ASTVผู้จัดการรายวัน-“บุญทรง”สั่งนัดผู้ประกอบการภาคเกษตร อุตสาหกรรม หารือแก้ปัญหาเงินบาทแข็งค่าต้นเม.ย.นี้ หวังได้ข้อมูลทำมาตรการช่วยเหลือ ยังมั่นใจเป้าส่งออกปีนี้ 8-9% ทำได้ อัดงบ 100 ล้านช่วย SMEs เจาะตลาดต่างประเทศ
นางศรีรัตน์ รัษฐปานะ อธิบดีกรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ เปิดเผยว่า นายบุญทรง เตริยาภิรมย์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ ได้สั่งการให้กรมฯ นัดประชุมผู้ประกอบการในกลุ่มอุตสาหกรรมต่างๆ ทั้งสินค้าเกษตรและอุตสาหกรรม เพื่อหารือถึงผลกระทบจากการแข็งค่าของเงินบาทว่าแต่ละอุตสาหกรรมได้รับผลกระทบอะไรบ้าง และต้องการให้ภาครัฐมีมาตรการช่วยเหลืออย่างไร เพื่อบรรเทาผลกระทบที่เกิดขึ้น เพื่อให้การส่งออกยังคงขยายตัวได้ตามเป้าหมายที่ตั้งไว้ 8-9% มูลค่าประมาณ 2.5 แสนล้านเหรียญสหรัฐ
“กรมฯ มองว่าเป้าส่งออกที่ตั้งไว้ 8-9% ยังคงมีความเป็นไปได้สูง เพราะเงินบาทที่แข็งค่าตอนนี้เริ่มนิ่งและมีเสถียรภาพมากขึ้น หากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องดูแลอย่างใกล้ชิด และเงินบาทไม่แข็งค่าไปกว่านี้ เชื่อว่า ผลกระทบต่อภาคการส่งออกคงมีไม่มาก ทั้งนี้ ในช่วงเดือนพ.ค.2556 กรมฯ จะประชุมร่วมกับทูตพาณิชย์ทั่วโลก เพื่อประเมินเป้าหมายการส่งออกอีกครั้ง”
ทั้งนี้ ปัจจัยเสี่ยงที่จะมีผลกระทบต่อภาคการส่งออกที่กรมฯ เฝ้าจับตาอยู่ เช่น ค่าเงินบาท มีการแข็งค่าขึ้นมากน้อยแค่ไหน ราคาน้ำมันดิบในตลาดโลก หากแพงขึ้นก็จะส่งผลกระทบต่อต้นทุนการผลิตสูงขึ้น ตลาดส่งออกขยายตัวหรือหดตัว การค้าและเศรษฐกิจโลกโดยรวมขยายตัวหรือไม่ ปัญหาการเมืองภายในประเทศ ปัญหาภัยธรรมชาติ และมาตรการกีดกันทางการค้าที่ไม่ใช่ภาษี (NTBs)
ที่ขณะนี้หลายๆ ประเทศเริ่มนำมาใช้มากขึ้น ซึ่งปัจจัยเสี่ยงเหล่านี้ หากมีมาก ก็จะกระทบต่อการส่งออก
อย่างไรก็ตาม ปัจจัยเสี่ยงที่กรมฯ จับตานั้น ล่าสุดมีเพียงเงินบาทแข็งค่าที่เริ่มมีผลกระทบ แต่กรมฯ เชื่อว่าจะไม่ใช่เป็นหาระยะยาว น่าจะเกิดขึ้นช่วงสั้นๆ ส่วนปัจจัยอื่นที่น่าเป็นห่วง ก็คือ การใช้มาตรการ NTBs ที่คู่ค้าต่างๆ เริ่มนำมาใช้เพิ่มขึ้น และการเจรจาแก้ไขปัญหามักจะใช้ระยะเวลานาน ซึ่งน่าเป็นห่วง
นางศรีรัตน์กล่าวว่า สำหรับแผนการช่วยเหลือผู้ประกอบการ กรมฯ ได้เน้นการสนับสนุนให้ผู้ประกอบการขนาดกลางและเล็ก (SMEs) มีโอกาสในการส่งออกเพิ่มมากขึ้น โดยได้จัดทำโครงการ SME Proactive โดยจะใช้เงินจากกองทุนส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ วงเงิน 300 ล้านบาท กำหนดระยะเวลาการใช้ ตั้งแต่ปี 2556-2558 ทำให้แต่ละปีจะมีวงเงินประมาณ 100 ล้านบาท ที่จะนำมาใช้ช่วยเหลือ SMEs
เป็นการเฉพาะในการบุกเจาะตลาดต่างประเทศ ซึ่งขณะนี้อยู่ระหว่างการนำเสนอให้คณะรัฐมนตรี (ครม.) พิจารณา
นางศรีรัตน์ รัษฐปานะ อธิบดีกรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ เปิดเผยว่า นายบุญทรง เตริยาภิรมย์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ ได้สั่งการให้กรมฯ นัดประชุมผู้ประกอบการในกลุ่มอุตสาหกรรมต่างๆ ทั้งสินค้าเกษตรและอุตสาหกรรม เพื่อหารือถึงผลกระทบจากการแข็งค่าของเงินบาทว่าแต่ละอุตสาหกรรมได้รับผลกระทบอะไรบ้าง และต้องการให้ภาครัฐมีมาตรการช่วยเหลืออย่างไร เพื่อบรรเทาผลกระทบที่เกิดขึ้น เพื่อให้การส่งออกยังคงขยายตัวได้ตามเป้าหมายที่ตั้งไว้ 8-9% มูลค่าประมาณ 2.5 แสนล้านเหรียญสหรัฐ
“กรมฯ มองว่าเป้าส่งออกที่ตั้งไว้ 8-9% ยังคงมีความเป็นไปได้สูง เพราะเงินบาทที่แข็งค่าตอนนี้เริ่มนิ่งและมีเสถียรภาพมากขึ้น หากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องดูแลอย่างใกล้ชิด และเงินบาทไม่แข็งค่าไปกว่านี้ เชื่อว่า ผลกระทบต่อภาคการส่งออกคงมีไม่มาก ทั้งนี้ ในช่วงเดือนพ.ค.2556 กรมฯ จะประชุมร่วมกับทูตพาณิชย์ทั่วโลก เพื่อประเมินเป้าหมายการส่งออกอีกครั้ง”
ทั้งนี้ ปัจจัยเสี่ยงที่จะมีผลกระทบต่อภาคการส่งออกที่กรมฯ เฝ้าจับตาอยู่ เช่น ค่าเงินบาท มีการแข็งค่าขึ้นมากน้อยแค่ไหน ราคาน้ำมันดิบในตลาดโลก หากแพงขึ้นก็จะส่งผลกระทบต่อต้นทุนการผลิตสูงขึ้น ตลาดส่งออกขยายตัวหรือหดตัว การค้าและเศรษฐกิจโลกโดยรวมขยายตัวหรือไม่ ปัญหาการเมืองภายในประเทศ ปัญหาภัยธรรมชาติ และมาตรการกีดกันทางการค้าที่ไม่ใช่ภาษี (NTBs)
ที่ขณะนี้หลายๆ ประเทศเริ่มนำมาใช้มากขึ้น ซึ่งปัจจัยเสี่ยงเหล่านี้ หากมีมาก ก็จะกระทบต่อการส่งออก
อย่างไรก็ตาม ปัจจัยเสี่ยงที่กรมฯ จับตานั้น ล่าสุดมีเพียงเงินบาทแข็งค่าที่เริ่มมีผลกระทบ แต่กรมฯ เชื่อว่าจะไม่ใช่เป็นหาระยะยาว น่าจะเกิดขึ้นช่วงสั้นๆ ส่วนปัจจัยอื่นที่น่าเป็นห่วง ก็คือ การใช้มาตรการ NTBs ที่คู่ค้าต่างๆ เริ่มนำมาใช้เพิ่มขึ้น และการเจรจาแก้ไขปัญหามักจะใช้ระยะเวลานาน ซึ่งน่าเป็นห่วง
นางศรีรัตน์กล่าวว่า สำหรับแผนการช่วยเหลือผู้ประกอบการ กรมฯ ได้เน้นการสนับสนุนให้ผู้ประกอบการขนาดกลางและเล็ก (SMEs) มีโอกาสในการส่งออกเพิ่มมากขึ้น โดยได้จัดทำโครงการ SME Proactive โดยจะใช้เงินจากกองทุนส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ วงเงิน 300 ล้านบาท กำหนดระยะเวลาการใช้ ตั้งแต่ปี 2556-2558 ทำให้แต่ละปีจะมีวงเงินประมาณ 100 ล้านบาท ที่จะนำมาใช้ช่วยเหลือ SMEs
เป็นการเฉพาะในการบุกเจาะตลาดต่างประเทศ ซึ่งขณะนี้อยู่ระหว่างการนำเสนอให้คณะรัฐมนตรี (ครม.) พิจารณา