วานนี้(26 มี.ค.56) น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี ให้สัมภาษณ์ถึงกรณีโครงการรับจำนำข้าวนาปรังถูกชะลอออกไป โดยเกษตรกรยังไม่ได้รับเงินจากโครงการ รัฐบาลจะดูแลอย่างไร ว่า พอดีว่าตรงนี้ยังไม่ทราบรายละเอียด จะให้ทางรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องติดตามต่อไป
ด้านนายบุญทรง เตริยาภิรมย์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ เปิดเผยว่า ขณะนี้กรอบโครงการรับจำนำข้าวเปลือกฤดูกาลผลิต 2555/56 รอบ 2 ได้อยู่ในการพิจารณาของคณะกรรมการกลั่นกรองเรื่องเข้าที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) ที่มีนายกิตติรัตน์ ณ ระนอง รองนายกรัฐมนตรีและรมว.คลัง แล้ว คาดว่าจะเข้าที่ประชุมครม.ได้ภายในสัปดาห์หน้าระหว่างการประชุมครม.สัญจรที่ จ. ฉะเชิงเทรา
"การเลื่อนโครงการจำนำเข้า ครม.รอบนี้ เป็นไปตามขั้นตอน ไม่ได้เป็น เพราะรัฐบาลขาดเงินทุนหมุนเวียนอย่างที่เป็นกระแสข่าวออกมา เพราะหนังสือที่ธ.ก.ส. ทำเรื่องแย้งเรื่องเงินทุนออกมานั้น เป็นหนังสือเก่าตั้งแต่เดือนก.พ.56 ซึ่งขณะนี้คณะกรรมการนโยบายข้าวแห่งชาติ ได้มีมติออกมาใหม่ให้ดำเนินการจ่ายเงินให้ชาวนาทันทีที่นำข้าวมารับจำนำซึ่งโครงการรับจำนำรอบใหม่จะเริ่มต้น 1 เม.ย. นี้"นายบุญทรงกล่าว
มีรายงานข่าวว่า คณะอนุกรรมการกำกับดูแลการรับจำนำ ได้เสนอแนวทางการดำเนินโครงการรับจำนำข้าวเปลือก ปีการผลิต 2555/56 ครั้งที่ 2 หรือ นาปรัง พร้อมทั้งกำหนดปริมาณรับข้าวเปลือกเข้าสู่โครงการ 7 ล้านตัน ใช้เงินหมุนเวียนในการรับจำนำประมาณ 1.05 แสนล้านบาท ในกรอบวงเงินเดิมที่ครม. เคยอนุมัติไปแล้ว 4.1 แสนล้านบาท โดยรัฐบาลมีเงื่อนไขห้ามไม่ให้ เกษตรกรนำข้าวเปลือกที่มีอายุน้อยกว่า 110 วัน จำนวน 18 สายพันธุ์ เข้าร่วมโครงการจำนำ โดยเงื่อนไขดังกล่าว ส่งผลให้มีเกษตรกรได้รับผลกระทบ และเตรียมยื่นหนังสือถึงรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ เพื่อให้การช่วยเหลือ
วันเดียวกัน นายยุคล ลิ้มแหลมทอง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เปิดเผยว่า ที่ประชุมคณะกรรมการนโยบายข้าวแห่งชาติ (กขช.) ครั้งที่ 1/2556 ได้มีการเพิ่มหลักเกณฑ์ในการรับจำนำข้าวเปลือกรอบที่ 2 ปีการผลิต 2555/56 โดยไม่รับจำนำข้าวที่มีอายุน้อยกว่า 110 วัน 18 สายพันธุ์ เพื่อเป็นการยกระดับคุณภาพข้าวไทยให้มีมาตรฐานและกระตุ้นให้เกษตรกรใช้พันธุ์ข่าวที่มีคุณภาพ พร้อมยืนยันว่าจะไม่ส่งผลกระทบกับเกษตรกรอย่างแน่นอน ทั้งนี้จากข้อมูลไม่พบว่ามีเกษตรกรขึ้นทะเบียนขอนำพันธุ์ข้าวดังกล่าวเข้าร่วมโครงการรับจำนำข้าวแต่อย่างใด
อนึ่ง สำหรับ 18 สายพันธุ์ข้าวอายุสั้นต่ำกว่า 110 วัน ที่ไม่สามารถเข้าร่วมโครงการรับจำนำข้าวเปลือกได้แก่ 1) พันธุ์ 75 หรือบีพี 75, 2) พันธุ์ซี-75, 3) พันธุ์ราชินี, 4) พันธุ์พวงทอง, 5) พันธุ์พวงเงิน, 6) พันธุ์พวงเงินพวงทอง, 7) พันธุ์พวงแก้ว, 8) พันธุ์ขาวปทุม, 9) พันธุ์สามพราน 1, 10) พันธุ์ 039 หรือเจ้าพระยา, 11) พันธุ์โพธิ์ทอง, 12) พันธุ์ขาวคลองหลวง, 13) พันธุ์มาเลเซีย, 14) พันธุ์เตี้ยมาเล, 15) พันธุ์ขาวเมเล, 16) พันธุ์มาเลแดง, 17) พันธุ์เบตง และ 18) พันธุ์อีแล็ป หรืออีเล็ป.
นพ.ทศพร เสรีรักษ์ โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี แถลงชี้แจงกระแสข่าวที่มีการเอื้อผลประโยชน์เจรจาเรื่องแก๊สและน้ำมันให้กับคนในรัฐบาล และพ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี ในช่วงที่นายกรัฐมนตรีเดินทางไปเยือนนิวซีแลนด์ และปาปัวนิวกินีว่า ขอยืนยันว่าไม่เป็นความจริง แม้ว่าประเทศปาปัวนิวกินี จะเป็นแหล่งแก๊สหรือแหล่งน้ำมัน แต่ขณะนี้ปาปัวนิวกินีสามารถผลิตน้ำมันได้เพียง 3 หมื่นบาเรลต่อวัน จากเดิมผลิตได้วันละ 7 หมื่นบาเรลต่อวัน ซึ่งไม่พอที่จะเข้าไปทำอะไรได้ ส่วนแก๊สธรรมชาตินั้น ปาปัวนิวกินีมีโครงการแก๊สธรรมชาติเหลว หรือเอลเอ็มจี ซึ่งบริษัทของสหรัฐฯได้ไปลงทุนอยู่เรียบร้อยแล้ว โดยร่วมทุนทั้งกับญี่ปุ่น เกาหลี และจีน มีการแบ่งกันไว้หมดแล้ว ทั้งการบริหารจัดการ การวางท่อ การตั้งโรงงาน โดยเข้าไปลงทุนประมาณ 1.5 หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐฯ เพื่อสร้างโรงงานผลิตแก๊สธรรมชาติที่ใหญ่ที่สุดในภูมิภาคแปซิฟิกใต้ โดยการก่อสร้างเริ่มต้นเมื่อเดือน ก.ย.52 กำหนดแล้วเสร็จในปี 57 ผลผลิตจะไปจำหน่ายทั่วโลก ถือว่าขณะนี้เขาครอบครองกันเรียบร้อยแล้วโดยที่เราไม่มีสิทธิเข้าไปแตะอะไร และยังมีบริษัทอินเตอร์ออยล์ลงทุนอยู่ที่นั่นด้วย ซึ่งเป็นบริษัทของสหรัฐฯเช่นกัน กำลังดำเนินการขุดเจาะอยู่ โดย ปตท.สผ.เคยเจรจาเรื่องการซื้อขายกับอินเตอร์ออยล์มาเป็นเวลา 5 ปี แต่ไม่สำเร็จ เพราะเขาตั้งค่าพรีเมี่ยมการผลิตแก๊สธรรมชาติต่อบาเรลสูงมาก
“เป็นเรื่องเท็จทั้งนั้นที่บอกว่ามีการตกลงผลประโยชน์เรียบร้อยแล้ว หรือจะไปสร้างประโยชน์ให้ใคร แต่ที่ชัดเจนคือเรื่องข้าว ปาปัวนิวกินี กินข้าวปีละ 1.5 แสนตัน และซื้อจากไทยปีละ 5 หมื่นตัน เรื่องนี้ต่างหากที่เราสนใจจะขายได้เพิ่มขึ้น และเขาก็ขอความร่วมมือให้ไทยเข้าไปสอนปลูกข้าว เราก็จะไปช่วยเขา แต่ระหว่างที่ยังปลูกเองไม่สำเร็จเขาก็จะซื้อจากเราไปพลางๆ และยังมีคนไทยไปตั้งโรงงานอาหารทะเลที่นั่นด้วย ซึ่งปาปัวนิวกินีได้สิทธิทางจีเอสพีสามารถส่งไปทางประชาคมเศรษฐกิจยุโรป โดยไม่ต้องเสียภาษี ตรงนี้ต่างหากที่เราสนใจ” นพ.ทศพร กล่าว
ด้านนายบุญทรง เตริยาภิรมย์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ เปิดเผยว่า ขณะนี้กรอบโครงการรับจำนำข้าวเปลือกฤดูกาลผลิต 2555/56 รอบ 2 ได้อยู่ในการพิจารณาของคณะกรรมการกลั่นกรองเรื่องเข้าที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) ที่มีนายกิตติรัตน์ ณ ระนอง รองนายกรัฐมนตรีและรมว.คลัง แล้ว คาดว่าจะเข้าที่ประชุมครม.ได้ภายในสัปดาห์หน้าระหว่างการประชุมครม.สัญจรที่ จ. ฉะเชิงเทรา
"การเลื่อนโครงการจำนำเข้า ครม.รอบนี้ เป็นไปตามขั้นตอน ไม่ได้เป็น เพราะรัฐบาลขาดเงินทุนหมุนเวียนอย่างที่เป็นกระแสข่าวออกมา เพราะหนังสือที่ธ.ก.ส. ทำเรื่องแย้งเรื่องเงินทุนออกมานั้น เป็นหนังสือเก่าตั้งแต่เดือนก.พ.56 ซึ่งขณะนี้คณะกรรมการนโยบายข้าวแห่งชาติ ได้มีมติออกมาใหม่ให้ดำเนินการจ่ายเงินให้ชาวนาทันทีที่นำข้าวมารับจำนำซึ่งโครงการรับจำนำรอบใหม่จะเริ่มต้น 1 เม.ย. นี้"นายบุญทรงกล่าว
มีรายงานข่าวว่า คณะอนุกรรมการกำกับดูแลการรับจำนำ ได้เสนอแนวทางการดำเนินโครงการรับจำนำข้าวเปลือก ปีการผลิต 2555/56 ครั้งที่ 2 หรือ นาปรัง พร้อมทั้งกำหนดปริมาณรับข้าวเปลือกเข้าสู่โครงการ 7 ล้านตัน ใช้เงินหมุนเวียนในการรับจำนำประมาณ 1.05 แสนล้านบาท ในกรอบวงเงินเดิมที่ครม. เคยอนุมัติไปแล้ว 4.1 แสนล้านบาท โดยรัฐบาลมีเงื่อนไขห้ามไม่ให้ เกษตรกรนำข้าวเปลือกที่มีอายุน้อยกว่า 110 วัน จำนวน 18 สายพันธุ์ เข้าร่วมโครงการจำนำ โดยเงื่อนไขดังกล่าว ส่งผลให้มีเกษตรกรได้รับผลกระทบ และเตรียมยื่นหนังสือถึงรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ เพื่อให้การช่วยเหลือ
วันเดียวกัน นายยุคล ลิ้มแหลมทอง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เปิดเผยว่า ที่ประชุมคณะกรรมการนโยบายข้าวแห่งชาติ (กขช.) ครั้งที่ 1/2556 ได้มีการเพิ่มหลักเกณฑ์ในการรับจำนำข้าวเปลือกรอบที่ 2 ปีการผลิต 2555/56 โดยไม่รับจำนำข้าวที่มีอายุน้อยกว่า 110 วัน 18 สายพันธุ์ เพื่อเป็นการยกระดับคุณภาพข้าวไทยให้มีมาตรฐานและกระตุ้นให้เกษตรกรใช้พันธุ์ข่าวที่มีคุณภาพ พร้อมยืนยันว่าจะไม่ส่งผลกระทบกับเกษตรกรอย่างแน่นอน ทั้งนี้จากข้อมูลไม่พบว่ามีเกษตรกรขึ้นทะเบียนขอนำพันธุ์ข้าวดังกล่าวเข้าร่วมโครงการรับจำนำข้าวแต่อย่างใด
อนึ่ง สำหรับ 18 สายพันธุ์ข้าวอายุสั้นต่ำกว่า 110 วัน ที่ไม่สามารถเข้าร่วมโครงการรับจำนำข้าวเปลือกได้แก่ 1) พันธุ์ 75 หรือบีพี 75, 2) พันธุ์ซี-75, 3) พันธุ์ราชินี, 4) พันธุ์พวงทอง, 5) พันธุ์พวงเงิน, 6) พันธุ์พวงเงินพวงทอง, 7) พันธุ์พวงแก้ว, 8) พันธุ์ขาวปทุม, 9) พันธุ์สามพราน 1, 10) พันธุ์ 039 หรือเจ้าพระยา, 11) พันธุ์โพธิ์ทอง, 12) พันธุ์ขาวคลองหลวง, 13) พันธุ์มาเลเซีย, 14) พันธุ์เตี้ยมาเล, 15) พันธุ์ขาวเมเล, 16) พันธุ์มาเลแดง, 17) พันธุ์เบตง และ 18) พันธุ์อีแล็ป หรืออีเล็ป.
นพ.ทศพร เสรีรักษ์ โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี แถลงชี้แจงกระแสข่าวที่มีการเอื้อผลประโยชน์เจรจาเรื่องแก๊สและน้ำมันให้กับคนในรัฐบาล และพ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี ในช่วงที่นายกรัฐมนตรีเดินทางไปเยือนนิวซีแลนด์ และปาปัวนิวกินีว่า ขอยืนยันว่าไม่เป็นความจริง แม้ว่าประเทศปาปัวนิวกินี จะเป็นแหล่งแก๊สหรือแหล่งน้ำมัน แต่ขณะนี้ปาปัวนิวกินีสามารถผลิตน้ำมันได้เพียง 3 หมื่นบาเรลต่อวัน จากเดิมผลิตได้วันละ 7 หมื่นบาเรลต่อวัน ซึ่งไม่พอที่จะเข้าไปทำอะไรได้ ส่วนแก๊สธรรมชาตินั้น ปาปัวนิวกินีมีโครงการแก๊สธรรมชาติเหลว หรือเอลเอ็มจี ซึ่งบริษัทของสหรัฐฯได้ไปลงทุนอยู่เรียบร้อยแล้ว โดยร่วมทุนทั้งกับญี่ปุ่น เกาหลี และจีน มีการแบ่งกันไว้หมดแล้ว ทั้งการบริหารจัดการ การวางท่อ การตั้งโรงงาน โดยเข้าไปลงทุนประมาณ 1.5 หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐฯ เพื่อสร้างโรงงานผลิตแก๊สธรรมชาติที่ใหญ่ที่สุดในภูมิภาคแปซิฟิกใต้ โดยการก่อสร้างเริ่มต้นเมื่อเดือน ก.ย.52 กำหนดแล้วเสร็จในปี 57 ผลผลิตจะไปจำหน่ายทั่วโลก ถือว่าขณะนี้เขาครอบครองกันเรียบร้อยแล้วโดยที่เราไม่มีสิทธิเข้าไปแตะอะไร และยังมีบริษัทอินเตอร์ออยล์ลงทุนอยู่ที่นั่นด้วย ซึ่งเป็นบริษัทของสหรัฐฯเช่นกัน กำลังดำเนินการขุดเจาะอยู่ โดย ปตท.สผ.เคยเจรจาเรื่องการซื้อขายกับอินเตอร์ออยล์มาเป็นเวลา 5 ปี แต่ไม่สำเร็จ เพราะเขาตั้งค่าพรีเมี่ยมการผลิตแก๊สธรรมชาติต่อบาเรลสูงมาก
“เป็นเรื่องเท็จทั้งนั้นที่บอกว่ามีการตกลงผลประโยชน์เรียบร้อยแล้ว หรือจะไปสร้างประโยชน์ให้ใคร แต่ที่ชัดเจนคือเรื่องข้าว ปาปัวนิวกินี กินข้าวปีละ 1.5 แสนตัน และซื้อจากไทยปีละ 5 หมื่นตัน เรื่องนี้ต่างหากที่เราสนใจจะขายได้เพิ่มขึ้น และเขาก็ขอความร่วมมือให้ไทยเข้าไปสอนปลูกข้าว เราก็จะไปช่วยเขา แต่ระหว่างที่ยังปลูกเองไม่สำเร็จเขาก็จะซื้อจากเราไปพลางๆ และยังมีคนไทยไปตั้งโรงงานอาหารทะเลที่นั่นด้วย ซึ่งปาปัวนิวกินีได้สิทธิทางจีเอสพีสามารถส่งไปทางประชาคมเศรษฐกิจยุโรป โดยไม่ต้องเสียภาษี ตรงนี้ต่างหากที่เราสนใจ” นพ.ทศพร กล่าว