โพลชี้นโยบายค่าแรง 300 บาท ไม่ทำให้ชีวิตแรงงานดีขึ้น กว่า 85.9% ระบุสาเหตุเป็นเพราะข้าวของแพงขึ้น 7.1% บอกสวัสดิการแย่ลง
วันนี้ (29 เม.ย.) ศูนย์วิจัยมหาวิทยาลัยกรุงเทพ (กรุงเทพโพลล์) สำรวจความคิดเห็นของผู้ใช้แรงงานอายุ 18 ปีขึ้นไป ในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล จากกลุ่มตัวอย่างทั้งสิ้น 1,052 คน เรื่อง “มุมมองแรงงานหลังได้รับค่าแรงขั้นต่ำ 300 บาท” พบว่า ผู้ใช้แรงงานส่วนใหญ่ร้อยละ 75.1 ไม่มีภูมิลำเนาอยู่ในกรุงเทพฯ และปริมณฑล ขณะที่ร้อยละ 24.9 มีภูมิลำเนาอยู่ ทั้งนี้เมื่อถามถึงสาเหตุที่ผู้ใช้แรงงานไม่ทำงานในภูมิลำเนาที่เกิด ร้อยละ 64.8 ระบุว่ามีงานให้เลือกน้อย รองลงมาร้อยละ 33.4 ระบุว่าในกทม. และปริมณฑลมีสวัสดิการที่ดีกว่า และร้อยละ 33.3 ระบุว่าได้ค่าแรงต่ำกว่า 300 บาท โดยเมื่อถามต่อว่า “หากสามารถแก้ปัญหาดังกล่าวข้างต้นได้ ตั้งใจที่จะกลับไปทำงานในภูมิลำเนาเกิดหรือไม่” ร้อยละ 80.0 ตั้งใจว่าจะกลับ ขณะที่ร้อยละ 20.0 ตั้งใจว่าจะไม่กลับ
ส่วนผลกระทบที่มีต่อการทำงาน หลังจากมีการปรับขึ้นค่าแรงขั้นต่ำเป็น 300 บาท แรงงานส่วนใหญ่ร้อยละ 65.4 ระบุว่าไม่ได้รับผลกระทบ ขณะที่ร้อยละ 34.6 ระบุว่าได้รับผลกระทบ ในจำนวนนี้ร้อยละ 16.5 ระบุว่าทำงานล่วงเวลา (OT) ได้น้อยลง ร้อยละ 9.2 ระบุว่าต้องทำงานหนักมากขึ้น และร้อยละ 4.2 ระบุว่าไม่มีการปรับขึ้นค่าจ้างในช่วงที่ผ่านมา
เมื่อถามถึงชีวิตความเป็นอยู่ หลังจากมีการปรับขึ้นค่าแรงขั้นต่ำ 300 บาท พบว่า ส่วนใหญ่ร้อยละ 45.9 เห็นว่ามีชีวิตความเป็นอยู่เหมือนเดิม (เพิ่มขึ้นร้อยละ 9.4 จากการสำรวจในปี 55) ขณะที่ร้อยละ 44.2 เห็นว่าดีขึ้น (ลดลงร้อยละ 16.5) และร้อยละ 9.9 เห็นว่าแย่ลง (เพิ่มขึ้นร้อยละ 7.1) โดยสาเหตุที่ทำให้ชีวิตความเป็นอยู่ไม่ดีขึ้นอันดับแรกคือ ข้าวของแพงขึ้น (ร้อยละ 85.9) รองลงมาคือ ขาดสวัสดิการช่วยเหลือ/สวัสดิการแย่ลง (ร้อยละ 7.1) และงานไม่มั่นคง ไม่รู้จะถูกเลิกจ้างตอนไหน (ร้อยละ 4.4)
สุดท้ายเมื่อถามว่า “มีความกังวลว่าจะตกงานมากน้อยเพียงใด หลังจากการขึ้นค่าแรง 300 บาทมีผลทำให้ผู้ประกอบการ SME มีการลดพนักงานลง 15% (ข้อมูลจากสภาอุตสาหกรรมฯ) เพื่อประคองกิจการให้อยู่รอด” ร้อยละ 73.2 กังวลน้อยถึงน้อยที่สุด ขณะที่ร้อยละ 26.8 กังวลมากถึงมากที่สุด
วันนี้ (29 เม.ย.) ศูนย์วิจัยมหาวิทยาลัยกรุงเทพ (กรุงเทพโพลล์) สำรวจความคิดเห็นของผู้ใช้แรงงานอายุ 18 ปีขึ้นไป ในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล จากกลุ่มตัวอย่างทั้งสิ้น 1,052 คน เรื่อง “มุมมองแรงงานหลังได้รับค่าแรงขั้นต่ำ 300 บาท” พบว่า ผู้ใช้แรงงานส่วนใหญ่ร้อยละ 75.1 ไม่มีภูมิลำเนาอยู่ในกรุงเทพฯ และปริมณฑล ขณะที่ร้อยละ 24.9 มีภูมิลำเนาอยู่ ทั้งนี้เมื่อถามถึงสาเหตุที่ผู้ใช้แรงงานไม่ทำงานในภูมิลำเนาที่เกิด ร้อยละ 64.8 ระบุว่ามีงานให้เลือกน้อย รองลงมาร้อยละ 33.4 ระบุว่าในกทม. และปริมณฑลมีสวัสดิการที่ดีกว่า และร้อยละ 33.3 ระบุว่าได้ค่าแรงต่ำกว่า 300 บาท โดยเมื่อถามต่อว่า “หากสามารถแก้ปัญหาดังกล่าวข้างต้นได้ ตั้งใจที่จะกลับไปทำงานในภูมิลำเนาเกิดหรือไม่” ร้อยละ 80.0 ตั้งใจว่าจะกลับ ขณะที่ร้อยละ 20.0 ตั้งใจว่าจะไม่กลับ
ส่วนผลกระทบที่มีต่อการทำงาน หลังจากมีการปรับขึ้นค่าแรงขั้นต่ำเป็น 300 บาท แรงงานส่วนใหญ่ร้อยละ 65.4 ระบุว่าไม่ได้รับผลกระทบ ขณะที่ร้อยละ 34.6 ระบุว่าได้รับผลกระทบ ในจำนวนนี้ร้อยละ 16.5 ระบุว่าทำงานล่วงเวลา (OT) ได้น้อยลง ร้อยละ 9.2 ระบุว่าต้องทำงานหนักมากขึ้น และร้อยละ 4.2 ระบุว่าไม่มีการปรับขึ้นค่าจ้างในช่วงที่ผ่านมา
เมื่อถามถึงชีวิตความเป็นอยู่ หลังจากมีการปรับขึ้นค่าแรงขั้นต่ำ 300 บาท พบว่า ส่วนใหญ่ร้อยละ 45.9 เห็นว่ามีชีวิตความเป็นอยู่เหมือนเดิม (เพิ่มขึ้นร้อยละ 9.4 จากการสำรวจในปี 55) ขณะที่ร้อยละ 44.2 เห็นว่าดีขึ้น (ลดลงร้อยละ 16.5) และร้อยละ 9.9 เห็นว่าแย่ลง (เพิ่มขึ้นร้อยละ 7.1) โดยสาเหตุที่ทำให้ชีวิตความเป็นอยู่ไม่ดีขึ้นอันดับแรกคือ ข้าวของแพงขึ้น (ร้อยละ 85.9) รองลงมาคือ ขาดสวัสดิการช่วยเหลือ/สวัสดิการแย่ลง (ร้อยละ 7.1) และงานไม่มั่นคง ไม่รู้จะถูกเลิกจ้างตอนไหน (ร้อยละ 4.4)
สุดท้ายเมื่อถามว่า “มีความกังวลว่าจะตกงานมากน้อยเพียงใด หลังจากการขึ้นค่าแรง 300 บาทมีผลทำให้ผู้ประกอบการ SME มีการลดพนักงานลง 15% (ข้อมูลจากสภาอุตสาหกรรมฯ) เพื่อประคองกิจการให้อยู่รอด” ร้อยละ 73.2 กังวลน้อยถึงน้อยที่สุด ขณะที่ร้อยละ 26.8 กังวลมากถึงมากที่สุด