ASTVผู้จัดการรายวัน - คลังหนุนรัฐบาลลงทุนโครงสร้างพื้นฐานวงเงิน 2 ล้านล้านบาท ชี้เป็นจังหวะเหมาะสมเหตุสภาพคล่องในประเทศยังมีอีกมากถึง 2.4 ล้านล้านบาท มั่นใจไม่กระทบฐานะการคลังขณะที่หนี้สาธารณะจะขยับเพิ่มไปอยู่ที่ 50% ในปี 59
นายเอกนิติ นิติทัณฑ์ประภาส รองผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง (สศค.) เปิดเผยว่า ช่วงนี้เป็นจังหวะที่เหมาะสมที่จะลงทุนตามนโยบายรัฐบาลที่ผลักดันร่างพระราชบัญญัติ(พ.ร.บ.) ให้อำนาจกระทรวงการคลังกู้เงินเพื่อลงทุนโครงสร้างพื้นฐาน พ.ศ. ... วงเงิน 2 ล้านล้านบาท เนื่องจากประเทศไทยมีสภาพคล่องส่วนเกินในระบบการเงินประมาณ 2.48 ล้านล้านบาท เพียงพอต่อการลงทุน และจะไม่ส่งผลกระทบต่อสัดส่วนหนี้สาธารณะต่อจีดีพี โดยตามแผนสัดส่วนหนี้สาธารณะจะขึ้นไปสูงสุดที่ 50% ภายในปี 2559 ซึ่งไม่เกินมาตรฐานโลกที่กำหนดไว้ในอัตราไม่เกิน 60% ของจีดีพี
ล่าสุด ณ เดือนม.ค.2556 หนี้สาธารณะต่อจีดีพีของประเทศอยู่ที่ 44% อีกทั้งยังเป็นการกู้เงินในประเทศทั้งหมด เบื้องต้นจะออกเป็นพันธบัตร และอาจเปิดให้เอกชนเข้าร่วมลงทุนในกิจการของภาครัฐ หรือ PPPs ซึ่งจะช่วยลดภาระการกู้เงินให้กับรัฐบาล
"ผลจากการลงทุน 2 ล้านล้านบาท จะสร้างรายได้กลับมาในระบบเศรษฐกิจเพิ่มขึ้นจาก 11.8 ล้านล้านบาท เป็น 20 ล้านล้านบาทภายในระยะ 7 ปีของแผนการลงทุน และจะผลักดันให้จีดีพีขยายตัวเฉลี่ยอย่างต่ำ 5% ต่อปี โดยสิ่งที่กระทรวงการคลังจะต้องระมัดระวังคือการดูแลหนี้สาธารณะ และดุลบัญชีเดินสะพัด ซึ่งในส่วนของดุลบัญชีเดินสะพัดจะควบคุมไม่ให้เกิน 3% ของจีดีพี โดยเชื่อว่า การลงทุน 2 ล้านล้านบาท จะทำให้ขาดดุลเพียง 1%ของจีดีพี เท่านั้น ซึ่งไม่ใช้ปัญหาเพราะเป็นการขาดดุลที่เกิดจากการลงทุนสร้างรายได้ในอนาคต นอกจากนี้การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน ดังกล่าวจะช่วยลดต้นทุนการขนส่งลง 2% เหลือ 13% จากปัจจุบันอยู่ที่ 15% ของรายได้ของประเทศ ซึ่งช่วยเพิ่มความสามารถในการแข่งขันให้ผู้ประกอบการไทย" นายเอกนิติกล่าว
นายเอกนิติ นิติทัณฑ์ประภาส รองผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง (สศค.) เปิดเผยว่า ช่วงนี้เป็นจังหวะที่เหมาะสมที่จะลงทุนตามนโยบายรัฐบาลที่ผลักดันร่างพระราชบัญญัติ(พ.ร.บ.) ให้อำนาจกระทรวงการคลังกู้เงินเพื่อลงทุนโครงสร้างพื้นฐาน พ.ศ. ... วงเงิน 2 ล้านล้านบาท เนื่องจากประเทศไทยมีสภาพคล่องส่วนเกินในระบบการเงินประมาณ 2.48 ล้านล้านบาท เพียงพอต่อการลงทุน และจะไม่ส่งผลกระทบต่อสัดส่วนหนี้สาธารณะต่อจีดีพี โดยตามแผนสัดส่วนหนี้สาธารณะจะขึ้นไปสูงสุดที่ 50% ภายในปี 2559 ซึ่งไม่เกินมาตรฐานโลกที่กำหนดไว้ในอัตราไม่เกิน 60% ของจีดีพี
ล่าสุด ณ เดือนม.ค.2556 หนี้สาธารณะต่อจีดีพีของประเทศอยู่ที่ 44% อีกทั้งยังเป็นการกู้เงินในประเทศทั้งหมด เบื้องต้นจะออกเป็นพันธบัตร และอาจเปิดให้เอกชนเข้าร่วมลงทุนในกิจการของภาครัฐ หรือ PPPs ซึ่งจะช่วยลดภาระการกู้เงินให้กับรัฐบาล
"ผลจากการลงทุน 2 ล้านล้านบาท จะสร้างรายได้กลับมาในระบบเศรษฐกิจเพิ่มขึ้นจาก 11.8 ล้านล้านบาท เป็น 20 ล้านล้านบาทภายในระยะ 7 ปีของแผนการลงทุน และจะผลักดันให้จีดีพีขยายตัวเฉลี่ยอย่างต่ำ 5% ต่อปี โดยสิ่งที่กระทรวงการคลังจะต้องระมัดระวังคือการดูแลหนี้สาธารณะ และดุลบัญชีเดินสะพัด ซึ่งในส่วนของดุลบัญชีเดินสะพัดจะควบคุมไม่ให้เกิน 3% ของจีดีพี โดยเชื่อว่า การลงทุน 2 ล้านล้านบาท จะทำให้ขาดดุลเพียง 1%ของจีดีพี เท่านั้น ซึ่งไม่ใช้ปัญหาเพราะเป็นการขาดดุลที่เกิดจากการลงทุนสร้างรายได้ในอนาคต นอกจากนี้การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน ดังกล่าวจะช่วยลดต้นทุนการขนส่งลง 2% เหลือ 13% จากปัจจุบันอยู่ที่ 15% ของรายได้ของประเทศ ซึ่งช่วยเพิ่มความสามารถในการแข่งขันให้ผู้ประกอบการไทย" นายเอกนิติกล่าว