ASTVผู้จัดการรายวัน - “โต้ง” ยันไม่ขึ้น VAT แน่นอน ระบุยังสามารถบริหารจัดการกระแสเงินรับจ่ายของรัฐบาลได้ดีอยู่ ขณะที่ผลการจัดเก็บรายได้ 5 เดือนแรกเกินเป้าหมายมาก ด้านกระทรวงการคลังหนุนเพิ่ม VAT ขึ้นอีก 1% จะเพิ่มรายได้ถึงกว่า 8.4 หมื่นล้านบาทหวังรองรับภาระค่าใช้จ่ายของรัฐบาลในอนาคต
นายกิตติรัตน์ ณ ระนอง รองนายกรัฐมนตรีและ รมว.คลัง เปิดเผยว่า กระทรวงการคลังไม่มีนโยบายที่จะปรับขึ้นภาษีมูลค่าเพิ่ม (VAT) จากที่จัดเก็บในอัตรา 7% และเห็นว่าไม่มีความจำเป็น เพราะอัตราที่ใช้เทียบเพื่อนบ้านแล้วจะเท่ากับประเทศสิงคโปร์ ขณะที่การบริหารจัดรายรายรับของประเทศก็ยังไม่มีปัญหา เพราะเมื่อดูจากรายรับรายจ่ายของประเทศแล้วก็ยังสามารถบริหารจัดการได้และมั่นใจว่า การจัดเก็บรายได้ในปี 2556 ที่วางเป้าไว้ 2.1 ล้านล้านจะสามารถทำได้ เพราะจากตัวเลข 5 เดือนแรกของปีงบประมาณก็พบว่าเกินเป้าหมายไปมาก
“ข้อเสนอขึ้นแวตจากตัวบุคคลอาจจะมี แต่ยังไม่ใช่ในฐานะหน่วยงานที่เสนอเข้ามา ซึ่งเวลาเราจะลงทุน 2 ล้านล้านบาท คนก็คิดว่า เงินไม่พอ มักจะโยงไปว่า ต้องมีการขึ้นอัตราภาษี ทั้งที่เราสามารถบริหารจัดการเงินได้ จากสภาพคล่องในระบบที่มีอยู่มาก ไม่ได้น่าเป็นห่วง แม้แต่ปีผ่านมา ที่เศรษฐกิจไม่ดีนัก การจัดเก็บรายได้ก็ยังเกินเป้าไปมาก และขณะนี้อยู่ระหว่างการยื่นเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ที่จะสิ้นสุดวันที่ 9 เมษายนในการยื่นผ่านอินเตอร์เน็ตจึงจะเห็นชัดเจนว่า รายได้จะเกิดเป้าไปมากน้อยเพียงใด และเดือนพฤษภาคม ที่จะเป็นเดือนสุดท้ายของการยื่นแบบภาษีนิติบุคคล ซึ่งเป็นอัตราภาษีที่ปรับลดเหลือ 23% แม้จะมีความเป็นห่วงเรื่องรายได้ แต่ส่วนตัวเห็นว่า อัตราภาษีที่ต่ำลง จะดึงให้คนเข้ามาอยู่ในระบบเสียภาษีที่ถูกต้องมากขึ้น” นายกิตติรัตน์กล่าว
นายรังสรรค์ ศรีวรศาสตร์ รองปลัดกระทรวงการคลัง ในฐานะที่กำกับดูแลกรมจัดเก็บภาษี กล่าวว่า จากผลการศึกษาการจัดเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มที่ปัจจุบันจัดเก็บในอัตรา 7% นั้นทางกรมสรรพากรและสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง (สศค.) ได้เตรียมศึกษาการปรับขึ้นอัตราภาษีพร้อมไว้นานแล้ว และล่าสุดได้เสนอให้รมว.คลัง พิจารณาแล้ว โดยครั้งนี้เสนอให้ปรับขึ้นอัตราภาษีมูลค่าเพิ่มจาก 7% เป็น 8% หรือเพิ่มขึ้นเพียง 1% แม้ว่ากฎหมายจะเปิดช่องให้จัดเก็บได้ถึง 10% ก็ตาม โดยหากปรับเพิ่มเพียง 1% ก็จะทำให้กรมสรรพากรมีรายได้เข้ามาเพิ่มถึง 8.4 หมื่นล้านบาท ซึ่งสูงกว่าการศึกษาไว้เดิมในอดีตที่ 4-5 หมื่นล้านบาท เนื่องจากขนาดเศรษฐกิจใหญ่ขึ้นและมีกำลังซื้อหรือการบริโภคในประเทศสูงขึ้นมาก
อย่างไรก็ตามการเสนอให้ปรับขึ้นภาษีมูลค่าเพิ่ม 1% ครั้งนี้เนื่องจากเห็นว่าจะช่วยให้รัฐบาลมีรายได้เข้ามาอย่างมาก เมื่อเทียบกับการกลับไปปรับขึ้นภาษีสรรพสามิตดีเซลที่หากปรับขึ้นเพียง 1 บาทจะมีรายได้เข้ามาเพียง 2 หมื่นล้านบาทเท่านั้น ซึ่งอาจไม่เพียงพอกับการเตรียมพร้อมหาเงินไว้ใช้จ่ายในอนาคต ซึ่งแม้ว่าขณะนี้การจัดเก็บรายได้ของรัฐบาลยังสูงกว่าเป้าหมาย แต่แนวโน้มของรายได้สรรพากรก็มีความเสี่ยงที่จะลดลงได้จากมาตรการปรับลดภาษีต่างๆก่อนหน้านี้ ขณะที่จะมีการใช้จ่ายเงินที่สูงขึ้นมากของรัฐบาลในอนาคต
"ข้อเสนอดังกล่าว่าจะเป็นการดำเนินการในช่วงเวลาที่เหมาะสม และการปรับขึ้นภาษีมูลค่าเพิ่ม 1% ก็ไม่น่าจะกระทบกับประชาชนมากนัก เพราะสินค้าอุปโภคบริดภคที่จำเป็นไม่ได้มีการจัดก็บภาษีมูลค่าเพิ่มอยู่แล้ว "นายรังสรรค์ กล่าวและว่า อย่างไรก็ตามการปรับขึ้นอัตราภาษีมูลค่าเพิ่มต้องขึ้นอยู่กับรมว.คลังและรัฐบาลโดยสามารถเสนอเข้าสู่การพิจารณาของคณะรัฐมนตรี (ครม.) เท่านั้น.
นายกิตติรัตน์ ณ ระนอง รองนายกรัฐมนตรีและ รมว.คลัง เปิดเผยว่า กระทรวงการคลังไม่มีนโยบายที่จะปรับขึ้นภาษีมูลค่าเพิ่ม (VAT) จากที่จัดเก็บในอัตรา 7% และเห็นว่าไม่มีความจำเป็น เพราะอัตราที่ใช้เทียบเพื่อนบ้านแล้วจะเท่ากับประเทศสิงคโปร์ ขณะที่การบริหารจัดรายรายรับของประเทศก็ยังไม่มีปัญหา เพราะเมื่อดูจากรายรับรายจ่ายของประเทศแล้วก็ยังสามารถบริหารจัดการได้และมั่นใจว่า การจัดเก็บรายได้ในปี 2556 ที่วางเป้าไว้ 2.1 ล้านล้านจะสามารถทำได้ เพราะจากตัวเลข 5 เดือนแรกของปีงบประมาณก็พบว่าเกินเป้าหมายไปมาก
“ข้อเสนอขึ้นแวตจากตัวบุคคลอาจจะมี แต่ยังไม่ใช่ในฐานะหน่วยงานที่เสนอเข้ามา ซึ่งเวลาเราจะลงทุน 2 ล้านล้านบาท คนก็คิดว่า เงินไม่พอ มักจะโยงไปว่า ต้องมีการขึ้นอัตราภาษี ทั้งที่เราสามารถบริหารจัดการเงินได้ จากสภาพคล่องในระบบที่มีอยู่มาก ไม่ได้น่าเป็นห่วง แม้แต่ปีผ่านมา ที่เศรษฐกิจไม่ดีนัก การจัดเก็บรายได้ก็ยังเกินเป้าไปมาก และขณะนี้อยู่ระหว่างการยื่นเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ที่จะสิ้นสุดวันที่ 9 เมษายนในการยื่นผ่านอินเตอร์เน็ตจึงจะเห็นชัดเจนว่า รายได้จะเกิดเป้าไปมากน้อยเพียงใด และเดือนพฤษภาคม ที่จะเป็นเดือนสุดท้ายของการยื่นแบบภาษีนิติบุคคล ซึ่งเป็นอัตราภาษีที่ปรับลดเหลือ 23% แม้จะมีความเป็นห่วงเรื่องรายได้ แต่ส่วนตัวเห็นว่า อัตราภาษีที่ต่ำลง จะดึงให้คนเข้ามาอยู่ในระบบเสียภาษีที่ถูกต้องมากขึ้น” นายกิตติรัตน์กล่าว
นายรังสรรค์ ศรีวรศาสตร์ รองปลัดกระทรวงการคลัง ในฐานะที่กำกับดูแลกรมจัดเก็บภาษี กล่าวว่า จากผลการศึกษาการจัดเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มที่ปัจจุบันจัดเก็บในอัตรา 7% นั้นทางกรมสรรพากรและสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง (สศค.) ได้เตรียมศึกษาการปรับขึ้นอัตราภาษีพร้อมไว้นานแล้ว และล่าสุดได้เสนอให้รมว.คลัง พิจารณาแล้ว โดยครั้งนี้เสนอให้ปรับขึ้นอัตราภาษีมูลค่าเพิ่มจาก 7% เป็น 8% หรือเพิ่มขึ้นเพียง 1% แม้ว่ากฎหมายจะเปิดช่องให้จัดเก็บได้ถึง 10% ก็ตาม โดยหากปรับเพิ่มเพียง 1% ก็จะทำให้กรมสรรพากรมีรายได้เข้ามาเพิ่มถึง 8.4 หมื่นล้านบาท ซึ่งสูงกว่าการศึกษาไว้เดิมในอดีตที่ 4-5 หมื่นล้านบาท เนื่องจากขนาดเศรษฐกิจใหญ่ขึ้นและมีกำลังซื้อหรือการบริโภคในประเทศสูงขึ้นมาก
อย่างไรก็ตามการเสนอให้ปรับขึ้นภาษีมูลค่าเพิ่ม 1% ครั้งนี้เนื่องจากเห็นว่าจะช่วยให้รัฐบาลมีรายได้เข้ามาอย่างมาก เมื่อเทียบกับการกลับไปปรับขึ้นภาษีสรรพสามิตดีเซลที่หากปรับขึ้นเพียง 1 บาทจะมีรายได้เข้ามาเพียง 2 หมื่นล้านบาทเท่านั้น ซึ่งอาจไม่เพียงพอกับการเตรียมพร้อมหาเงินไว้ใช้จ่ายในอนาคต ซึ่งแม้ว่าขณะนี้การจัดเก็บรายได้ของรัฐบาลยังสูงกว่าเป้าหมาย แต่แนวโน้มของรายได้สรรพากรก็มีความเสี่ยงที่จะลดลงได้จากมาตรการปรับลดภาษีต่างๆก่อนหน้านี้ ขณะที่จะมีการใช้จ่ายเงินที่สูงขึ้นมากของรัฐบาลในอนาคต
"ข้อเสนอดังกล่าว่าจะเป็นการดำเนินการในช่วงเวลาที่เหมาะสม และการปรับขึ้นภาษีมูลค่าเพิ่ม 1% ก็ไม่น่าจะกระทบกับประชาชนมากนัก เพราะสินค้าอุปโภคบริดภคที่จำเป็นไม่ได้มีการจัดก็บภาษีมูลค่าเพิ่มอยู่แล้ว "นายรังสรรค์ กล่าวและว่า อย่างไรก็ตามการปรับขึ้นอัตราภาษีมูลค่าเพิ่มต้องขึ้นอยู่กับรมว.คลังและรัฐบาลโดยสามารถเสนอเข้าสู่การพิจารณาของคณะรัฐมนตรี (ครม.) เท่านั้น.