(10 มี.ค.56)
สิ่งที่ ดร.สมคิด จาตุศรีพิทักษ์ พูดเมื่อวันที่ 5 มีนาคมที่ผ่านมาว่า “อนาคตประเทศไทยยังอยู่ในวังวน การเติบโตทางเศรษฐกิจเป็นภาพลวงตา ชี้การบริโภคโตเพราะการกู้ และใช้เงินในอนาคต ภาคส่งออกกำลังอยู่ในภาวะอันตรายเพราะคุณภาพการผลิตไม่สูงพอ แนะภาคประชาชนต้องเข้มแข็ง เพราะภาคการเมืองไม่มีคุณภาพ ไม่รู้ว่าทางไหนเป็นนรก หรือสวรรค์ ยอมรับการซื้อเสียงยังมีอยู่ หลังเลือกตั้งก็ไปแบ่งสมบัติกัน ปชช.ไม่เกี่ยว จะตั้งใครเป็น รมต. ก็ไม่ต้องสนใจความรู้สึก ปชช. เป็นเองไม่ได้ก็ส่งนอมินี เรียกคนไปประชุมที่บ้าน ประเทศบกพร่องทั้งระบบ ความเข้มแข็งของชาติเสื่อมถอยลง กระทบความเชื่อมั่นในศักยภาพของประเทศ” (จากข่าว “สมคิด ชำแหละอนาคตของประเทศไทย” ในเว็บไซต์เอเอสทีวีผู้จัดการ วันที่ 5 มี.ค.56) ได้รับการถ่ายทอดและกล่าวขวัญกันมากเป็นพิเศษ
ผู้เขียนเองก็รู้สึก “สะดุด”ใจในบางจุด รวมทั้งเห็น “สัญญาณ”บางอย่าง ที่เชื่อมโยงมาถึง “สิ่งกำลังมี สิ่งกำลังเกิด” ในขบวนการพันธมิตรฯ โดยเฉพาะเรื่อง “ความตื่นรู้”(รู้จริง รู้คิด รู้ทำ)
เป็นไปได้ไหมว่า ดร.สมคิดได้ “ตื่นรู้”บ้างแล้ว นั่นคือมองเห็นแล้วว่า 1.ปัญหาบ้านเมืองทุกวันนี้ สิ่งที่ทำให้ประเทศไทยดิ้นไม่หลุดจากวังวน (ที่เราเรียกกันทั่วไปว่า “วงจรอุบาทว์”) ก็คือนักการเมือง และ 2.ผู้ที่จะนำพาประเทศไทยออกจากวังวนนี้ได้ก็คือ ขบวนการฯภาคประชาชน นำโดยพันธมิตรฯ
พิจารณาจากหัวข้อ “ประเทศไทย ณ จุดเปลี่ยน” ที่ดร.สมคิดนำเสนอที่สมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์ เนื่องในโอกาสวันครบรอบ 58 ปีของการก่อตั้งสมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย ก็พอรู้ว่า ณ วันนี้ ดร.สมคิดรู้แล้วว่า ประเทศไทยถึงจุดเปลี่ยน ประเทศไทยจำเป็นต้องเปลี่ยนแปลง เพื่อให้หลุดพ้นไปจากวังวนหรือ “วงจรอุบาทว์” โดยเฉพาะอย่างยิ่งจะต้องหลุดพ้นจากวงจรอุบาทว์ทางการเมือง ซึ่งดร.สมคิดบรรยายว่า ทุกวันนี้ “เราเลือกตั้งเพื่อนำคนไปบริหาร แต่เลือกตั้งเสร็จเขาก็ไปแบ่งสมบัติกัน ประชาชนไม่เกี่ยว จะตั้งใครเป็นรัฐมนตรีไม่ต้องสนใจว่าประชาชนรู้สึกอย่างไร เป็นเองไม่ได้ก็ส่งนอมินี เรียกคนไปประชุมที่บ้าน...การแต่งตั้งคนเป็นเรื่องของคนของใคร...(จึง)ไม่ได้คนที่เหมาะสมกับงาน ความเข้มแข็งของประเทศด้อยลงๆ...ความเชื่อมั่นในศักยภาพของประเทศเลือนราง ความน่าเชื่อถือน้อยลง...”
ในตอนท้ายของคำปาถกฐา ดร.สมคิด ยังได้กล่าวสรุปว่า “ภาคประชาชนต้องเข้มแข็ง แก้ปัญหาด้วยการเมืองเป็นเรื่องยากมาก ต้องแก้ด้วยภาคประชาชนที่เข้มแข็ง” แต่ก็เน้นไปที่สื่อมวลชน ว่า “สื่อถือเป็นหัวใจหลักที่จะก่อกำเนิดความเข้มแข็งของภาคประชาชน สื่อต้องทำให้สังคมที่กำลังไขว้เขวหันกลับมามีสติ”
ผู้เขียนไม่แปลกที่ ดร.สมคิดสรุปลงที่บทบาทของสื่อ ซึ่งเป็น “เจ้าภาพ” เชิญไปแสดงปาถกฐา ถ้าเปลี่ยนให้ทหารเป็นเจ้าภาพ เขาก็อาจจะเน้นไปที่บทบาทของทหาร
มีบางคนตั้งปุจฉาว่า ทำไม ดร.สมคิด จึงพูดออกมาเช่นนี้ ? เพราะโดยสถานภาพแล้ว เขาเคยเป็นแกนนำในพรรคไทยรักไทย เคยเป็นรองนายกฯ และรัฐมนตรีกระทรวงหลักในรัฐบาลที่นำโดย พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อีกนัยหนึ่ง เขาก็เป็นนักการเมืองในระบบการเมืองเลือกตั้ง รู้เช่นเห็นชาติในความฉ้อฉลของการเมืองในระบบเลือกตั้งมาตั้งแต่ต้น การพูดในเชิง “มุมกลับ” เช่นนี้ หมายถึงว่าเขากำลังจะ “ตัดขาด” จากระบบการเมืองน้ำเน่าแล้วหรือ ?
หรือว่า ด้วยความ “หยั่งรู้” ว่า ประเทศไทยมาถึงจุดเปลี่ยน และผู้ที่จะเปลี่ยนแปลงประเทศไทยได้จริงก็คือประชาชน จึงใช้โอกาสนี้แสดงจุดยืน ?
ในมุมมองของผู้เขียน เห็นว่า ดร.สมคิดพูดได้ดีมาก มีแนวโน้มที่จะก้าวมายืนอยู่ในจุดยืนเดียวกันกับขบวนการพันธมิตรฯได้ไม่ยาก แต่ก็ไม่ขอ “วิสัชนา”ว่า ดร.สมคิดมี “วาระซ่อนเร้น” อะไรอยู่หรือไม่ ?
ยิ่งกว่านั้น ผู้เขียนจะรู้สึกยินดีอย่างยิ่งต่อการเปลี่ยนแปลงใดๆ ที่อาจจะเกิดขึ้นในห้วงสำนึกของ ดร.สมคิด จนกระทั่งสามารถยกระดับความตื่นรู้ได้ในตัวเอง ทำให้กล้าแสดงจุดยืนอย่างชัดเจน ในทุกโอกาสที่เปิดให้ อันจะเป็นการนำร่องให้ผู้ที่มีบทบาทในสังคมไทย ไม่ว่าจะอยู่ในวงการใด ระดับใด พากันแสดงจุดยืนในลักษณะเดียวกันตามมาเรื่อยๆ ทีละคนๆ ประสานไปกับการขับเคลื่อนของขบวนการฯภาคประชาชนนำโดยพันธมิตรฯ
ขอให้ ดร.สมคิดพูดเช่นนี้ไปเรื่อยๆ และพูดให้ชัดเจนยิ่งๆขึ้นว่า 1.ปัญหาบ้านเมืองทุกวันนี้ สิ่งที่ทำให้ประเทศไทยดิ้นไม่หลุดจากวังวน (ที่เราเรียกกันทั่วไปว่า “วงจรอุบาทว์”) ก็คือนักการเมือง และ 2.ผู้ที่จะนำพาประเทศไทยออกจากวังวนนี้ได้ก็คือ ขบวนการฯภาคประชาชน นำโดยพันธมิตรฯ
สิ่งที่ ดร.สมคิด จาตุศรีพิทักษ์ พูดเมื่อวันที่ 5 มีนาคมที่ผ่านมาว่า “อนาคตประเทศไทยยังอยู่ในวังวน การเติบโตทางเศรษฐกิจเป็นภาพลวงตา ชี้การบริโภคโตเพราะการกู้ และใช้เงินในอนาคต ภาคส่งออกกำลังอยู่ในภาวะอันตรายเพราะคุณภาพการผลิตไม่สูงพอ แนะภาคประชาชนต้องเข้มแข็ง เพราะภาคการเมืองไม่มีคุณภาพ ไม่รู้ว่าทางไหนเป็นนรก หรือสวรรค์ ยอมรับการซื้อเสียงยังมีอยู่ หลังเลือกตั้งก็ไปแบ่งสมบัติกัน ปชช.ไม่เกี่ยว จะตั้งใครเป็น รมต. ก็ไม่ต้องสนใจความรู้สึก ปชช. เป็นเองไม่ได้ก็ส่งนอมินี เรียกคนไปประชุมที่บ้าน ประเทศบกพร่องทั้งระบบ ความเข้มแข็งของชาติเสื่อมถอยลง กระทบความเชื่อมั่นในศักยภาพของประเทศ” (จากข่าว “สมคิด ชำแหละอนาคตของประเทศไทย” ในเว็บไซต์เอเอสทีวีผู้จัดการ วันที่ 5 มี.ค.56) ได้รับการถ่ายทอดและกล่าวขวัญกันมากเป็นพิเศษ
ผู้เขียนเองก็รู้สึก “สะดุด”ใจในบางจุด รวมทั้งเห็น “สัญญาณ”บางอย่าง ที่เชื่อมโยงมาถึง “สิ่งกำลังมี สิ่งกำลังเกิด” ในขบวนการพันธมิตรฯ โดยเฉพาะเรื่อง “ความตื่นรู้”(รู้จริง รู้คิด รู้ทำ)
เป็นไปได้ไหมว่า ดร.สมคิดได้ “ตื่นรู้”บ้างแล้ว นั่นคือมองเห็นแล้วว่า 1.ปัญหาบ้านเมืองทุกวันนี้ สิ่งที่ทำให้ประเทศไทยดิ้นไม่หลุดจากวังวน (ที่เราเรียกกันทั่วไปว่า “วงจรอุบาทว์”) ก็คือนักการเมือง และ 2.ผู้ที่จะนำพาประเทศไทยออกจากวังวนนี้ได้ก็คือ ขบวนการฯภาคประชาชน นำโดยพันธมิตรฯ
พิจารณาจากหัวข้อ “ประเทศไทย ณ จุดเปลี่ยน” ที่ดร.สมคิดนำเสนอที่สมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์ เนื่องในโอกาสวันครบรอบ 58 ปีของการก่อตั้งสมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย ก็พอรู้ว่า ณ วันนี้ ดร.สมคิดรู้แล้วว่า ประเทศไทยถึงจุดเปลี่ยน ประเทศไทยจำเป็นต้องเปลี่ยนแปลง เพื่อให้หลุดพ้นไปจากวังวนหรือ “วงจรอุบาทว์” โดยเฉพาะอย่างยิ่งจะต้องหลุดพ้นจากวงจรอุบาทว์ทางการเมือง ซึ่งดร.สมคิดบรรยายว่า ทุกวันนี้ “เราเลือกตั้งเพื่อนำคนไปบริหาร แต่เลือกตั้งเสร็จเขาก็ไปแบ่งสมบัติกัน ประชาชนไม่เกี่ยว จะตั้งใครเป็นรัฐมนตรีไม่ต้องสนใจว่าประชาชนรู้สึกอย่างไร เป็นเองไม่ได้ก็ส่งนอมินี เรียกคนไปประชุมที่บ้าน...การแต่งตั้งคนเป็นเรื่องของคนของใคร...(จึง)ไม่ได้คนที่เหมาะสมกับงาน ความเข้มแข็งของประเทศด้อยลงๆ...ความเชื่อมั่นในศักยภาพของประเทศเลือนราง ความน่าเชื่อถือน้อยลง...”
ในตอนท้ายของคำปาถกฐา ดร.สมคิด ยังได้กล่าวสรุปว่า “ภาคประชาชนต้องเข้มแข็ง แก้ปัญหาด้วยการเมืองเป็นเรื่องยากมาก ต้องแก้ด้วยภาคประชาชนที่เข้มแข็ง” แต่ก็เน้นไปที่สื่อมวลชน ว่า “สื่อถือเป็นหัวใจหลักที่จะก่อกำเนิดความเข้มแข็งของภาคประชาชน สื่อต้องทำให้สังคมที่กำลังไขว้เขวหันกลับมามีสติ”
ผู้เขียนไม่แปลกที่ ดร.สมคิดสรุปลงที่บทบาทของสื่อ ซึ่งเป็น “เจ้าภาพ” เชิญไปแสดงปาถกฐา ถ้าเปลี่ยนให้ทหารเป็นเจ้าภาพ เขาก็อาจจะเน้นไปที่บทบาทของทหาร
มีบางคนตั้งปุจฉาว่า ทำไม ดร.สมคิด จึงพูดออกมาเช่นนี้ ? เพราะโดยสถานภาพแล้ว เขาเคยเป็นแกนนำในพรรคไทยรักไทย เคยเป็นรองนายกฯ และรัฐมนตรีกระทรวงหลักในรัฐบาลที่นำโดย พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อีกนัยหนึ่ง เขาก็เป็นนักการเมืองในระบบการเมืองเลือกตั้ง รู้เช่นเห็นชาติในความฉ้อฉลของการเมืองในระบบเลือกตั้งมาตั้งแต่ต้น การพูดในเชิง “มุมกลับ” เช่นนี้ หมายถึงว่าเขากำลังจะ “ตัดขาด” จากระบบการเมืองน้ำเน่าแล้วหรือ ?
หรือว่า ด้วยความ “หยั่งรู้” ว่า ประเทศไทยมาถึงจุดเปลี่ยน และผู้ที่จะเปลี่ยนแปลงประเทศไทยได้จริงก็คือประชาชน จึงใช้โอกาสนี้แสดงจุดยืน ?
ในมุมมองของผู้เขียน เห็นว่า ดร.สมคิดพูดได้ดีมาก มีแนวโน้มที่จะก้าวมายืนอยู่ในจุดยืนเดียวกันกับขบวนการพันธมิตรฯได้ไม่ยาก แต่ก็ไม่ขอ “วิสัชนา”ว่า ดร.สมคิดมี “วาระซ่อนเร้น” อะไรอยู่หรือไม่ ?
ยิ่งกว่านั้น ผู้เขียนจะรู้สึกยินดีอย่างยิ่งต่อการเปลี่ยนแปลงใดๆ ที่อาจจะเกิดขึ้นในห้วงสำนึกของ ดร.สมคิด จนกระทั่งสามารถยกระดับความตื่นรู้ได้ในตัวเอง ทำให้กล้าแสดงจุดยืนอย่างชัดเจน ในทุกโอกาสที่เปิดให้ อันจะเป็นการนำร่องให้ผู้ที่มีบทบาทในสังคมไทย ไม่ว่าจะอยู่ในวงการใด ระดับใด พากันแสดงจุดยืนในลักษณะเดียวกันตามมาเรื่อยๆ ทีละคนๆ ประสานไปกับการขับเคลื่อนของขบวนการฯภาคประชาชนนำโดยพันธมิตรฯ
ขอให้ ดร.สมคิดพูดเช่นนี้ไปเรื่อยๆ และพูดให้ชัดเจนยิ่งๆขึ้นว่า 1.ปัญหาบ้านเมืองทุกวันนี้ สิ่งที่ทำให้ประเทศไทยดิ้นไม่หลุดจากวังวน (ที่เราเรียกกันทั่วไปว่า “วงจรอุบาทว์”) ก็คือนักการเมือง และ 2.ผู้ที่จะนำพาประเทศไทยออกจากวังวนนี้ได้ก็คือ ขบวนการฯภาคประชาชน นำโดยพันธมิตรฯ