หมู่นี้มีการพูดถึงสถาบันพระมหากษัตริย์อยู่บ่อยๆ เป็นการพูดถึงในแง่วิชาการว่าบทบาทสถาบันพระมหากษัตริย์ในระบอบประชาธิปไตย ควรเป็นเช่นไร มีการนำไปเปรียบเทียบกับสถาบันพระมหากษัตริย์ในอังกฤษและญี่ปุ่น
ที่จริงการเปรียบเทียบเช่นนี้เป็นเรื่องที่ไม่ค่อยเหมาะสม เพราะวิวัฒนาการของสถาบันพระมหากษัตริย์ในแต่ละประเทศนั้นต่างกัน และมีธรรมเนียมปฏิบัติที่ไม่เหมือนกัน ในอังกฤษและญี่ปุ่นบทบาทของสถาบันพระมหากษัตริย์ถูกจำกัดอยู่ที่การเป็นสัญลักษณ์ และการประกอบพิธีกรรม อาจมีเรื่องเกี่ยวกับการกุศล และมูลนิธิบ้างแต่ก็ไม่มีกิจกรรมเกี่ยวกับการพัฒนาแต่อย่างไร
สถาบันพระมหากษัตริย์เกี่ยวข้องกับการเมืองหรือไม่ ในทางระบอบรัฐธรรมนูญแล้ว พระมหากษัตริย์ทรงอยู่เหนือการเมือง ซึ่งควรเน้นว่าการเมืองที่เป็นฝักฝ่าย คือเข้าข้างใดข้างหนึ่ง และมีผลประโยชน์ในทางการเมือง แต่สถาบันพระมหากษัตริย์กับการเมืองย่อมแยกกันไม่ออก ในลักษณะที่สถาบันพระมหากษัตริย์ทรงมีบทบาทในการให้ความชอบธรรมแก่ระบบการเมือง แก่กฎหมาย แก่รัฐบาล และแก่สถาบันตุลาการซึ่งใช้อำนาจภายใต้พระปรมาภิไธย
แต่ที่สำคัญก็คือ สถาบันพระมหากษัตริย์เป็นส่วนสำคัญของสังคม เพราะเป็นสถาบันที่ประชาชนให้ความไว้วางใจ เคารพนับถือสถาบันพระมหากษัตริย์เป็นสถาบันทางวัฒนธรรมที่สำคัญ และเป็นสถาบันที่ให้เกียรติยศแก่ประชาชน และข้าราชการ เช่น การพระราชทานปริญญาบัตร การพระราชทานเพลิงศพ การให้เหรียญตรา เป็นต้น ดังนั้น การจะแยกสถาบันพระมหากษัตริย์ออกจากสังคม และประชาชนจึงไม่อาจทำได้ สถาบันพระมหากษัตริย์ในประเทศอื่นก็มีบางบทบาท เช่น การพระราชทานตำแหน่งและเหรียญตรา แต่ก็มีบทบาทด้านการพัฒนาน้อยมาก
เมื่อสถาบันพระมหากษัตริย์มีบทบาททางการพัฒนา ก็จำเป็นต้องมีองค์กรรองรับ เช่น หน่วยงานที่ทำงานเกี่ยวกับโครงการพระราชดำริเงินงบประมาณที่กล่าวกันว่ามีจำนวนมากนั้น มิใช่เป็นรายจ่ายส่วนพระองค์ แต่เป็นเงินงบประมาณแผ่นดินที่ใช้เพื่อช่วยเหลือประชาชนทั้งสิ้น งบส่วนพระองค์มีไม่มากนัก และเงินค่าใช้จ่ายที่ประชาชนบริจาคเข้ามา ก็นำไปใช้เพื่อสาธารณประโยชน์ทั้งสิ้น
เนื่องจากสถาบันพระมหากษัตริย์มีความเป็นมาที่ยาวนาน จึงมีทรัพย์สินที่เรียกว่า ทรัพย์สินส่วนพระองค์ซึ่งประกอบด้วยบ้านและที่ดินเป็นส่วนใหญ่ การจัดการทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์มีข้อจำกัดกว่า การจัดการทรัพย์สินของเอกชนโดยทั่วไป การขึ้นค่าเช่าหรือการใช้ที่ดินมีข้อจำกัด โดยการเก็บค่าเช่ายังคงมีเกณฑ์ต่ำกว่าของเอกชน
ผู้ซึ่งวิจารณ์บทบาทของสถาบันพระมหากษัตริย์ วิจารณ์ในแง่ของบทบาทของสถาบันที่อาจส่งผลกระทบทางการเมือง การวิจารณ์ส่วนใหญ่เกิดจากความคิดเห็นมากกว่าข้อเท็จจริง การที่สถาบันพระมหากษัตริย์ต้องเข้ามามีบทบาทในการยุติความขัดแย้งทางการเมือง หรือต้องรับรองสถานภาพของคณะปฏิวัติ รัฐประหารก็เป็นสิ่งที่ก่อให้เกิดคำวิพากษ์วิจารณ์ หรือแม้แต่พระราชดำริในโอกาสต่างๆ ก็เช่นกัน
แต่สถาบันพระมหากษัตริย์ไม่อาจหลีกเลี่ยงการรับรองสถานภาพของคณะปฏิวัติได้ เพราะคณะปฏิวัติเป็นรัฎฐาธิปัตย์มีอำนาจสูงสุด สำหรับพระราชดำรินั้น ประชาชนส่วนใหญ่ก็คาดหวังที่จะได้รับฟังพระราชดำรัสในวาระต่างๆ
แล้วผู้วิจารณ์ต้องการอะไร ส่วนหนึ่งก็เป็นกระแสที่บางคนคิดว่าหัวก้าวหน้าต้องมีความกล้าที่จะวิจารณ์สถาบันได้ แต่ในระยะหลังๆ นี้ ไม่ได้มีเฉพาะพวกวิจารณ์บทบาทในแง่วิชาการเท่านั้น หากลามปามไปเขียนทำนองใส่ร้ายสถาบันพระมหากษัตริย์ด้วย เว็บไซต์ในต่างประเทศที่เกิดขึ้นในระยะ 4-5 ปีที่ผ่านมานี้ มีคนอเมริกันที่ใกล้ชิดกับนักการเมืองไทยดำเนินงานอยู่ และเชื่อมโยงกับขบวนการในประเทศไทย
เหตุใดจึงมีขบวนการลดบทบาทของสถาบัน และถึงขนาดเสนอให้มีการยกเลิกคณะองคมนตรีด้วย สาเหตุที่สำคัญประการหนึ่งก็คือ การมีสถาบันพระมหากษัตริย์ ทำให้เกิดระบอบผู้นำแบบเผด็จการได้ยาก สถาบันพระมหากษัตริย์จึงเป็นอุปสรรคต่อการที่ผู้นำคนหนึ่งคนใดจะรวบอำนาจอย่างเด็ดขาด เพราะบารมีของพระมหากษัตริย์มีมากกว่าบารมีของผู้นำ วิธีการเดียวที่ผู้นำแบบเผด็จการจะมีอำนาจได้ ก็จำเป็นจะต้องลดบทบาทของสถาบันพระมหากษัตริย์
ในแง่นี้จึงมีการอ้างว่า สถาบันพระมหากษัตริย์เป็นอุปสรรคต่อระบอบประชาธิปไตย ทั้งๆ ที่บทบาทของสถาบันเป็นไปในทางสร้างเสริม และทำให้ระบอบประชาธิปไตยมีความชอบธรรมมากขึ้น
ตราบใดที่ผู้นำทางการเมืองยังไม่ได้อำนาจเบ็ดเสร็จเด็ดขาด ตราบนั้นการเคลื่อนไหวเพื่อบั่นทอนความเชื่อมั่นในสถาบันพระมหากษัตริย์ก็ยังคงมีต่อไป และจะกระทำในรูปแบบต่างๆ เช่น การอ้างสิทธิเสรีภาพ เป็นต้น
การวิจารณ์สถาบันพระมหากษัตริย์เป็นเรื่องที่ผมเห็นว่าเป็นการกระทำที่ไม่บริสุทธิ์ใจ และเป็นขบวนการที่ต้องการลดความเชื่อมั่นของสถาบัน โดยหวังผลทางการเมืองมากกว่าอย่างอื่น
ที่จริงการเปรียบเทียบเช่นนี้เป็นเรื่องที่ไม่ค่อยเหมาะสม เพราะวิวัฒนาการของสถาบันพระมหากษัตริย์ในแต่ละประเทศนั้นต่างกัน และมีธรรมเนียมปฏิบัติที่ไม่เหมือนกัน ในอังกฤษและญี่ปุ่นบทบาทของสถาบันพระมหากษัตริย์ถูกจำกัดอยู่ที่การเป็นสัญลักษณ์ และการประกอบพิธีกรรม อาจมีเรื่องเกี่ยวกับการกุศล และมูลนิธิบ้างแต่ก็ไม่มีกิจกรรมเกี่ยวกับการพัฒนาแต่อย่างไร
สถาบันพระมหากษัตริย์เกี่ยวข้องกับการเมืองหรือไม่ ในทางระบอบรัฐธรรมนูญแล้ว พระมหากษัตริย์ทรงอยู่เหนือการเมือง ซึ่งควรเน้นว่าการเมืองที่เป็นฝักฝ่าย คือเข้าข้างใดข้างหนึ่ง และมีผลประโยชน์ในทางการเมือง แต่สถาบันพระมหากษัตริย์กับการเมืองย่อมแยกกันไม่ออก ในลักษณะที่สถาบันพระมหากษัตริย์ทรงมีบทบาทในการให้ความชอบธรรมแก่ระบบการเมือง แก่กฎหมาย แก่รัฐบาล และแก่สถาบันตุลาการซึ่งใช้อำนาจภายใต้พระปรมาภิไธย
แต่ที่สำคัญก็คือ สถาบันพระมหากษัตริย์เป็นส่วนสำคัญของสังคม เพราะเป็นสถาบันที่ประชาชนให้ความไว้วางใจ เคารพนับถือสถาบันพระมหากษัตริย์เป็นสถาบันทางวัฒนธรรมที่สำคัญ และเป็นสถาบันที่ให้เกียรติยศแก่ประชาชน และข้าราชการ เช่น การพระราชทานปริญญาบัตร การพระราชทานเพลิงศพ การให้เหรียญตรา เป็นต้น ดังนั้น การจะแยกสถาบันพระมหากษัตริย์ออกจากสังคม และประชาชนจึงไม่อาจทำได้ สถาบันพระมหากษัตริย์ในประเทศอื่นก็มีบางบทบาท เช่น การพระราชทานตำแหน่งและเหรียญตรา แต่ก็มีบทบาทด้านการพัฒนาน้อยมาก
เมื่อสถาบันพระมหากษัตริย์มีบทบาททางการพัฒนา ก็จำเป็นต้องมีองค์กรรองรับ เช่น หน่วยงานที่ทำงานเกี่ยวกับโครงการพระราชดำริเงินงบประมาณที่กล่าวกันว่ามีจำนวนมากนั้น มิใช่เป็นรายจ่ายส่วนพระองค์ แต่เป็นเงินงบประมาณแผ่นดินที่ใช้เพื่อช่วยเหลือประชาชนทั้งสิ้น งบส่วนพระองค์มีไม่มากนัก และเงินค่าใช้จ่ายที่ประชาชนบริจาคเข้ามา ก็นำไปใช้เพื่อสาธารณประโยชน์ทั้งสิ้น
เนื่องจากสถาบันพระมหากษัตริย์มีความเป็นมาที่ยาวนาน จึงมีทรัพย์สินที่เรียกว่า ทรัพย์สินส่วนพระองค์ซึ่งประกอบด้วยบ้านและที่ดินเป็นส่วนใหญ่ การจัดการทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์มีข้อจำกัดกว่า การจัดการทรัพย์สินของเอกชนโดยทั่วไป การขึ้นค่าเช่าหรือการใช้ที่ดินมีข้อจำกัด โดยการเก็บค่าเช่ายังคงมีเกณฑ์ต่ำกว่าของเอกชน
ผู้ซึ่งวิจารณ์บทบาทของสถาบันพระมหากษัตริย์ วิจารณ์ในแง่ของบทบาทของสถาบันที่อาจส่งผลกระทบทางการเมือง การวิจารณ์ส่วนใหญ่เกิดจากความคิดเห็นมากกว่าข้อเท็จจริง การที่สถาบันพระมหากษัตริย์ต้องเข้ามามีบทบาทในการยุติความขัดแย้งทางการเมือง หรือต้องรับรองสถานภาพของคณะปฏิวัติ รัฐประหารก็เป็นสิ่งที่ก่อให้เกิดคำวิพากษ์วิจารณ์ หรือแม้แต่พระราชดำริในโอกาสต่างๆ ก็เช่นกัน
แต่สถาบันพระมหากษัตริย์ไม่อาจหลีกเลี่ยงการรับรองสถานภาพของคณะปฏิวัติได้ เพราะคณะปฏิวัติเป็นรัฎฐาธิปัตย์มีอำนาจสูงสุด สำหรับพระราชดำรินั้น ประชาชนส่วนใหญ่ก็คาดหวังที่จะได้รับฟังพระราชดำรัสในวาระต่างๆ
แล้วผู้วิจารณ์ต้องการอะไร ส่วนหนึ่งก็เป็นกระแสที่บางคนคิดว่าหัวก้าวหน้าต้องมีความกล้าที่จะวิจารณ์สถาบันได้ แต่ในระยะหลังๆ นี้ ไม่ได้มีเฉพาะพวกวิจารณ์บทบาทในแง่วิชาการเท่านั้น หากลามปามไปเขียนทำนองใส่ร้ายสถาบันพระมหากษัตริย์ด้วย เว็บไซต์ในต่างประเทศที่เกิดขึ้นในระยะ 4-5 ปีที่ผ่านมานี้ มีคนอเมริกันที่ใกล้ชิดกับนักการเมืองไทยดำเนินงานอยู่ และเชื่อมโยงกับขบวนการในประเทศไทย
เหตุใดจึงมีขบวนการลดบทบาทของสถาบัน และถึงขนาดเสนอให้มีการยกเลิกคณะองคมนตรีด้วย สาเหตุที่สำคัญประการหนึ่งก็คือ การมีสถาบันพระมหากษัตริย์ ทำให้เกิดระบอบผู้นำแบบเผด็จการได้ยาก สถาบันพระมหากษัตริย์จึงเป็นอุปสรรคต่อการที่ผู้นำคนหนึ่งคนใดจะรวบอำนาจอย่างเด็ดขาด เพราะบารมีของพระมหากษัตริย์มีมากกว่าบารมีของผู้นำ วิธีการเดียวที่ผู้นำแบบเผด็จการจะมีอำนาจได้ ก็จำเป็นจะต้องลดบทบาทของสถาบันพระมหากษัตริย์
ในแง่นี้จึงมีการอ้างว่า สถาบันพระมหากษัตริย์เป็นอุปสรรคต่อระบอบประชาธิปไตย ทั้งๆ ที่บทบาทของสถาบันเป็นไปในทางสร้างเสริม และทำให้ระบอบประชาธิปไตยมีความชอบธรรมมากขึ้น
ตราบใดที่ผู้นำทางการเมืองยังไม่ได้อำนาจเบ็ดเสร็จเด็ดขาด ตราบนั้นการเคลื่อนไหวเพื่อบั่นทอนความเชื่อมั่นในสถาบันพระมหากษัตริย์ก็ยังคงมีต่อไป และจะกระทำในรูปแบบต่างๆ เช่น การอ้างสิทธิเสรีภาพ เป็นต้น
การวิจารณ์สถาบันพระมหากษัตริย์เป็นเรื่องที่ผมเห็นว่าเป็นการกระทำที่ไม่บริสุทธิ์ใจ และเป็นขบวนการที่ต้องการลดความเชื่อมั่นของสถาบัน โดยหวังผลทางการเมืองมากกว่าอย่างอื่น