อภินันท์ สิริรัตนจิตต์
คณะศิลปศาสตร์และศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยหาดใหญ่
ภาษิตไทยว่า ความวัวไม่ทันหาย ความควายเข้ามาแทรก คงสะท้อนความวุ่นวายในเกมการเมือง “สร้างกระแส” ที่ฝ่ายรัฐบาลกำลังเบี่ยงเบนประเด็นที่ถูกจับตารอคิวตรวจสอบอย่างเข้มข้นจากทุกภาคส่วน โดยเฉพาะภาคประชาสังคมและภาคสื่อมวลชน แม้ประเด็นทุจริตโครงการ รับจำนำข้าวจะสร่างซาลงไป แต่ประเด็นสำคัญ 2 ประการ คือความประสงค์ กู้เงิน 2 ล้านล้านบาท และความพยายามแก้รัฐธรรมนูญ ซึ่งเป็นกฎหมายสูงสุด โดยเจตนาส่อของฝ่ายรัฐบาลส่วนใหญ่นั้น เป็นไปในทิศทางหยั่งเสียง ไม่ใช่โยนหินถามทาง มีนัยสำคัญจะยื่นแก้ใน 2 มาตราสำคัญ คือมาตรา 68 และมาตรา 112
สาระสำคัญของรัฐธรรมนูญ มาตรา 68 อยู่ที่การล้มล้างการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขตามรัฐธรรมนูญ และมาตรา 112 สาระสำคัญอยู่ที่การปกป้องสถาบันพระมหากษัตริย์ ซึ่งทั้ง 2 มาตรานี้ ดูเหมือนความพยายามในการแก้รัฐธรรมนูญอย่างมีวาระซ่อนเร้น หากจะตั้งกระทู้คำถาม ว่า จะเร่งรีบแก้ไปเพื่อการณ์ใดและมีความจำเป็นอย่างไรในความพยายามยื่นแก้อย่างรีบเร่ง โดยรัฐมิได้คำนึงถึงความอ่อนไหวทางความรู้สึกของผู้คนในประเทศชาติ และผลกระทบต่างๆ อันจะสืบเนื่องตามมา จากการสร้างกระแสดังกล่าว
เป็นที่รู้กันโดยหลักปฏิบัติ ว่า ประเทศไทยเป็นราชอาณาจักรไทย เป็นรัฐอธิปไตย เป็นหนึ่งเดียว มีธงชาติ 3 สี เป็นสัญลักษณ์ประกอบด้วยสีแดง ขาว และน้ำเงิน อันบ่งบอกถึง 3 สถาบันสำคัญ อันเป็นแหล่งก่อกำเนิดประเทศมาจากเลือดเนื้อและความเสียสละ และนี่คือสิ่งที่ผู้เขียนคิดเห็นว่า เป็นคุณูปการของสถาบันหลักจากคนรุ่นก่อนที่มีต่อคนรุ่นใหม่ให้มีผืนแผ่นดินได้อยู่อาศัยถึงปัจจุบันนี้ หากจะกล่าวว่า ควรจะมีจิตสำนึกถึงคุณูปการของสถาบันสำคัญต่างๆ ที่มีต่อประเทศชาติ ว่า เรามีชีวิตอยู่ในประเทศนี้ได้ ด้วยเพราะความเสียสละของคนรุ่นสมัยก่อน โดยเฉพาะสถาบันพระมหากษัตริย์ ซึ่งในทุกยุคสมัยที่ทรงเป็นผู้นำในการปกป้องและสร้างชาติบ้านเมือง ให้รุ่งเรืองเป็นชาติไทยอยู่ได้ แต่ทว่าหากยังคิดที่จะเล่นเกมการเมือง โดยไม่เคารพยกย่องบุคคลและสิ่งที่ควรยกย่อง มองข้ามหลักคำสอนที่ว่า ให้เคารพบูชาบุคคลหรือสิ่งที่ควรเคารพบูชาแล้ว ก็ไม่จำเป็นจะต้องคำนึงถึงสิ่งใดๆ ในการอยู่ร่วมกัน โดยเฉพาะกติกา หรือธรรมเนียมปฏิบัติที่ดีงามอื่นของสังคมไทย ที่ไม่วายจะถูกเปลี่ยนกันยกโขยงตามมา
แม้ยังไม่ทราบความประสงค์แน่ชัด ในฝ่ายที่มีความพยายามประสงค์จะยื่นแก้ไขรัฐธรรมนูญ ที่เกี่ยวข้องด้วยสถาบันสำคัญของชาติ แต่ผู้เขียนคิดเห็นว่า ความบริสุทธิ์หรือไม่บริสุทธิ์แห่งจิตใจ เป็นสิ่งที่รู้ได้เฉพาะบุคคล แต่คำพระท่านสอน เตือนสติอยู่เสมอ ว่า ใครทำกรรมใด ย่อมได้กรรมนั้น ผู้ทำกรรมดี ย่อมได้รับผลกรรมดี ผู้ทำกรรมชั่ว ย่อมได้รับผลกรรมชั่ว ตามไปเหมือนเงาติดตามตัว ดังนั้น หากจะดูเจตนาของรัฐยามนี้ ขอให้เวลาเป็นเครื่องพิสูจน์ว่า รัฐบาลจะประสงค์แก้รัฐธรรมนูญ มาตรา 68 และมาตรา 112 เพื่อการณ์สำคัญอันใดของประเทศชาติ
คณะศิลปศาสตร์และศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยหาดใหญ่
ภาษิตไทยว่า ความวัวไม่ทันหาย ความควายเข้ามาแทรก คงสะท้อนความวุ่นวายในเกมการเมือง “สร้างกระแส” ที่ฝ่ายรัฐบาลกำลังเบี่ยงเบนประเด็นที่ถูกจับตารอคิวตรวจสอบอย่างเข้มข้นจากทุกภาคส่วน โดยเฉพาะภาคประชาสังคมและภาคสื่อมวลชน แม้ประเด็นทุจริตโครงการ รับจำนำข้าวจะสร่างซาลงไป แต่ประเด็นสำคัญ 2 ประการ คือความประสงค์ กู้เงิน 2 ล้านล้านบาท และความพยายามแก้รัฐธรรมนูญ ซึ่งเป็นกฎหมายสูงสุด โดยเจตนาส่อของฝ่ายรัฐบาลส่วนใหญ่นั้น เป็นไปในทิศทางหยั่งเสียง ไม่ใช่โยนหินถามทาง มีนัยสำคัญจะยื่นแก้ใน 2 มาตราสำคัญ คือมาตรา 68 และมาตรา 112
สาระสำคัญของรัฐธรรมนูญ มาตรา 68 อยู่ที่การล้มล้างการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขตามรัฐธรรมนูญ และมาตรา 112 สาระสำคัญอยู่ที่การปกป้องสถาบันพระมหากษัตริย์ ซึ่งทั้ง 2 มาตรานี้ ดูเหมือนความพยายามในการแก้รัฐธรรมนูญอย่างมีวาระซ่อนเร้น หากจะตั้งกระทู้คำถาม ว่า จะเร่งรีบแก้ไปเพื่อการณ์ใดและมีความจำเป็นอย่างไรในความพยายามยื่นแก้อย่างรีบเร่ง โดยรัฐมิได้คำนึงถึงความอ่อนไหวทางความรู้สึกของผู้คนในประเทศชาติ และผลกระทบต่างๆ อันจะสืบเนื่องตามมา จากการสร้างกระแสดังกล่าว
เป็นที่รู้กันโดยหลักปฏิบัติ ว่า ประเทศไทยเป็นราชอาณาจักรไทย เป็นรัฐอธิปไตย เป็นหนึ่งเดียว มีธงชาติ 3 สี เป็นสัญลักษณ์ประกอบด้วยสีแดง ขาว และน้ำเงิน อันบ่งบอกถึง 3 สถาบันสำคัญ อันเป็นแหล่งก่อกำเนิดประเทศมาจากเลือดเนื้อและความเสียสละ และนี่คือสิ่งที่ผู้เขียนคิดเห็นว่า เป็นคุณูปการของสถาบันหลักจากคนรุ่นก่อนที่มีต่อคนรุ่นใหม่ให้มีผืนแผ่นดินได้อยู่อาศัยถึงปัจจุบันนี้ หากจะกล่าวว่า ควรจะมีจิตสำนึกถึงคุณูปการของสถาบันสำคัญต่างๆ ที่มีต่อประเทศชาติ ว่า เรามีชีวิตอยู่ในประเทศนี้ได้ ด้วยเพราะความเสียสละของคนรุ่นสมัยก่อน โดยเฉพาะสถาบันพระมหากษัตริย์ ซึ่งในทุกยุคสมัยที่ทรงเป็นผู้นำในการปกป้องและสร้างชาติบ้านเมือง ให้รุ่งเรืองเป็นชาติไทยอยู่ได้ แต่ทว่าหากยังคิดที่จะเล่นเกมการเมือง โดยไม่เคารพยกย่องบุคคลและสิ่งที่ควรยกย่อง มองข้ามหลักคำสอนที่ว่า ให้เคารพบูชาบุคคลหรือสิ่งที่ควรเคารพบูชาแล้ว ก็ไม่จำเป็นจะต้องคำนึงถึงสิ่งใดๆ ในการอยู่ร่วมกัน โดยเฉพาะกติกา หรือธรรมเนียมปฏิบัติที่ดีงามอื่นของสังคมไทย ที่ไม่วายจะถูกเปลี่ยนกันยกโขยงตามมา
แม้ยังไม่ทราบความประสงค์แน่ชัด ในฝ่ายที่มีความพยายามประสงค์จะยื่นแก้ไขรัฐธรรมนูญ ที่เกี่ยวข้องด้วยสถาบันสำคัญของชาติ แต่ผู้เขียนคิดเห็นว่า ความบริสุทธิ์หรือไม่บริสุทธิ์แห่งจิตใจ เป็นสิ่งที่รู้ได้เฉพาะบุคคล แต่คำพระท่านสอน เตือนสติอยู่เสมอ ว่า ใครทำกรรมใด ย่อมได้กรรมนั้น ผู้ทำกรรมดี ย่อมได้รับผลกรรมดี ผู้ทำกรรมชั่ว ย่อมได้รับผลกรรมชั่ว ตามไปเหมือนเงาติดตามตัว ดังนั้น หากจะดูเจตนาของรัฐยามนี้ ขอให้เวลาเป็นเครื่องพิสูจน์ว่า รัฐบาลจะประสงค์แก้รัฐธรรมนูญ มาตรา 68 และมาตรา 112 เพื่อการณ์สำคัญอันใดของประเทศชาติ