ส.อ.ท.เตรียมหารือธปท.สัปดาห์นี้หลังสมาชิกร้องบาทแข็งกระทบรายได้หดหวั่นแข็งต่อฉุดออร์เดอร์ไตรมาส 3-4 วูบแน่หลังบางส่วนเริ่มชะลอแล้วเหตุเอกชนต้องดิ้นปรับราคาสินค้าขึ้น โวยทั้งค่าแรงขึ้นบาทยังมาซ้ำเติมอีก
นายเกรียงไกร เธียรนุกูล รองประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย(ส.อ.ท.) เปิดเผยว่า สัปดาห์นี้นายพยุงศักดิ์ ชาติสุทธิผล ประธานส.อ.ท.และสมาชิกด้านเศรษฐกิจจะเข้าหารือกับธนาคารแห่งประเทศไทย(ธปท.) เกี่ยวกับผลกระทบค่าเงินบาทที่แข็งค่ากว่าประเทศเพื่อนบ้านเนื่องจากสมาชิกที่เป็นผู้ส่งออกร้องเรียนมาจำนวนมากว่ากำลังประสบปัญหาซึ่งถือเป็นการซ้ำเติมจากก่อนหน้านี้ได้รับผลกระทบจากค่าแรง 300 บาทต่อวัน
“ค่าเงินบาทของไทยมีอัตราการแข็งค่าที่เร็วกว่าเพื่อนบ้านมากซึ่งเห็นว่าค่าเงินบาทที่เหมาะสมควรจะอยู่ในระดับ 30 บาทต่อเหรียญสหรัฐอเมริกา ซึ่งขณะนี้ผู้ส่งออกเองก็หวังว่าธปท.จะมีมาตรการอะไรออกมาดูแลในระยะกลางและยาวที่เราเป็นห่วงมากว่าถ้ายังแข็งต่อเนื่องส่งออกไทยจะลำบากแน่”นายเกรียงไกรกล่าว
ปัจจุบันค่าเงินบาทที่แข็งค่าในระดับ 29 กว่าบาทต่อเหรียญฯนั้นกระทบต่อการส่งออกในไตรมาส 1-2 ที่ผู้ส่งออกจะได้รับกระแสเงินสดที่แลกกลับมาในรูปเงินบาทลดลงซึ่งยังถือว่าพอประคองไปได้แต่สิ่งที่เอกชนกังวลคือหากแข็งค่าต่อเนื่องและแตะไปสู่ระดับ 27-28 บาทต่อเหรียญฯจะทำให้การเจรจารับคำสั่งซื้อ(ออร์เดอร์)ไตรมาส 3-4 กระทบหนักเพราะการแข็งค่าจะสูงเป็นระดับ 10% และเมื่อเทียบกับกำไรของบริษัทส่วนใหญ่เฉลี่ยอยู่ที่ 6-10% เท่านั้นทำให้ต้องปรับขึ้นราคาสินค้าทำให้ขีดความสามารถของการแข่งขันไทยลดลงทันที
นายเกรียงไกรกล่าวว่า การส่งออกของไทยขณะนี้ภาพรวมไตรมาส1-2 ยังคงมีอัตราการเติบโตอยู่และหากค่าเงินเฉลี่ยอยู่ที่ระดับ 29 บาทเศษๆ ต่อเหรียญสหรัฐฯปีนี้การส่งออกน่าจะเติบโตได้ในระดับ 10% จากปีก่อนแต่หากค่าเงินบาทแข็งค่าแตะระดับ 28 หรือ 27 บาทต่อเหรียญฯเมื่อใดคาดว่าการส่งออกไทยจะลดลงเหลือไม่เกิน 5%
อย่างไรก็ตามค่าเงินบาทที่แข็งค่าก็มีผลดีในแง่ของการนำเข้าพลังงานและเครื่องจักรต่างๆ ซึ่งจังหวะนี้เอกชนที่มีกำลังทุนก็ควรจะใช้โอกาสนี้ปรับกระบวนการผลิตที่พึ่งพาเครื่องจักรทดแทนแรงงานที่ขณะนี้หายากมากขึ้นด้วย
แหล่งข่าวจากส.อ.ท.กล่าวว่า ขณะนี้ธุรกิจขนาดกลางและย่อม(เอสเอ็มอี) กำลังประสบปัญหารุนแรงอย่างหนักโดยเฉพาะผู้ส่งออกที่ก่อนหน้าได้รับผลกระทบค่าแรงขั้นต่ำ 300 บาทต่อวันทั่วประเทศแล้วยังประสบวิกฤตค่าเงินบาทซ้ำเติมซึ่งถือว่าหนักเข้าไปอีกทำให้ต้องปรับราคาสินค้าบ่อยครั้งจนล่าสุดออร์เดอร์ที่เคยรับส่วนหนึ่งที่จะมีเข้ามาในไตรมาส 3 มีการชะลอลง และบางส่วนหันไปประเทศเพื่อนบ้านแทนโดยเฉพาะกลุ่มเสื้อผ้าสำเร็จรูปเริ่มหนีย้ายไปหาอินเดีย ปากีสถาน ศรีลังกา ฯลฯ ส่วนอุตสาหกรรมอื่นๆก็จะมีลักษณะเดียวกัน
นายเกรียงไกร เธียรนุกูล รองประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย(ส.อ.ท.) เปิดเผยว่า สัปดาห์นี้นายพยุงศักดิ์ ชาติสุทธิผล ประธานส.อ.ท.และสมาชิกด้านเศรษฐกิจจะเข้าหารือกับธนาคารแห่งประเทศไทย(ธปท.) เกี่ยวกับผลกระทบค่าเงินบาทที่แข็งค่ากว่าประเทศเพื่อนบ้านเนื่องจากสมาชิกที่เป็นผู้ส่งออกร้องเรียนมาจำนวนมากว่ากำลังประสบปัญหาซึ่งถือเป็นการซ้ำเติมจากก่อนหน้านี้ได้รับผลกระทบจากค่าแรง 300 บาทต่อวัน
“ค่าเงินบาทของไทยมีอัตราการแข็งค่าที่เร็วกว่าเพื่อนบ้านมากซึ่งเห็นว่าค่าเงินบาทที่เหมาะสมควรจะอยู่ในระดับ 30 บาทต่อเหรียญสหรัฐอเมริกา ซึ่งขณะนี้ผู้ส่งออกเองก็หวังว่าธปท.จะมีมาตรการอะไรออกมาดูแลในระยะกลางและยาวที่เราเป็นห่วงมากว่าถ้ายังแข็งต่อเนื่องส่งออกไทยจะลำบากแน่”นายเกรียงไกรกล่าว
ปัจจุบันค่าเงินบาทที่แข็งค่าในระดับ 29 กว่าบาทต่อเหรียญฯนั้นกระทบต่อการส่งออกในไตรมาส 1-2 ที่ผู้ส่งออกจะได้รับกระแสเงินสดที่แลกกลับมาในรูปเงินบาทลดลงซึ่งยังถือว่าพอประคองไปได้แต่สิ่งที่เอกชนกังวลคือหากแข็งค่าต่อเนื่องและแตะไปสู่ระดับ 27-28 บาทต่อเหรียญฯจะทำให้การเจรจารับคำสั่งซื้อ(ออร์เดอร์)ไตรมาส 3-4 กระทบหนักเพราะการแข็งค่าจะสูงเป็นระดับ 10% และเมื่อเทียบกับกำไรของบริษัทส่วนใหญ่เฉลี่ยอยู่ที่ 6-10% เท่านั้นทำให้ต้องปรับขึ้นราคาสินค้าทำให้ขีดความสามารถของการแข่งขันไทยลดลงทันที
นายเกรียงไกรกล่าวว่า การส่งออกของไทยขณะนี้ภาพรวมไตรมาส1-2 ยังคงมีอัตราการเติบโตอยู่และหากค่าเงินเฉลี่ยอยู่ที่ระดับ 29 บาทเศษๆ ต่อเหรียญสหรัฐฯปีนี้การส่งออกน่าจะเติบโตได้ในระดับ 10% จากปีก่อนแต่หากค่าเงินบาทแข็งค่าแตะระดับ 28 หรือ 27 บาทต่อเหรียญฯเมื่อใดคาดว่าการส่งออกไทยจะลดลงเหลือไม่เกิน 5%
อย่างไรก็ตามค่าเงินบาทที่แข็งค่าก็มีผลดีในแง่ของการนำเข้าพลังงานและเครื่องจักรต่างๆ ซึ่งจังหวะนี้เอกชนที่มีกำลังทุนก็ควรจะใช้โอกาสนี้ปรับกระบวนการผลิตที่พึ่งพาเครื่องจักรทดแทนแรงงานที่ขณะนี้หายากมากขึ้นด้วย
แหล่งข่าวจากส.อ.ท.กล่าวว่า ขณะนี้ธุรกิจขนาดกลางและย่อม(เอสเอ็มอี) กำลังประสบปัญหารุนแรงอย่างหนักโดยเฉพาะผู้ส่งออกที่ก่อนหน้าได้รับผลกระทบค่าแรงขั้นต่ำ 300 บาทต่อวันทั่วประเทศแล้วยังประสบวิกฤตค่าเงินบาทซ้ำเติมซึ่งถือว่าหนักเข้าไปอีกทำให้ต้องปรับราคาสินค้าบ่อยครั้งจนล่าสุดออร์เดอร์ที่เคยรับส่วนหนึ่งที่จะมีเข้ามาในไตรมาส 3 มีการชะลอลง และบางส่วนหันไปประเทศเพื่อนบ้านแทนโดยเฉพาะกลุ่มเสื้อผ้าสำเร็จรูปเริ่มหนีย้ายไปหาอินเดีย ปากีสถาน ศรีลังกา ฯลฯ ส่วนอุตสาหกรรมอื่นๆก็จะมีลักษณะเดียวกัน