วานนี้ ( 20 มี.ค.) ศาปกครองสูงสุด มีคำพิพากษายืนตามศาลปกครองกลางให้ยกฟ้อง คดีที่นายยงยศ หรือ พศ อดิเรกสาร กับพวกรวม 126 คน ซึ่งเป็นชาวบ้าน จ.สระบุรี ยื่นฟ้อง อุตสาหกรรมจังหวัดสระบุรี , อธิบดีกรมโรงงานอุตสาหกรรม , ปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม และนายกองค์การบริหารส่วนตำบล ( อบต.) ห้วยแห้ง เป็นผู้ถูกฟ้องที่ 1-2 โดย บริษัท เบตเตอร์ เวิลด์ กรีน จำกัด (มหาชน) ผู้เสียหายจากการถูกกล่าวหา ร่วมผู้ร้องสอดด้วย เรื่องเป็นเจ้าหน้าที่รัฐ และหน่วยงานทางปกครอง ออกคำสั่งโดยมิชอบ และละเลยต่อหน้าที่ ที่ให้ต้องปฏิบัติโดยล่าช้าเกินสมควร กรณีที่ผู้ถูกฟ้อง ออกใบอนุญาตให้บจก. เบตเตอร์ เวิลด์ กรีน ทำธุรกิจฝังกลบ กากอุตสาหกรรมที่ไม่ใช้แล้วไม่เป็นอันตราย โดยมิชอบด้วยกฎหมาย เนื่องจากบริษัทกระทำการปลอมเอกสาร เพื่อขอใบอนุญาต นอกจากนี้บริษัทยังไม่ได้จัดทำรายงานวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม จึงเป็นการฝ่าฝืนต่อกฎหมาย และกระทำการฝังกลบเกินกว่าคำขอจนเกิดปัญหาสิ่งแวดล้อมในพื้นที่ใกล้ด้วย เนื่องจากสารพิษต่างๆ ผู้ฟ้อง จึงขอให้ศาลมีคำพิพากษา หรือคำสั่งเพิกถอนใบอนุญาตประกอบกิจการที่ผู้ถูกฟ้องคดี ออกให้กับบริษัท
คดีนี้ศาลปกครองกลาง มีคำพิพากษาไปแล้วเมื่อวันที่ 15 มี.ค.50 โดยให้ยกฟ้อง เนื่องจากเห็นว่า ในการออกใบอนุญาต ที่ผู้ถูกฟ้องคดีที่ 1 - 2 ออกให้แก่ บจก.เบตเตอร์ฯ ผู้ร้องสอด ตามกฎหมายว่าด้วยโรงงานนั้น บริษัท ผู้ร้องสอดได้เตรียมการ และประสานงานกับผู้ถูกฟ้องคดีที่ 1- 2 ที่มีการตรวจสอบสถานที่และเตรียมเอกสารล่วงหน้าแล้ว จึงไม่ใช่กรณีที่มีการดำเนินการทุกอย่างในวันเดียวกันกับที่ยื่นคำขออนุญาต
อีกทั้งการแก้ไขสถานที่ตั้งโรงงานเป็นแก้ไขข้อบกพร่องที่ไม่ได้เป็นสาระสำคัญที่จะกระทบต่อความสมบูรณ์ของใบอนุญาต ซึ่งผู้ถูกฟ้องคดีที่ 1 สามารถแก้ไขให้ถูกต้องได้ จึงไม่ใช่กรณีการขออนุญาตตั้งโรงงานใหม่ ดังนั้น การออกใบอนุญาตจึงชอบตามกฎหมายว่าด้วยโรงงานชอบด้วยกฎหมายแล้ว ส่วนการกระทำของผู้ถูกฟ้องที่ 1 - 2 เป็นการละเลยต่อหน้าที่หรือไม่ เห็นว่า ผลการตรวจสอบพบว่า การประกอบกิจการของบริษัทผู้ร้องสอด มีสภาพที่อาจก่อให้เกิดอันตรายที่ยังไม่ถึงขนาดเป็นความเสียหายอย่างร้ายแรง และผู้ร้องสอดได้ดำเนินการแก้ไขปรับปรุงตามคำสั่งมาโดยตลอด อีกทั้งผลการวิเคราะห์คุณภาพน้ำและตะกอนยังไม่สมบูรณ์พอที่จะสรุปว่ามีการแพร่กระจายของมลพิษ จึงไม่มีเหตุออกคำสั่งให้หยุดประกอบกิจการ ดังนั้นผู้ถูกฟ้องที่ 1- 2 จึงไม่ได้ละเลยต่อหน้าที่แต่อย่างใด
ต่อมาผู้ฟ้อง ยื่นอุทธรณ์คดีต่อศาลปกครองสูงสุด ซึ่งศาลโดยนายพรชัย มนัสศิริเพ็ญ ตุลาการศาลปกครองสูงสุด เจ้าของสำนวน และองค์คณะ พิเคราะห์แล้ว เมื่อข้อเท็จจริงปรากฏว่า สถานที่ตั้งโรงงานของ บจก.เบตเตอร์ ฯ ผู้ร้องสอด เนื้อที่ประมาณ 252 ไร่ 37 ตารางวา อยู่บนที่ราบเชิงเขา ทิศเหนือติดต่อกับคลังเก็บวัตถุระเบิดของ บริษัท แม็คเคมซัพพลาย จำกัด พื้นที่รกร้างและป่าไม้ ถัดไปเป็นถนนลาดยาง นาข้าว สลับกับพื้นที่รกร้าง และชุมนุมหนองปรือ ทิศใต้ติดต่อกับภูเขาไม้นอน และถนนลาดยางของ รพช. ถัดเป็นนาข้าวและพื้นที่เกษตรกรรม สลับกับพื้นที่รกร้างสลับสวนผลไม้ ทิศตะวันออก ติดต่อกับภูเขามะเกลือและชุมชนบ้านหนองปรือสลับกับพื้นที่รกร้าง ถัดไปเป็นเส้นทารถไฟขนส่งปูนซิเมนต์ของ บริษัท ปูนซิเมนต์นคหลวง จำกัด ( มหาชน) และทิศตะวันตก ติดต่อกับภูเขาไม้โค่นและชุมชนบ้านเขาไม้โค่นสลับกับพื้นที่รกร้าง ถัดไปเป็นถนนลาดยางของ รพช.
ดังนั้นโรงงานของผู้ร้องสอด จึงไม่อยู่ในบริเวณที่ต้องห้าม ตามกฎกระทรวง ฉบับที่ 2 ( พ.ศ.2535) ที่ออกตาม พ.ร.บ.โรงงาน พ.ศ.2535 และอยู่ในทำเลและสภาพแวดล้อมที่เหมาะสม มีบริเวณเพียงพอที่จะประกอบกิจการ การที่ผู้ถูกฟ้องที่ 1 ใช้ดุลพินิจอนุญาตให้ประกอบกิจการโรงงานดังกล่าว จึงไม่ใช่การใช้ดุลพินิจโดยไม่ชอบด้วยกฎหมายแต่อย่างใด อุทธรณ์ของผู้ฟ้อง ฟังไม่ขึ้นจึงพิพากษายืน
คดีนี้ศาลปกครองกลาง มีคำพิพากษาไปแล้วเมื่อวันที่ 15 มี.ค.50 โดยให้ยกฟ้อง เนื่องจากเห็นว่า ในการออกใบอนุญาต ที่ผู้ถูกฟ้องคดีที่ 1 - 2 ออกให้แก่ บจก.เบตเตอร์ฯ ผู้ร้องสอด ตามกฎหมายว่าด้วยโรงงานนั้น บริษัท ผู้ร้องสอดได้เตรียมการ และประสานงานกับผู้ถูกฟ้องคดีที่ 1- 2 ที่มีการตรวจสอบสถานที่และเตรียมเอกสารล่วงหน้าแล้ว จึงไม่ใช่กรณีที่มีการดำเนินการทุกอย่างในวันเดียวกันกับที่ยื่นคำขออนุญาต
อีกทั้งการแก้ไขสถานที่ตั้งโรงงานเป็นแก้ไขข้อบกพร่องที่ไม่ได้เป็นสาระสำคัญที่จะกระทบต่อความสมบูรณ์ของใบอนุญาต ซึ่งผู้ถูกฟ้องคดีที่ 1 สามารถแก้ไขให้ถูกต้องได้ จึงไม่ใช่กรณีการขออนุญาตตั้งโรงงานใหม่ ดังนั้น การออกใบอนุญาตจึงชอบตามกฎหมายว่าด้วยโรงงานชอบด้วยกฎหมายแล้ว ส่วนการกระทำของผู้ถูกฟ้องที่ 1 - 2 เป็นการละเลยต่อหน้าที่หรือไม่ เห็นว่า ผลการตรวจสอบพบว่า การประกอบกิจการของบริษัทผู้ร้องสอด มีสภาพที่อาจก่อให้เกิดอันตรายที่ยังไม่ถึงขนาดเป็นความเสียหายอย่างร้ายแรง และผู้ร้องสอดได้ดำเนินการแก้ไขปรับปรุงตามคำสั่งมาโดยตลอด อีกทั้งผลการวิเคราะห์คุณภาพน้ำและตะกอนยังไม่สมบูรณ์พอที่จะสรุปว่ามีการแพร่กระจายของมลพิษ จึงไม่มีเหตุออกคำสั่งให้หยุดประกอบกิจการ ดังนั้นผู้ถูกฟ้องที่ 1- 2 จึงไม่ได้ละเลยต่อหน้าที่แต่อย่างใด
ต่อมาผู้ฟ้อง ยื่นอุทธรณ์คดีต่อศาลปกครองสูงสุด ซึ่งศาลโดยนายพรชัย มนัสศิริเพ็ญ ตุลาการศาลปกครองสูงสุด เจ้าของสำนวน และองค์คณะ พิเคราะห์แล้ว เมื่อข้อเท็จจริงปรากฏว่า สถานที่ตั้งโรงงานของ บจก.เบตเตอร์ ฯ ผู้ร้องสอด เนื้อที่ประมาณ 252 ไร่ 37 ตารางวา อยู่บนที่ราบเชิงเขา ทิศเหนือติดต่อกับคลังเก็บวัตถุระเบิดของ บริษัท แม็คเคมซัพพลาย จำกัด พื้นที่รกร้างและป่าไม้ ถัดไปเป็นถนนลาดยาง นาข้าว สลับกับพื้นที่รกร้าง และชุมนุมหนองปรือ ทิศใต้ติดต่อกับภูเขาไม้นอน และถนนลาดยางของ รพช. ถัดเป็นนาข้าวและพื้นที่เกษตรกรรม สลับกับพื้นที่รกร้างสลับสวนผลไม้ ทิศตะวันออก ติดต่อกับภูเขามะเกลือและชุมชนบ้านหนองปรือสลับกับพื้นที่รกร้าง ถัดไปเป็นเส้นทารถไฟขนส่งปูนซิเมนต์ของ บริษัท ปูนซิเมนต์นคหลวง จำกัด ( มหาชน) และทิศตะวันตก ติดต่อกับภูเขาไม้โค่นและชุมชนบ้านเขาไม้โค่นสลับกับพื้นที่รกร้าง ถัดไปเป็นถนนลาดยางของ รพช.
ดังนั้นโรงงานของผู้ร้องสอด จึงไม่อยู่ในบริเวณที่ต้องห้าม ตามกฎกระทรวง ฉบับที่ 2 ( พ.ศ.2535) ที่ออกตาม พ.ร.บ.โรงงาน พ.ศ.2535 และอยู่ในทำเลและสภาพแวดล้อมที่เหมาะสม มีบริเวณเพียงพอที่จะประกอบกิจการ การที่ผู้ถูกฟ้องที่ 1 ใช้ดุลพินิจอนุญาตให้ประกอบกิจการโรงงานดังกล่าว จึงไม่ใช่การใช้ดุลพินิจโดยไม่ชอบด้วยกฎหมายแต่อย่างใด อุทธรณ์ของผู้ฟ้อง ฟังไม่ขึ้นจึงพิพากษายืน