ปชป.จวก ”ปู” ให้ท้าย” แก๊งแดง” ข่มขู่ คุกคามศาลรธน. ทั้งที่ควรส่งสัญญาณห้ามปราม ไล่ไปอ่าน รธน.ใหม่ หลังท่องบทแก้ รธน.ปรับสมดุล 3 เสาหลัก ทั้งที่อำนาจเหมาะสมแล้ว “สุริยะใส “ ซัดเพื่อไทยชกนอกกติกา กรรมการจับได้ ก็ปลุกกองเชียร์ขว้างปา ชมรม สสร.2550 ออกแถลงการณ์สนับสนุนให้ศาลรัฐธรรมนูญปฏิบัติหน้าที่ตามกฎหมายอย่างเข้มแข็ง ยันตุลาการรัฐธรรมนูญทั้ง 9 คนได้รับการโปรดเกล้าฯ มาอย่างถูกต้อง ชี้กลุ่มคุกคามเข้าข่ายผิด กม.อาญา มาตรา 116
นายองอาจ คล้ามไพบูลย์ ส.ส.บัญชีรายชื่อ พรรคประชาธิปัตย์ กล่าวถึงกรณีที่ น.ส.ยิ่ง ลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรีแสดงความเห็นถึงการชุมนุมของคนเสื้อแดงที่ศาลรัฐธรรมนูญว่า การชุมนุมเรียกร้องที่อยู่ภายใต้กฎหมาย และความสงบเป็นสิทธิของประชาชนนั้น ก่อนที่นายกรัฐมนตรีจะให้ความเห็นเรื่องดังกล่าว ควรตรวจสอบพฤติกรรม ข้อเท็จจริงในการเคลื่อนไหวของคนเหล่านี้ก่อน เพราะข้อเท็จจริงไม่ได้เป็นการชุมนุมเรียกร้องภายใต้กฎหมายด้วยความสงบอย่าง ที่นายกฯบอก เพราะมีการประกาศจับตัวตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ และเรียกร้องให้ใครก็ตามที่พบเห็นจับกุมตัวได้ทันที
ดังนั้นการเรียกร้อง และการมีพฤติกรรมลักษณะนี้ จึงไม่ใช่การชุมนุมเรียกร้องตามสิทธิทางกฎหมายตามระบอบประชาธิปไตย และการแสดงออกดังกล่าว ก็ถือเป็นการข่มขู่ คุกคาม และมุ่งหมายต่อตัวบุคคล ซึ่งอาจจะนำไปสู่ความรุนแรงต่อตัวตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ หรือก่อให้เกิดความขัดแย้งในบ้านเมืองเพิ่มเติม
“สิ่งที่นายกฯ ควรดำเนินการคือ ไม่ควรพูดให้ท้ายในลักษณะนี้ แต่ควรจะแสดงออก หรือส่งสัญญาณให้เห็นถึงความพยายามห้ามปราม ไม่ปล่อยให้การข่มขู่ลักษณะนี้เกิดขึ้นอีก ไม่ว่าจะกับศาลรัฐธรรมนูญ หรือองค์กรใดๆ ก็ตาม เพราะพฤติกรรมของคนเสื้อแดงหน้าศาลรัฐธรรมนูญ เป็นพฤติกรรมที่เกินกว่าบุคคลทั่วไปจะรับได้ จึงไม่เข้าใจว่า ทำไมนายกฯ รับพฤติกรรมนี้ได้ ซึ่งอาจเป็นเพราะข้อมูลไม่พอ ก็หวังว่านายกฯ จะแสดงภาวะผู้นำ ส่งสัญญาณยุติพฤติกรรมข่มขู่ คุกคามดังกล่าว” นายองอาจ กล่าว
ส่วนที่นายกฯ พูดถึงการสร้างสมดุล 3 เสาหลัก ทั้ง อำนาจบริหาร อำนาจนิติบัญญัติ และอำนาจตุลาการ ที่ต้องให้เกิดความสมดุล และต้องมีการตรวจสอบอย่างโปร่งใสนั้น นายองอาจ กล่าวว่า ถ้านายกฯได้อ่านรัฐธรรมนูญที่บัญญัติเกี่ยวกับภาระหน้าที่ของทั้ง 3 ฝ่าย ที่ระบุในรัฐธรรมนูญปี 40 และรัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบัน ก็จะเห็นว่า เสาหลักของบ้านเมืองทั้ง 3 มีอำนาจหน้าที่ และมีการตรวจสอบ ถ่วงดุลกันอยู่แล้ว เพียงแต่การตรวจสอบถ่วงดุลนั้น อาจไม่เป็นที่พอใจของใครบางคน หรือคณะบุคคลคณะใดคณะหนึ่ง จึงทำให้พยายามชี้นำว่า ทั้ง 3 ฝ่ายไม่สามารถตรวจสอบถ่วงดุลกันได้ ทั้งที่ในรัฐธรรมนูญได้กำหนดให้มีการตรวจสอบ ถ่วงดุล อย่างถูกต้องเหมาะสมแล้ว จึงคิดว่าหากนายกฯ มีความเข้าใจ และมีเวลาอ่านรัฐธรรมนูญให้ชัดเจน จะได้เห็นว่า 3 เสาหลักของประเทศไทย ไม่มีปัญหาในเรื่องการตรวจสอบถ่วงดุลแต่อย่างใด
**ซัดเพื่อไทยเล่นบทนักเลงชกนอกกติกา
นายสุริยะใส กตะศิลา ผู้ประสานงานกลุ่มกรีน (Green Politics) กล่าวว่า กรณีที่คนเสื้อแดงกำลังชุมนุมไล่ ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ และข่มขูู่สารพัดวิธีอยู่ในขณะนี้ ได้รับการสนับสนุนโดยตรงจากพรรคเพื่อไทย และรัฐบาล เพราะแม้แต่นายกฯยิ่งลักษณ์ ก็บอกว่าเป็นสิทธิตามระบอบประชาธิปไตย และไม่ได้ห้ามปรามแต่อย่างใด ทั้งที่พฤติกรรมกลุ่มคนดังกล่าวเป็น ยิ่งกว่ากฎหมู่อยู่เหนือกฎหมาย เพราะเป็นวิถีอันธพาล แพ้แล้วระรานชวนตีชวนต่อย
"นายกฯปู คงชินชากับพฤติกรรมแบบนี้ และคงคิดว่าเป็น วิธีที่ทำให้ตัวเองได้อยู่ในตำแหน่งได้เรื่อยๆ โดยยังไม่มีผลงานแถลงต่อสภา จึงไม่รู้สึกรู้สากับการกระทำแบบนี้ ดังนั้นควรหาเวลาไปอ่านรัฐธรรมนูญบ้าง"
นายสุริยะใส กล่าวว่า พรรคเพื่อไทยมีสิทธิจะเห็นต่างกับศาลรัฐธรรมนูญ แต่ก็ควรใช้สิทธิโต้แย้งตามกรอบรัฐธรรมนูญ ซึ่งเปิดช่องใว้หลายช่องทาง ไม่ควรให้ท้าย หรือหลิ่วตาให้คนของตัวเองไปคุกคามตุลาการศาลรัฐธรรมนูญแบบนี้
ก่อนหน้านี้ ตอนที่ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยว่า พ.ร.ก.กู้เงินป้องกันน้ำท่วม 3.5 แสนล้านบาท ไม่ขัดรัฐธรรมนูญ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร และพรรคเพื่อไทย ก็ขอบคุณศาลรัฐธรรมนูญ แต่พอวินิจฉัยไม่ถูกใจตัวเอง ก็ไล่ตะเพิดศาล ทั้งที่เงินกู้ 3.5 แสนล้าน มีความไม่ชอบมาพากล จนคนของพรรคเพื่อไทยเอง ออกมาเปิดโปงว่าไม่โปร่งใส และได้ไปยื่นฟ้องต่อศาลปกครองแล้ว
"พฤติกรรมแบบนี้เขาไม่เรียกนักมวย ควรเรียกนักเลงมากกว่า ชกแบบตุกติก นอกกติกา พอกรรมการเตือน ก็ปลุกกองเชียร์ขว้างปา และถ้าเป็นนักเลง ก็คงเป็นได้แค่นักเลงคุมซอย แอบอยู่ในซอย ไม่กล้าออกมติพรรคไม่รับอำนาจศาลรัฐธรรมนูญ แต่ส่งสัญญาณให้มวลชนบริวาร เคลื่อนไหวต่อต้านแทน
ดังนั้นสังคมไทยต้องช่วยกันปกป้อง ให้กำลังใจศาลรัฐธรรมนูญ เพื่อรักษาไว้ซึ่งกลไกลการถ่วงดุล ตรวจสอบ และหยุดการผูกขาดกินรวบทางการเมือง"
** ส.ส.ร.50 หนุนตุลาการศาลรธน.ทำหน้าที่ต่อไป
วานนี้ (28 เม.ย.) ชมรมสมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญ 2550 (สสร.2550) นำโดย นายเกียรติชัย พงษ์พาณิชย์ ออกแถลงการณ์ประกาศจุดยืนที่จะร่วมปกป้อง ร่วมมือ และสนับสนุนให้ศาลรัฐธรรมนูญปฏิบัติหน้าที่ตามกฎหมายอย่างเข้มแข็งจนถึงที่สุด เพื่อพิทักษ์ไว้ซึ่งรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย และการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขต่อไป โดยระบุว่า จากสถานการณ์การเมืองในปัจจุบัน ได้ปรากฏขบวนการทางการเมือง ทั้งพรรคการเมือง นักการเมือง และมวลชนในเครือข่าย หวังเปลี่ยนแปลงรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 ได้กระทำการกดดัน คุกคาม ขัดขวางการปฏิบัติหน้าที่ หวังทำลายความชอบธรรมและความน่าเชื่อถือขององค์กรตรวจสอบดังเช่นศาลรัฐธรรมนูญ ด้วยพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสม ไม่ชอบด้วยกฎหมาย และไม่เป็นไปตามครรลองของระบอบประชาธิปไตยที่แท้จริง ชมรม สสร.2550 จึง ขอให้กำลังใจตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ และขอสนับสนุนให้ตุลาการปฏิบัติหน้าที่สำคัญตามบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญและ กฎหมายต่อไป เพราะศาลรัฐธรรมนูญจะต้องเป็นหลักให้กับบ้านเมือง โดยเฉพาะเมื่อฝ่ายการเมืองถือเอาความต้องการของพรรคพวกตนเป็นใหญ่มากกว่า ระบบกฎหมาย เนื่องจาก ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ มีที่มาถูกต้องตามรัฐธรรมนูญ ดังพระบรมราชโองการประกาศแต่งตั้งประธานศาลรัฐธรรมนูญและตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ เมื่อวันที่ 28 พ.ค. 2551
“ พฤติการณ์ของ ส.ส. ส.ว. พรรคการเมือง และผู้ที่อยู่เบื้องหลัง ที่ประกาศไม่รับอำนาจศาลรัฐธรรมนูญ รวมทั้งยุยง ส่งเสริม สนับสนุน ตลอดจนบงการหรือสั่งการ ก่อให้เกิดความปั่นป่วนหรือกระด้างกระเดื่องในหมู่ประชาชน เกิดการล่วงละเมิดกฎหมายแผ่นดิน ข่มขู่คุกคามตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ ถึงขนาดประกาศจับกุมตัวตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ อาจเข้าข่ายความผิดตามกฎหมายอาญา มาตรา 116 รัฐบาลซึ่งเป็น ฝ่ายบริหารจะต้องทำหน้าที่ปกป้องคุ้มครององค์กรตามรัฐธรรมนูญเช่นศาลรัฐ ธรรมนูญให้สามารถปฏิบัติหน้าที่ได้อย่างเป็นอิสระจากการคุกคามทั้งหลาย มิใช่ให้ท้ายหรือยุยงส่งเสริมให้มีการคุกคามศาลรัฐธรรมนูญ สอดรับกับท่าทีไม่รับอำนาจศาลของ ส.ส.ในสังกัดพรรครัฐบาลต่อไป” ชมรม สสร.2550 ระบุ
**บรรยากาศชุมนุหน้าศาลรธน.เรียบร้อย
ผู้สื่อข่าวรายงานจากสำนักงานศาลรัฐธรรมนูญว่า กลุ่มสื่อวิทยุประชาชนเพื่อประชาธิปไตย (กวป.) ที่นำโดยนายพงษ์พิสิษฐ์ คงเสนา หรือ เล็กบ้านดอน ผู้อำนวยสถานีวิทยุคนไทยหัวใจเดียวกัน ยังคงปักหลักชุมนุมกดดันเรียกร้องให้ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญทั้ง 9 คน ยุติการทำหน้าที่โดยเด็ดขาด ที่บริเวณด้านหน้าอาคารราชบุรีดิเรกฤิทธิ์ ศนูย์ราชการแจ้งวัฒนะซึ่งเป็นที่ตั้งสำนักงานศาลรัฐธรรมนูญต่อเนื่องมาเป็น วันที่ 7 โดยตลอดทั้งวันการชุมนุมยังคงเป็นไปด้วยความสงบเรียบร้อย โดยบรรดาแกนนำ อาทิ นายพงษ์พิสิษฐ์ คงเสนา นายศรรักษ์ มาลัยทอง นายธนชัย สีหิน และนายมงคล หนองบัวลำภู สลับกันจัดรายการวิทยุและขึ้นเวทีปราศรัยเรียกร้องให้มวลชนคนเสื้อแดงออกมาร่วม ชุมนุมเรียกร้องและกดดันตุลการศาลรัฐธรรมนูญให้ยุติการปฏิบัติหน้าที่ ขณะที่บรรยากาศโดยรอบการชุมนุมเริ่มคึกคักในช่วงเย็น ประชาชนจากต่างจังหวัดทยอยเข้ามาร่วมชุมนุมเพิ่มขึ้นจากเมื่อตอนช่วงเช้า และมีคนจำนวนไม่น้อยไปร่วมลงชื่อ เพื่อยื่นรายชื่อถอดถอนตุลาการศาลรัฐธรรมนูญทั้ง 9 คน
**พท.นัดถกปมแก้รธน. 30 เม.ย.นี้
นายจารุพงศ์ เรืองสุวรรณ รมว.มหาดไทย ในฐานะหัวหน้าพรรคเพื่อไทย กล่าวถึงกรณี ส.ส.พรรคเพื่อไทย ไม่ยอมรับมติศาลรัฐธรรมนูญ ที่รับคำร้องร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญว่า ไม่ขอแสดงความคิดเห็นแทน ส ส. แต่เชื่อว่าบรรยากาศทางการเมืองคงราบรื่น โดยจะหารือที่ประชุมพรรควันที่ 30 เม.ย.นี้
ส่วนความคืบหน้าการเสวนาเพื่อสร้างความปรองดอง จะเดินหน้าต่อตั้งแต่เดือนพฤษภาคมนี้ คาดว่าจะใช้เวลาประมาณ 2 เดือน จะได้ข้อสรุปที่ชัดเจน โดยจะใช้ตัวอย่างการพูดคุยกับประชาชน 75,000 คน ใน 108 เวที รวบรวม 4 เขตต่อ 1 เวทีเสวนา
นายจารุพงศ์ ยังกล่าวถึงกรณีกลุ่มผู้ร่วมพัฒนาชาติไทย เรียกร้องให้รัฐบาลชดเชยตามสัญญาคำสั่งที่ 66/2523 ว่า กลุ่มดังกล่าวได้วางอาวุธ และยุติสงครามการต่อสู้ ตั้งแต่ปี 2526 ซึ่งส่วนหนึ่งรัฐบาลได้ให้การดูแลทั้งเรื่องอาชีพ ข้อกฎหมายต่างๆ หากกระทำผิดกฎหมายอาญาต้องดำเนินคดี โดยเฉพาะ จ.กระบี่ และ จ.นครราชสีมา หัวหน้ากลุ่มได้ประสานกับผู้ว่าราชการจังหวัดมาโดยตลอด และผู้ว่าราชการจังหวัด ยืนยันว่า เป็นกลุ่มคนที่มีความรู้เรื่องรากฐานระบอบประชาธิปไตยอย่างดี สามารถพูดคุยได้ จึงไม่รู้สึกหนักใจ หากกลุ่มผู้ร่วมพัฒนาชาติไทยมีปัญหา ก็พร้อมให้การช่วยเหลือ ไม่ถือเป็นเรื่องขัดแย้ง และยังไม่ได้รับรายงานว่า จะมีการปลุกระดม จึงไม่สั่งการให้ผู้ว่าราชการจังหวัดดูแลเป็นพิเศษ.
นายองอาจ คล้ามไพบูลย์ ส.ส.บัญชีรายชื่อ พรรคประชาธิปัตย์ กล่าวถึงกรณีที่ น.ส.ยิ่ง ลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรีแสดงความเห็นถึงการชุมนุมของคนเสื้อแดงที่ศาลรัฐธรรมนูญว่า การชุมนุมเรียกร้องที่อยู่ภายใต้กฎหมาย และความสงบเป็นสิทธิของประชาชนนั้น ก่อนที่นายกรัฐมนตรีจะให้ความเห็นเรื่องดังกล่าว ควรตรวจสอบพฤติกรรม ข้อเท็จจริงในการเคลื่อนไหวของคนเหล่านี้ก่อน เพราะข้อเท็จจริงไม่ได้เป็นการชุมนุมเรียกร้องภายใต้กฎหมายด้วยความสงบอย่าง ที่นายกฯบอก เพราะมีการประกาศจับตัวตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ และเรียกร้องให้ใครก็ตามที่พบเห็นจับกุมตัวได้ทันที
ดังนั้นการเรียกร้อง และการมีพฤติกรรมลักษณะนี้ จึงไม่ใช่การชุมนุมเรียกร้องตามสิทธิทางกฎหมายตามระบอบประชาธิปไตย และการแสดงออกดังกล่าว ก็ถือเป็นการข่มขู่ คุกคาม และมุ่งหมายต่อตัวบุคคล ซึ่งอาจจะนำไปสู่ความรุนแรงต่อตัวตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ หรือก่อให้เกิดความขัดแย้งในบ้านเมืองเพิ่มเติม
“สิ่งที่นายกฯ ควรดำเนินการคือ ไม่ควรพูดให้ท้ายในลักษณะนี้ แต่ควรจะแสดงออก หรือส่งสัญญาณให้เห็นถึงความพยายามห้ามปราม ไม่ปล่อยให้การข่มขู่ลักษณะนี้เกิดขึ้นอีก ไม่ว่าจะกับศาลรัฐธรรมนูญ หรือองค์กรใดๆ ก็ตาม เพราะพฤติกรรมของคนเสื้อแดงหน้าศาลรัฐธรรมนูญ เป็นพฤติกรรมที่เกินกว่าบุคคลทั่วไปจะรับได้ จึงไม่เข้าใจว่า ทำไมนายกฯ รับพฤติกรรมนี้ได้ ซึ่งอาจเป็นเพราะข้อมูลไม่พอ ก็หวังว่านายกฯ จะแสดงภาวะผู้นำ ส่งสัญญาณยุติพฤติกรรมข่มขู่ คุกคามดังกล่าว” นายองอาจ กล่าว
ส่วนที่นายกฯ พูดถึงการสร้างสมดุล 3 เสาหลัก ทั้ง อำนาจบริหาร อำนาจนิติบัญญัติ และอำนาจตุลาการ ที่ต้องให้เกิดความสมดุล และต้องมีการตรวจสอบอย่างโปร่งใสนั้น นายองอาจ กล่าวว่า ถ้านายกฯได้อ่านรัฐธรรมนูญที่บัญญัติเกี่ยวกับภาระหน้าที่ของทั้ง 3 ฝ่าย ที่ระบุในรัฐธรรมนูญปี 40 และรัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบัน ก็จะเห็นว่า เสาหลักของบ้านเมืองทั้ง 3 มีอำนาจหน้าที่ และมีการตรวจสอบ ถ่วงดุลกันอยู่แล้ว เพียงแต่การตรวจสอบถ่วงดุลนั้น อาจไม่เป็นที่พอใจของใครบางคน หรือคณะบุคคลคณะใดคณะหนึ่ง จึงทำให้พยายามชี้นำว่า ทั้ง 3 ฝ่ายไม่สามารถตรวจสอบถ่วงดุลกันได้ ทั้งที่ในรัฐธรรมนูญได้กำหนดให้มีการตรวจสอบ ถ่วงดุล อย่างถูกต้องเหมาะสมแล้ว จึงคิดว่าหากนายกฯ มีความเข้าใจ และมีเวลาอ่านรัฐธรรมนูญให้ชัดเจน จะได้เห็นว่า 3 เสาหลักของประเทศไทย ไม่มีปัญหาในเรื่องการตรวจสอบถ่วงดุลแต่อย่างใด
**ซัดเพื่อไทยเล่นบทนักเลงชกนอกกติกา
นายสุริยะใส กตะศิลา ผู้ประสานงานกลุ่มกรีน (Green Politics) กล่าวว่า กรณีที่คนเสื้อแดงกำลังชุมนุมไล่ ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ และข่มขูู่สารพัดวิธีอยู่ในขณะนี้ ได้รับการสนับสนุนโดยตรงจากพรรคเพื่อไทย และรัฐบาล เพราะแม้แต่นายกฯยิ่งลักษณ์ ก็บอกว่าเป็นสิทธิตามระบอบประชาธิปไตย และไม่ได้ห้ามปรามแต่อย่างใด ทั้งที่พฤติกรรมกลุ่มคนดังกล่าวเป็น ยิ่งกว่ากฎหมู่อยู่เหนือกฎหมาย เพราะเป็นวิถีอันธพาล แพ้แล้วระรานชวนตีชวนต่อย
"นายกฯปู คงชินชากับพฤติกรรมแบบนี้ และคงคิดว่าเป็น วิธีที่ทำให้ตัวเองได้อยู่ในตำแหน่งได้เรื่อยๆ โดยยังไม่มีผลงานแถลงต่อสภา จึงไม่รู้สึกรู้สากับการกระทำแบบนี้ ดังนั้นควรหาเวลาไปอ่านรัฐธรรมนูญบ้าง"
นายสุริยะใส กล่าวว่า พรรคเพื่อไทยมีสิทธิจะเห็นต่างกับศาลรัฐธรรมนูญ แต่ก็ควรใช้สิทธิโต้แย้งตามกรอบรัฐธรรมนูญ ซึ่งเปิดช่องใว้หลายช่องทาง ไม่ควรให้ท้าย หรือหลิ่วตาให้คนของตัวเองไปคุกคามตุลาการศาลรัฐธรรมนูญแบบนี้
ก่อนหน้านี้ ตอนที่ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยว่า พ.ร.ก.กู้เงินป้องกันน้ำท่วม 3.5 แสนล้านบาท ไม่ขัดรัฐธรรมนูญ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร และพรรคเพื่อไทย ก็ขอบคุณศาลรัฐธรรมนูญ แต่พอวินิจฉัยไม่ถูกใจตัวเอง ก็ไล่ตะเพิดศาล ทั้งที่เงินกู้ 3.5 แสนล้าน มีความไม่ชอบมาพากล จนคนของพรรคเพื่อไทยเอง ออกมาเปิดโปงว่าไม่โปร่งใส และได้ไปยื่นฟ้องต่อศาลปกครองแล้ว
"พฤติกรรมแบบนี้เขาไม่เรียกนักมวย ควรเรียกนักเลงมากกว่า ชกแบบตุกติก นอกกติกา พอกรรมการเตือน ก็ปลุกกองเชียร์ขว้างปา และถ้าเป็นนักเลง ก็คงเป็นได้แค่นักเลงคุมซอย แอบอยู่ในซอย ไม่กล้าออกมติพรรคไม่รับอำนาจศาลรัฐธรรมนูญ แต่ส่งสัญญาณให้มวลชนบริวาร เคลื่อนไหวต่อต้านแทน
ดังนั้นสังคมไทยต้องช่วยกันปกป้อง ให้กำลังใจศาลรัฐธรรมนูญ เพื่อรักษาไว้ซึ่งกลไกลการถ่วงดุล ตรวจสอบ และหยุดการผูกขาดกินรวบทางการเมือง"
** ส.ส.ร.50 หนุนตุลาการศาลรธน.ทำหน้าที่ต่อไป
วานนี้ (28 เม.ย.) ชมรมสมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญ 2550 (สสร.2550) นำโดย นายเกียรติชัย พงษ์พาณิชย์ ออกแถลงการณ์ประกาศจุดยืนที่จะร่วมปกป้อง ร่วมมือ และสนับสนุนให้ศาลรัฐธรรมนูญปฏิบัติหน้าที่ตามกฎหมายอย่างเข้มแข็งจนถึงที่สุด เพื่อพิทักษ์ไว้ซึ่งรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย และการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขต่อไป โดยระบุว่า จากสถานการณ์การเมืองในปัจจุบัน ได้ปรากฏขบวนการทางการเมือง ทั้งพรรคการเมือง นักการเมือง และมวลชนในเครือข่าย หวังเปลี่ยนแปลงรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 ได้กระทำการกดดัน คุกคาม ขัดขวางการปฏิบัติหน้าที่ หวังทำลายความชอบธรรมและความน่าเชื่อถือขององค์กรตรวจสอบดังเช่นศาลรัฐธรรมนูญ ด้วยพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสม ไม่ชอบด้วยกฎหมาย และไม่เป็นไปตามครรลองของระบอบประชาธิปไตยที่แท้จริง ชมรม สสร.2550 จึง ขอให้กำลังใจตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ และขอสนับสนุนให้ตุลาการปฏิบัติหน้าที่สำคัญตามบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญและ กฎหมายต่อไป เพราะศาลรัฐธรรมนูญจะต้องเป็นหลักให้กับบ้านเมือง โดยเฉพาะเมื่อฝ่ายการเมืองถือเอาความต้องการของพรรคพวกตนเป็นใหญ่มากกว่า ระบบกฎหมาย เนื่องจาก ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ มีที่มาถูกต้องตามรัฐธรรมนูญ ดังพระบรมราชโองการประกาศแต่งตั้งประธานศาลรัฐธรรมนูญและตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ เมื่อวันที่ 28 พ.ค. 2551
“ พฤติการณ์ของ ส.ส. ส.ว. พรรคการเมือง และผู้ที่อยู่เบื้องหลัง ที่ประกาศไม่รับอำนาจศาลรัฐธรรมนูญ รวมทั้งยุยง ส่งเสริม สนับสนุน ตลอดจนบงการหรือสั่งการ ก่อให้เกิดความปั่นป่วนหรือกระด้างกระเดื่องในหมู่ประชาชน เกิดการล่วงละเมิดกฎหมายแผ่นดิน ข่มขู่คุกคามตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ ถึงขนาดประกาศจับกุมตัวตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ อาจเข้าข่ายความผิดตามกฎหมายอาญา มาตรา 116 รัฐบาลซึ่งเป็น ฝ่ายบริหารจะต้องทำหน้าที่ปกป้องคุ้มครององค์กรตามรัฐธรรมนูญเช่นศาลรัฐ ธรรมนูญให้สามารถปฏิบัติหน้าที่ได้อย่างเป็นอิสระจากการคุกคามทั้งหลาย มิใช่ให้ท้ายหรือยุยงส่งเสริมให้มีการคุกคามศาลรัฐธรรมนูญ สอดรับกับท่าทีไม่รับอำนาจศาลของ ส.ส.ในสังกัดพรรครัฐบาลต่อไป” ชมรม สสร.2550 ระบุ
**บรรยากาศชุมนุหน้าศาลรธน.เรียบร้อย
ผู้สื่อข่าวรายงานจากสำนักงานศาลรัฐธรรมนูญว่า กลุ่มสื่อวิทยุประชาชนเพื่อประชาธิปไตย (กวป.) ที่นำโดยนายพงษ์พิสิษฐ์ คงเสนา หรือ เล็กบ้านดอน ผู้อำนวยสถานีวิทยุคนไทยหัวใจเดียวกัน ยังคงปักหลักชุมนุมกดดันเรียกร้องให้ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญทั้ง 9 คน ยุติการทำหน้าที่โดยเด็ดขาด ที่บริเวณด้านหน้าอาคารราชบุรีดิเรกฤิทธิ์ ศนูย์ราชการแจ้งวัฒนะซึ่งเป็นที่ตั้งสำนักงานศาลรัฐธรรมนูญต่อเนื่องมาเป็น วันที่ 7 โดยตลอดทั้งวันการชุมนุมยังคงเป็นไปด้วยความสงบเรียบร้อย โดยบรรดาแกนนำ อาทิ นายพงษ์พิสิษฐ์ คงเสนา นายศรรักษ์ มาลัยทอง นายธนชัย สีหิน และนายมงคล หนองบัวลำภู สลับกันจัดรายการวิทยุและขึ้นเวทีปราศรัยเรียกร้องให้มวลชนคนเสื้อแดงออกมาร่วม ชุมนุมเรียกร้องและกดดันตุลการศาลรัฐธรรมนูญให้ยุติการปฏิบัติหน้าที่ ขณะที่บรรยากาศโดยรอบการชุมนุมเริ่มคึกคักในช่วงเย็น ประชาชนจากต่างจังหวัดทยอยเข้ามาร่วมชุมนุมเพิ่มขึ้นจากเมื่อตอนช่วงเช้า และมีคนจำนวนไม่น้อยไปร่วมลงชื่อ เพื่อยื่นรายชื่อถอดถอนตุลาการศาลรัฐธรรมนูญทั้ง 9 คน
**พท.นัดถกปมแก้รธน. 30 เม.ย.นี้
นายจารุพงศ์ เรืองสุวรรณ รมว.มหาดไทย ในฐานะหัวหน้าพรรคเพื่อไทย กล่าวถึงกรณี ส.ส.พรรคเพื่อไทย ไม่ยอมรับมติศาลรัฐธรรมนูญ ที่รับคำร้องร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญว่า ไม่ขอแสดงความคิดเห็นแทน ส ส. แต่เชื่อว่าบรรยากาศทางการเมืองคงราบรื่น โดยจะหารือที่ประชุมพรรควันที่ 30 เม.ย.นี้
ส่วนความคืบหน้าการเสวนาเพื่อสร้างความปรองดอง จะเดินหน้าต่อตั้งแต่เดือนพฤษภาคมนี้ คาดว่าจะใช้เวลาประมาณ 2 เดือน จะได้ข้อสรุปที่ชัดเจน โดยจะใช้ตัวอย่างการพูดคุยกับประชาชน 75,000 คน ใน 108 เวที รวบรวม 4 เขตต่อ 1 เวทีเสวนา
นายจารุพงศ์ ยังกล่าวถึงกรณีกลุ่มผู้ร่วมพัฒนาชาติไทย เรียกร้องให้รัฐบาลชดเชยตามสัญญาคำสั่งที่ 66/2523 ว่า กลุ่มดังกล่าวได้วางอาวุธ และยุติสงครามการต่อสู้ ตั้งแต่ปี 2526 ซึ่งส่วนหนึ่งรัฐบาลได้ให้การดูแลทั้งเรื่องอาชีพ ข้อกฎหมายต่างๆ หากกระทำผิดกฎหมายอาญาต้องดำเนินคดี โดยเฉพาะ จ.กระบี่ และ จ.นครราชสีมา หัวหน้ากลุ่มได้ประสานกับผู้ว่าราชการจังหวัดมาโดยตลอด และผู้ว่าราชการจังหวัด ยืนยันว่า เป็นกลุ่มคนที่มีความรู้เรื่องรากฐานระบอบประชาธิปไตยอย่างดี สามารถพูดคุยได้ จึงไม่รู้สึกหนักใจ หากกลุ่มผู้ร่วมพัฒนาชาติไทยมีปัญหา ก็พร้อมให้การช่วยเหลือ ไม่ถือเป็นเรื่องขัดแย้ง และยังไม่ได้รับรายงานว่า จะมีการปลุกระดม จึงไม่สั่งการให้ผู้ว่าราชการจังหวัดดูแลเป็นพิเศษ.