ASTV ผู้จัดการรายวัน -กระแสตื่นตัวการเปิดตลาด AEC ส่งผลธุรกิจไมซ์เติบโตกว่า 10% ในปี 55 คาดปี 56 มีเงินหมุนเวียนในธุรกิจไม่ต่ำกว่า 6 หมื่นล้านบาท ด้านUBM มั่นใจไทยมีโอกาสเป็นศูนย์กลางธุรกิจในอาเซียน เตรียมผุดสาขาใหม่ในเมียนมาร์
นางนุชรินทร์ ภารดีวิสุทธิ์ ผู้จัดการทั่วไป บริษัท ยูบีเอ็ม เอเชีย (ประเทศไทย) จำกัด ผู้บริหารการจัดงานแสดงสินค้าและอุตสาหกรรมนานาชาติ เปิดเผยถึงตลาดธุรกิจไมซ์ (MICE : Meetings, Incentive Travel, Conventions, Exhibition) ในประเทศไทยว่า จากข้อมูลของสำงานส่งเสริมการจัดประชุมและนิทรรศการ (องค์การมหาชน) หรือ TCEB ระบุว่า ปี 2555 เติบโต 10% มูลค่าตลาดรวม 8.8 หมื่นล้านบาท จำนวนผู้เข้าร่วมงานประมาณ 9.4 ล้านคน คาดว่าปี 2556 ธุรกิจไมซ์จะมีเงินหมุนเวียนไม่ต่ำกว่า 60,000 ล้านบาท ขณะที่ในส่วนของงานแสดงสินค้าและอุตสาหกรรมนานาชาติจะขยายตัว 15-20% โดยมีนักธุรกิจต่างประเทศเดินทางเข้ามาร่วมงานและสร้างรายได้ประมาณ 40,000 ล้านบาท
“ธุรกิจไมซ์ขยายตัวเพราะ อุทกภัยในไทยเมื่อปี 2554 ได้กระตุ้นให้ธุรกิจขยายตัวเพิ่มขึ้น และความสนใจจากต่างชาติที่กำลังมองหาโอกาสลงทุนใหม่ๆ จากภาวะเศรษฐกิจซบเซาในยุโรปและสหรัฐอเมริกา รวมถึงภาวะเงินเฟ้อในจีนและอินเดีย จึงทำให้การเปิดเสรีประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน หรือ AEC โดยเฉพาะประเทศไทยเป็นพื้นที่เป้าหมายของนักลงทุนเพิ่มมากขึ้น”
ในกลุ่มประเทศอาเซียนด้วยกันแล้วแม้ว่าไทยจะเป็นรองสิงคโปร์ในด้านความคล่องตัว แต่ยังได้เปรียบกว่ามากในด้านจำนวนประชากรและการเติบโตของภาคอุตสาหกรรมการผลิต ส่วนอีกประเทศที่มีความน่าสนใจคืออินโดนีเซียที่มีจำนวนประชากรขนาดใหญ่มาก แต่ยังเป็นรองในเรื่องสาธารณูปโภคพื้นฐานและขนาดพื้นที่การจัดงานซึ่งทั้งหมดนี้ทำให้ประเทศไทยมีศักยภาพโดดเด่นที่สุดที่จะเป็นศูนย์กลางธุรกิจไมซ์ในอาเซียน
โดยในส่วนของ UBM ในปี 2555 มีรายได้รวม 800 ล้านบาท เพรามีงานบีโอไอ ส่วนปี 2556 คาดว่าจะมีอัตราการเติบโตตามปรกติ 15-20% หรือประมาณ 400 ล้านบาท
บริษัทมีแผนขยายงานด้านอื่นๆ คือ การจัดงานแสดงสินค้าใหม่เป็นครั้งแรกคือ Thai Water 2013 ในช่วงเดือนมิ.ย.56 ซึ่งเป็นงานแสดงสินค้าเกี่ยวกับเทคโนโลยีการบริหารจัดการน้ำดีและน้ำเสีย และช่วงเดือนต.ค.56 จะเปิดตลาดจัดงานแสดงสินค้าระดับนานาชาติครั้งแรกในประเทศเมียนมาร์คืองานแสดงสินค้าเครื่องจักรอุตสาหกรรมและยานยนต์ Intermach ซึ่งถือเป็นการจัดงานประเภทนี้ในต่างประเทศเป็นครั้งแรกในรอบ 20 ปี
“บริษัทยังได้ลงนามใน MOU ร่วมกับทุนท้องถิ่นในประเทศเมียนมาร์เตรียมเปิดสาขาใหม่จากเดิมมีอยู่แล้ว 7 สาขาในกลุ่มประเทศอาเซียนคือ ไทย อินโดนีเซีย สิงคโปร์ มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ และ 2 สาขาในเวียดนาม นอกจากบริษัทแม่ในประเทศอังกฤษ และสาขาอื่นๆ อีกทั่วโลก
จากกระแสการตื่นตัวเรื่องการเปิด AEC ทำให้ขณะนี้องค์กรธุรกิจขนาดใหญ่เริ่มมีความเคลื่อนไหวในการเจรจาธุรกิจกับประเทศอื่นๆ ในอาเซียนเพิ่มขึ้น ผู้ประกอบการไทยควรให้ความสำคัญกับการออกงานแสดงสินค้าเสมือนกับเป็นเครื่องมือทางการตลาดหนึ่งที่ควรจัดสรรงบประมาณการตลาดประจำปีไว้โดยเฉพาะการร่วมงานแสดงสินค้าระดับนานาชาติถือเป็นทั้งโอกาสและความท้าทายของผู้ประกอบการไทยในเวลาเดียวกัน โดยเฉพาะกลุ่มผู้ประกอบการที่ต้องการรุกตลาดประเทศเพื่อนบ้านและกลุ่มที่ตั้งรับกับการแข่งขันของตลาด
สำหรับ UBM ใช้ 3 กลยุทธ์สำคัญคือ 1.Pull การดึงคู่ค้ารายใหญ่จากต่างประเทศเข้ามาในไทยผ่านงานแสดงสินค้าและอุตสาหกรรมคุณภาพชั้นนำ อาทิ งานนิทรรศกาารด้านสิ่งแวดล้อม พลังงานทดแทน พลังงานทางเลือก 2.Push รองรับความต้องการในการขยายตัวขององค์กรธุรกิจไทยไปสู่ระดับนานาชาติผ่านทั่วโลกกว่า 400 งาน อาทิ Hong Kong Jewelry & Gem Fair 3.Technology learning การร่วมงานแสดงสินค้าและอุตสาหกรรมระดับนานาชาติของผู้ประกอบการ
นางนุชรินทร์ ภารดีวิสุทธิ์ ผู้จัดการทั่วไป บริษัท ยูบีเอ็ม เอเชีย (ประเทศไทย) จำกัด ผู้บริหารการจัดงานแสดงสินค้าและอุตสาหกรรมนานาชาติ เปิดเผยถึงตลาดธุรกิจไมซ์ (MICE : Meetings, Incentive Travel, Conventions, Exhibition) ในประเทศไทยว่า จากข้อมูลของสำงานส่งเสริมการจัดประชุมและนิทรรศการ (องค์การมหาชน) หรือ TCEB ระบุว่า ปี 2555 เติบโต 10% มูลค่าตลาดรวม 8.8 หมื่นล้านบาท จำนวนผู้เข้าร่วมงานประมาณ 9.4 ล้านคน คาดว่าปี 2556 ธุรกิจไมซ์จะมีเงินหมุนเวียนไม่ต่ำกว่า 60,000 ล้านบาท ขณะที่ในส่วนของงานแสดงสินค้าและอุตสาหกรรมนานาชาติจะขยายตัว 15-20% โดยมีนักธุรกิจต่างประเทศเดินทางเข้ามาร่วมงานและสร้างรายได้ประมาณ 40,000 ล้านบาท
“ธุรกิจไมซ์ขยายตัวเพราะ อุทกภัยในไทยเมื่อปี 2554 ได้กระตุ้นให้ธุรกิจขยายตัวเพิ่มขึ้น และความสนใจจากต่างชาติที่กำลังมองหาโอกาสลงทุนใหม่ๆ จากภาวะเศรษฐกิจซบเซาในยุโรปและสหรัฐอเมริกา รวมถึงภาวะเงินเฟ้อในจีนและอินเดีย จึงทำให้การเปิดเสรีประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน หรือ AEC โดยเฉพาะประเทศไทยเป็นพื้นที่เป้าหมายของนักลงทุนเพิ่มมากขึ้น”
ในกลุ่มประเทศอาเซียนด้วยกันแล้วแม้ว่าไทยจะเป็นรองสิงคโปร์ในด้านความคล่องตัว แต่ยังได้เปรียบกว่ามากในด้านจำนวนประชากรและการเติบโตของภาคอุตสาหกรรมการผลิต ส่วนอีกประเทศที่มีความน่าสนใจคืออินโดนีเซียที่มีจำนวนประชากรขนาดใหญ่มาก แต่ยังเป็นรองในเรื่องสาธารณูปโภคพื้นฐานและขนาดพื้นที่การจัดงานซึ่งทั้งหมดนี้ทำให้ประเทศไทยมีศักยภาพโดดเด่นที่สุดที่จะเป็นศูนย์กลางธุรกิจไมซ์ในอาเซียน
โดยในส่วนของ UBM ในปี 2555 มีรายได้รวม 800 ล้านบาท เพรามีงานบีโอไอ ส่วนปี 2556 คาดว่าจะมีอัตราการเติบโตตามปรกติ 15-20% หรือประมาณ 400 ล้านบาท
บริษัทมีแผนขยายงานด้านอื่นๆ คือ การจัดงานแสดงสินค้าใหม่เป็นครั้งแรกคือ Thai Water 2013 ในช่วงเดือนมิ.ย.56 ซึ่งเป็นงานแสดงสินค้าเกี่ยวกับเทคโนโลยีการบริหารจัดการน้ำดีและน้ำเสีย และช่วงเดือนต.ค.56 จะเปิดตลาดจัดงานแสดงสินค้าระดับนานาชาติครั้งแรกในประเทศเมียนมาร์คืองานแสดงสินค้าเครื่องจักรอุตสาหกรรมและยานยนต์ Intermach ซึ่งถือเป็นการจัดงานประเภทนี้ในต่างประเทศเป็นครั้งแรกในรอบ 20 ปี
“บริษัทยังได้ลงนามใน MOU ร่วมกับทุนท้องถิ่นในประเทศเมียนมาร์เตรียมเปิดสาขาใหม่จากเดิมมีอยู่แล้ว 7 สาขาในกลุ่มประเทศอาเซียนคือ ไทย อินโดนีเซีย สิงคโปร์ มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ และ 2 สาขาในเวียดนาม นอกจากบริษัทแม่ในประเทศอังกฤษ และสาขาอื่นๆ อีกทั่วโลก
จากกระแสการตื่นตัวเรื่องการเปิด AEC ทำให้ขณะนี้องค์กรธุรกิจขนาดใหญ่เริ่มมีความเคลื่อนไหวในการเจรจาธุรกิจกับประเทศอื่นๆ ในอาเซียนเพิ่มขึ้น ผู้ประกอบการไทยควรให้ความสำคัญกับการออกงานแสดงสินค้าเสมือนกับเป็นเครื่องมือทางการตลาดหนึ่งที่ควรจัดสรรงบประมาณการตลาดประจำปีไว้โดยเฉพาะการร่วมงานแสดงสินค้าระดับนานาชาติถือเป็นทั้งโอกาสและความท้าทายของผู้ประกอบการไทยในเวลาเดียวกัน โดยเฉพาะกลุ่มผู้ประกอบการที่ต้องการรุกตลาดประเทศเพื่อนบ้านและกลุ่มที่ตั้งรับกับการแข่งขันของตลาด
สำหรับ UBM ใช้ 3 กลยุทธ์สำคัญคือ 1.Pull การดึงคู่ค้ารายใหญ่จากต่างประเทศเข้ามาในไทยผ่านงานแสดงสินค้าและอุตสาหกรรมคุณภาพชั้นนำ อาทิ งานนิทรรศกาารด้านสิ่งแวดล้อม พลังงานทดแทน พลังงานทางเลือก 2.Push รองรับความต้องการในการขยายตัวขององค์กรธุรกิจไทยไปสู่ระดับนานาชาติผ่านทั่วโลกกว่า 400 งาน อาทิ Hong Kong Jewelry & Gem Fair 3.Technology learning การร่วมงานแสดงสินค้าและอุตสาหกรรมระดับนานาชาติของผู้ประกอบการ