ASTVผู้จัดการรายวัน - สรรพากรกระอัก ผวารายได้ทรุดจากนโยบายหั่นภาษีนิติบุคคลเหลือ 23% ปี 55 และ 20% ในปี 56 คาดเม็ดเงินหายไปกว่า 8 หมื่นล้านบาท แถมโดนค่าบาทแข็งซ้ำเติมฉุดผลการดำเนินงานผู้นำเข้าส่งออกกระทบต่อการจัดเก็บ เร่งขยายฐานภาษีไปยังช่องทางใหม่ๆ หวังรายได้เข้าเป้า 1.774 ล้านล้านบาท
นางวณี ทัศมณเทียร ที่ปรึกษาด้านยุทธศาสตร์การจัดเก็บภาษี กลุ่มธุรกิจพลังงาน กรมสรรพากร เปิดเผยว่า กรมสรรพากรมีความเป็นห่วงการจัดเก็บรายได้จากภาษีนิติบุคคล จึงได้สั่งการให้แต่ละพื้นที่เร่งสำรวจข้อมูลกำไรเบื้องต้นของธุรกิจที่จะต้องยื่นแบบเสียภาษีเงินได้นิติบุคคล งวดปี 2555 ที่จะยื่นภายในเดือนพฤษภาคมนี้ ซึ่งเป็นผลของการปรับลดอัตราภาษีจาก 30% เหลือ 23% และในเดือนสิงหาคม จะเป็นการยื่นเสียภาษีครึ่งปี 2556 ซึ่งอัตราภาษีจะลดเหลือ 20% เท่านั้น โดยประมาณการว่า อัตราภาษีที่ลดลงดังกล่าว จะทำให้รายได้หายไปประมาณ 8 หมื่นล้านบาท และหากจะสามารถชดเชยรายได้ที่หายไป กำไรของธุรกิจจะต้องเติบโตประมาณ 25%
นอกจากนี้การที่ค่าเงินบาทแข็งค่าขึ้นอย่างต่อเนื่อง ยังมีผลกระทบต่อการจัดเก็บรายได้ของกรมสรรพากรจากทั้งผู้ประกอบการส่งออกและนำเข้าด้วย เนื่องจากค่าเงินบาที่แข็งค่าขึ้น ทำให้รายได้ของผู้ส่งออกเมื่อแลกเป็นเงินบาทลดลง และจะกระทบต่อกำไรในที่สุด ขณะเดียวกันยังกระทบต่อการจัดเก็บภาษีมูลค่าเพิ่ม (VAT) ของผู้นำเข้าด้วย เพราะการสั่งซื้อสินค้า เมื่อต้องจ่ายเป็นเงินที่ลดลงตามค่าเงินที่แข็งขึ้น ส่งผลต่อการคำนวณ VAT ด้วย ซึ่งค่าเงินถือเป็นความกังวลใหม่ของกรมสรรพาที่ไม่เคยนำมาเป็นปัจจัยในการจัดเก็บรายได้มาก่อน
“ขณะนี้ถือว่า การจัดเก็บรายได้ของกรมเจอผลกระทบรอบด้าน ทั้งอัตราภาษีที่ลดลงแล้ว ยังมากระทบจากค่าเงินบาทที่แข็งค่าขึ้นต่อเนื่องด้วย แต่เราเองก็ไมได้นิ่งนองใจ กำลังหาแนวทางที่จะเพิ่มช่องทางการจัดเก็บให้มากขึ้น ซึ่งก็ไม่ใช้การไปรีดเลือดกับปู แต่เป็นการทำตามแนวทางที่กรมสรรพากรสามารถดำเนินการได้ เช่นการขยายฐานภาษีไปยังช่องทางที่ยังไม่ได้จัดเก็บ ซึ่งการปรับลดอัตราภาษีลง ก็ทำให้ผู้ที่ยังอยู่นอกระบบเข้ามาอยู่ในระบบภาษีเพิ่มขึ้นด้วย” นางวณีกล่าว
ปกติการจัดเก็บรายได้ภาษีจะเติบโตเท่าๆ กับการขยายตัวของผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ หรือจีดีพี คือหากจีดีพีขยายตัว 1% จัดเก็บภาษีก็เพิ่มขึ้น 1% เช่นกัน และเมื่อรวมอัตราเงินเฟ้อก็อาจจะมากกว่า 1% ซึ่งเศรษฐกิจที่ยังเติบโตได้ดีจากนโยบายกระตุ้นเศรษฐกิจต่างๆ ของรัฐบาล ก็ทำให้การจัดเก็บรายได้จาก VAT ขยายตัวสูง และสามารถทำให้การจัดเก็บรายได้ของกรมสรรพากรยังสูงกว่าเป้าหมายได้ที่ 5% รวมถึงการแยกยื่นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาระหว่างสามีภรรยาเองก็ไมได้ทำให้ให้รายได้หายไปถึง 7.5 พันล้านบาทตามที่เคยคาดการณ์ไว้ จึงยังมั่นใจว่า รายได้ทั้งปีจะยังเป็นไปตามเป้าหมาย 1.774 ล้านล้านบาทได้ ส่วนเป้าหมายรายได้ในปีงบประมาณ 2557 เบื้องต้นประเมินไว้ที่ประมาณ 1.8 ล้านล้านบาท
นางวณี ทัศมณเทียร ที่ปรึกษาด้านยุทธศาสตร์การจัดเก็บภาษี กลุ่มธุรกิจพลังงาน กรมสรรพากร เปิดเผยว่า กรมสรรพากรมีความเป็นห่วงการจัดเก็บรายได้จากภาษีนิติบุคคล จึงได้สั่งการให้แต่ละพื้นที่เร่งสำรวจข้อมูลกำไรเบื้องต้นของธุรกิจที่จะต้องยื่นแบบเสียภาษีเงินได้นิติบุคคล งวดปี 2555 ที่จะยื่นภายในเดือนพฤษภาคมนี้ ซึ่งเป็นผลของการปรับลดอัตราภาษีจาก 30% เหลือ 23% และในเดือนสิงหาคม จะเป็นการยื่นเสียภาษีครึ่งปี 2556 ซึ่งอัตราภาษีจะลดเหลือ 20% เท่านั้น โดยประมาณการว่า อัตราภาษีที่ลดลงดังกล่าว จะทำให้รายได้หายไปประมาณ 8 หมื่นล้านบาท และหากจะสามารถชดเชยรายได้ที่หายไป กำไรของธุรกิจจะต้องเติบโตประมาณ 25%
นอกจากนี้การที่ค่าเงินบาทแข็งค่าขึ้นอย่างต่อเนื่อง ยังมีผลกระทบต่อการจัดเก็บรายได้ของกรมสรรพากรจากทั้งผู้ประกอบการส่งออกและนำเข้าด้วย เนื่องจากค่าเงินบาที่แข็งค่าขึ้น ทำให้รายได้ของผู้ส่งออกเมื่อแลกเป็นเงินบาทลดลง และจะกระทบต่อกำไรในที่สุด ขณะเดียวกันยังกระทบต่อการจัดเก็บภาษีมูลค่าเพิ่ม (VAT) ของผู้นำเข้าด้วย เพราะการสั่งซื้อสินค้า เมื่อต้องจ่ายเป็นเงินที่ลดลงตามค่าเงินที่แข็งขึ้น ส่งผลต่อการคำนวณ VAT ด้วย ซึ่งค่าเงินถือเป็นความกังวลใหม่ของกรมสรรพาที่ไม่เคยนำมาเป็นปัจจัยในการจัดเก็บรายได้มาก่อน
“ขณะนี้ถือว่า การจัดเก็บรายได้ของกรมเจอผลกระทบรอบด้าน ทั้งอัตราภาษีที่ลดลงแล้ว ยังมากระทบจากค่าเงินบาทที่แข็งค่าขึ้นต่อเนื่องด้วย แต่เราเองก็ไมได้นิ่งนองใจ กำลังหาแนวทางที่จะเพิ่มช่องทางการจัดเก็บให้มากขึ้น ซึ่งก็ไม่ใช้การไปรีดเลือดกับปู แต่เป็นการทำตามแนวทางที่กรมสรรพากรสามารถดำเนินการได้ เช่นการขยายฐานภาษีไปยังช่องทางที่ยังไม่ได้จัดเก็บ ซึ่งการปรับลดอัตราภาษีลง ก็ทำให้ผู้ที่ยังอยู่นอกระบบเข้ามาอยู่ในระบบภาษีเพิ่มขึ้นด้วย” นางวณีกล่าว
ปกติการจัดเก็บรายได้ภาษีจะเติบโตเท่าๆ กับการขยายตัวของผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ หรือจีดีพี คือหากจีดีพีขยายตัว 1% จัดเก็บภาษีก็เพิ่มขึ้น 1% เช่นกัน และเมื่อรวมอัตราเงินเฟ้อก็อาจจะมากกว่า 1% ซึ่งเศรษฐกิจที่ยังเติบโตได้ดีจากนโยบายกระตุ้นเศรษฐกิจต่างๆ ของรัฐบาล ก็ทำให้การจัดเก็บรายได้จาก VAT ขยายตัวสูง และสามารถทำให้การจัดเก็บรายได้ของกรมสรรพากรยังสูงกว่าเป้าหมายได้ที่ 5% รวมถึงการแยกยื่นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาระหว่างสามีภรรยาเองก็ไมได้ทำให้ให้รายได้หายไปถึง 7.5 พันล้านบาทตามที่เคยคาดการณ์ไว้ จึงยังมั่นใจว่า รายได้ทั้งปีจะยังเป็นไปตามเป้าหมาย 1.774 ล้านล้านบาทได้ ส่วนเป้าหมายรายได้ในปีงบประมาณ 2557 เบื้องต้นประเมินไว้ที่ประมาณ 1.8 ล้านล้านบาท