วานนี้(12 มี.ค.56) ผู้สื่อข่าวรายงานว่า นางรสนา โตสิตระกูล สว.กทม.ได้โพตส์รูปภาพและข้อความ ระบุว่า การประชุมร่วมสองสภาในวันที่ 12 มีนาคม 2556 มีเหตุการณ์ที่ควรจดจำสำหรับวุฒิสภาว่า สัญญาสุภาพบุรุษเป็นสิ่งที่หาได้ยากในสภาแห่งนี้ เมื่อเสียงข้างมากได้ในสิ่งที่เขาปรารถนาแล้ว สัญญาที่ให้ไว้ ก็อย่าหวังว่าเขาจะรักษา นี่เป็นครั้งที่2 ของเหตุการณ์ทำนองนี้
เรื่องของเรื่องก็มีอยู่ว่า วันนี้มีวาระการประชุมที่วุฒิสภาจะขออนุมัติรัฐสภาให้อนุมัติให้วุฒิสภาสามารถพิจารณาเรื่องรายงานของกรรมาธิการ และการพิจารณาญัตติขอตั้งกรรมาธิการวิสามัญในสมัยนิติบัญญัติ ซึ่งค้างมาตั้งแต่สมัยทั่วไปเมื่อปีที่แล้ว
เป็นวาระพิจารณาที่ถูกเลื่อนมาจากการพิจารณาครั้งก่อน ด้วยเหตุผลว่าในญัตติของวุฒิสภาดันมีเรื่องของการที่รัฐบาลต้องแถลงผลงาน 1ปีของรัฐบาลรวมอยู่ด้วย
วิปรัฐบาลมาเจรจากับวิปวุฒิสภาว่าขอให้เลื่อนวาระพิจารณานี้ไปก่อนจนกว่าการเลือกตั้งผู้ว่ากทม. เสร็จสิ้นไป เพราะรัฐบาลยังไม่ต้องการรายงานผลงาน 1ปีของรัฐบาลก่อนเลือกตั้งผู้ว่ากทม. ซึ่งเป็นที่เข้าใจกันได้ วุฒิสภายินดีให้ความร่วมมือการเจรจากันนี้ควรถือได้หรือไม่ว่า เป็นสัญญาสุภาพบุรุษ ที่แม้ไม่ได้เซนต์ไว้เป็นลายลักษณ์อักษร แต่ควรเป็นเรื่องที่ต้องรักษาข้อตกลงกันไว้
มาถึงวันนี้ส.ส ของพรรครัฐบาลพากันอภิปรายไม่เห็นด้วย โดยอ้างรัฐธรรมนูญอย่างเคร่งครัด ทั้งที่เป็นรัฐธรรมนูญที่เขาก็ไม่ได้ให้ความเคารพกันสักเท่าไหร่ แม้รัฐธรรมนูญมีข้อยกเว้นให้พิจารณาเรื่องอื่นๆในสมัยนิติบัญญัติได้เมื่อรัฐสภาอนุมัติ ก็พากันอภิปรายไม่เห็นด้วยที่จะให้วุฒิสภาพิจารณารายงาน และเรื่องอื่นๆ ทั้งที่เวลานี้ก็ไม่มีกฎหมายให้พิจารณามากนัก เพราะรัฐบาลและสภาไปใช้เวลากับเรื่องจะออกพ.ร.ก ปรองดอง ทั้งที่ก็อยู่ในสมัยนิติบัญญัติ จะออกเป็นพ.ร.บ ก็กลัวเสียเวลา คิดจะหักดิบออกเป็นพ.ร.ก เสียเลยเพราะเป็นก.มของฝ่ายบริหาร
การประชุมวุฒิสภาเมื่อวานนี้ วาระหมดตั้งแต่บ่าย2โมง
เมื่อเสียงข้างมากโหวตไม่อนุมัติให้วุฒิสภาพิจารณารายงานการประชุม และเรื่องอื่นๆ ทำให้สมาชิกวุฒิสภาไม่พอใจ และต่อว่าเรื่องไม่รักษาสัญญา ก็มี ส.ส พรรครัฐบาลลุกขึ้นมาตอบโต้ โดยอ้างเรื่องหลักการประชาธิปไตยว่าทุกคนมีอิสระในการตัดสินใจ และวุฒิสภาก็ต้องยอมรับมติของเสียงข้างมาก
หลักการประชาธิปไตยอาศัยเสียงข้างมากก็จริงอยู่ แต่เป็นเสียงข้างมากที่ได้ใช้วิจารณญาณอย่างอิสระคงจะไม่จริง และเป็นไปไม่ได้ค่ะ เพราะในการลงมติแต่ละครั้ง ไม่มีใครลงอิสระได้ วิปรัฐบาลจะคอยชูนิ้วให้สมาชิกโหวตตามคำสั่ง ชู 2นิ้ว แปลว่าให้กด " เห็นด้วย " ชู 3นิ้ว แปลว่าให้กด" ไม่เห็นด้วย"
ที่ต้องชู 2นิ้วหรือ 3 นิ้ว ก็ไม่ใช่อะไร ปุ่มกดลงคะแนน ช่องที่1 คือกดแสดงตน ปุ่มที่2 คือกดเห็นด้วย
ส่วนปุ่มที่3 คือกดไม่เห็นด้วย
ประชาธิปไตยเสียงข้างมากแบบง่ายๆมีเท่านี้เอง ไม่ต้องใช้สมอง ใช้ไม่เกิน3นิ้วมือ ที่กำกับการบริหารบ้านเมือง การกู้เงินเป็นแสนล้าน หรือล้านล้านก็ยังได้ รวมทั้งออกกฎหมายไว้บังคับใช้กับประชาชนทั้งประเทศ จะไปตกลงเจรจาทำสัญญากับใคร เช่น เจรจาทวิภาคีไทย- อียู จะได้ฟังเสียงประชาชนหรือไม่ ไม่สำคัญ เพราะในสภานิติบัญญัติ เรามีแค่ 2นิ้ว ก็ควบคุมประชาธิปไตยเสียงข้างมากได้แล้วค่ะ
เห็นไหมคะ ประชาธิปไตยเป็นเรื่อง ง้ายยยง่าย เป็นนวัตกรรมใหม่ของการเมืองไทย "ประชาธิปไตย2นิ้ว"
ก่อนหน้านั้นมีการประชุมร่วมกันของรัฐสภา เพื่อพิจารณากรอบความตกลงและความร่วมมือระหว่างประเทศ มีนายนิคม ไวยรัชพานิช ประธานวุฒิสภา ในฐานะรองประธานรัฐสภา เป็นประธานการประชุม นายสุรชัย ชัยตระกูลทอง ส.ว.ชลบุรี เลขานุการคณะกรรมาธิการวิสามัญกิจการวุฒิสภา(วิปวุฒิสภา) เสนอวาระขอให้รัฐสภามีมติให้วุฒิสภาพิจารณาเรื่องรายงานแสดงผลการดำเนินการของคณะรัฐมนตรีตามแนวนโยบายพื้นฐานแห่งรัฐ(ผลงานครบ 1 ปีของรัฐบาล) รายงานของคณะกรรมาธิการและญัตติในสมัยประชุมนิติบัญญัติได้ ตามรัฐธรรมนูญมาตรา 136 (5) และนพ.สุกิจ อัตโถปกรณ์ ส.ส.ตรัง พรรคประชาธิปัตย์ ในฐานะวิปฝ่ายค้าน เสนอวาระขอให้รัฐสภามีมติให้สภาผู้แทนราษฎรพิจารณา รายงานแสดงผลการดำเนินการของคณะรัฐมนตรีตามแนวนโยบายพื้นฐานแห่งรัฐ ในสมัยประชุมสามัญนิติบัญญัติได้ ตามรัฐธรรมนูญมาตรา 136 (5) ตามที่นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ ส.ส.บัญชีรายชื่อ พรรคประชาธิปัตย์ ประธานวิปฝ่ายค้าน เสนอ
โดยบรรยากาศการอภิปรายส.ส.พรรคเพื่อไทยหลายคน ได้อภิปรายคัดค้าน อาทิ นายพีรพันธุ์ พาลุสุข ส.ส.ยโสธร และวิปรัฐบาล นายวิชาญ มีนชัยนันท์ ส.ส.กทม. โดยอภิปรายว่า ปกติสมัยประชุมสามัญนิติบัญญัติ จะไม่อนุญาตให้พิจารณาญัตติ เราควรยึดหลักตามรัฐธรรมนูญไว้ คือไม่อนุญาตให้พิจารณาเรื่องอื่น และรัฐบาลได้เสนอรายงานมาตามระยะเวลาที่กำหนดไว้แล้ว แต่ที่ไม่สามารถพิจารณาการแถลงผลงานครบ 1 ปีของรัฐบาลได้ ก็เป็นปัญหาของสภาเอง เนื่องจากพ้นสมัยประชุมสามัญทั่วไปแล้ว และนี่ก็เข้ากลางเดือนมี.ค.แล้ว สมัยประชุมนี้จะปิดลงวันที่ 18 เม.ย. ดังนั้นควรรอไปพิจารณากันในสมัยประชุมสามัญทั่วไป จะเหมาะสมกว่า ธรรมเนียมปฏิบัติในอดีตไม่เคยมี ไม่อยากให้พูดถึงความจำเป็นหรือความต้องการของประชาชน แต่เราต้องยึดหลักการ
ขณะที่ส.ส.พรรคฝ่ายค้าน และส.ว.ลุกขึ้นตอบโต้ อาทิ นายวิทยา แก้วภราดัย ส.ส.นครศรีธรรมราช พรรคประชาธิปัตย์ นายฉัตรพันธ์ เดชกิจสุนทร ส.ส.กาญจนบุรี อภิปรายว่า เป็นหน้าที่ของรัฐบาลอยู่แล้ว ช้าเร็วก็ต้องแถลง แต่นี่กำลังจะหนีแถลง เป็นรัฐบาลมาปีกว่าต้องบากหน้าเข้าสภา หน้าที่ที่ต้องทำกลับไม่ทำ แต่ทีจะขอกู้ 2.2 ล้านล้านบาท กลับกระสันจะทำกันนัก เป็นรัฐบาลก็ต้องปฏิบัติตามที่รัฐธรรมนูญกำหนด แต่รัฐบาลนี้ไม่เคารพรัฐธรรมนูญ ดังนั้นพวกตนก็ไม่ต้องเคารพรัฐบาลเช่นกัน รัฐบาลปิดช่อง ทำตัวเหนือรัฐธรรมนูญ
หลังจากการอภิปรายกันอย่างกว้างขวาง ที่ประชุมมีมติเห็นชอบตามที่นายจุรินทร์ เสนอด้วยคะแนน 481 ต่อ 16 งดออกเสียง 11 ไม่ลงคะแนน 1 และมีมติเห็นชอบตามที่วุฒิสภาเสนอด้วยคะแนน 499 ต่อ 4 งดออกเสียง 4 ไม่ลงคะแนน 1 แต่ไม่เห็นชอบให้นำรายงานคณะกรรมาธิการ และการตั้งคณะกรรมาธิการวิสามัญเข้าสู่สภา
เรื่องของเรื่องก็มีอยู่ว่า วันนี้มีวาระการประชุมที่วุฒิสภาจะขออนุมัติรัฐสภาให้อนุมัติให้วุฒิสภาสามารถพิจารณาเรื่องรายงานของกรรมาธิการ และการพิจารณาญัตติขอตั้งกรรมาธิการวิสามัญในสมัยนิติบัญญัติ ซึ่งค้างมาตั้งแต่สมัยทั่วไปเมื่อปีที่แล้ว
เป็นวาระพิจารณาที่ถูกเลื่อนมาจากการพิจารณาครั้งก่อน ด้วยเหตุผลว่าในญัตติของวุฒิสภาดันมีเรื่องของการที่รัฐบาลต้องแถลงผลงาน 1ปีของรัฐบาลรวมอยู่ด้วย
วิปรัฐบาลมาเจรจากับวิปวุฒิสภาว่าขอให้เลื่อนวาระพิจารณานี้ไปก่อนจนกว่าการเลือกตั้งผู้ว่ากทม. เสร็จสิ้นไป เพราะรัฐบาลยังไม่ต้องการรายงานผลงาน 1ปีของรัฐบาลก่อนเลือกตั้งผู้ว่ากทม. ซึ่งเป็นที่เข้าใจกันได้ วุฒิสภายินดีให้ความร่วมมือการเจรจากันนี้ควรถือได้หรือไม่ว่า เป็นสัญญาสุภาพบุรุษ ที่แม้ไม่ได้เซนต์ไว้เป็นลายลักษณ์อักษร แต่ควรเป็นเรื่องที่ต้องรักษาข้อตกลงกันไว้
มาถึงวันนี้ส.ส ของพรรครัฐบาลพากันอภิปรายไม่เห็นด้วย โดยอ้างรัฐธรรมนูญอย่างเคร่งครัด ทั้งที่เป็นรัฐธรรมนูญที่เขาก็ไม่ได้ให้ความเคารพกันสักเท่าไหร่ แม้รัฐธรรมนูญมีข้อยกเว้นให้พิจารณาเรื่องอื่นๆในสมัยนิติบัญญัติได้เมื่อรัฐสภาอนุมัติ ก็พากันอภิปรายไม่เห็นด้วยที่จะให้วุฒิสภาพิจารณารายงาน และเรื่องอื่นๆ ทั้งที่เวลานี้ก็ไม่มีกฎหมายให้พิจารณามากนัก เพราะรัฐบาลและสภาไปใช้เวลากับเรื่องจะออกพ.ร.ก ปรองดอง ทั้งที่ก็อยู่ในสมัยนิติบัญญัติ จะออกเป็นพ.ร.บ ก็กลัวเสียเวลา คิดจะหักดิบออกเป็นพ.ร.ก เสียเลยเพราะเป็นก.มของฝ่ายบริหาร
การประชุมวุฒิสภาเมื่อวานนี้ วาระหมดตั้งแต่บ่าย2โมง
เมื่อเสียงข้างมากโหวตไม่อนุมัติให้วุฒิสภาพิจารณารายงานการประชุม และเรื่องอื่นๆ ทำให้สมาชิกวุฒิสภาไม่พอใจ และต่อว่าเรื่องไม่รักษาสัญญา ก็มี ส.ส พรรครัฐบาลลุกขึ้นมาตอบโต้ โดยอ้างเรื่องหลักการประชาธิปไตยว่าทุกคนมีอิสระในการตัดสินใจ และวุฒิสภาก็ต้องยอมรับมติของเสียงข้างมาก
หลักการประชาธิปไตยอาศัยเสียงข้างมากก็จริงอยู่ แต่เป็นเสียงข้างมากที่ได้ใช้วิจารณญาณอย่างอิสระคงจะไม่จริง และเป็นไปไม่ได้ค่ะ เพราะในการลงมติแต่ละครั้ง ไม่มีใครลงอิสระได้ วิปรัฐบาลจะคอยชูนิ้วให้สมาชิกโหวตตามคำสั่ง ชู 2นิ้ว แปลว่าให้กด " เห็นด้วย " ชู 3นิ้ว แปลว่าให้กด" ไม่เห็นด้วย"
ที่ต้องชู 2นิ้วหรือ 3 นิ้ว ก็ไม่ใช่อะไร ปุ่มกดลงคะแนน ช่องที่1 คือกดแสดงตน ปุ่มที่2 คือกดเห็นด้วย
ส่วนปุ่มที่3 คือกดไม่เห็นด้วย
ประชาธิปไตยเสียงข้างมากแบบง่ายๆมีเท่านี้เอง ไม่ต้องใช้สมอง ใช้ไม่เกิน3นิ้วมือ ที่กำกับการบริหารบ้านเมือง การกู้เงินเป็นแสนล้าน หรือล้านล้านก็ยังได้ รวมทั้งออกกฎหมายไว้บังคับใช้กับประชาชนทั้งประเทศ จะไปตกลงเจรจาทำสัญญากับใคร เช่น เจรจาทวิภาคีไทย- อียู จะได้ฟังเสียงประชาชนหรือไม่ ไม่สำคัญ เพราะในสภานิติบัญญัติ เรามีแค่ 2นิ้ว ก็ควบคุมประชาธิปไตยเสียงข้างมากได้แล้วค่ะ
เห็นไหมคะ ประชาธิปไตยเป็นเรื่อง ง้ายยยง่าย เป็นนวัตกรรมใหม่ของการเมืองไทย "ประชาธิปไตย2นิ้ว"
ก่อนหน้านั้นมีการประชุมร่วมกันของรัฐสภา เพื่อพิจารณากรอบความตกลงและความร่วมมือระหว่างประเทศ มีนายนิคม ไวยรัชพานิช ประธานวุฒิสภา ในฐานะรองประธานรัฐสภา เป็นประธานการประชุม นายสุรชัย ชัยตระกูลทอง ส.ว.ชลบุรี เลขานุการคณะกรรมาธิการวิสามัญกิจการวุฒิสภา(วิปวุฒิสภา) เสนอวาระขอให้รัฐสภามีมติให้วุฒิสภาพิจารณาเรื่องรายงานแสดงผลการดำเนินการของคณะรัฐมนตรีตามแนวนโยบายพื้นฐานแห่งรัฐ(ผลงานครบ 1 ปีของรัฐบาล) รายงานของคณะกรรมาธิการและญัตติในสมัยประชุมนิติบัญญัติได้ ตามรัฐธรรมนูญมาตรา 136 (5) และนพ.สุกิจ อัตโถปกรณ์ ส.ส.ตรัง พรรคประชาธิปัตย์ ในฐานะวิปฝ่ายค้าน เสนอวาระขอให้รัฐสภามีมติให้สภาผู้แทนราษฎรพิจารณา รายงานแสดงผลการดำเนินการของคณะรัฐมนตรีตามแนวนโยบายพื้นฐานแห่งรัฐ ในสมัยประชุมสามัญนิติบัญญัติได้ ตามรัฐธรรมนูญมาตรา 136 (5) ตามที่นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ ส.ส.บัญชีรายชื่อ พรรคประชาธิปัตย์ ประธานวิปฝ่ายค้าน เสนอ
โดยบรรยากาศการอภิปรายส.ส.พรรคเพื่อไทยหลายคน ได้อภิปรายคัดค้าน อาทิ นายพีรพันธุ์ พาลุสุข ส.ส.ยโสธร และวิปรัฐบาล นายวิชาญ มีนชัยนันท์ ส.ส.กทม. โดยอภิปรายว่า ปกติสมัยประชุมสามัญนิติบัญญัติ จะไม่อนุญาตให้พิจารณาญัตติ เราควรยึดหลักตามรัฐธรรมนูญไว้ คือไม่อนุญาตให้พิจารณาเรื่องอื่น และรัฐบาลได้เสนอรายงานมาตามระยะเวลาที่กำหนดไว้แล้ว แต่ที่ไม่สามารถพิจารณาการแถลงผลงานครบ 1 ปีของรัฐบาลได้ ก็เป็นปัญหาของสภาเอง เนื่องจากพ้นสมัยประชุมสามัญทั่วไปแล้ว และนี่ก็เข้ากลางเดือนมี.ค.แล้ว สมัยประชุมนี้จะปิดลงวันที่ 18 เม.ย. ดังนั้นควรรอไปพิจารณากันในสมัยประชุมสามัญทั่วไป จะเหมาะสมกว่า ธรรมเนียมปฏิบัติในอดีตไม่เคยมี ไม่อยากให้พูดถึงความจำเป็นหรือความต้องการของประชาชน แต่เราต้องยึดหลักการ
ขณะที่ส.ส.พรรคฝ่ายค้าน และส.ว.ลุกขึ้นตอบโต้ อาทิ นายวิทยา แก้วภราดัย ส.ส.นครศรีธรรมราช พรรคประชาธิปัตย์ นายฉัตรพันธ์ เดชกิจสุนทร ส.ส.กาญจนบุรี อภิปรายว่า เป็นหน้าที่ของรัฐบาลอยู่แล้ว ช้าเร็วก็ต้องแถลง แต่นี่กำลังจะหนีแถลง เป็นรัฐบาลมาปีกว่าต้องบากหน้าเข้าสภา หน้าที่ที่ต้องทำกลับไม่ทำ แต่ทีจะขอกู้ 2.2 ล้านล้านบาท กลับกระสันจะทำกันนัก เป็นรัฐบาลก็ต้องปฏิบัติตามที่รัฐธรรมนูญกำหนด แต่รัฐบาลนี้ไม่เคารพรัฐธรรมนูญ ดังนั้นพวกตนก็ไม่ต้องเคารพรัฐบาลเช่นกัน รัฐบาลปิดช่อง ทำตัวเหนือรัฐธรรมนูญ
หลังจากการอภิปรายกันอย่างกว้างขวาง ที่ประชุมมีมติเห็นชอบตามที่นายจุรินทร์ เสนอด้วยคะแนน 481 ต่อ 16 งดออกเสียง 11 ไม่ลงคะแนน 1 และมีมติเห็นชอบตามที่วุฒิสภาเสนอด้วยคะแนน 499 ต่อ 4 งดออกเสียง 4 ไม่ลงคะแนน 1 แต่ไม่เห็นชอบให้นำรายงานคณะกรรมาธิการ และการตั้งคณะกรรมาธิการวิสามัญเข้าสู่สภา