ASTV ผู้จัดการรายวัน - "ซีเค พาวเวอร์"ควง "อมตะวีเอ็น"ขายไอพีโอช่วงพฤษภาคมนี้ ตลาดหลักทรัพย์ฯ เชื่อโฮลดิ้ง คอมปานีสร้างจุดเด่นตลาดทุนไทย ด้านวาณิชธนกิจ ชี้ AEC คือตัวกระตุ้นเอกชนลงทุนเพื่อนบ้าน แนะปรับเกณฑ์รองรับบริษัทต่างชาติเข้าจดทะเบียน ชี้มาตรฐานบัญชีที่แตกต่างกันระหว่างประเทศยังเป็นเรื่องที่ยุ่งยาก
นายชนิตร ชาญชัยณรงค์ รองผู้จัดการสายงานบริษัทหลักทรัพย์และบริษัทจดทะเบียน ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (ตลท.) กล่าวในงานสัมนา"การลงทุนในธุรกิจต่างประเทศ ผ่าน Holding Companyไทย" ว่าปัจจุบันบริษัทจดทะเบียนไทยมีการเติบโตที่สูงมากและไม่ได้โตแต่เพียงในประเทศยังเป็นการเติบโตที่รองรับภูมิภาค และ AEC ด้วย ซึ่งถือเป็นจุดเด่นของตลาดทุนไทย ที่เริ่มมีธุรกิจแบบโฮลดิ้ง
คอมปานี เข้ามาจดทะเบียนเพื่อไปลงทุนในต่างประเทศทำให้ในอนาคตแนวทางของตลาดหลักทรัพย์ฯ จึงเป็นการเติบโตเพื่อภูมิภาคด้วย
นายประเสริฐ ภัทรดิลก กรรมการผู้อำนวยการ บริษัท แอดไวเซอรี่ พลัส จำกัด กล่าวว่า การกำหนดให้โฮลดิ้ง คอมปานีต้องมีการถือหุ้นในธุรกิจหลักมากกว่า 50%เป็นเรื่องที่เพิ่งแก้ไขหลังจากศึกษามาได้สักระยะ จากเดิม75% จุดนี้เลยทำให้ บมจ.ช.การช่างมีแผนตั้งโฮลดิ้งเข้ามาจดทะเบียนและระดมทุนในตลาดหลักทรัพย์ฯ
ทั้งนี้ มองว่าโฮลดิ้ง คอมปานี้ที่มาจดทะเบียนและลงทุนในต่างประเทศยังมีความยุ่งยาก
ในเรื่องของมาตรฐานทางบัญชีที่แตกต่างกันไปในแต่ละประเทศอีกทั้งยังมีเรื่องของกฏหมาย และเกณฑ์ ดิวดิลิเจนซ์(ตรวจสอบทรัพย์สิน)ซึ่งเกณฑ์เดิมที่ธุรกิจไทยไปต่างประเทศไม่น่ากังวลเท่าใด แต่ธุรกิจจากต่างประเทศมาจดทะเบียนในไทยอาจมีปัญหาควรมีการปรับเกณฑ์รองรับเองให้มากขึ้น ขณะเดียวกันเชื่อจากการเปิดเสรีประชาคมอาเซียน (AEC)นับเป็นปัจจัยสำคัญที่ผลักดันให้เอกชนไทยให้ความสนใจการไปลงทุนประเทศเพื่อนบ้านมากขึ้นซึ่งในที่นี้รวมถึงการจัดตั้งโฮลดิ้งฯ เพื่อไปลงทุนด้วย
"ต่างประเทศก็ให้ความสนใจเข้าจดทะเบียนในตลาดหุ้นไทยเช่นบริษัทจากจีน แต่อย่างที่ทราบกันดี บริษัทจีนบางบริษัทที่ไปจดทะเบียนในสิงคโปร์ มาเลเซีย สหรัฐฯบางทีสิ่งที่ทำกับสิ่งที่เคยรายงานไว้อาจไม่ตรงกันหรือไม่เป็นไปตามที่เคยระบุ นี่คือปัญหาเราต้องมีเกณฑ์หรือการกับกำกับที่ดีรองรับ
หากจะให้บริษัทต่างชาติเข้ามาจดทะเบียนในตลาดหุ้น"
ด้านนายประเสริฐ ตันตยาวิทย์ ผู้จัดการกลุ่มอุตสาหกรรม สายงานวาณิชธนกิจ
ธนาคาร ไทยพาณิชย์ กล่าวว่า บริษัทที่สนใจจะจัดตั้งโฮลดิ้งฯเพื่อไปลงทุนต่างประเทศอย่างแรกต้องเตรียมตัวในเรื่องการจัดโครงสร้างธุรกิจเรื่องต่อมาคือการจัดการกลไกในการกำกับดูแลบริษัทในต่างประเทศ
รวมถึงการจัดการมาตรการฐานทางบัญชีในเป็นไปในมาตรฐานเดียวกันทำให้คาดว่าจะต้องใช้เวลาประมาณ 1 ปีในการเตรียมตัวเข้าตลาดหุ้นมากกว่าบริษัทจดทะเบียนทั่วไปที่จะใช้เวลา 6-8 เดือน
นางสมหะทัย พานิชชีวะ กรรมการและประธานเจ้าหน้าที่บริหารอมตะ วีเอ็น จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า อมตะ วีเอ็น จัดตั้งขึ้นมาร่วม 20 ปีแล้ว และเตรียมความพร้อมเข้าเป็นบริษัทมหาชนมาตั้งนานเดิมทีจะเข้าจดทะเบียนในตลาดหุ้นเวียดนามแต่ติดข้อจำกัดหลายด้าน พอดีตลาดหลักทรัพย์ฯได้ปรับเกณฑ์โฮลดิ้งฯใหม่ทำให้บริษัทตัดสินใจจัดตั้งในรูปแบบโฮลดิ้งฯ เพื่อเข้าจดทะเบียนในตลาดหุ้นไทยแทน
"อมตะ วีเอ็น มี AMATAถือหุ้นเป็นผู้หุ้นใหญ่เรามีแผนจะเสนอขายไอพีโอประมาณ พฤษภาคมนี้ ประมาณ 140 ล้านหุ้นมูลค่าที่ตราไว้ (พาร์) 0.50 บาท เพื่อนำเงินไปลงทุนในโครงการ "อมตะ
เอ็กซ์เพลส ซิตี้" ในเวียดนามซึ่งมีขนาดพื้นที่ 1,295 เอเคอร์ากว่าพื้นที่ปัจจุบันที่ อมตะ วีเอ็นดำเนินการอยู่ประมาณ 2 เท่าโดยตอนนี้เราได้รับใบอนุมัติจากรัฐบาลเวียดนามให้เป็นผู้เข้าไปพัฒนาพื้นที่ดังกล่าวแล้ว"
ด้านดร.สุภามาส ตรีวิศวเวทย์ กรรมการผู้จัดการ บริษัท ซีเคพาวเวอร์ จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า ซีเค พาวเวอร์มีแผนจะเสนอขายไอพีโอประมาณ 220 ล้านหุ้น มูลค่าพาร์ละ 5.00 บาทในช่วงเดือนพฤษภาคม - มิถุยายนนี้ เพื่อนำเงินไปลงทุนในโครงการโรงไฟฟ้าSPP ที่เริ่มดำเนินการมาตั้งแต่ปีที่ผ่านมา รวมถึงเพื่อสะสมเงินลงทุนไว้รองรับโครงการขนาดใหญ่ด้านพลังงานไฟ้ฟ้าของบริษัทอีกหลายโครงการ เช่น โครงการไชยบุรีกำลังการผลิต 1,285 เมกะวัตต์ เป็นต้น
อย่างไรก็ตาม ผู้บริษัทโฮลดิ้ง คอมปานี ทั้ง 2แห่งยืนยันว่า แม้ทั้ง 2บริษัทจะมีการกำหนดช่วงระยะเวลาเข้าระดมทุนในตลาดหลักทรัพย์ฯใกล้เคียงกัน แต่เชื่อว่าจะได้รับความสนใจจากนักลงทุนจำนวนมากและเชื่อว่าจะไม่ใช่การแย่งเม็ดเงินลงทุนระหว่างกัน
นายชนิตร ชาญชัยณรงค์ รองผู้จัดการสายงานบริษัทหลักทรัพย์และบริษัทจดทะเบียน ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (ตลท.) กล่าวในงานสัมนา"การลงทุนในธุรกิจต่างประเทศ ผ่าน Holding Companyไทย" ว่าปัจจุบันบริษัทจดทะเบียนไทยมีการเติบโตที่สูงมากและไม่ได้โตแต่เพียงในประเทศยังเป็นการเติบโตที่รองรับภูมิภาค และ AEC ด้วย ซึ่งถือเป็นจุดเด่นของตลาดทุนไทย ที่เริ่มมีธุรกิจแบบโฮลดิ้ง
คอมปานี เข้ามาจดทะเบียนเพื่อไปลงทุนในต่างประเทศทำให้ในอนาคตแนวทางของตลาดหลักทรัพย์ฯ จึงเป็นการเติบโตเพื่อภูมิภาคด้วย
นายประเสริฐ ภัทรดิลก กรรมการผู้อำนวยการ บริษัท แอดไวเซอรี่ พลัส จำกัด กล่าวว่า การกำหนดให้โฮลดิ้ง คอมปานีต้องมีการถือหุ้นในธุรกิจหลักมากกว่า 50%เป็นเรื่องที่เพิ่งแก้ไขหลังจากศึกษามาได้สักระยะ จากเดิม75% จุดนี้เลยทำให้ บมจ.ช.การช่างมีแผนตั้งโฮลดิ้งเข้ามาจดทะเบียนและระดมทุนในตลาดหลักทรัพย์ฯ
ทั้งนี้ มองว่าโฮลดิ้ง คอมปานี้ที่มาจดทะเบียนและลงทุนในต่างประเทศยังมีความยุ่งยาก
ในเรื่องของมาตรฐานทางบัญชีที่แตกต่างกันไปในแต่ละประเทศอีกทั้งยังมีเรื่องของกฏหมาย และเกณฑ์ ดิวดิลิเจนซ์(ตรวจสอบทรัพย์สิน)ซึ่งเกณฑ์เดิมที่ธุรกิจไทยไปต่างประเทศไม่น่ากังวลเท่าใด แต่ธุรกิจจากต่างประเทศมาจดทะเบียนในไทยอาจมีปัญหาควรมีการปรับเกณฑ์รองรับเองให้มากขึ้น ขณะเดียวกันเชื่อจากการเปิดเสรีประชาคมอาเซียน (AEC)นับเป็นปัจจัยสำคัญที่ผลักดันให้เอกชนไทยให้ความสนใจการไปลงทุนประเทศเพื่อนบ้านมากขึ้นซึ่งในที่นี้รวมถึงการจัดตั้งโฮลดิ้งฯ เพื่อไปลงทุนด้วย
"ต่างประเทศก็ให้ความสนใจเข้าจดทะเบียนในตลาดหุ้นไทยเช่นบริษัทจากจีน แต่อย่างที่ทราบกันดี บริษัทจีนบางบริษัทที่ไปจดทะเบียนในสิงคโปร์ มาเลเซีย สหรัฐฯบางทีสิ่งที่ทำกับสิ่งที่เคยรายงานไว้อาจไม่ตรงกันหรือไม่เป็นไปตามที่เคยระบุ นี่คือปัญหาเราต้องมีเกณฑ์หรือการกับกำกับที่ดีรองรับ
หากจะให้บริษัทต่างชาติเข้ามาจดทะเบียนในตลาดหุ้น"
ด้านนายประเสริฐ ตันตยาวิทย์ ผู้จัดการกลุ่มอุตสาหกรรม สายงานวาณิชธนกิจ
ธนาคาร ไทยพาณิชย์ กล่าวว่า บริษัทที่สนใจจะจัดตั้งโฮลดิ้งฯเพื่อไปลงทุนต่างประเทศอย่างแรกต้องเตรียมตัวในเรื่องการจัดโครงสร้างธุรกิจเรื่องต่อมาคือการจัดการกลไกในการกำกับดูแลบริษัทในต่างประเทศ
รวมถึงการจัดการมาตรการฐานทางบัญชีในเป็นไปในมาตรฐานเดียวกันทำให้คาดว่าจะต้องใช้เวลาประมาณ 1 ปีในการเตรียมตัวเข้าตลาดหุ้นมากกว่าบริษัทจดทะเบียนทั่วไปที่จะใช้เวลา 6-8 เดือน
นางสมหะทัย พานิชชีวะ กรรมการและประธานเจ้าหน้าที่บริหารอมตะ วีเอ็น จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า อมตะ วีเอ็น จัดตั้งขึ้นมาร่วม 20 ปีแล้ว และเตรียมความพร้อมเข้าเป็นบริษัทมหาชนมาตั้งนานเดิมทีจะเข้าจดทะเบียนในตลาดหุ้นเวียดนามแต่ติดข้อจำกัดหลายด้าน พอดีตลาดหลักทรัพย์ฯได้ปรับเกณฑ์โฮลดิ้งฯใหม่ทำให้บริษัทตัดสินใจจัดตั้งในรูปแบบโฮลดิ้งฯ เพื่อเข้าจดทะเบียนในตลาดหุ้นไทยแทน
"อมตะ วีเอ็น มี AMATAถือหุ้นเป็นผู้หุ้นใหญ่เรามีแผนจะเสนอขายไอพีโอประมาณ พฤษภาคมนี้ ประมาณ 140 ล้านหุ้นมูลค่าที่ตราไว้ (พาร์) 0.50 บาท เพื่อนำเงินไปลงทุนในโครงการ "อมตะ
เอ็กซ์เพลส ซิตี้" ในเวียดนามซึ่งมีขนาดพื้นที่ 1,295 เอเคอร์ากว่าพื้นที่ปัจจุบันที่ อมตะ วีเอ็นดำเนินการอยู่ประมาณ 2 เท่าโดยตอนนี้เราได้รับใบอนุมัติจากรัฐบาลเวียดนามให้เป็นผู้เข้าไปพัฒนาพื้นที่ดังกล่าวแล้ว"
ด้านดร.สุภามาส ตรีวิศวเวทย์ กรรมการผู้จัดการ บริษัท ซีเคพาวเวอร์ จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า ซีเค พาวเวอร์มีแผนจะเสนอขายไอพีโอประมาณ 220 ล้านหุ้น มูลค่าพาร์ละ 5.00 บาทในช่วงเดือนพฤษภาคม - มิถุยายนนี้ เพื่อนำเงินไปลงทุนในโครงการโรงไฟฟ้าSPP ที่เริ่มดำเนินการมาตั้งแต่ปีที่ผ่านมา รวมถึงเพื่อสะสมเงินลงทุนไว้รองรับโครงการขนาดใหญ่ด้านพลังงานไฟ้ฟ้าของบริษัทอีกหลายโครงการ เช่น โครงการไชยบุรีกำลังการผลิต 1,285 เมกะวัตต์ เป็นต้น
อย่างไรก็ตาม ผู้บริษัทโฮลดิ้ง คอมปานี ทั้ง 2แห่งยืนยันว่า แม้ทั้ง 2บริษัทจะมีการกำหนดช่วงระยะเวลาเข้าระดมทุนในตลาดหลักทรัพย์ฯใกล้เคียงกัน แต่เชื่อว่าจะได้รับความสนใจจากนักลงทุนจำนวนมากและเชื่อว่าจะไม่ใช่การแย่งเม็ดเงินลงทุนระหว่างกัน