สภาการพยาบาลกางปีกป้องพยาบาล รพช.หลังถูกกลุ่มแพทย์ชนบทบีบร่วมขบวนการหยุดงานสงกรานต์ เหตุไม่พอใจถูกตัดเบี้ยกันดาร ย้ำหากไม่อยากหยุดก็ไม่ต้องหยุด อย่ากลัว เพราะเป็นเรื่องถูกจริยธรรม คอนเฟิร์มมีพยาบาลประจำช่วงสงกรานต์แน่ ด้านพยาบาล รพช.หลายพื้นที่ ยันจ่ายเงินแบบ P4P ดึงคนในระบบได้จริง และเป็นธรรมกับคนทำงานเยอะ
วันนี้ (20 มี.ค.) ที่สภาการพยาบาล ศ.เกียรติคุณ ดร.วิจิตร ศรีสุพรรณ นายกสภาการพยาบาล กล่าวถึงกรณีบุคลากรในโรงพยาบาลชุมชน (รพช.) จะนัดหยุดงานช่วงเทศกาลสงกรานต์ เพื่อคัดค้านการปรับวิธีจ่ายค่าตอบแทนพื้นที่ทุรกันดาร ด้วยการลาพักร้อนติดกับช่วงสงกรานต์ ว่า ช่วงดังกล่าวเป็นช่วงที่มีการเจ็บป่วยด้วยอุบัติเหตุและปัญหาเกี่ยวกับสุขภาพของประชาชนเกิดขึ้นจำนวนมาก การร้องขอดังกล่าวทำให้พยาบาลวิชาชีพใน รพช.จำนวนมากเกิดความลำบากใจ เพราะส่วนใหญ่ไม่ได้อยากลาหยุดงานในช่วงนี้ อย่างไรก็ตาม ทุกคนมีเสรีภาพส่วนบุคคลในการหยุดงาน แต่ถ้ามีเหตุผลเป็นอย่างอื่นที่ทำให้ผู้รับบริการได้รับความลำบาก ขอให้คำนึงถึงจริยธรรม เพราะการทอดทิ้งผู้ป่วยถือเป็นการละเลยในการปฏิบัติหน้าที่
“บุคลากรทางการแพทย์ต้องคำนึงถึงเรื่องการหยุดงานว่าต้องมีความรับผิดชอบในขณะที่ประชาชนต้องการความช่วยเหลือ แต่ขอให้พยาบาลวิชาชีพทุกคนสบายใจว่า การทำงานและไม่หยุดตามคำร้องขอถือเป็นเรื่องถูกต้องตามจริยธรรมทุกประการ หากไม่ต้องการหยุดไม่ใช่เรื่องผิด สภาการฯ ยินดีที่จะดูแลในเรื่องดังกล่าว และขอให้ประชาชนสบายใจได้ว่า ในช่วงเทศกาลสงกรานต์จะยังมีพยาบาลที่ให้บริการอย่างเต็มที่เช่นเดิม” นายกสภาการพยาบาล กล่าว
น.ส.กฤษฎา แสวงดี อุปนายกสภาการพยาบาล กล่าวว่า การประเมินผลการทำงานโดยการใช้ภาระงาน (P4P) เป็นตัวชี้วัดนั้น เมื่อนำมาใช้ในเรื่องของบริการสุขภาพทำให้หลายฝ่ายอาจเกิดความกังวล ซึ่งเรื่องดังกล่าวบางโรงพยาบาลก็ได้เริ่มทำไปก่อนหน้าที่ สธ.จะประกาศใช้เกณฑ์ดังกล่าวแล้ว ซึ่งเรื่องนี้มีทั้งจุดแข็งจุดอ่อน แต่จำเป็นต้องทำความเข้าใจเพื่อให้เดินหน้าต่อไปได้ โดยสิ่งที่สภาการฯ เห็นว่าต้องทำคือ การสร้างความเป็นธรรมในเรื่องการใช้จ่ายด้านกำลังคนทั้งในวิชาชีพและต่างวิชาชีพ
นางจงกล อินทรสาร ประธานชมรมพยาบาล รพช.กล่าวว่า สำหรับเกณฑ์การจ่ายค่าตอบแทนแบบใหม่ ที่ผ่านมามีพยาบาลบางส่วนได้รับข้อมูลไม่ครบถ้วนและบิดเบือน จนทำให้เกิดความไม่เข้าใจขึ้น แต่เชื่อว่าเมื่อได้รับข้อมูลครบถ้วนและเกิดความเข้าใจก็จะตัดสินใจได้อย่างถูกต้อง ที่ผ่านมาเป็นการนำข้อมูลมาพูดเฉพาะส่วนที่ถูกปรับลดเพียงอย่างเดียว โดยไม่อธิบายให้หมดว่ามีส่วนที่ไม่ได้รับผลกระทบอะไรเลย และอาจจะได้รับค่าตอบแทนมากขึ้นจากการจ่ายแบบ P4P ที่จะทำให้เกิดความเป็นธรรมมากขึ้นสำหรับผู้ที่มีภาระงานมาก
น.ส.พัชรี ปานคำ พยาบาลวิชาชีพ รพ.พาน จ.เชียงราย กล่าวว่า รพ.พาน ได้เริ่มวิธีการจ่ายแบบ P4P มาประมาณ 9 ปีแล้ว ซึ่งสามารถตอบโจทย์ความขาดแคลน ความเสียโอกาสได้ โดยได้ทำงานร่วมกับ สธ.และองค์การอนามัยโลก (WHO) มีการสำรวจความพึงพอใจของทั้งเจ้าหน้าที่และประชาชน พบว่า ทั้งสองส่วนมีความพอใจมากขึ้น เพราะเจ้าหน้าที่ได้รับค่าตอบแทนที่สมเหตุผล จนเกิดเป็นการทำงานที่มีประสิทธิภาพ ทำงานอย่างเต็มใจส่งผลให้เกิดบริการที่ดีต่อประชาชน นอกจากนี้ การจ่ายค่าตอบแทนดังกล่าวยังสามารถคงอัตรากำลังในระบบ ทำให้โรงพยาบาลไม่เกิดความขาดแคลนเจ้าหน้าที่ได้อีกด้วย
น.ส.ศิริบูลย์ พูนศรีธนากูล หัวหน้าพยาบาล รพ.พนมสารคาม จ.ฉะเชิงเทรา กล่าวว่า รพ.พนมสารคาม เป็น รพช.ขนาด 90 เตียง เริ่มจ่ายแบบ P4P มาตั้งแต่ปี 2553 สามารถสร้างแรงจูงใจให้กับเจ้าหน้าที่ได้อย่างดี เช่น ห้องทำคลอด มีอัตราความขาดแคลนกำลังคนมาก ก็ถูกกำหนดเป็นภาระงานที่จะได้คะแนนเพิ่มขึ้น เพื่อจูงใจให้บุคลากรมาทำงานในส่วนดังกล่าว ซึ่งถือว่าได้ผลเป็นอย่างดี
วันนี้ (20 มี.ค.) ที่สภาการพยาบาล ศ.เกียรติคุณ ดร.วิจิตร ศรีสุพรรณ นายกสภาการพยาบาล กล่าวถึงกรณีบุคลากรในโรงพยาบาลชุมชน (รพช.) จะนัดหยุดงานช่วงเทศกาลสงกรานต์ เพื่อคัดค้านการปรับวิธีจ่ายค่าตอบแทนพื้นที่ทุรกันดาร ด้วยการลาพักร้อนติดกับช่วงสงกรานต์ ว่า ช่วงดังกล่าวเป็นช่วงที่มีการเจ็บป่วยด้วยอุบัติเหตุและปัญหาเกี่ยวกับสุขภาพของประชาชนเกิดขึ้นจำนวนมาก การร้องขอดังกล่าวทำให้พยาบาลวิชาชีพใน รพช.จำนวนมากเกิดความลำบากใจ เพราะส่วนใหญ่ไม่ได้อยากลาหยุดงานในช่วงนี้ อย่างไรก็ตาม ทุกคนมีเสรีภาพส่วนบุคคลในการหยุดงาน แต่ถ้ามีเหตุผลเป็นอย่างอื่นที่ทำให้ผู้รับบริการได้รับความลำบาก ขอให้คำนึงถึงจริยธรรม เพราะการทอดทิ้งผู้ป่วยถือเป็นการละเลยในการปฏิบัติหน้าที่
“บุคลากรทางการแพทย์ต้องคำนึงถึงเรื่องการหยุดงานว่าต้องมีความรับผิดชอบในขณะที่ประชาชนต้องการความช่วยเหลือ แต่ขอให้พยาบาลวิชาชีพทุกคนสบายใจว่า การทำงานและไม่หยุดตามคำร้องขอถือเป็นเรื่องถูกต้องตามจริยธรรมทุกประการ หากไม่ต้องการหยุดไม่ใช่เรื่องผิด สภาการฯ ยินดีที่จะดูแลในเรื่องดังกล่าว และขอให้ประชาชนสบายใจได้ว่า ในช่วงเทศกาลสงกรานต์จะยังมีพยาบาลที่ให้บริการอย่างเต็มที่เช่นเดิม” นายกสภาการพยาบาล กล่าว
น.ส.กฤษฎา แสวงดี อุปนายกสภาการพยาบาล กล่าวว่า การประเมินผลการทำงานโดยการใช้ภาระงาน (P4P) เป็นตัวชี้วัดนั้น เมื่อนำมาใช้ในเรื่องของบริการสุขภาพทำให้หลายฝ่ายอาจเกิดความกังวล ซึ่งเรื่องดังกล่าวบางโรงพยาบาลก็ได้เริ่มทำไปก่อนหน้าที่ สธ.จะประกาศใช้เกณฑ์ดังกล่าวแล้ว ซึ่งเรื่องนี้มีทั้งจุดแข็งจุดอ่อน แต่จำเป็นต้องทำความเข้าใจเพื่อให้เดินหน้าต่อไปได้ โดยสิ่งที่สภาการฯ เห็นว่าต้องทำคือ การสร้างความเป็นธรรมในเรื่องการใช้จ่ายด้านกำลังคนทั้งในวิชาชีพและต่างวิชาชีพ
นางจงกล อินทรสาร ประธานชมรมพยาบาล รพช.กล่าวว่า สำหรับเกณฑ์การจ่ายค่าตอบแทนแบบใหม่ ที่ผ่านมามีพยาบาลบางส่วนได้รับข้อมูลไม่ครบถ้วนและบิดเบือน จนทำให้เกิดความไม่เข้าใจขึ้น แต่เชื่อว่าเมื่อได้รับข้อมูลครบถ้วนและเกิดความเข้าใจก็จะตัดสินใจได้อย่างถูกต้อง ที่ผ่านมาเป็นการนำข้อมูลมาพูดเฉพาะส่วนที่ถูกปรับลดเพียงอย่างเดียว โดยไม่อธิบายให้หมดว่ามีส่วนที่ไม่ได้รับผลกระทบอะไรเลย และอาจจะได้รับค่าตอบแทนมากขึ้นจากการจ่ายแบบ P4P ที่จะทำให้เกิดความเป็นธรรมมากขึ้นสำหรับผู้ที่มีภาระงานมาก
น.ส.พัชรี ปานคำ พยาบาลวิชาชีพ รพ.พาน จ.เชียงราย กล่าวว่า รพ.พาน ได้เริ่มวิธีการจ่ายแบบ P4P มาประมาณ 9 ปีแล้ว ซึ่งสามารถตอบโจทย์ความขาดแคลน ความเสียโอกาสได้ โดยได้ทำงานร่วมกับ สธ.และองค์การอนามัยโลก (WHO) มีการสำรวจความพึงพอใจของทั้งเจ้าหน้าที่และประชาชน พบว่า ทั้งสองส่วนมีความพอใจมากขึ้น เพราะเจ้าหน้าที่ได้รับค่าตอบแทนที่สมเหตุผล จนเกิดเป็นการทำงานที่มีประสิทธิภาพ ทำงานอย่างเต็มใจส่งผลให้เกิดบริการที่ดีต่อประชาชน นอกจากนี้ การจ่ายค่าตอบแทนดังกล่าวยังสามารถคงอัตรากำลังในระบบ ทำให้โรงพยาบาลไม่เกิดความขาดแคลนเจ้าหน้าที่ได้อีกด้วย
น.ส.ศิริบูลย์ พูนศรีธนากูล หัวหน้าพยาบาล รพ.พนมสารคาม จ.ฉะเชิงเทรา กล่าวว่า รพ.พนมสารคาม เป็น รพช.ขนาด 90 เตียง เริ่มจ่ายแบบ P4P มาตั้งแต่ปี 2553 สามารถสร้างแรงจูงใจให้กับเจ้าหน้าที่ได้อย่างดี เช่น ห้องทำคลอด มีอัตราความขาดแคลนกำลังคนมาก ก็ถูกกำหนดเป็นภาระงานที่จะได้คะแนนเพิ่มขึ้น เพื่อจูงใจให้บุคลากรมาทำงานในส่วนดังกล่าว ซึ่งถือว่าได้ผลเป็นอย่างดี