ASTVผู้จัดการรายวัน - ธ.ก.ส.ปรับสูตรรับจำนำข้าว เล็งเสนอรัฐบาลกลับไปใช้รูปแบบเดิมทั้งจำกัดปริมาณและวงเงินในการรับจำนำต่อราย หวั่นเกิดภาระต่องบประมาณที่เพิ่มสูงขึ้นและถูกจำกัดด้วยวงเงิน 5 แสนล้านบาท ระบุเป็นไปได้ง่ายกว่าปรับลดราคารับจำนำ
แหล่งข่าวจากธนาคารเพื่อการเกษตรกรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) เปิดเผยว่า ขณะนี้ธนาคารและหน่วยงานทีเกี่ยวข้องกับโครงการจำนำข้าวเปลือกอยู่ระหว่างพิจารณาความเป็นไปได้ในการปรับเปลี่ยนการดำเนินโครงการในอนาคต เพื่อให้มีความเหมาะสมและสอดคล้องกับความเป็นจริงมากขึ้นโดยที่ไม่เป็นภาระงบประมาณที่มากจนเกินไป เนื่องจากหากปล่อยไว้ ก็จะต้องใช้เงินเกินกว่าเพดานที่รัฐบาลกำหนดไว้ให้ใช้เงินหมุนเวียนภายใน 5 แสนล้านบาทซึ่งขณะนี้ใกล้เต็มวงเงินแล้วเหลือเพียงส่วนของเงินกู้อีก 4-5 หมื่นล้าน บาทเท่านั้น
ส่วนเงินที่จะได้จากการระบายข้าวในสต็อกรัฐบาลก็ยังมีความไม่แน่นอนจะได้รับเงินเข้ามาเมื่อใดและเท่าไหร่ ดังนั้นการทำโครงการรับจำนำข้าวซึ่งเชื่อว่ารัฐบาลจะไม่ยกเลิกอย่างแน่นอนนั้นควรจะมีการปรับเปลี่ยนรูปแบบใหม่ให้มีภาระลดลงและเพื่อให้เกษตรกรได้รับประโยชน์แท้จริง ป้องกันไม่ให้มีการสวมสิทธิหรือมีการเวียนเทียนจำนำข้าวเหมือนที่ผ่านมา
สำหรับแนวทางที่ศึกษามีทั้งการจำกัดปริมาณข้าวที่จะเข้าร่วมโครงการ โดยในอดีตก็เคยมีการจำกัดปริมาณข้าวแต่เพิ่งมายกเลิกเมื่อปีก่อนที่รับจำนำทุกเม็ด ซึ่งจากตัวเลขการเพาระปลูกของกระทรวงเกษตรนั้นพบว่าชาวนาปลูกข้าวได้เฉลี่ย 5.4 ตันต่อรายเท่านั้น เพราะภาคอีสานและภาคอื่นจะปลูกข้าวปีละครั้งต่างจากภาคกลาง 10-15 จังหวัดที่ปลูกได้ปีละ 2-3 ครั้ง ทำให้มีปริมาณข้าวมากกว่าค่าเฉลี่ยถึง 3 เท่า
“การขอความร่วมมือให้ลดการปลูกข้าวเหลือปีละ 2 ครั้งและจำกัดรับจำนำแค่ 2 รอบก็ช่วยลดปริมาณข้าวลงไปได้ระดับหนึ่งและในครั้งนี้ที่ไม่รับจำนำข้าวอายุสั้น 90-100 วันก็ช่วยสกัดออกไปอีกจำนวนหนึ่ง แต่บางรายก็ยังมีการนำข้าวมาจำนำมากจนผิดปกติอยู่ดี จึงควรจำกัดไปเลยเช่น ไม่เกิน 20หรือ 25 ตันต่อราย” แหล่งข่าวกล่าว หรืออีกแนวทางหนึ่งอาจใช้วิธีกำหนดวงเงินที่เข้าร่วมโครงการ เช่น ไม่เกินรายละ 3-5 แสนบาท ซึ่งก็เคยใช้มาในอดีตเช่นกัน โดยเห็นว่าตัวเลข 3 แสนบาทต่อรายมีความเหมาะสมที่สุด เพราะ 5 แสนบาทต่อรายนั้นอาจจะสูงเกินความเป็นจริงและมีเพียง 10% ของเกษตรกรเท่านั้นที่มีข้าวในครอบครองมูลค่ามากกว่า 5 แสนบาท
ทั้งนี้ ทั้ง 2 แนวทางน่าจะมีความเป็นไปได้มากกว่าจะไปปรับลดราคาจำนำข้าวที่ครั้งนี้ก็พยายามจะปรับลดลงแล้วแต่ทำไม่ได้ เพราะเกษตรกรไม่ยินยอมและราคาเมื่อขึ้นแล้วมักจะลดลงยาก แต่เงื่อนไขที่กำหนดในโครงการรับจำนำใหม่เป็นวิธีทางปฎิบัติที่น่าจะสามารถชี้แจงให้เกษตรกรเข้าใจได้ เพราะหากไม่ยอมรับเปลี่ยนก็อาจต้องถึงขั้นยกเลิกโครงการไปเพราะข้อจำกัดเรื่องเงินที่ใช้ดำเนินโครงการ แต่คงขึ้นอยู่กับรัฐบาลด้วยว่าจะเห็นชอบด้วยหรือไม่ หากสามารถปรับเปลี่ยนได้ในฤดูกาลผลิตหน้าหรือปีหน้าได้ก็จะเป็นการดีที่สุด
แหล่งข่าวจากธนาคารเพื่อการเกษตรกรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) เปิดเผยว่า ขณะนี้ธนาคารและหน่วยงานทีเกี่ยวข้องกับโครงการจำนำข้าวเปลือกอยู่ระหว่างพิจารณาความเป็นไปได้ในการปรับเปลี่ยนการดำเนินโครงการในอนาคต เพื่อให้มีความเหมาะสมและสอดคล้องกับความเป็นจริงมากขึ้นโดยที่ไม่เป็นภาระงบประมาณที่มากจนเกินไป เนื่องจากหากปล่อยไว้ ก็จะต้องใช้เงินเกินกว่าเพดานที่รัฐบาลกำหนดไว้ให้ใช้เงินหมุนเวียนภายใน 5 แสนล้านบาทซึ่งขณะนี้ใกล้เต็มวงเงินแล้วเหลือเพียงส่วนของเงินกู้อีก 4-5 หมื่นล้าน บาทเท่านั้น
ส่วนเงินที่จะได้จากการระบายข้าวในสต็อกรัฐบาลก็ยังมีความไม่แน่นอนจะได้รับเงินเข้ามาเมื่อใดและเท่าไหร่ ดังนั้นการทำโครงการรับจำนำข้าวซึ่งเชื่อว่ารัฐบาลจะไม่ยกเลิกอย่างแน่นอนนั้นควรจะมีการปรับเปลี่ยนรูปแบบใหม่ให้มีภาระลดลงและเพื่อให้เกษตรกรได้รับประโยชน์แท้จริง ป้องกันไม่ให้มีการสวมสิทธิหรือมีการเวียนเทียนจำนำข้าวเหมือนที่ผ่านมา
สำหรับแนวทางที่ศึกษามีทั้งการจำกัดปริมาณข้าวที่จะเข้าร่วมโครงการ โดยในอดีตก็เคยมีการจำกัดปริมาณข้าวแต่เพิ่งมายกเลิกเมื่อปีก่อนที่รับจำนำทุกเม็ด ซึ่งจากตัวเลขการเพาระปลูกของกระทรวงเกษตรนั้นพบว่าชาวนาปลูกข้าวได้เฉลี่ย 5.4 ตันต่อรายเท่านั้น เพราะภาคอีสานและภาคอื่นจะปลูกข้าวปีละครั้งต่างจากภาคกลาง 10-15 จังหวัดที่ปลูกได้ปีละ 2-3 ครั้ง ทำให้มีปริมาณข้าวมากกว่าค่าเฉลี่ยถึง 3 เท่า
“การขอความร่วมมือให้ลดการปลูกข้าวเหลือปีละ 2 ครั้งและจำกัดรับจำนำแค่ 2 รอบก็ช่วยลดปริมาณข้าวลงไปได้ระดับหนึ่งและในครั้งนี้ที่ไม่รับจำนำข้าวอายุสั้น 90-100 วันก็ช่วยสกัดออกไปอีกจำนวนหนึ่ง แต่บางรายก็ยังมีการนำข้าวมาจำนำมากจนผิดปกติอยู่ดี จึงควรจำกัดไปเลยเช่น ไม่เกิน 20หรือ 25 ตันต่อราย” แหล่งข่าวกล่าว หรืออีกแนวทางหนึ่งอาจใช้วิธีกำหนดวงเงินที่เข้าร่วมโครงการ เช่น ไม่เกินรายละ 3-5 แสนบาท ซึ่งก็เคยใช้มาในอดีตเช่นกัน โดยเห็นว่าตัวเลข 3 แสนบาทต่อรายมีความเหมาะสมที่สุด เพราะ 5 แสนบาทต่อรายนั้นอาจจะสูงเกินความเป็นจริงและมีเพียง 10% ของเกษตรกรเท่านั้นที่มีข้าวในครอบครองมูลค่ามากกว่า 5 แสนบาท
ทั้งนี้ ทั้ง 2 แนวทางน่าจะมีความเป็นไปได้มากกว่าจะไปปรับลดราคาจำนำข้าวที่ครั้งนี้ก็พยายามจะปรับลดลงแล้วแต่ทำไม่ได้ เพราะเกษตรกรไม่ยินยอมและราคาเมื่อขึ้นแล้วมักจะลดลงยาก แต่เงื่อนไขที่กำหนดในโครงการรับจำนำใหม่เป็นวิธีทางปฎิบัติที่น่าจะสามารถชี้แจงให้เกษตรกรเข้าใจได้ เพราะหากไม่ยอมรับเปลี่ยนก็อาจต้องถึงขั้นยกเลิกโครงการไปเพราะข้อจำกัดเรื่องเงินที่ใช้ดำเนินโครงการ แต่คงขึ้นอยู่กับรัฐบาลด้วยว่าจะเห็นชอบด้วยหรือไม่ หากสามารถปรับเปลี่ยนได้ในฤดูกาลผลิตหน้าหรือปีหน้าได้ก็จะเป็นการดีที่สุด