ASTV ผู้จัดการรายวัน - หุ้นร่วง9จุด จอแรงเททขายทำกำไรหลังงตัวเลขเศรษฐกิจจีนออกมาน่าผิดหวัง กดดันทุกตลาดในภูมิภาคปรับลง โบรกเกอร์ไม่่แปลกใจชี้ขึ้นมาหลายวันย่อมมีปรับฐาน แต่หวั่นภาครัฐฐออกมมาตรการแก้บาทแข็งงหลังงส่งงออกกระทบหนัก คาดระยะสั้นมีโอกาสฟื้นตัว
ตลาดหุ้นไทยปิดตลาดวานนี้ (23 เม.ย.) โดยปิดที่ระดับ 1,549.35 จุด ลดลง 9.75 จุด 0.63% มูลค่าการซื้อขาย 53,682.96 ล้านบาท ระหว่างวันปรับตัวสูงสุดที่ระดับ 1,564.51 จุด และลดลงต่ำสุดอยู่ที่ 1,546.76 จุด หลักทรัพย์เปลี่ยนแปลงเพิ่มขึ้น 232 หลักทรัพย์ ลดลง 407 หลักทรัพย์และไม่เปลี่ยนแปลง 123 หลักทรัพย์ ทิศทางการซื้อขายหุ้นวานนี้ ดัชนีเคลื่อนไหวในแดนลบเป็นส่วนใหญ่
โดยการซื้อขายสุทธิแยกตามกลุ่มนักลงทุนพบว่า นักลงทุนทั่วไปซื้อสุทธิ 2,094.49 ล้านบาท บัญชีบริษัทหลักหลักทรัพย์ (บล.) ซื้อสุทธิ 407.68 ล้านบาท ในขณะที่ นักลงทุนต่างประเทศขายสุทธิ 1,230.07 ล้านบาท และ สถาบันในประเทศขายสุทธิ 1,272.10 ล้านบาท
หลักทรัพย์ที่มีมูลค่าการซื้อขายสูงสุด 5 อันดับหลักทรัพย์ ได้แก่ KTB ปิดที่ 24.20 บาท ลดลง 1.30 บาท หรือ5.10% มูลค่าการซื้อขาย 2,952.92 ล้านบาท JAS ปิดที่ 7.85 บาท ราคาไม่เปลี่ยนแปลง มูลค่าการซื้อขาย 2,506.13 ล้านบาท SCB ปิดที่ 184.50 บาท เพิ่มขึ้น 1.00 บาท เพิ่มขึ้น 0.54% มูลค่าการซื้อขาย 2,151.19 ล้านบาท CPF ปิดที่ 28.50 บาท ลดลง 1.50 บาท ลดลง 5.00% มูลค่าการซื้อขาย 2,026.25 ล้านบาท BBL ปิดที่ 224.00 บาท ลดลง 3.00 บาท ลดลง 1.32% มูลค่าการซื้อขาย 1,903.58 ล้านบาท
นายธนเดช รังษีธนานนท์ ผู้อำนวยการฝ่ายวิเคราะห์หลักทรัพย์ บล.กรุงศรี กล่าวว่า ตลาดหุ้นไทยในช่วงบ่ายปรับตัวลงในทิศทางเดียวกับตลาดหุ้นอื่นในภูมิภาคเอเชียที่ต่างๆอยู่ในแดนลบ สาเหตุหนึ่งมาจากภาคการผลิตของจีนที่ออกมาขยายตัวช้า ทำให้เศรษฐกิจชะลอตัว นักลงทุนจึงเทขายทำกำไรออกมา
ขณะที่ตลาดหุ้นไทยในช่วงที่ผ่านมาได้มีการปรับตัวขึ้นมาหลายวัน และการที่ตลาดฯจะปรับตัวลงไปถือว่าเรื่องปกติ เพราะเป็นแค่การ take profit เท่านั้นส่วนหนึ่งมาจากการผิดหวังกับการประกาศงบฯของ KTB อีกทั้งในส่วนของค่าเงินบาทที่ยังคงแข็งค่าขึ้นอย่างต่อเนื่อง ส่งผลทำให้มีปัญหาต่อการส่งออก ทำให้ภาครัฐฯอาจจะได้รับแรงกดดันจากผู้ประกอบการให้หามาตรการแก้ใขปัญหาดังกกล่าว
ทำให้แนวโน้มการลงทุนวันนี้(24เม.ย.)นายธนเดช กล่าวว่า ถ้าดูปัจจัยต่างประเทศในภาพของยุโรป และสหรัฐฯยังดี ตลาดฯมีโอกาสที่จะฟื้นตัวได้ เพราะยังไม่เห็นปัจจัยลบสำคัญเข้ามาเพิ่ม ส่วนเงินบาทที่แข็งค่าทำให้การส่งออกไม่ดี ดังนั้นระยะสั้นอาจมีการหารือมาตรการแก้ปัญหา ซึ่งอาจสร้างความกังวลได้ โดยให้แนวรับ 1,530 จุด แนวต้าน 1,570 จุด
ตลาดหุ้นไทยปิดตลาดวานนี้ (23 เม.ย.) โดยปิดที่ระดับ 1,549.35 จุด ลดลง 9.75 จุด 0.63% มูลค่าการซื้อขาย 53,682.96 ล้านบาท ระหว่างวันปรับตัวสูงสุดที่ระดับ 1,564.51 จุด และลดลงต่ำสุดอยู่ที่ 1,546.76 จุด หลักทรัพย์เปลี่ยนแปลงเพิ่มขึ้น 232 หลักทรัพย์ ลดลง 407 หลักทรัพย์และไม่เปลี่ยนแปลง 123 หลักทรัพย์ ทิศทางการซื้อขายหุ้นวานนี้ ดัชนีเคลื่อนไหวในแดนลบเป็นส่วนใหญ่
โดยการซื้อขายสุทธิแยกตามกลุ่มนักลงทุนพบว่า นักลงทุนทั่วไปซื้อสุทธิ 2,094.49 ล้านบาท บัญชีบริษัทหลักหลักทรัพย์ (บล.) ซื้อสุทธิ 407.68 ล้านบาท ในขณะที่ นักลงทุนต่างประเทศขายสุทธิ 1,230.07 ล้านบาท และ สถาบันในประเทศขายสุทธิ 1,272.10 ล้านบาท
หลักทรัพย์ที่มีมูลค่าการซื้อขายสูงสุด 5 อันดับหลักทรัพย์ ได้แก่ KTB ปิดที่ 24.20 บาท ลดลง 1.30 บาท หรือ5.10% มูลค่าการซื้อขาย 2,952.92 ล้านบาท JAS ปิดที่ 7.85 บาท ราคาไม่เปลี่ยนแปลง มูลค่าการซื้อขาย 2,506.13 ล้านบาท SCB ปิดที่ 184.50 บาท เพิ่มขึ้น 1.00 บาท เพิ่มขึ้น 0.54% มูลค่าการซื้อขาย 2,151.19 ล้านบาท CPF ปิดที่ 28.50 บาท ลดลง 1.50 บาท ลดลง 5.00% มูลค่าการซื้อขาย 2,026.25 ล้านบาท BBL ปิดที่ 224.00 บาท ลดลง 3.00 บาท ลดลง 1.32% มูลค่าการซื้อขาย 1,903.58 ล้านบาท
นายธนเดช รังษีธนานนท์ ผู้อำนวยการฝ่ายวิเคราะห์หลักทรัพย์ บล.กรุงศรี กล่าวว่า ตลาดหุ้นไทยในช่วงบ่ายปรับตัวลงในทิศทางเดียวกับตลาดหุ้นอื่นในภูมิภาคเอเชียที่ต่างๆอยู่ในแดนลบ สาเหตุหนึ่งมาจากภาคการผลิตของจีนที่ออกมาขยายตัวช้า ทำให้เศรษฐกิจชะลอตัว นักลงทุนจึงเทขายทำกำไรออกมา
ขณะที่ตลาดหุ้นไทยในช่วงที่ผ่านมาได้มีการปรับตัวขึ้นมาหลายวัน และการที่ตลาดฯจะปรับตัวลงไปถือว่าเรื่องปกติ เพราะเป็นแค่การ take profit เท่านั้นส่วนหนึ่งมาจากการผิดหวังกับการประกาศงบฯของ KTB อีกทั้งในส่วนของค่าเงินบาทที่ยังคงแข็งค่าขึ้นอย่างต่อเนื่อง ส่งผลทำให้มีปัญหาต่อการส่งออก ทำให้ภาครัฐฯอาจจะได้รับแรงกดดันจากผู้ประกอบการให้หามาตรการแก้ใขปัญหาดังกกล่าว
ทำให้แนวโน้มการลงทุนวันนี้(24เม.ย.)นายธนเดช กล่าวว่า ถ้าดูปัจจัยต่างประเทศในภาพของยุโรป และสหรัฐฯยังดี ตลาดฯมีโอกาสที่จะฟื้นตัวได้ เพราะยังไม่เห็นปัจจัยลบสำคัญเข้ามาเพิ่ม ส่วนเงินบาทที่แข็งค่าทำให้การส่งออกไม่ดี ดังนั้นระยะสั้นอาจมีการหารือมาตรการแก้ปัญหา ซึ่งอาจสร้างความกังวลได้ โดยให้แนวรับ 1,530 จุด แนวต้าน 1,570 จุด