สรรพากรเดินเครื่องปรับระบบจัดเก็บภาษีหลังมาตรการภาครัฐฉุดรายได้หายไปกว่า 1 แสนล้านบาท เล็งลงทุน 2 พันล้านเชื่อมระบบข้อมูลกรมที่ดิน ไฟฟ้า ประปา วิเคราะห์รายได้ที่แท้จริงของผู้เสียภาษี หวังเก็บรายได้ชดเชยอีกหลายแสนล้าน
นางจิตรมณี สุวรรณพูล ที่ปรึกษาด้านพัฒนาฐานภาษี กรมสรรพากร เปิดเผยว่า กรมสรรพากรมีการปรับโครงสร้างครั้งใหญ่ทั้งในแง่การดำเนินงานและการเตรียมรับกับรายได้ที่จะหายไปนี้ประมาณ 1 แสนล้านบาท ทั้งการปรับลดภาษีนิติบุคคลที่จะเหลือ 20% ในปีนี้และการปรับแบบการแยกยื่นสามี-ภรรยาของภาษีของเงินได้บุคคล รวมไปถึงการให้สิทธิประโยชน์ทางภาษีตามนโยบายและมาตรการของรัฐบาลในการสนับสนุนให้เกิดการใช้จ่าย ขณะที่รายได้ที่ต้องจัดเก็บปีนี้สูงถึง 1.77 ล้านล้านบาท สูงกว่าปีงบประมาณก่อน 7.9%
สำหรับแนวทางการบริหารงานของกรมฯในปีนี้จะเน้นเพิ่มประสิทธิภาพการจัดเก็บภาษีและขยายขยายฐาน ผ่านการเชื่อมโยงข้อมูลระหว่างหน่วยงานของภาครัฐและการเชื่อมโยงข้อมูลการเสียภาษีของภาคเอกชน เพื่อให้สามารถเปรียบเทียบกันได้ในกลุ่มธุรกิจประเภทเดียวกัน โดยล่าดกรมฯได้ของบ 2 พันล้านมาใช้พัฒนาระบบให้ผู้ประกอบการรายงานภาษีซื้อและภาษีขายทั้งระบบฐานภาษีเงินได้นิติบุคคลธรรมดา ซึ่งต่อไปจะสามารถสอบยันตั้งแต่ต้นทางถึงปลายทางได้ ทำให้การหลบเลี่ยงลงรายได้น้อยกว่าความเป็นจริงจะหมดไปและทำให้กรมฯจัดเก็บภาษีเข้าได้เต็มเม็ดเต็มหน่วยมากขึ้นอาจจะได้ภาษีคืนมาถึง 3-5 แสนล้านบาท
“การวางระบบดังกล่าวน่าจะเห็นผลชัดเจนในปีงบประมาณ 2557 โดยขณะนี้อยู่ระหว่างดำเนินการ รวมถึงกำลังศึกษาการวางระบบข้อมูลการทำธุรกรรมด้วยเงินสดเพื่อขยายฐานภาษี โดยนำรูปแบบมาจากเกาหลีที่จะออกบัตรภาษีให้บุคคลธรรมดา เพื่อให้การซื้อสินค้าและบริการด้วยเงินสดทุกครั้งมีการบันทึกรายการไว้ที่เครื่อง ซึ่งห้างร้านและสถานบริการต่างต้องติดสติกเกอร์เข้าร่วมกับกรมฯ ทำให้ต่อไปจะช่วยติดตามรายได้ที่แท้จริงของร้านค้าได้” นางจิตรมณีกล่าว
ทั้งนี้ หากจะดำเนินการต้องมีการติดตั้งระบบและแก้ไขกฎหมายเป็นการบังคับแต่จะมีการจูงใจผู้ใช้บัตรภาษีดังกล่าวโดยหากมีการใช้บัตรพอถึงปลายปีก็จะได้ลดหย่อนภาษี ส่วนเอกชนที่เข้าร่วมก็จะได้คืนภาษีเร็วขึ้นและกรมฯจะไม่ไปตรวจภาษีให้วุ่นวาย คาดว่าส่วนนี้ก็น่าจะเริ่มได้ในปี 2557 เช่นเดียวกัน ซึ่งส่วนนี้จะทำให้มีรายได้เข้ามาอีกจำนวนหนึ่งอย่างเกาหลีลงทุนวางระบบไป 1,600 ล้านบาทได้ภาษีคืนมา 2 หมื่นกว่าล้านบาท อีกทั้งกรมฯยังมีการเชื่อมโยงข้อมูลกับกรมที่ดินเพื่อตรวจสอบรายได้จากการซื้อขายที่ดินว่ามีการยื่นภาษีครบถ้วนหรือไม่ด้วย รวมถึงขอข้อมูลจากไฟฟ้า ประปามาเทียบเคียงรายได้ที่ยื่นเข้ามาด้วย
นอกจากนี้ การเพิ่มประสิทธิภาพและลดการรั่วไหลของภาษีน่าจะทำให้ปีนี้กรมฯยังสามารถจัดเก็บรายได้ตามเป้าหมายที่วางไว้ โดยเฉพาะภาษีมูลค่าเพิ่มที่ได้สูงขึ้นปีละ 15-16% แม้เศรษฐกิจชะลอตัว พร้อมทั้งยืนยันว่าการปรับลดภาษีเงินได้นิติบุคคลในระดับ 20% มีความเหมาะสมและเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันให้ภาคเอกชนและจูงใจต่างชาติเข้ามาลงทุนได้มากขึ้นอยู่แล้ว จึงไม่จำเป็นต้องปรับลดลงไปให้เหลือ 15% เท่ากับสิงคโปร์.
นางจิตรมณี สุวรรณพูล ที่ปรึกษาด้านพัฒนาฐานภาษี กรมสรรพากร เปิดเผยว่า กรมสรรพากรมีการปรับโครงสร้างครั้งใหญ่ทั้งในแง่การดำเนินงานและการเตรียมรับกับรายได้ที่จะหายไปนี้ประมาณ 1 แสนล้านบาท ทั้งการปรับลดภาษีนิติบุคคลที่จะเหลือ 20% ในปีนี้และการปรับแบบการแยกยื่นสามี-ภรรยาของภาษีของเงินได้บุคคล รวมไปถึงการให้สิทธิประโยชน์ทางภาษีตามนโยบายและมาตรการของรัฐบาลในการสนับสนุนให้เกิดการใช้จ่าย ขณะที่รายได้ที่ต้องจัดเก็บปีนี้สูงถึง 1.77 ล้านล้านบาท สูงกว่าปีงบประมาณก่อน 7.9%
สำหรับแนวทางการบริหารงานของกรมฯในปีนี้จะเน้นเพิ่มประสิทธิภาพการจัดเก็บภาษีและขยายขยายฐาน ผ่านการเชื่อมโยงข้อมูลระหว่างหน่วยงานของภาครัฐและการเชื่อมโยงข้อมูลการเสียภาษีของภาคเอกชน เพื่อให้สามารถเปรียบเทียบกันได้ในกลุ่มธุรกิจประเภทเดียวกัน โดยล่าดกรมฯได้ของบ 2 พันล้านมาใช้พัฒนาระบบให้ผู้ประกอบการรายงานภาษีซื้อและภาษีขายทั้งระบบฐานภาษีเงินได้นิติบุคคลธรรมดา ซึ่งต่อไปจะสามารถสอบยันตั้งแต่ต้นทางถึงปลายทางได้ ทำให้การหลบเลี่ยงลงรายได้น้อยกว่าความเป็นจริงจะหมดไปและทำให้กรมฯจัดเก็บภาษีเข้าได้เต็มเม็ดเต็มหน่วยมากขึ้นอาจจะได้ภาษีคืนมาถึง 3-5 แสนล้านบาท
“การวางระบบดังกล่าวน่าจะเห็นผลชัดเจนในปีงบประมาณ 2557 โดยขณะนี้อยู่ระหว่างดำเนินการ รวมถึงกำลังศึกษาการวางระบบข้อมูลการทำธุรกรรมด้วยเงินสดเพื่อขยายฐานภาษี โดยนำรูปแบบมาจากเกาหลีที่จะออกบัตรภาษีให้บุคคลธรรมดา เพื่อให้การซื้อสินค้าและบริการด้วยเงินสดทุกครั้งมีการบันทึกรายการไว้ที่เครื่อง ซึ่งห้างร้านและสถานบริการต่างต้องติดสติกเกอร์เข้าร่วมกับกรมฯ ทำให้ต่อไปจะช่วยติดตามรายได้ที่แท้จริงของร้านค้าได้” นางจิตรมณีกล่าว
ทั้งนี้ หากจะดำเนินการต้องมีการติดตั้งระบบและแก้ไขกฎหมายเป็นการบังคับแต่จะมีการจูงใจผู้ใช้บัตรภาษีดังกล่าวโดยหากมีการใช้บัตรพอถึงปลายปีก็จะได้ลดหย่อนภาษี ส่วนเอกชนที่เข้าร่วมก็จะได้คืนภาษีเร็วขึ้นและกรมฯจะไม่ไปตรวจภาษีให้วุ่นวาย คาดว่าส่วนนี้ก็น่าจะเริ่มได้ในปี 2557 เช่นเดียวกัน ซึ่งส่วนนี้จะทำให้มีรายได้เข้ามาอีกจำนวนหนึ่งอย่างเกาหลีลงทุนวางระบบไป 1,600 ล้านบาทได้ภาษีคืนมา 2 หมื่นกว่าล้านบาท อีกทั้งกรมฯยังมีการเชื่อมโยงข้อมูลกับกรมที่ดินเพื่อตรวจสอบรายได้จากการซื้อขายที่ดินว่ามีการยื่นภาษีครบถ้วนหรือไม่ด้วย รวมถึงขอข้อมูลจากไฟฟ้า ประปามาเทียบเคียงรายได้ที่ยื่นเข้ามาด้วย
นอกจากนี้ การเพิ่มประสิทธิภาพและลดการรั่วไหลของภาษีน่าจะทำให้ปีนี้กรมฯยังสามารถจัดเก็บรายได้ตามเป้าหมายที่วางไว้ โดยเฉพาะภาษีมูลค่าเพิ่มที่ได้สูงขึ้นปีละ 15-16% แม้เศรษฐกิจชะลอตัว พร้อมทั้งยืนยันว่าการปรับลดภาษีเงินได้นิติบุคคลในระดับ 20% มีความเหมาะสมและเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันให้ภาคเอกชนและจูงใจต่างชาติเข้ามาลงทุนได้มากขึ้นอยู่แล้ว จึงไม่จำเป็นต้องปรับลดลงไปให้เหลือ 15% เท่ากับสิงคโปร์.