรวมตัวและเจรจาต่อรอง ขณะนี้อยู่ระหว่างเสนอรัฐบาลพิจารณาให้การรับรอง ส่วนการจัดตั้งศูนย์เลี้ยงเด็ก และศูนย์เก็บน้ำนมแม่ในสถานประกอบการ หรือใกล้กับนิคมอุตสาหกรรม รวมทั้งการให้ลูกจ้างซึ่งเป็นชายมีสิทธิลาเพื่อดูแลภรรยาในการคลอดบุตรได้เป็นเวลา 15 วันโดยได้รับค่าจ้างนั้น รัฐบาลยืนยัน ว่า จะส่งเสริมให้มีการจัดตั้งศูนย์เลี้ยงเด็กและศูนย์เก็บน้ำนมแม่ในสถานประกอบการขนาดใหญ่ให้มากขึ้น และขอความร่วมมือไปยังสถานประกอบการให้พิจารณาให้สิทธิลาเพื่อดูแลภรรยาคลอดบุตรได้เป็นเวลา 15 วัน แต่เรื่องนี้ขึ้นอยู่กับดุลยพินิจของนายจ้างว่าจะให้ลาได้กี่วัน
“ทั้งสองเรื่องข้างต้น ขณะนี้กระทรวงแรงงานคงดำเนินการได้ในลักษณะของการขอความร่วมมือไปยังสถานประกอบการต่างๆ ส่วนระยะยาวจำเป็นจะต้องมีการแก้ไขกฎหมายที่เกี่ยวข้องหรือไม่นั้น ผมจะต้องมาหารือกับทั้งฝ่ายนายจ้าง ลูกจ้างและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องก่อนว่ามีความเห็นเป็นอย่างไร เพื่อให้ได้ข้อสรุปและการดำเนินการที่เกิดประโยชน์ต่อทุกฝ่าย” รมว.แรงงาน กล่าว
นายเผดิมชัย กล่าวอีกว่า ส่วนข้อเรียกร้องเรื่องให้ปรับระบบประกันสังคมเช่น กำหนดในกฎหมายประกันสังคมให้ขยายสิทธิผู้รับงานไปทำที่บ้านเข้าเป็นผู้ประกันตนในมาตรา 33 ได้ โดยให้ถือว่าผู้จ้างเป็นนายจ้าง พร้อมทั้งให้นิรโทษกรรมให้แก่ผู้ประกันตน มาตรา 39 กลับมาเป็นผู้ประกันตนได้ และนิรโทษกรรมให้แก่ผู้ประกันตน มาตรา 40 ในอัตราร้อยละ 50 ในทุกกรณีนั้น จะให้ สปส.ศึกษาในเรื่องการแก้ไขกฎหมายประกันสังคมเพื่อรองรับในเรื่องเหล่านี้
ดร.ยงยุทธ แฉล้มวงษ์ ผู้อำนวยการวิจัยด้านการพัฒนาแรงงาน สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย เปิดเผยว่า ในช่วงที่ผ่านมาในภาพรวมดูเหมือนแรงงานได้รับการดูแลมากขึ้นในเรื่องค่าจ้างพื้นฐาน 300 บาท แต่ในด้านการคุ้มครองแรงงานยังเป็นไปอย่างเชื่องช้าและมีความเหลื่อมล้ำลักลั่นกันตั้งแต่การเข้าสู่ระบบ การได้รับบริการจากระบบ และสิทธิประโยชน์ที่ได้รับจากระบบ ทั้งกองทุนประกันสังคมที่ดูแลเฉพาะแรงงานในระบบหลัก ส่วนกองทุนเงินทดแทนซึ่งลูกจ้างจะได้รับเมื่อเจ็บป่วยหรือประสบอุบัติเหตุจากการทำงานของลูกจ้างที่ทำงานเต็มเวลา ขณะที่มีนายจ้างที่มีการจ้างแรงงานจำนวนมากเป็นบางช่วงเวลาหรือช่วงฤดูกาล ไม่ใช่ลูกจ้างประจำ ซึ่งแรงงานกลุ่มนี้ไม่ได้รับการสิทธิประโยชน์จากกองทุนเงินทดแทน ถึงเวลาที่เราควรสร้างระบบที่ครอบคลุมไม่เหลือมล้ำและเป็นธรรม
“ปัญหาตอนนี้ถ้าดูในรายละเอียดจะเห็นว่าในรูปแบบการคุ้มครองแรงงานระหว่างแรงงานในระบบกับแรงงานนอกระบบนั้นยังมีความเหลื่อมล้ำหรือเขย่งกันอยู่ค่อนข้างชัดเจน แรงงานในระบบได้รับการดูแลค่อนข้างดีมาตลอด แต่ในส่วนของแรงงานนอกระบบยังไม่ได้รับการเอาใจใส่ที่จริงจังนัก จะเห็นได้จากการให้ความคุ้มครองทั้งหลายซึ่งก็จะมีข้อยกเว้นอยู่หลายเรื่องและหากดูสิทธิประโยชน์ระยะยาวที่จะได้รับจากประกันชราภาพและกองทุนเงินออมแห่งชาติก็ยังไม่ชัดเจนว่าจะเริ่มอย่างจริงจังเมื่อไร ข้อตกลงในการเก็บอัตราสมทบก็ยังไม่มีข้อยุติและดำเนินไปอย่างล่าช้า แม้แต่แรงงานในระบบเมื่อถึงวัยได้รับสิทธิประโยชน์ชราภาพถึงจะรวมกับเบี้ยยังชีพชราภาพแล้วก็จะมีรายได้เพื่อการยังชีพเพียง 3,000-4,000 บาทต่อเดือนซึ่งนับว่าไม่เพียงพอกับค่าครองชีพที่เปลี่ยนแปลงไป”
คนกลุ่มนี้ได้แก่ คนทำงานบ้าน แรงงานประมง แรงงานภาคเกษตร ที่ไม่ได้ทำงานต่อเนื่องตลอดปี หรือทำงานตามฤดูกาล รวมถึงแรงงานพาร์ทไทม์ คนกลุ่มนี้มีสัดส่วนค่อนข้างสูงล้วนแต่จะมีปัญหาความมั่นคงในระยะยาว ตรงนี้เป็นจุดอ่อนซึ่งหน่วยงานที่เกี่ยวข้องจะต้องหารูปแบบที่เหมาะสมเพื่อการคุ้มครองแรงงานให้ครอบคลุม เพราะโดยหลักการตามกฎหมายคนทำงานทุกคนมีสิทธิได้รับการคุ้มครองโดยกองทุนประกันสังคมควรปรับปรุงการบริหารจัดการกองทุนให้มีประสิทธิภาพกว่าเดิมสามารถนำสัดส่วนของผลประโยชน์มาสมทบ เพื่อทำให้ผู้ประกันตนได้รับสิทธิประโยชน์มากขึ้น ขณะที่กองทุนเงินทดแทนยังมีช่องว่างไม่ครอบคลุมการคุ้มครองของกลุ่มแรงงานพาร์ทไทม์ซึ่งมีจำนวนหลายล้านคน ขณะนี้สำนักงานประกันสังคมกำลังพิจารณาให้ทีดีอาร์ไอศึกษาแนวทางการขยายความคุ้มครองกลุ่มเหล่านี้
ประเด็นปัญหาเกี่ยวกับแรงงานคือ มีการเปลี่ยนผ่านหลายอย่างที่ยังไม่ได้รับการดูแลที่ดีพอ คือตั้งแต่น้ำท่วมเรื่อยมาจนถึงการขึ้นค่าจ้างรอบแรกและรอบที่สอง(300 บาททั่วไทย) ซึ่งมีผลกระทบค่อนข้างกว้างขวางต่อภาคอุตสาหกรรมต่าง ๆ การประเมินผลกระทบรอบแรกพบข้อมูลสำคัญ ภาคเกษตรที่ควรได้รับผลกระทบน้อยกลับกลายเป็นภาคที่ถูกผลกระทบมาก เพราะภาคเกษตรไทยซึ่งยังใช้เทคโนโลยีที่ช่วยผ่อนแรงน้อยยังคงใช้แรงงานเป็นหลัก ค่าแรงจึงเป็นต้นทุนสำคัญที่เพิ่มภาระ ในขณะที่ผู้ประกอบการในภาคเกษตรซึ่งส่วนใหญ่เป็นรายเล็กรายย่อยไม่มีศักยภาพในการจ่ายค่าจ้างพื้นฐานที่ปรับขึ้นเป็น 300 บาทต่อวัน ประกอบกับสภาพการทำงานที่หนัก เหนื่อยไม่จูงใจ ไม่มีสวัสดิการในการทำงาน ดังนั้นปัญหาของภาคเกษตรเผชิญปัญหาต้นทุนสูง พร้อมๆกับการยังขาดแคลนแรงงาน และในด้านการคุ้มครอง แรงงานภาคเกษตรส่วนใหญ่คือแรงงานอายุมาก อมโรค ในระยะยาวจึงมีปัญหาความมั่นคงในชีวิตเป็นอย่างมาก โดยเฉพาะด้านการดูแลสุขภาพ มีเกษตรกรเพียงไม่ถึง 10%ที่จะมีเงินออมเพียงพอจะช่วยเหลือตัวเองได้เมื่อเข้าสู่วัยสูงอายุ จึงอยากให้ใส่ใจแรงงานหรือคนทำงานภาคเกษตรที่สิทธิสวัสดิการยังเหลื่อมล้ำกับแรงงานในระบบ และถูกละเลยมาตลอด
โดยเก็บข้อมูลจากแรงงานที่มีอายุ 18 ปีขึ้นไปในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล พบว่า ผู้ใช้แรงงานส่วนใหญ่ร้อยละ 75.1 ไม่มีภูมิลำเนาอยู่ในกรุงเทพฯ และปริมณฑล ขณะที่ร้อยละ 24.9 มีภูมิลำเนาอยู่ ทั้งนี้เมื่อถามถึงสาเหตุที่ผู้ใช้แรงงานไม่ทำงานในภูมิลำเนาที่เกิด ร้อยละ 64.8 ระบุว่ามีงานให้เลือกน้อย รองลงมาร้อยละ 33.4 ระบุว่าในกทม. และปริมณฑลมีสวัสดิการที่ดีกว่า และร้อยละ 33.3 ระบุว่าได้ค่าแรงต่ำกว่า 300 บาท โดยเมื่อถามต่อว่า “หากสามารถแก้ปัญหาดังกล่าวข้างต้นได้ ตั้งใจที่จะกลับไปทำงานในภูมิลำเนาเกิดหรือไม่” ร้อยละ 80.0 ตั้งใจว่าจะกลับ ขณะที่ร้อยละ 20.0 ตั้งใจว่าจะไม่กลับ
ส่วนผลกระทบที่มีต่อการทำงาน หลังจากมีการปรับขึ้นค่าแรงขั้นต่ำเป็น 300 บาท แรงงานส่วนใหญ่ร้อยละ 65.4 ระบุว่าไม่ได้รับผลกระทบ ขณะที่ร้อยละ 34.6 ระบุว่าได้รับผลกระทบ ในจำนวนนี้ร้อยละ 16.5 ระบุว่าทำงานล่วงเวลา (OT) ได้น้อยลง ร้อยละ 9.2 ระบุว่าต้องทำงานหนักมากขึ้น และร้อยละ 4.2 ระบุว่าไม่มีการปรับขึ้นค่าจ้างในช่วงที่ผ่านมา
เมื่อถามถึงชีวิตความเป็นอยู่ หลังจากมีการปรับขึ้นค่าแรงขั้นต่ำ 300 บาท พบว่า ส่วนใหญ่ร้อยละ 45.9 เห็นว่ามีชีวิตความเป็นอยู่เหมือนเดิม (เพิ่มขึ้นร้อยละ 9.4 จากการสำรวจในปี 55) ขณะที่ร้อยละ 44.2 เห็นว่าดีขึ้น (ลดลง
ร้อยละ 16.5) และร้อยละ 9.9 เห็นว่าแย่ลง (เพิ่มขึ้นร้อยละ 7.1) โดยเมื่อถามสาเหตุที่ทำให้ชีวิตความเป็นอยู่ไม่ดีขึ้นอันดับแรกคือ ข้าวของแพงขึ้น (ร้อยละ 85.9) รองลงมาคือ ขาดสวัสดิการช่วยเหลือ/สวัสดิการแย่ลง ( ร้อยละ 7.1) และงานไม่มั่นคง ไม่รู้จะถูกเลิกจ้างตอนไหน (ร้อยละ 4.4)
สุดท้ายเมื่อถามว่า “มีความกังวลว่าจะตกงานมากน้อยเพียงใด หลังจากการขึ้นค่าแรง 300 บาทมีผลทำให้ผู้ประกอบการ SME มีการลดพนักงานลง 15% (ข้อมูลจากสภาอุตสาหกรรมฯ) เพื่อประคองกิจการให้อยู่รอด” ร้อยละ 73.2 กังวลน้อยถึงน้อยที่สุด ขณะที่ร้อยละ 26.8 กังวลมากถึงมากที่สุด
ที่กระทรวงแรงงาน นายเผดิมชัย สะสมทรัพย์ รมว.แรงงาน กล่าวถึงกรณีสภาองค์การลูกจ้างแห่งประเทศไทยจะยื่นข้อเรียกร้อง 11 ข้อต่อนายกรัฐมนตรีเนื่องในวันแรงงานแห่งชาติ 1 พ.ค.นี้ ว่า ข้อเรียกร้องในเรื่องการให้รัฐบาลรับรองอนุสัญญาองค์การแรงงานระหว่างประเทศ ฉบับที่ 87 และ 98 เพื่อให้ได้รับสิทธิในการรวมตัวและเจรจาต่อรอง ขณะนี้อยู่ระหว่างเสนอรัฐบาลพิจารณาให้การรับรอง ส่วนการจัดตั้งศูนย์เลี้ยงเด็ก และศูนย์เก็บน้ำนมแม่ในสถานประกอบการ หรือใกล้กับนิคมอุตสาหกรรม รวมทั้งการให้ลูกจ้างซึ่งเป็นชายมีสิทธิลาเพื่อดูแลภรรยาในการคลอดบุตรได้เป็นเวลา 15 วันโดยได้รับค่าจ้างนั้น รัฐบาลยืนยัน ว่า จะส่งเสริมให้มีการจัดตั้งศูนย์เลี้ยงเด็กและศูนย์เก็บน้ำนมแม่ในสถานประกอบการขนาดใหญ่ให้มากขึ้น และขอความร่วมมือไปยังสถานประกอบการให้พิจารณาให้สิทธิลาเพื่อดูแลภรรยาคลอดบุตรได้เป็นเวลา 15 วัน แต่เรื่องนี้ขึ้นอยู่กับดุลยพินิจของนายจ้างว่าจะให้ลาได้กี่วัน
“ทั้งสองเรื่องข้างต้น ขณะนี้กระทรวงแรงงานคงดำเนินการได้ในลักษณะของการขอความร่วมมือไปยังสถานประกอบการต่างๆ ส่วนระยะยาวจำเป็นจะต้องมีการแก้ไขกฎหมายที่เกี่ยวข้องหรือไม่นั้น ผมจะต้องมาหารือกับทั้งฝ่ายนายจ้าง ลูกจ้างและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องก่อนว่ามีความเห็นเป็นอย่างไร เพื่อให้ได้ข้อสรุปและการดำเนินการที่เกิดประโยชน์ต่อทุกฝ่าย” รมว.แรงงาน กล่าว
นายเผดิมชัย กล่าวอีกว่า ส่วนข้อเรียกร้องเรื่องให้ปรับระบบประกันสังคมเช่น กำหนดในกฎหมายประกันสังคมให้ขยายสิทธิผู้รับงานไปทำที่บ้านเข้าเป็นผู้ประกันตนในมาตรา 33 ได้ โดยให้ถือว่าผู้จ้างเป็นนายจ้าง พร้อมทั้งให้นิรโทษกรรมให้แก่ผู้ประกันตน มาตรา 39 กลับมาเป็นผู้ประกันตนได้ และนิรโทษกรรมให้แก่ผู้ประกันตน มาตรา 40 ในอัตราร้อยละ 50 ในทุกกรณีนั้น จะให้ สปส.ศึกษาในเรื่องการแก้ไขกฎหมายประกันสังคมเพื่อรองรับในเรื่องเหล่านี้
ดร.ยงยุทธ แฉล้มวงษ์ ผู้อำนวยการวิจัยด้านการพัฒนาแรงงาน สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย เปิดเผยว่า ในช่วงที่ผ่านมาในภาพรวมดูเหมือนแรงงานได้รับการดูแลมากขึ้นในเรื่องค่าจ้างพื้นฐาน 300 บาท แต่ในด้านการคุ้มครองแรงงานยังเป็นไปอย่างเชื่องช้าและมีความเหลื่อมล้ำลักลั่นกันตั้งแต่การเข้าสู่ระบบ การได้รับบริการจากระบบ และสิทธิประโยชน์ที่ได้รับจากระบบ ทั้งกองทุนประกันสังคมที่ดูแลเฉพาะแรงงานในระบบหลัก ส่วนกองทุนเงินทดแทนซึ่งลูกจ้างจะได้รับเมื่อเจ็บป่วยหรือประสบอุบัติเหตุจากการทำงานของลูกจ้างที่ทำงานเต็มเวลา ขณะที่มีนายจ้างที่มีการจ้างแรงงานจำนวนมากเป็นบางช่วงเวลาหรือช่วงฤดูกาล ไม่ใช่ลูกจ้างประจำ ซึ่งแรงงานกลุ่มนี้ไม่ได้รับการสิทธิประโยชน์จากกองทุนเงินทดแทน ถึงเวลาที่เราควรสร้างระบบที่ครอบคลุมไม่เหลือมล้ำและเป็นธรรม
“ปัญหาตอนนี้ถ้าดูในรายละเอียดจะเห็นว่าในรูปแบบการคุ้มครองแรงงานระหว่างแรงงานในระบบกับแรงงานนอกระบบนั้นยังมีความเหลื่อมล้ำหรือเขย่งกันอยู่ค่อนข้างชัดเจน แรงงานในระบบได้รับการดูแลค่อนข้างดีมาตลอด แต่ในส่วนของแรงงานนอกระบบยังไม่ได้รับการเอาใจใส่ที่จริงจังนัก จะเห็นได้จากการให้ความคุ้มครองทั้งหลายซึ่งก็จะมีข้อยกเว้นอยู่หลายเรื่องและหากดูสิทธิประโยชน์ระยะยาวที่จะได้รับจากประกันชราภาพและกองทุนเงินออมแห่งชาติก็ยังไม่ชัดเจนว่าจะเริ่มอย่างจริงจังเมื่อไร ข้อตกลงในการเก็บอัตราสมทบก็ยังไม่มีข้อยุติและดำเนินไปอย่างล่าช้า แม้แต่แรงงานในระบบเมื่อถึงวัยได้รับสิทธิประโยชน์ชราภาพถึงจะรวมกับเบี้ยยังชีพชราภาพแล้วก็จะมีรายได้เพื่อการยังชีพเพียง 3,000-4,000 บาทต่อเดือนซึ่งนับว่าไม่เพียงพอกับค่าครองชีพที่เปลี่ยนแปลงไป”
คนกลุ่มนี้ได้แก่ คนทำงานบ้าน แรงงานประมง แรงงานภาคเกษตร ที่ไม่ได้ทำงานต่อเนื่องตลอดปี หรือทำงานตามฤดูกาล รวมถึงแรงงานพาร์ทไทม์ คนกลุ่มนี้มีสัดส่วนค่อนข้างสูงล้วนแต่จะมีปัญหาความมั่นคงในระยะยาว ตรงนี้เป็นจุดอ่อนซึ่งหน่วยงานที่เกี่ยวข้องจะต้องหารูปแบบที่เหมาะสมเพื่อการคุ้มครองแรงงานให้ครอบคลุม เพราะโดยหลักการตามกฎหมายคนทำงานทุกคนมีสิทธิได้รับการคุ้มครองโดยกองทุนประกันสังคมควรปรับปรุงการบริหารจัดการกองทุนให้มีประสิทธิภาพกว่าเดิมสามารถนำสัดส่วนของผลประโยชน์มาสมทบ เพื่อทำให้ผู้ประกันตนได้รับสิทธิประโยชน์มากขึ้น ขณะที่กองทุนเงินทดแทนยังมีช่องว่างไม่ครอบคลุมการคุ้มครองของกลุ่มแรงงานพาร์ทไทม์ซึ่งมีจำนวนหลายล้านคน ขณะนี้สำนักงานประกันสังคมกำลังพิจารณาให้ทีดีอาร์ไอศึกษาแนวทางการขยายความคุ้มครองกลุ่มเหล่านี้
ประเด็นปัญหาเกี่ยวกับแรงงานคือ มีการเปลี่ยนผ่านหลายอย่างที่ยังไม่ได้รับการดูแลที่ดีพอ คือตั้งแต่น้ำท่วมเรื่อยมาจนถึงการขึ้นค่าจ้างรอบแรกและรอบที่สอง(300 บาททั่วไทย) ซึ่งมีผลกระทบค่อนข้างกว้างขวางต่อภาคอุตสาหกรรมต่าง ๆ การประเมินผลกระทบรอบแรกพบข้อมูลสำคัญ ภาคเกษตรที่ควรได้รับผลกระทบน้อยกลับกลายเป็นภาคที่ถูกผลกระทบมาก เพราะภาคเกษตรไทยซึ่งยังใช้เทคโนโลยีที่ช่วยผ่อนแรงน้อยยังคงใช้แรงงานเป็นหลัก ค่าแรงจึงเป็นต้นทุนสำคัญที่เพิ่มภาระ ในขณะที่ผู้ประกอบการในภาคเกษตรซึ่งส่วนใหญ่เป็นรายเล็กรายย่อยไม่มีศักยภาพในการจ่ายค่าจ้างพื้นฐานที่ปรับขึ้นเป็น 300 บาทต่อวัน ประกอบกับสภาพการทำงานที่หนัก เหนื่อยไม่จูงใจ ไม่มีสวัสดิการในการทำงาน ดังนั้นปัญหาของภาคเกษตรเผชิญปัญหาต้นทุนสูง พร้อมๆกับการยังขาดแคลนแรงงาน และในด้านการคุ้มครอง แรงงานภาคเกษตรส่วนใหญ่คือแรงงานอายุมาก อมโรค ในระยะยาวจึงมีปัญหาความมั่นคงในชีวิตเป็นอย่างมาก โดยเฉพาะด้านการดูแลสุขภาพ มีเกษตรกรเพียงไม่ถึง 10%ที่จะมีเงินออมเพียงพอจะช่วยเหลือตัวเองได้เมื่อเข้าสู่วัยสูงอายุ จึงอยากให้ใส่ใจแรงงานหรือคนทำงานภาคเกษตรที่สิทธิสวัสดิการยังเหลื่อมล้ำกับแรงงานในระบบ และถูกละเลยมาตลอด