วานนี้ (11เม.ย.) พล.ต.อ.ประชา พรหมนอก รมว.ยุติธรรม เป็นประธานประกาศยุทธศาสตร์การบูรณาการบังคับใช้กฎหมาย ว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงินและกฎหมายว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการสนับสนุนทางการเงินแก่การก่อการร้าย พ.ศ.2556-2558 ในการสัมมนาการบูรณาการ การปฏิบัติตามกฎหมายว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน และการต่อต้านการสนับสนุนทางการเงินแก่การก่อการร้าย ร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง 135 หน่วยงาน เพื่อดำเนินการตามกฎหมายดังกล่าวอย่างถูกต้อง และขอความร่วมมือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องปฏิบัติตากฎหมายอย่างจริงจัง เพื่อประโยชน์ของประเทศ
สำหรับกรณีการประกาศรายชื่อผู้ก่อการร้าย หรือบุคคล ถูกกำหนดตามมาตรา 6 ในระเบียบคณะกรรมการป้องงกันและปราบปรามการฟอกเงิน (ปปง.) ซึ่งไม่เกี่ยวกับการเจรจากับแกนนำกลุ่มบีอาร์เอ็น ที่รัฐบาลอยู่หว่างการจะเจรจา และเชื่อว่าสถานการณ์ความไม่สงบในจังหวัดชายแดนภาคใต้ จะไม่ถูกคณะกรรมการเฉพาะกิจเพื่อดำเนินมาตรการทางการเงินเกี่ยวกับการฟอกเงินหรือ "แฟทเอฟ" นำไปพิจารณาในการปลดรายชื่อประเทศไทย ออกจากบัญชีประเทศกลุ่มเสี่ยงอย่างถาวร
แต่ในชั้นนี้เป็นการแสดงออกให้ต่างประเทศเห็นว่า ไทยมีการบังคับใช้กฎหมายอย่างจริงจัง และในเดือนพฤษภาคมนี้ แฟทเอฟ จะส่งคณะกรรมการเข้ามาสังเกตการณ์การบังคับใช้กฎหมายของไทย ก่อนจะมีการจัดประชุมอีกครั้ง ในเดือนมิถุนายน 2556 ที่ประเทศนอร์เวย์
ด้านพ.ต.อ.สีหนาท ประยูรรัตน์ เลขาธิการคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน (ปปง.) กล่าวถึงสถานการณ์การฟอกเงินในประเทศไทย ว่า ในภาพรวมจะมีการทำธุรกรรมเงินสดมากที่สุด โดยรูปแบบ และปริมาณเงินจะมากน้อยแตกต่างกัน โดยเฉพาะในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ มีความเคลื่อนไหวทางการเงิน การฝาก-ถอน เป็นเงินสด การซื้อขายที่ดินมีการทำธุรกรรมมากกว่า จ.ลำพูน จ.ระนอง และ จ.สระแก้ว ซึ่งมีการค้าชายแดนเฟื่องฟู สิ่งเหล่านี้ชี้ให้เห็นว่า อาจมีธุรกิจผิดกฎหมายที่หน่วยงานในภาครัฐจะต้องเข้าไปดำเนินการกับเศรษฐกิจมืด ที่ยังดำรงอยู่ได้โดยไม่ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์รุนแรง หากตัดเงินไม่ชอบด้วยกฎหมายออกไปได้ ก็จะทำให้เห็นสภาพเศรษฐกิจที่แท้จริง
พ.ต.อ.สีหนาท ยังกล่าวถึงการประกาศรายชื่อผู้ถูกกำหนด ตามมาตรา 6 ในระเบียบคณะกรรมการปปง. ว่า สำหรับของรายชื่อที่องค์การสหประชาชาติ (UN)ได้ประกาศไว้แล้ว 300 คนนั้น ปปง. จะตรวจสอบรายชื่อ และนำมาประกาศในวันที่ 22 เม.ย. นี้ ส่วนรายชื่อผู้ถูกกำหนดตามที่ศาลแพ่งมีคำสั่งของไทย จะแบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม คือ กลุ่มที่มีหมายจับในคดีก่อการร้าย และกลุ่มที่ไม่มีหมายจับ แต่มีพฤติกรรมการเคลื่อนไหว ให้การสนับสนุนทางการเงินกับกลุ่มก่อการร้าย ซึ่งมีประมาณ 4,000 คน แต่ขณะนี้มีข้อมูลที่สามารถทยอยประกาศได้ประมาณ 100 คน ซึ่งมีทั้งกลุ่มก่อความไม่สงบในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ และกลุ่มอื่น และคาดว่า จะเสนอรายชื่อต่อคณะกรรมการธุรกรรม เพื่อเสนอต่อศาลเพ่งให้พิจารณาได้ปลายเดือนเม.ย นี้
สำหรับกรณีการประกาศรายชื่อผู้ก่อการร้าย หรือบุคคล ถูกกำหนดตามมาตรา 6 ในระเบียบคณะกรรมการป้องงกันและปราบปรามการฟอกเงิน (ปปง.) ซึ่งไม่เกี่ยวกับการเจรจากับแกนนำกลุ่มบีอาร์เอ็น ที่รัฐบาลอยู่หว่างการจะเจรจา และเชื่อว่าสถานการณ์ความไม่สงบในจังหวัดชายแดนภาคใต้ จะไม่ถูกคณะกรรมการเฉพาะกิจเพื่อดำเนินมาตรการทางการเงินเกี่ยวกับการฟอกเงินหรือ "แฟทเอฟ" นำไปพิจารณาในการปลดรายชื่อประเทศไทย ออกจากบัญชีประเทศกลุ่มเสี่ยงอย่างถาวร
แต่ในชั้นนี้เป็นการแสดงออกให้ต่างประเทศเห็นว่า ไทยมีการบังคับใช้กฎหมายอย่างจริงจัง และในเดือนพฤษภาคมนี้ แฟทเอฟ จะส่งคณะกรรมการเข้ามาสังเกตการณ์การบังคับใช้กฎหมายของไทย ก่อนจะมีการจัดประชุมอีกครั้ง ในเดือนมิถุนายน 2556 ที่ประเทศนอร์เวย์
ด้านพ.ต.อ.สีหนาท ประยูรรัตน์ เลขาธิการคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน (ปปง.) กล่าวถึงสถานการณ์การฟอกเงินในประเทศไทย ว่า ในภาพรวมจะมีการทำธุรกรรมเงินสดมากที่สุด โดยรูปแบบ และปริมาณเงินจะมากน้อยแตกต่างกัน โดยเฉพาะในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ มีความเคลื่อนไหวทางการเงิน การฝาก-ถอน เป็นเงินสด การซื้อขายที่ดินมีการทำธุรกรรมมากกว่า จ.ลำพูน จ.ระนอง และ จ.สระแก้ว ซึ่งมีการค้าชายแดนเฟื่องฟู สิ่งเหล่านี้ชี้ให้เห็นว่า อาจมีธุรกิจผิดกฎหมายที่หน่วยงานในภาครัฐจะต้องเข้าไปดำเนินการกับเศรษฐกิจมืด ที่ยังดำรงอยู่ได้โดยไม่ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์รุนแรง หากตัดเงินไม่ชอบด้วยกฎหมายออกไปได้ ก็จะทำให้เห็นสภาพเศรษฐกิจที่แท้จริง
พ.ต.อ.สีหนาท ยังกล่าวถึงการประกาศรายชื่อผู้ถูกกำหนด ตามมาตรา 6 ในระเบียบคณะกรรมการปปง. ว่า สำหรับของรายชื่อที่องค์การสหประชาชาติ (UN)ได้ประกาศไว้แล้ว 300 คนนั้น ปปง. จะตรวจสอบรายชื่อ และนำมาประกาศในวันที่ 22 เม.ย. นี้ ส่วนรายชื่อผู้ถูกกำหนดตามที่ศาลแพ่งมีคำสั่งของไทย จะแบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม คือ กลุ่มที่มีหมายจับในคดีก่อการร้าย และกลุ่มที่ไม่มีหมายจับ แต่มีพฤติกรรมการเคลื่อนไหว ให้การสนับสนุนทางการเงินกับกลุ่มก่อการร้าย ซึ่งมีประมาณ 4,000 คน แต่ขณะนี้มีข้อมูลที่สามารถทยอยประกาศได้ประมาณ 100 คน ซึ่งมีทั้งกลุ่มก่อความไม่สงบในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ และกลุ่มอื่น และคาดว่า จะเสนอรายชื่อต่อคณะกรรมการธุรกรรม เพื่อเสนอต่อศาลเพ่งให้พิจารณาได้ปลายเดือนเม.ย นี้