วานนี้ (20 มี.ค.) ที่โรงแรมริชมอนด์ นพ.เกรียงศักดิ์ วัชรนุกูลเกียรติ ประธานชมรมแพทย์ชนบท กล่าวภายหลังประชุมสมาชิกชมรมแพทย์ชนบท เพื่อหารือแนวทางการเคลื่อนไหว กรณีคัดค้านการปรับวิธีจ่ายค่าตอบแทนกำลังคนสาธารณสุข ของกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) โดยมีแพทย์เข้าร่วมกว่า 150 คน ว่า ขณะนี้ได้รวบรวมรายชื่อแพทย์ พยาบาล ทันตแพทย์ และเภสัชกร จากโรงพยาบาลชุมชน (รพช.) กว่า 3,000 รายชื่อ เพื่อร่วมคัดค้านแล้ว เพราะการเปลี่ยนมาจ่ายค่าตอบแทนแบบตามภาระงาน (P4P: Pay For Performance) เป็นการเพิ่มภาระงานในการรายงานข้อมูล โดยตัวชี้วัดใดที่ทำแล้วคะแนนสูง ก็จะแห่ทำกัน ซึ่งไม่ถูกต้อง โดยในประเทศอังกฤษ ก็เคยใช้ระบบนี้มาก่อนและประสบความล้มเหลว จึงขอคัดค้านเรื่องนี้ และขอให้น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี ถอด นพ.ประดิษฐ สินธวณรงค์ รมว.สาธารณสุข ออกจากตำแหน่ง เนื่องจากไม่เหมาะสมที่จะดูแลสุขภาพประชาชนทั้งประเทศ เพราะการทำแบบนี้ จะผลักดันให้บุคลากรสาธารณสุขใน รพช. ลาออก จนกระทบประชาชนไม่มีแพทย์ให้บริการ
" ตั้งแต่วันนี้ พวกเราจะสวมชุดดำประท้วง และติดป้ายประณาม นพ.ประดิษฐ ถึงการกระทำที่ไร้มนุษยธรรมที่ รพช.ทุกแห่ง และจะรวมตัวกันประมาณ 3,500-5,000 คน เพื่อไปประท้วงที่ทำเนียบรัฐบาลพร้อมกัน ในวันที่ 26 มี.ค.นี้ และหากนายกฯ ยังไม่ถอดถอนนพ.ประดิษฐ ก็จะรวมตัวกันที่ทำเนียบฯ ทุกวันอังคาร และจะหยุดงานประท้วงในช่วงสงกรานต์ด้วย เพิ่มอีก 8 วัน แต่ไม่ต้องกังวล เพราะแม้จะหยุด แต่ก็จะจัดแพทย์ประจำไว้ 1 คน เพราะเป็นห่วงคนไข้เช่นกัน" ปธ.ชมรมแพทย์ชนบท กล่าว
ผู้สื่อข่าวถามถึงกรณีสธ.จัดโซน รพช.ใหม่ โดยมี รพช.ในพื้นที่ชุมชนเมือง 33 แห่ง โดย 20 แห่ง จะยกระดับเป็นโรงพยาบาลทั่วไป (รพท.) นพ.เกรียงศักดิ์ กล่าวว่า การยกระดับ รพช. เป็น รพท. ซึ่งมี รพ.ชุมแพ จ.ขอนแก่น ที่ตนเป็นผู้อำนวยการนั้น เป็นเรื่องที่ทราบอยู่แล้ว จึงเห็นได้ว่าพวกตนไม่ได้เรียกร้องเพื่อตนเอง แต่ทำเพื่อพี่ๆ น้องๆ ที่ทำงานในชนบท ที่ไม่ได้รับความเป็นธรรม ส่วนที่ปรับเป็นรพช.ในพื้นที่ชุมชนเมือง 13 แห่งนั้น ไม่เห็นด้วยอยู่ 1 แห่ง คือ รพ.หางดง จ.เชียงใหม่ เพราะแม้เขตเมืองจะมีความเจริญ แต่ตัวโรงพยาบาลยังไม่มีเครื่องไม้เครื่องมือหรือความเจริญจริงๆ แต่กลับนำมาพิจารณาปรับพื้นที่ถือว่าไม่ถูกต้อง ขณะที่ รพท. ที่มีการแบ่งกลุ่มด้วยนั้นถามว่า รพ.เกาะสมุย มีความกันดารอย่างไร เพราะเกาะสมุยมีความเจริญทุกด้าน แต่ที่อาจมีปัญหาน่าจะมาจากการบริหารหรือไม่ จึงไม่เข้าใจเกณฑ์ในการพิจารณาเช่นกัน
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า กลุ่มแพทย์ชนบทได้เคลื่อนพลไปยังกรมบัญชีกลาง และสำนักงบประมาณ เพื่อเรียกร้องให้ร่วมคัดค้านแนวทางการปรับวิธีจ่ายค่าตอบแทนด้วย เนื่องจากเป็นแนวทางที่ไม่ถูกต้อง และส่งผลให้งบประมาณบานปลายได้
**กล่อมพยาบาลอย่าหยุดงาน
ในวันเดียวกันนี้ ที่สภาการพยาบาล ศ.เกียรติคุณ ดร.วิจิตร ศรีสุพรรณ นายกสภาการพยาบาล กล่าวถึงกรณีบุคลากรในโรงพยาบาลชุมชน (รพช.) จะนัดหยุดงานช่วงเทศกาลสงกรานต์ เพื่อคัดค้านการปรับวิธีจ่ายค่าตอบแทนพื้นที่ทุรกันดาร ด้วยการลาพักร้อนติดกับช่วงสงกรานต์ ว่า ช่วงดังกล่าวเป็นช่วงที่มีการเจ็บป่วยด้วยอุบัติเหตุ และปัญหาเกี่ยวกับสุขภาพของประชาชนเกิดขึ้นจำนวนมาก การร้องขอดังกล่าวทำให้พยาบาลวิชาชีพในรพช. จำนวนมากเกิดความลำบากใจ เพราะส่วนใหญ่ไม่ได้อยากลาหยุดงานในช่วงนี้
อย่างไรก็ตาม ทุกคนมีเสรีภาพส่วนบุคคลในการหยุดงาน แต่ถ้ามีเหตุผลเป็นอย่างอื่นที่ทำให้ผู้รับบริการได้รับความลำบาก ขอให้คำนึงถึงจริยธรรม เพราะการทอดทิ้งผู้ป่วย ถือเป็นการละเลยในการปฏิบัติหน้าที่
"บุคลากรทางการแพทย์ต้องคำนึงถึงเรื่องการหยุดงาน ว่าต้องมีความรับผิดชอบในขณะที่ประชาชนต้องการความช่วยเหลือ แต่ขอให้พยาบาลวิชาชีพทุกคนสบายใจว่า การทำงานและไม่หยุดตามคำร้องขอ ถือเป็นเรื่องถูกต้องตามจริยธรรมทุกประการ หากไม่ต้องการหยุด ไม่ใช่เรื่องผิด สภาการฯ ยินดีที่จะดูแลในเรื่องดังกล่าว และขอให้ประชาชนสบายใจได้ว่าในช่วงเทศกาลสงกรานต์ จะยังมีพยาบาลที่ให้บริการอย่างเต็มที่เช่นเดิม" นายกสภาการพยาบาล กล่าว
น.ส.กฤษฎา แสวงดี อุปนายกสภาการพยาบาล กล่าวว่า การประเมินผลการทำงานโดยการใช้ภาระงาน (P4P) เป็นตัวชี้วัดนั้น เมื่อนำมาใช้ในเรื่องของบริการสุขภาพ ทำให้หลายฝ่ายอาจเกิดความกังวล ซึ่งเรื่องดังกล่าวบางโรงพยาบาล ก็ได้เริ่มทำไปก่อนหน้าที่ สธ.จะประกาศใช้เกณฑ์ดังกล่าวแล้ว ซึ่งเรื่องนี้มีทั้งจุดแข็งจุดอ่อน แต่จำเป็นต้องทำความเข้าใจ เพื่อให้เดินหน้าต่อไปได้ โดยสิ่งที่สภาการฯเห็นว่าต้องทำคือ การสร้างความเป็นธรรมในเรื่องการใช้จ่ายด้านกำลังคนทั้งในวิชาชีพและต่างวิชาชีพ
นางจงกล อินทรสาร ประธานชมรมพยาบาล รพช. กล่าวว่า สำหรับเกณฑ์การจ่ายค่าตอบแทนแบบใหม่ ที่ผ่านมา มีพยาบาลบางส่วนได้รับข้อมูลไม่ครบถ้วน และบิดเบือน จนทำให้เกิดความไม่เข้าใจขึ้น แต่เชื่อว่าเมื่อได้รับข้อมูลครบถ้วน และเกิดความเข้าใจก็จะตัดสินใจได้อย่างถูกต้อง
ที่ผ่านมาเป็นการนำข้อมูลมาพูดเฉพาะส่วนที่ถูกปรับลดเพียงอย่างเดียว โดยไม่อธิบายให้หมดว่ามีส่วนที่ไม่ได้รับผลกระทบอะไรเลย และอาจจะได้รับค่าตอบแทนมากขึ้นจากการจ่ายแบบ P4P ที่จะทำให้เกิดความเป็นธรรมมากขึ้นสำหรับผู้ที่มีภาระงานมาก
น.ส.พัชรี ปานคำ พยาบาลวิชาชีพ รพ.พาน จ.เชียงราย กล่าวว่า รพ.พาน ได้เริ่มวิธีการจ่ายแบบ P4P มาประมาณ 9 ปีแล้ว ซึ่งสามารถตอบโจทย์ความขาดแคลน ความเสียโอกาสได้ โดยได้ทำงานร่วมกับสธ. และองค์การอนามัยโลก (WHO) มีการสำรวจความพึงพอใจของทั้งเจ้าหน้าที่และประชาชน พบว่า ทั้งสองส่วนมีความพอใจมากขึ้น เพราะเจ้าหน้าที่ได้รับค่าตอบแทนที่สมเหตุผล จนเกิดเป็นการทำงานที่มีประสิทธิภาพ ทำงานอย่างเต็มใจส่งผลให้เกิดบริการที่ดีต่อประชาชน นอกจากนี้ การจ่ายค่าตอบแทนดังกล่าวยังสามารถคงอัตรากำลังในระบบ ทำให้โรงพยาบาลไม่เกิดความขาดแคลนเจ้าหน้าที่ได้อีกด้วย
น.ส.ศิริบูลย์ พูนศรีธนากูล หัวหน้าพยาบาล รพ.พนมสารคาม จ.ฉะเชิงเทรา กล่าวว่า รพ.พนมสารคาม เป็น รพช.ขนาด 90 เตียง เริ่มจ่ายแบบ P4P มาตั้งแต่ปี 2553 สามารถสร้างแรงจูงใจให้กับเจ้าหน้าที่ได้อย่างดี เช่น ห้องทำคลอด มีอัตราความขาดแคลนกำลังคนมาก ก็ถูกกำหนดเป็นภาระงานที่จะได้คะแนนเพิ่มขึ้น เพื่อจูงใจให้บุคลากรมาทำงานในส่วนดังกล่าว ซึ่งถือว่าได้ผลเป็นอย่างดี
“ยิ่งลักษณ์” เป็นประธานมอบ เครื่องราชอิสริยาภรณ์ อสม. พร้อมมอบนโยบาย อยากเห็นการตรวจมะเร็งเต้านมปีละ 20 ล้านคน
** "ปู"มอบเครื่องราชฯ อสม.ดีเด่น
ส่วนที่ทำเนียบรัฐบาล น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี เป็นประธานใน พิธีพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่สรรเสริญยิ่งดิเรกคุณาภรณ์ แก่ อาสามสมัครสาธารณสุข (อสม.) ดีเด่น ชั้นเหรียนทอง และ ชั้นเหรียญเงิน รวม 10 คน รวมถึงเป็นประธานมอบรางวัลเชิดชูเกียรติ อสม. ดีเด่นในระดับชาติ และ ระดับภาค เนื่องในวันอาสาสมัครสาธารณสุขแห่งชาติ
นายกรัฐมนตรี กล่าวเปิดงานและมอบนโยบายตอนหนึ่งว่า ขอชื่นชม อสม.ทุกคน ที่ทำหน้าที่เป็นกำลังหลักในการร่วมกันพัฒนาสุขภาพของประชาชน และผู้ที่ได้รับมอบรางวัลในวันนี้ จะได้เป็นกำลังใจ และ จุดประกายแก่สังคมต่อไป ทั้งนี้รัฐบาลเห็นความสำคัญของการพัฒนาระบบสุขภาพ ของประชาชนและถือเป็นยุทธศาสตร์ของประเทศ ในการลดความเหลื่อมล่ำของสังคมในการดูแลสุขภาพ ตั้งแต่ในครรภ์ จนจึงวัยชรา ซึ่งในหลายประเทศก็ได้ให้การชื่นชมประเทศไทยในด้านนี้ และ อสม. ก็เป็นกลไกสำคัญของรัฐบาล เป็นตัวแทนดูแลสุขภาพของประชาชน จึงอยากเห็นการพัฒนาของ อสม. และรัฐบาลพร้อมให้การสนับสนุน ทั้งเรื่องของงบประมาณ และ อุปกรณ์ ต่างๆ
น.ส.ยิ่งลักษณ์ กล่าวว่า อนาคตประเทศไทยจะมีจำนวนผู้สูงอายุมากขึ้น แสดงให้เห็นว่าระบบสุขภาพของไทยดีขึ้น อสม.ก็อาจจะต้องมีงานมากขึ้นด้วย อย่างไรก็ตาม ตนอยากเห็นการป้องกันโรคที่เป็นภัยคุกคามสุขภาพของประชาชนตั้งแต่เริ่มต้น ประกอบด้วยโรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง หัวใจ หลอดเลือดสมอง และ โรคมะเร็ง ซึ่งจะช่วยให้ประหยัดค่าใช้จ่ายเป็นจำนวนมาก ทั้งนี้ จากจำนวนประชากรไทยที่เป็นผู้หญิงปัจจุบันมีถึง ร้อยละ 51 ดังนั้นเรื่องของสุขภาพจึงมีความจำเป็นอย่างยิ่ง ซึ่วรัฐบาลตั้งเป้าการตรวจมะเร็งเต้านมให้ได้ 20 ล้านคน โดยจากสมาชิก อสม. ที่มีกว่า 1 ล้านคน ก็อยากให้มีการประชาสัมพันธ์และทำความเข้าใจให้ผู้หญิงได้ตรวจมะเร็งเต้านมให้ได้อย่างน้อย อสม.1 คน ต่อประชากร 20 คนต่อปี ก็จะสามารถตรวจมะเร็งเต้านมได้กว่าปีละ 20 ล้านคน
" ตั้งแต่วันนี้ พวกเราจะสวมชุดดำประท้วง และติดป้ายประณาม นพ.ประดิษฐ ถึงการกระทำที่ไร้มนุษยธรรมที่ รพช.ทุกแห่ง และจะรวมตัวกันประมาณ 3,500-5,000 คน เพื่อไปประท้วงที่ทำเนียบรัฐบาลพร้อมกัน ในวันที่ 26 มี.ค.นี้ และหากนายกฯ ยังไม่ถอดถอนนพ.ประดิษฐ ก็จะรวมตัวกันที่ทำเนียบฯ ทุกวันอังคาร และจะหยุดงานประท้วงในช่วงสงกรานต์ด้วย เพิ่มอีก 8 วัน แต่ไม่ต้องกังวล เพราะแม้จะหยุด แต่ก็จะจัดแพทย์ประจำไว้ 1 คน เพราะเป็นห่วงคนไข้เช่นกัน" ปธ.ชมรมแพทย์ชนบท กล่าว
ผู้สื่อข่าวถามถึงกรณีสธ.จัดโซน รพช.ใหม่ โดยมี รพช.ในพื้นที่ชุมชนเมือง 33 แห่ง โดย 20 แห่ง จะยกระดับเป็นโรงพยาบาลทั่วไป (รพท.) นพ.เกรียงศักดิ์ กล่าวว่า การยกระดับ รพช. เป็น รพท. ซึ่งมี รพ.ชุมแพ จ.ขอนแก่น ที่ตนเป็นผู้อำนวยการนั้น เป็นเรื่องที่ทราบอยู่แล้ว จึงเห็นได้ว่าพวกตนไม่ได้เรียกร้องเพื่อตนเอง แต่ทำเพื่อพี่ๆ น้องๆ ที่ทำงานในชนบท ที่ไม่ได้รับความเป็นธรรม ส่วนที่ปรับเป็นรพช.ในพื้นที่ชุมชนเมือง 13 แห่งนั้น ไม่เห็นด้วยอยู่ 1 แห่ง คือ รพ.หางดง จ.เชียงใหม่ เพราะแม้เขตเมืองจะมีความเจริญ แต่ตัวโรงพยาบาลยังไม่มีเครื่องไม้เครื่องมือหรือความเจริญจริงๆ แต่กลับนำมาพิจารณาปรับพื้นที่ถือว่าไม่ถูกต้อง ขณะที่ รพท. ที่มีการแบ่งกลุ่มด้วยนั้นถามว่า รพ.เกาะสมุย มีความกันดารอย่างไร เพราะเกาะสมุยมีความเจริญทุกด้าน แต่ที่อาจมีปัญหาน่าจะมาจากการบริหารหรือไม่ จึงไม่เข้าใจเกณฑ์ในการพิจารณาเช่นกัน
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า กลุ่มแพทย์ชนบทได้เคลื่อนพลไปยังกรมบัญชีกลาง และสำนักงบประมาณ เพื่อเรียกร้องให้ร่วมคัดค้านแนวทางการปรับวิธีจ่ายค่าตอบแทนด้วย เนื่องจากเป็นแนวทางที่ไม่ถูกต้อง และส่งผลให้งบประมาณบานปลายได้
**กล่อมพยาบาลอย่าหยุดงาน
ในวันเดียวกันนี้ ที่สภาการพยาบาล ศ.เกียรติคุณ ดร.วิจิตร ศรีสุพรรณ นายกสภาการพยาบาล กล่าวถึงกรณีบุคลากรในโรงพยาบาลชุมชน (รพช.) จะนัดหยุดงานช่วงเทศกาลสงกรานต์ เพื่อคัดค้านการปรับวิธีจ่ายค่าตอบแทนพื้นที่ทุรกันดาร ด้วยการลาพักร้อนติดกับช่วงสงกรานต์ ว่า ช่วงดังกล่าวเป็นช่วงที่มีการเจ็บป่วยด้วยอุบัติเหตุ และปัญหาเกี่ยวกับสุขภาพของประชาชนเกิดขึ้นจำนวนมาก การร้องขอดังกล่าวทำให้พยาบาลวิชาชีพในรพช. จำนวนมากเกิดความลำบากใจ เพราะส่วนใหญ่ไม่ได้อยากลาหยุดงานในช่วงนี้
อย่างไรก็ตาม ทุกคนมีเสรีภาพส่วนบุคคลในการหยุดงาน แต่ถ้ามีเหตุผลเป็นอย่างอื่นที่ทำให้ผู้รับบริการได้รับความลำบาก ขอให้คำนึงถึงจริยธรรม เพราะการทอดทิ้งผู้ป่วย ถือเป็นการละเลยในการปฏิบัติหน้าที่
"บุคลากรทางการแพทย์ต้องคำนึงถึงเรื่องการหยุดงาน ว่าต้องมีความรับผิดชอบในขณะที่ประชาชนต้องการความช่วยเหลือ แต่ขอให้พยาบาลวิชาชีพทุกคนสบายใจว่า การทำงานและไม่หยุดตามคำร้องขอ ถือเป็นเรื่องถูกต้องตามจริยธรรมทุกประการ หากไม่ต้องการหยุด ไม่ใช่เรื่องผิด สภาการฯ ยินดีที่จะดูแลในเรื่องดังกล่าว และขอให้ประชาชนสบายใจได้ว่าในช่วงเทศกาลสงกรานต์ จะยังมีพยาบาลที่ให้บริการอย่างเต็มที่เช่นเดิม" นายกสภาการพยาบาล กล่าว
น.ส.กฤษฎา แสวงดี อุปนายกสภาการพยาบาล กล่าวว่า การประเมินผลการทำงานโดยการใช้ภาระงาน (P4P) เป็นตัวชี้วัดนั้น เมื่อนำมาใช้ในเรื่องของบริการสุขภาพ ทำให้หลายฝ่ายอาจเกิดความกังวล ซึ่งเรื่องดังกล่าวบางโรงพยาบาล ก็ได้เริ่มทำไปก่อนหน้าที่ สธ.จะประกาศใช้เกณฑ์ดังกล่าวแล้ว ซึ่งเรื่องนี้มีทั้งจุดแข็งจุดอ่อน แต่จำเป็นต้องทำความเข้าใจ เพื่อให้เดินหน้าต่อไปได้ โดยสิ่งที่สภาการฯเห็นว่าต้องทำคือ การสร้างความเป็นธรรมในเรื่องการใช้จ่ายด้านกำลังคนทั้งในวิชาชีพและต่างวิชาชีพ
นางจงกล อินทรสาร ประธานชมรมพยาบาล รพช. กล่าวว่า สำหรับเกณฑ์การจ่ายค่าตอบแทนแบบใหม่ ที่ผ่านมา มีพยาบาลบางส่วนได้รับข้อมูลไม่ครบถ้วน และบิดเบือน จนทำให้เกิดความไม่เข้าใจขึ้น แต่เชื่อว่าเมื่อได้รับข้อมูลครบถ้วน และเกิดความเข้าใจก็จะตัดสินใจได้อย่างถูกต้อง
ที่ผ่านมาเป็นการนำข้อมูลมาพูดเฉพาะส่วนที่ถูกปรับลดเพียงอย่างเดียว โดยไม่อธิบายให้หมดว่ามีส่วนที่ไม่ได้รับผลกระทบอะไรเลย และอาจจะได้รับค่าตอบแทนมากขึ้นจากการจ่ายแบบ P4P ที่จะทำให้เกิดความเป็นธรรมมากขึ้นสำหรับผู้ที่มีภาระงานมาก
น.ส.พัชรี ปานคำ พยาบาลวิชาชีพ รพ.พาน จ.เชียงราย กล่าวว่า รพ.พาน ได้เริ่มวิธีการจ่ายแบบ P4P มาประมาณ 9 ปีแล้ว ซึ่งสามารถตอบโจทย์ความขาดแคลน ความเสียโอกาสได้ โดยได้ทำงานร่วมกับสธ. และองค์การอนามัยโลก (WHO) มีการสำรวจความพึงพอใจของทั้งเจ้าหน้าที่และประชาชน พบว่า ทั้งสองส่วนมีความพอใจมากขึ้น เพราะเจ้าหน้าที่ได้รับค่าตอบแทนที่สมเหตุผล จนเกิดเป็นการทำงานที่มีประสิทธิภาพ ทำงานอย่างเต็มใจส่งผลให้เกิดบริการที่ดีต่อประชาชน นอกจากนี้ การจ่ายค่าตอบแทนดังกล่าวยังสามารถคงอัตรากำลังในระบบ ทำให้โรงพยาบาลไม่เกิดความขาดแคลนเจ้าหน้าที่ได้อีกด้วย
น.ส.ศิริบูลย์ พูนศรีธนากูล หัวหน้าพยาบาล รพ.พนมสารคาม จ.ฉะเชิงเทรา กล่าวว่า รพ.พนมสารคาม เป็น รพช.ขนาด 90 เตียง เริ่มจ่ายแบบ P4P มาตั้งแต่ปี 2553 สามารถสร้างแรงจูงใจให้กับเจ้าหน้าที่ได้อย่างดี เช่น ห้องทำคลอด มีอัตราความขาดแคลนกำลังคนมาก ก็ถูกกำหนดเป็นภาระงานที่จะได้คะแนนเพิ่มขึ้น เพื่อจูงใจให้บุคลากรมาทำงานในส่วนดังกล่าว ซึ่งถือว่าได้ผลเป็นอย่างดี
“ยิ่งลักษณ์” เป็นประธานมอบ เครื่องราชอิสริยาภรณ์ อสม. พร้อมมอบนโยบาย อยากเห็นการตรวจมะเร็งเต้านมปีละ 20 ล้านคน
** "ปู"มอบเครื่องราชฯ อสม.ดีเด่น
ส่วนที่ทำเนียบรัฐบาล น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี เป็นประธานใน พิธีพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่สรรเสริญยิ่งดิเรกคุณาภรณ์ แก่ อาสามสมัครสาธารณสุข (อสม.) ดีเด่น ชั้นเหรียนทอง และ ชั้นเหรียญเงิน รวม 10 คน รวมถึงเป็นประธานมอบรางวัลเชิดชูเกียรติ อสม. ดีเด่นในระดับชาติ และ ระดับภาค เนื่องในวันอาสาสมัครสาธารณสุขแห่งชาติ
นายกรัฐมนตรี กล่าวเปิดงานและมอบนโยบายตอนหนึ่งว่า ขอชื่นชม อสม.ทุกคน ที่ทำหน้าที่เป็นกำลังหลักในการร่วมกันพัฒนาสุขภาพของประชาชน และผู้ที่ได้รับมอบรางวัลในวันนี้ จะได้เป็นกำลังใจ และ จุดประกายแก่สังคมต่อไป ทั้งนี้รัฐบาลเห็นความสำคัญของการพัฒนาระบบสุขภาพ ของประชาชนและถือเป็นยุทธศาสตร์ของประเทศ ในการลดความเหลื่อมล่ำของสังคมในการดูแลสุขภาพ ตั้งแต่ในครรภ์ จนจึงวัยชรา ซึ่งในหลายประเทศก็ได้ให้การชื่นชมประเทศไทยในด้านนี้ และ อสม. ก็เป็นกลไกสำคัญของรัฐบาล เป็นตัวแทนดูแลสุขภาพของประชาชน จึงอยากเห็นการพัฒนาของ อสม. และรัฐบาลพร้อมให้การสนับสนุน ทั้งเรื่องของงบประมาณ และ อุปกรณ์ ต่างๆ
น.ส.ยิ่งลักษณ์ กล่าวว่า อนาคตประเทศไทยจะมีจำนวนผู้สูงอายุมากขึ้น แสดงให้เห็นว่าระบบสุขภาพของไทยดีขึ้น อสม.ก็อาจจะต้องมีงานมากขึ้นด้วย อย่างไรก็ตาม ตนอยากเห็นการป้องกันโรคที่เป็นภัยคุกคามสุขภาพของประชาชนตั้งแต่เริ่มต้น ประกอบด้วยโรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง หัวใจ หลอดเลือดสมอง และ โรคมะเร็ง ซึ่งจะช่วยให้ประหยัดค่าใช้จ่ายเป็นจำนวนมาก ทั้งนี้ จากจำนวนประชากรไทยที่เป็นผู้หญิงปัจจุบันมีถึง ร้อยละ 51 ดังนั้นเรื่องของสุขภาพจึงมีความจำเป็นอย่างยิ่ง ซึ่วรัฐบาลตั้งเป้าการตรวจมะเร็งเต้านมให้ได้ 20 ล้านคน โดยจากสมาชิก อสม. ที่มีกว่า 1 ล้านคน ก็อยากให้มีการประชาสัมพันธ์และทำความเข้าใจให้ผู้หญิงได้ตรวจมะเร็งเต้านมให้ได้อย่างน้อย อสม.1 คน ต่อประชากร 20 คนต่อปี ก็จะสามารถตรวจมะเร็งเต้านมได้กว่าปีละ 20 ล้านคน