เป็นเวลากว่า 20 ปี ฮูโก ชาเวซ มีบทบาททางการเมืองสูงมาก เริ่มจากวันที่เขายังเป็นทหารยศพันโทและเป็นหัวหน้าทำรัฐประหารขับไล่รัฐบาลเวเนซุเอลาเมื่อปี 2535
แม้จะกระทำไม่สำเร็จและถูกจำคุก แต่เขาได้รับการปลดปล่อยออกมาในเวลาไม่นานและกระโดดเข้าสู่วงการเมืองตามกระบวนการรัฐธรรมนูญทันที ในการเลือกตั้งปี 2541 เขาเอาชนะคู่แข่งได้บนฐานของการให้คำมั่นสัญญาว่าจะช่วยคนจนซึ่งมีอยู่กว่าครึ่งของประเทศและการโจมตีความฉ้อฉลซึ่งมีอยู่ในสังคมเวเนซุเอลาชนิดเข้ากระดูกดำ
(เมืองไทยที่ว่ามีความฉ้อฉลสูงนั้น เมื่อเทียบกับเวเนซุเอลาแล้วอาจเรียกได้ว่าขาวสะอาด หากดูจากดัชนีชี้วัดความฉ้อฉลปี 2555 ขององค์กรความโปร่งใสสากลซึ่งครอบคลุม 176 ประเทศโดยประเทศที่ไม่มีความฉ้อฉลได้รับคะแนนเต็ม 10 ไทยได้ 3.7 คะแนนซึ่งเป็นลำดับที่ 88 เวเนซุเอลาได้ 1.9 คะแนนซึ่งเป็นลำดับที่ 165 ลำดับที่ 1 ได้แก่ เดนมาร์ก ฟินแลนด์ และนิวซีแลนด์ ซึ่งได้คะแนน 9.0 เท่ากัน ลำดับสุดท้ายได้แก่อัฟกานิสถาน เกาหลีเหนือ และโซมาเลียซึ่งได้ 0.8 คะแนนเท่ากัน)
ชาเวซครองอำนาจมาตั้งแต่ปี 2541 การตายของเขาด้วยโรคมะเร็งเมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมาด้วยอายุเพียง 58 ปีและกำลังมีอำนาจล้นฟ้านำมาซึ่งความอาลัยของผู้ที่ได้รับประโยชน์จากนโยบายของเขา พร้อมกันนั้นก็เกิดการถกเถียงกันอย่างเข้มข้นอีกครั้งเกี่ยวกับบทบาทของเขาในหลายแง่มุม
คงเป็นที่ทราบดีกันแล้วว่า เวเนซุเอลาตั้งอยู่ในทวีปอเมริกาใต้ มีประชากรราว 29 ล้านคน มีทรัพยากรหลากหลาย มีน้ำมันปิโตรเลียมและก๊าซธรรมชาติปริมาณมหาศาล เคยส่งออกน้ำมันมากที่สุดในโลกและเป็นประเทศร่วมก่อตั้งองค์การผู้ส่งออกน้ำมัน (OPEC) ที่เคยมีอำนาจล้นฟ้า แต่อาจไม่เป็นที่ทราบกันอย่างกว้างขวางนักว่าเพราะอะไรชาวเวเนซุเอลากว่าครึ่งประเทศจึงยากจน หรือเพราะอะไรเวเนซุเอลาจึงตกอยู่ในกระบวนการที่มักเรียกกันว่า “ยิ่งพัฒนายิ่งจน” คำตอบหนึ่งสำหรับปริศนาข้อนี้มีอยู่ในหนังสือชื่อ เล่าเรื่องเมืองน้ำมัน ซึ่งผมพิมพ์ออกมาเมื่อปี 2545 และอาจดึงออกมาอ่านได้จากเว็บไซต์ www.OpenBase.in.th
คำตอบนั้นอาจสรุปเป็นวลีสั้นๆ ซึ่งเป็นที่รับรู้กันในวงการนักพัฒนาว่า “คำสาปของทรัพยากร” (Resource Curse)
ในกรณีของเวเนซุเอลา ทรัพยากรได้แก่น้ำมันปิโตรเลียมซึ่งคนส่วนใหญ่มองกันว่าถ้าประเทศใดมีมาก ประเทศนั้นย่อมร่ำรวย แต่ความจริงหาเป็นเช่นนั้นไม่ หากคนเหล่านั้นได้ติดตามความเป็นไปในบรรดาประเทศสมาชิก หรือเคยเป็นสมาชิก 13 ประเทศของ OPEC อย่างละเอียดอาจพบว่า กว่าครึ่งอาจเข้าข่ายที่มีปัญหาจำพวกยิ่งพัฒนายิ่งจน เช่น ไนจีเรีย อัลจีเรีย ลิเบีย อิหร่าน อิรัก เอกวาดอร์ กาบอง และเวเนซุเอลา ปัจจัยที่ก่อให้เกิดคำสาปของทรัพยากรในประเทศเหล่านั้นมักประกอบด้วยความฉ้อฉลที่สูงมาก การใช้รายได้จากการขายทรัพยากรแบบสุรุ่ยสุร่าย และการดำเนินนโยบายที่ไม่เหมาะสมกับสภาพเศรษฐกิจและสังคมของตนเอง
คำสาปของการมีน้ำมันปิโตรเลียมจำนวนมากมิใช่ของใหม่ อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรเหมืองแร่และน้ำมันของเวเนซุเอลา ฮวน พาโบล เฟเรซ อินฟองโซ ผู้เป็นหัวจักรใหญ่ในการขับเคลื่อนให้เกิด OPEC ได้เตือนไว้ตั้งแต่สมัยเวเนซุเอลายังร่ำรวยด้วยคำที่เป็นอมตะว่า น้ำมันปิโตรเลียมเป็น “อุจจาระของปีศาจ” (Devil’s Excrement)
สำหรับผูที่ไม่ค่อยได้อ่านประวัติศาสตร์ หรือติดตามวิวัฒนาการด้านละตินอเมริกานัก ขอเรียนว่า การชนะการเลือกตั้งในปี 2541 ของชาเวชตามด้วยวิวัฒนาการในเวเนซุเอลาในเวลาต่อมามีส่วนคล้ายกับการเลือกตั้งในอาร์เจนตินาเมื่อปี 2459
ย้อนไปในสมัยก่อนที่คนไทยจะรู้ว่าอาร์เจนตินาเป็นต้นแบบของการใช้นโยบายประชานิยม อาร์เจนตินาร่ำรวยมากจากภาคเกษตรกรรมที่ทำไร่และการปศุสัตว์ขนาดยักษ์ เจ้าของที่ดินผืนใหญ่ๆ ร่ำรวยมหาศาลและควบคุมกระบวนการเมืองและเศรษฐกิจแบบแทบครบวงจร อย่างไรก็ตาม ในตอนนั้นอาร์เจนตินามีรัฐธรรมนูญแนวประชาธิปไตยคล้ายของสหรัฐอเมริกา ฉะนั้น ก่อนการเลือกตั้งปี 2459 นักการเมืองหัวใสชื่อ ฮิโปลิโต อิริโกเยน ก็ให้คำมั่นสัญญาแก่ชาวอาร์เจนตินาว่าจะช่วยเหลือคนจนเต็มที่หากเขาได้เป็นประธานาธิบดีจริงๆ ผลปรากฏว่าเขาชนะการเลือกตั้ง นั่นเป็นเสมือนจุดเริ่มต้นของการนำอาร์เจนตินาเข้าสู่ทางประชานิยมซึ่งพาไปสู่ความล่มจมในเวลาต่อมา (รายละเอียดเรื่องภูมิหลังและการเดินเข้าสู่ทางแห่งความล่มจมนั้นมีอยู่ในหนังสือของผมชื่อ ประชานิยม: ทางสู่ความหายนะ)
ความแตกต่างระหว่างอาร์เจนตินาในตอนนั้นกับเวเนซุเอลาในตอนก่อนชาเวซขึ้นคุมอำนาจคือ อาร์เจนตินาร่ำรวยและมีเงินสำรองจำนวนมหาศาล ส่วนเวเนซุเอลามีน้ำมันกับหนี้กองใหญ่
หลังชนะการเลือกตั้ง ชาเวซก็เดินตามทางของอาร์เจนตินาทันที นั่นคือ ใช้นโยบายลดแลกแจกแถมทุกอย่างรวมทั้งทางด้านการรักษาพยาบาล การศึกษา บ้านเอื้ออาทร สวัสดิการสังคมและน้ำมันในราคาที่ต่ำกว่าคนทั้งโลกใช้กัน
นโยบายเหล่านั้นสร้างความนิยมในตัวเขาสูงมากจากผู้ได้รับประโยชน์ ต่อมาเขาสามารถกดดันให้นักการเมืองในเครือข่ายเปลี่ยนรัฐธรรมนูญเพื่อให้เขาสืบทอดอำนาจติดต่อกันได้แบบไม่มีข้อจำกัด เขาดำรงตำแหน่งมาเป็นเวลา 15 ปีและหากไม่ตายคงจะอยู่ได้ต่อไปอีกนานเพราะเขาได้เข้าไปวางฐานทางการเมืองไว้ในทุกภาคส่วนของสังคมแม้แต่ในกระบวนการของศาลยุติธรรม
ชาเวซมิได้หยุดแค่ความพยายามที่จะสร้างความนิยมให้ตัวเองกับชาวเวเนซุเอลาเท่านั้น เขายังพยายามจะเป็นผู้นำของกลุ่มประเทศละตินอเมริกาและหมู่เกาะคาริบเบียนอีกด้วย เขาพยายามเอาใจประเทศในกลุ่มนั้นด้วยการขายน้ำมันราคาถูกเป็นพิเศษให้ การขายเช่นนั้นมีค่าเท่ากับการใช้เงินของชาวเวเนซุเอลาที่ส่วนใหญ่มาจากการขายน้ำมัน เขาทำเช่นนั้นได้เพราะกิจการน้ำมันเป็นของรัฐซึ่งยึดมาจากบริษัทเอกชน 40 ปีแล้ว คณะกรรมการหรือผู้บริหารคนไหนไม่เห็นด้วยก็ถูกรัฐบาลไล่ออกไป
ชาเวซต้องการหาพันธมิตรในละตินอเมริกาและหมู่เกาะคาริบเบียนเพื่อร่วมหัวกันต่อต้านสหรัฐอเมริกา หัวจักรใหญ่ในการต่อต้านสหรัฐอเมริกามาได้แก่คิวบาซึ่งปกครองด้วยระบบคอมมิวนิสต์มาเป็นเวลากว่า 50 ปี แต่ตอนนี้ ฟิเดล คาสโตร ผู้นำของคิวบามาตั้งแต่ครั้งเริ่มเคลื่อนไหวร่วมกับเช กุวาราไปสู่ระบบคอมมิวนิสต์ หรือ แดงตัวพ่อ แก่เฒ่าจนไม่สามารถบริหารประเทศได้แล้ว ยิ่งกว่านั้น คิวบายากจนมากเนื่องจากไม่ได้รับความช่วยเหลือจากภายนอกเหมือนเมื่อครั้งสหภาพโซเวียตยังไม่ล่มสลายในปี 2534 ปัจจัยเหล่านั้นทำให้คิวบาไม่สามารถเป็นหัวหน้ากลุ่มต่อไปได้ ชาเวซต้องการเข้ามาเป็นหัวหน้าเคลื่อนไหว หรือแดงยุคใหม่ที่ต่อต้านสหรัฐอเมริกาแทนคาสโตร
เท่าที่ผ่านมา ประเทศในกลุ่มละตินอเมริกาและคาริบเบียนส่วนใหญ่เข้าใจดีว่า คิวบาและชาเวซเป็นคอมมิวนิสต์ หรือแดงหลงยุคจึงไม่เข้าไปร่วมเคลื่อนไหวนอกจากจะหลอกใช้น้ำมันราคาถูกและป้อนลูกยอให้ชาเวซรู้สึกอิ่มใจไปเรื่อยๆ
ผู้นำของประเทศเหล่านั้นมีท่าทีเปลี่ยนไปจากในสมัยก่อนซึ่งเมื่อเกิดปัญหาก็ยึดการโทษสหรัฐอเมริกาวเป็นข้ออ้าง แต่ตอนนี้ชาวละตินอเมริกันส่วนใหญ่เข้าใจแล้วว่าต้นตอของปัญหาในละตินอเมริกาคือชาวละตินอเมริกันนั่นแหละ ย้อนไป 20 ปีหนังสือในแนวตำหนิชาวละตินอเมริกันด้วยกันเองจึงขายดีเป็นเทน้ำเทท่าแทนที่จะถูกเผา หรือผู้เขียนถูกทำร้าย หนังสือภาษาสเปนที่เขียนโดยชาวละตินอเมริกันสามคนเล่มนั้นต่อมาได้รับการแปลเป็นภาษาอังกฤษว่า Guide to the Perfect Latin American Idiot หรือ “แนะนำชาวละตินอเมริกันปัญญาอ่อน” ซึ่งผมได้ทำบทคัดย่อภาษาไทยไว้และอาจเข้าไปอ่านได้ที่ www.nidambe11.net/ekonomiz/2006q3/2006september11p2.htm ความเข้าใจเป็นปัจจัยหนึ่งซึ่งทำให้หลายประเทศพัฒนารุดหน้าไปมากแทนที่จะจมปลักอยู่เช่นเวเนซุเอลา หรือยากจนลงแบบคิวบา
ปัญหาของเวเนซุเอลามีมานานและฝังลึกลงไปชนิดถึงก้นบึ้งทีเดียว ตัวเลขขององค์กรความโปร่งใสสากลที่แสดงถึงความฉ้อฉลแบบเข้ากระดูกดำนั้น บ่งบอกถึงความยากที่ใครจะเข้ามาแก้ปัญหาได้ในระยะเวลาอันสั้น ชาเวซใช้รายได้จำนวนมหาศาลจากการขายน้ำมันเพื่อช่วยเหลือคนจนซึ่งเป็นผลดีต่อทั้งตัวเขาและคนจนเหล่านั้น เขาจึงมีคนอาลัยมากมายเมื่อเขาตายเมื่อสัปดาห์ที่แล้ว แต่ในขณะเดียว เขาก็ผลาญทรัพยากรนั้นแบบผิดทางอย่างน่าเสียดายผ่านการขายน้ำมันราคาถูกเมื่อได้รับลูกยอจากเพื่อนบ้าน
นอกจากนั้น เขายังขายน้ำมันในราคาที่ต่ำที่สุดในโลกให้ชาวเวเนซุเอลาผลาญกันอย่างเมามันอีกด้วย เขาคงลืมเรื่องการประหยัดน้ำมันไว้ใช้ในวันข้างหน้าโดยใช้การตั้งราคาสูงๆ เช่น นอร์เวย์ซึ่งมีน้ำมันมากที่สุดประเทศหนึ่ง แต่ขายให้ประชาชนด้วยราคาที่สูงที่สุดในโลกถึงราว 80 บาทต่อลิตร ในขณะที่เวเนซุเอลาขายให้ประชาชนด้วยราคาที่ต่ำที่สุดในโลกคือไม่ถึง 1 บาทต่อลิตร นอกจากนั้น เขายังไม่ส่งเสริมกองทุนมั่งคั่งแห่งชาติที่บรรดาผู้ส่งออกน้ำมันฉลาดๆ มักตั้งขึ้นเพื่อออมรายได้ไว้ให้คนรุ่นหลังอีกด้วย
การขาดรายได้ที่ควรจะได้จากการขายน้ำมัน แต่ในขณะเดียวกันก็เพิ่มการใช้จ่ายเพื่อเอาใจประชาชนและประเทศเพื่อนบ้านนำไปสู่การขาดเงินสำหรับลงทุนในปัจจัยพื้นฐานต่างๆ สำหรับที่จะปูทางไปสู่การพัฒนา เวเนซุเอลาเป็นหนี้สินเพิ่มขึ้นและยังต้องนำเข้าอาหารทั้งที่ภูมิประเทศเหมาะแก่การทำเกษตรกรรมอย่างยิ่ง การบริหารจัดการที่ไม่เหมาะสมก่อให้เกิดปัญหาเงินเฟ้ออย่างต่อเนื่อง เวเนซุเอลาต้องลดค่าเงินเป็นประจำซึ่งล่าสุดทำเมื่อไม่กี่สัปดาห์มานี้ถึง 32% แต่นั่นก็ยังไม่ใกล้กับอัตราที่ประชาชนซื้อขายเงินตรากันในตลาดมืด ที่เป็นเช่นนั้นเพราะประชาชนขาดความเชื่อมั่นในการบริหารจัดการประเทศและมักสะสมเงินตราต่างประเทศไว้และขนออกไปนอกประเทศเมื่อมีโอกาส
ในสภาพเช่นนี้ใครที่ขึ้นมาเป็นประธานาธิบดีแทนชาเวซย่อมจะมีโจทย์หินข้อใหญ่ที่หาคำตอบให้ชาวเวเนซุเอลาพอใจได้ยากมาก นอกจากนั้น การที่จะป้องกันมิให้เวเนซุเอลาล้มละลายอีกครั้งก็จะยังอยู่ในสภาพลูกผีลูกคน
เราได้บทเรียนอะไรจากการเป็นและการตายของฮูโก ชาเวซ?
คำถามนี้คงมีคำตอบหลากหลายซึ่งอาจหาอ่านและฟังได้จากสื่อต่างๆ คำตอบจะเป็นอย่างไรขึ้นอยู่กับจุดยืนของผู้ตอบ สำหรับผมซึ่งได้ศึกษาประวัติของการพัฒนา เวเนซุเอลา อาร์เจนตินา ประเทศในกลุ่มละตินอเมริกาและประเทศกำลังพัฒนาจำนวนมาก อยากจะสรุปดังนี้
คำสาปของทรัพยากรมิใช่เกิดขึ้นเพราะการมีทรัพยากร หากเกิดขึ้นเพราะคนมีความฉ้อฉลและอวิชชา ความฉ้อฉลเป็นตัวสร้างปัญหาหมายเลขหนึ่งซึ่งต้องแก้ให้ได้ก่อน มิฉะนั้น การทำอะไรต่อไปจะไม่ได้ผลดีสมกับที่ควรจะได้ การโทษคนอื่นนั้นง่าย มันมักทำให้นักการเมืองเอาตัวรอดได้โดยเฉพาะในสังคมที่มีประชาชนโง่เขลา แต่มันไม่ก่อให้เกิดประโยชน์ นโยบายประชานิยมแบบเลวร้ายยังใช้ได้ผลในการสร้างความนิยมให้แก่นักการเมือง แต่นโยบายแนวนี้ไม่มีทางก่อให้เกิดการพัฒนาที่มั่นคง ตรงกันข้าม มันมักนำไปสู่ความล่มสลายหายนะ ความฝันที่จะใช้น้ำมันราคาถูกเพราะตัวเองผลิตได้เป็นข้ออ้างที่มีแต่ทางนำไปสู่ความเสียหาย และสุดท้าย การใส่เสื้อแดงเช่นฮูโก ชาเวซออกมาท้าทายระบบตลาดเสรีที่มีความฉ้อฉลต่ำเป็นความหลงยุคอันน่าบัดสี มันจะมีผลไม่ต่างกับความพยายามถ่มน้ำลายรดฟ้าซึ่งหน้าของผู้ถ่มนั่นแหละจะแปดเปื้อน
แม้จะกระทำไม่สำเร็จและถูกจำคุก แต่เขาได้รับการปลดปล่อยออกมาในเวลาไม่นานและกระโดดเข้าสู่วงการเมืองตามกระบวนการรัฐธรรมนูญทันที ในการเลือกตั้งปี 2541 เขาเอาชนะคู่แข่งได้บนฐานของการให้คำมั่นสัญญาว่าจะช่วยคนจนซึ่งมีอยู่กว่าครึ่งของประเทศและการโจมตีความฉ้อฉลซึ่งมีอยู่ในสังคมเวเนซุเอลาชนิดเข้ากระดูกดำ
(เมืองไทยที่ว่ามีความฉ้อฉลสูงนั้น เมื่อเทียบกับเวเนซุเอลาแล้วอาจเรียกได้ว่าขาวสะอาด หากดูจากดัชนีชี้วัดความฉ้อฉลปี 2555 ขององค์กรความโปร่งใสสากลซึ่งครอบคลุม 176 ประเทศโดยประเทศที่ไม่มีความฉ้อฉลได้รับคะแนนเต็ม 10 ไทยได้ 3.7 คะแนนซึ่งเป็นลำดับที่ 88 เวเนซุเอลาได้ 1.9 คะแนนซึ่งเป็นลำดับที่ 165 ลำดับที่ 1 ได้แก่ เดนมาร์ก ฟินแลนด์ และนิวซีแลนด์ ซึ่งได้คะแนน 9.0 เท่ากัน ลำดับสุดท้ายได้แก่อัฟกานิสถาน เกาหลีเหนือ และโซมาเลียซึ่งได้ 0.8 คะแนนเท่ากัน)
ชาเวซครองอำนาจมาตั้งแต่ปี 2541 การตายของเขาด้วยโรคมะเร็งเมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมาด้วยอายุเพียง 58 ปีและกำลังมีอำนาจล้นฟ้านำมาซึ่งความอาลัยของผู้ที่ได้รับประโยชน์จากนโยบายของเขา พร้อมกันนั้นก็เกิดการถกเถียงกันอย่างเข้มข้นอีกครั้งเกี่ยวกับบทบาทของเขาในหลายแง่มุม
คงเป็นที่ทราบดีกันแล้วว่า เวเนซุเอลาตั้งอยู่ในทวีปอเมริกาใต้ มีประชากรราว 29 ล้านคน มีทรัพยากรหลากหลาย มีน้ำมันปิโตรเลียมและก๊าซธรรมชาติปริมาณมหาศาล เคยส่งออกน้ำมันมากที่สุดในโลกและเป็นประเทศร่วมก่อตั้งองค์การผู้ส่งออกน้ำมัน (OPEC) ที่เคยมีอำนาจล้นฟ้า แต่อาจไม่เป็นที่ทราบกันอย่างกว้างขวางนักว่าเพราะอะไรชาวเวเนซุเอลากว่าครึ่งประเทศจึงยากจน หรือเพราะอะไรเวเนซุเอลาจึงตกอยู่ในกระบวนการที่มักเรียกกันว่า “ยิ่งพัฒนายิ่งจน” คำตอบหนึ่งสำหรับปริศนาข้อนี้มีอยู่ในหนังสือชื่อ เล่าเรื่องเมืองน้ำมัน ซึ่งผมพิมพ์ออกมาเมื่อปี 2545 และอาจดึงออกมาอ่านได้จากเว็บไซต์ www.OpenBase.in.th
คำตอบนั้นอาจสรุปเป็นวลีสั้นๆ ซึ่งเป็นที่รับรู้กันในวงการนักพัฒนาว่า “คำสาปของทรัพยากร” (Resource Curse)
ในกรณีของเวเนซุเอลา ทรัพยากรได้แก่น้ำมันปิโตรเลียมซึ่งคนส่วนใหญ่มองกันว่าถ้าประเทศใดมีมาก ประเทศนั้นย่อมร่ำรวย แต่ความจริงหาเป็นเช่นนั้นไม่ หากคนเหล่านั้นได้ติดตามความเป็นไปในบรรดาประเทศสมาชิก หรือเคยเป็นสมาชิก 13 ประเทศของ OPEC อย่างละเอียดอาจพบว่า กว่าครึ่งอาจเข้าข่ายที่มีปัญหาจำพวกยิ่งพัฒนายิ่งจน เช่น ไนจีเรีย อัลจีเรีย ลิเบีย อิหร่าน อิรัก เอกวาดอร์ กาบอง และเวเนซุเอลา ปัจจัยที่ก่อให้เกิดคำสาปของทรัพยากรในประเทศเหล่านั้นมักประกอบด้วยความฉ้อฉลที่สูงมาก การใช้รายได้จากการขายทรัพยากรแบบสุรุ่ยสุร่าย และการดำเนินนโยบายที่ไม่เหมาะสมกับสภาพเศรษฐกิจและสังคมของตนเอง
คำสาปของการมีน้ำมันปิโตรเลียมจำนวนมากมิใช่ของใหม่ อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรเหมืองแร่และน้ำมันของเวเนซุเอลา ฮวน พาโบล เฟเรซ อินฟองโซ ผู้เป็นหัวจักรใหญ่ในการขับเคลื่อนให้เกิด OPEC ได้เตือนไว้ตั้งแต่สมัยเวเนซุเอลายังร่ำรวยด้วยคำที่เป็นอมตะว่า น้ำมันปิโตรเลียมเป็น “อุจจาระของปีศาจ” (Devil’s Excrement)
สำหรับผูที่ไม่ค่อยได้อ่านประวัติศาสตร์ หรือติดตามวิวัฒนาการด้านละตินอเมริกานัก ขอเรียนว่า การชนะการเลือกตั้งในปี 2541 ของชาเวชตามด้วยวิวัฒนาการในเวเนซุเอลาในเวลาต่อมามีส่วนคล้ายกับการเลือกตั้งในอาร์เจนตินาเมื่อปี 2459
ย้อนไปในสมัยก่อนที่คนไทยจะรู้ว่าอาร์เจนตินาเป็นต้นแบบของการใช้นโยบายประชานิยม อาร์เจนตินาร่ำรวยมากจากภาคเกษตรกรรมที่ทำไร่และการปศุสัตว์ขนาดยักษ์ เจ้าของที่ดินผืนใหญ่ๆ ร่ำรวยมหาศาลและควบคุมกระบวนการเมืองและเศรษฐกิจแบบแทบครบวงจร อย่างไรก็ตาม ในตอนนั้นอาร์เจนตินามีรัฐธรรมนูญแนวประชาธิปไตยคล้ายของสหรัฐอเมริกา ฉะนั้น ก่อนการเลือกตั้งปี 2459 นักการเมืองหัวใสชื่อ ฮิโปลิโต อิริโกเยน ก็ให้คำมั่นสัญญาแก่ชาวอาร์เจนตินาว่าจะช่วยเหลือคนจนเต็มที่หากเขาได้เป็นประธานาธิบดีจริงๆ ผลปรากฏว่าเขาชนะการเลือกตั้ง นั่นเป็นเสมือนจุดเริ่มต้นของการนำอาร์เจนตินาเข้าสู่ทางประชานิยมซึ่งพาไปสู่ความล่มจมในเวลาต่อมา (รายละเอียดเรื่องภูมิหลังและการเดินเข้าสู่ทางแห่งความล่มจมนั้นมีอยู่ในหนังสือของผมชื่อ ประชานิยม: ทางสู่ความหายนะ)
ความแตกต่างระหว่างอาร์เจนตินาในตอนนั้นกับเวเนซุเอลาในตอนก่อนชาเวซขึ้นคุมอำนาจคือ อาร์เจนตินาร่ำรวยและมีเงินสำรองจำนวนมหาศาล ส่วนเวเนซุเอลามีน้ำมันกับหนี้กองใหญ่
หลังชนะการเลือกตั้ง ชาเวซก็เดินตามทางของอาร์เจนตินาทันที นั่นคือ ใช้นโยบายลดแลกแจกแถมทุกอย่างรวมทั้งทางด้านการรักษาพยาบาล การศึกษา บ้านเอื้ออาทร สวัสดิการสังคมและน้ำมันในราคาที่ต่ำกว่าคนทั้งโลกใช้กัน
นโยบายเหล่านั้นสร้างความนิยมในตัวเขาสูงมากจากผู้ได้รับประโยชน์ ต่อมาเขาสามารถกดดันให้นักการเมืองในเครือข่ายเปลี่ยนรัฐธรรมนูญเพื่อให้เขาสืบทอดอำนาจติดต่อกันได้แบบไม่มีข้อจำกัด เขาดำรงตำแหน่งมาเป็นเวลา 15 ปีและหากไม่ตายคงจะอยู่ได้ต่อไปอีกนานเพราะเขาได้เข้าไปวางฐานทางการเมืองไว้ในทุกภาคส่วนของสังคมแม้แต่ในกระบวนการของศาลยุติธรรม
ชาเวซมิได้หยุดแค่ความพยายามที่จะสร้างความนิยมให้ตัวเองกับชาวเวเนซุเอลาเท่านั้น เขายังพยายามจะเป็นผู้นำของกลุ่มประเทศละตินอเมริกาและหมู่เกาะคาริบเบียนอีกด้วย เขาพยายามเอาใจประเทศในกลุ่มนั้นด้วยการขายน้ำมันราคาถูกเป็นพิเศษให้ การขายเช่นนั้นมีค่าเท่ากับการใช้เงินของชาวเวเนซุเอลาที่ส่วนใหญ่มาจากการขายน้ำมัน เขาทำเช่นนั้นได้เพราะกิจการน้ำมันเป็นของรัฐซึ่งยึดมาจากบริษัทเอกชน 40 ปีแล้ว คณะกรรมการหรือผู้บริหารคนไหนไม่เห็นด้วยก็ถูกรัฐบาลไล่ออกไป
ชาเวซต้องการหาพันธมิตรในละตินอเมริกาและหมู่เกาะคาริบเบียนเพื่อร่วมหัวกันต่อต้านสหรัฐอเมริกา หัวจักรใหญ่ในการต่อต้านสหรัฐอเมริกามาได้แก่คิวบาซึ่งปกครองด้วยระบบคอมมิวนิสต์มาเป็นเวลากว่า 50 ปี แต่ตอนนี้ ฟิเดล คาสโตร ผู้นำของคิวบามาตั้งแต่ครั้งเริ่มเคลื่อนไหวร่วมกับเช กุวาราไปสู่ระบบคอมมิวนิสต์ หรือ แดงตัวพ่อ แก่เฒ่าจนไม่สามารถบริหารประเทศได้แล้ว ยิ่งกว่านั้น คิวบายากจนมากเนื่องจากไม่ได้รับความช่วยเหลือจากภายนอกเหมือนเมื่อครั้งสหภาพโซเวียตยังไม่ล่มสลายในปี 2534 ปัจจัยเหล่านั้นทำให้คิวบาไม่สามารถเป็นหัวหน้ากลุ่มต่อไปได้ ชาเวซต้องการเข้ามาเป็นหัวหน้าเคลื่อนไหว หรือแดงยุคใหม่ที่ต่อต้านสหรัฐอเมริกาแทนคาสโตร
เท่าที่ผ่านมา ประเทศในกลุ่มละตินอเมริกาและคาริบเบียนส่วนใหญ่เข้าใจดีว่า คิวบาและชาเวซเป็นคอมมิวนิสต์ หรือแดงหลงยุคจึงไม่เข้าไปร่วมเคลื่อนไหวนอกจากจะหลอกใช้น้ำมันราคาถูกและป้อนลูกยอให้ชาเวซรู้สึกอิ่มใจไปเรื่อยๆ
ผู้นำของประเทศเหล่านั้นมีท่าทีเปลี่ยนไปจากในสมัยก่อนซึ่งเมื่อเกิดปัญหาก็ยึดการโทษสหรัฐอเมริกาวเป็นข้ออ้าง แต่ตอนนี้ชาวละตินอเมริกันส่วนใหญ่เข้าใจแล้วว่าต้นตอของปัญหาในละตินอเมริกาคือชาวละตินอเมริกันนั่นแหละ ย้อนไป 20 ปีหนังสือในแนวตำหนิชาวละตินอเมริกันด้วยกันเองจึงขายดีเป็นเทน้ำเทท่าแทนที่จะถูกเผา หรือผู้เขียนถูกทำร้าย หนังสือภาษาสเปนที่เขียนโดยชาวละตินอเมริกันสามคนเล่มนั้นต่อมาได้รับการแปลเป็นภาษาอังกฤษว่า Guide to the Perfect Latin American Idiot หรือ “แนะนำชาวละตินอเมริกันปัญญาอ่อน” ซึ่งผมได้ทำบทคัดย่อภาษาไทยไว้และอาจเข้าไปอ่านได้ที่ www.nidambe11.net/ekonomiz/2006q3/2006september11p2.htm ความเข้าใจเป็นปัจจัยหนึ่งซึ่งทำให้หลายประเทศพัฒนารุดหน้าไปมากแทนที่จะจมปลักอยู่เช่นเวเนซุเอลา หรือยากจนลงแบบคิวบา
ปัญหาของเวเนซุเอลามีมานานและฝังลึกลงไปชนิดถึงก้นบึ้งทีเดียว ตัวเลขขององค์กรความโปร่งใสสากลที่แสดงถึงความฉ้อฉลแบบเข้ากระดูกดำนั้น บ่งบอกถึงความยากที่ใครจะเข้ามาแก้ปัญหาได้ในระยะเวลาอันสั้น ชาเวซใช้รายได้จำนวนมหาศาลจากการขายน้ำมันเพื่อช่วยเหลือคนจนซึ่งเป็นผลดีต่อทั้งตัวเขาและคนจนเหล่านั้น เขาจึงมีคนอาลัยมากมายเมื่อเขาตายเมื่อสัปดาห์ที่แล้ว แต่ในขณะเดียว เขาก็ผลาญทรัพยากรนั้นแบบผิดทางอย่างน่าเสียดายผ่านการขายน้ำมันราคาถูกเมื่อได้รับลูกยอจากเพื่อนบ้าน
นอกจากนั้น เขายังขายน้ำมันในราคาที่ต่ำที่สุดในโลกให้ชาวเวเนซุเอลาผลาญกันอย่างเมามันอีกด้วย เขาคงลืมเรื่องการประหยัดน้ำมันไว้ใช้ในวันข้างหน้าโดยใช้การตั้งราคาสูงๆ เช่น นอร์เวย์ซึ่งมีน้ำมันมากที่สุดประเทศหนึ่ง แต่ขายให้ประชาชนด้วยราคาที่สูงที่สุดในโลกถึงราว 80 บาทต่อลิตร ในขณะที่เวเนซุเอลาขายให้ประชาชนด้วยราคาที่ต่ำที่สุดในโลกคือไม่ถึง 1 บาทต่อลิตร นอกจากนั้น เขายังไม่ส่งเสริมกองทุนมั่งคั่งแห่งชาติที่บรรดาผู้ส่งออกน้ำมันฉลาดๆ มักตั้งขึ้นเพื่อออมรายได้ไว้ให้คนรุ่นหลังอีกด้วย
การขาดรายได้ที่ควรจะได้จากการขายน้ำมัน แต่ในขณะเดียวกันก็เพิ่มการใช้จ่ายเพื่อเอาใจประชาชนและประเทศเพื่อนบ้านนำไปสู่การขาดเงินสำหรับลงทุนในปัจจัยพื้นฐานต่างๆ สำหรับที่จะปูทางไปสู่การพัฒนา เวเนซุเอลาเป็นหนี้สินเพิ่มขึ้นและยังต้องนำเข้าอาหารทั้งที่ภูมิประเทศเหมาะแก่การทำเกษตรกรรมอย่างยิ่ง การบริหารจัดการที่ไม่เหมาะสมก่อให้เกิดปัญหาเงินเฟ้ออย่างต่อเนื่อง เวเนซุเอลาต้องลดค่าเงินเป็นประจำซึ่งล่าสุดทำเมื่อไม่กี่สัปดาห์มานี้ถึง 32% แต่นั่นก็ยังไม่ใกล้กับอัตราที่ประชาชนซื้อขายเงินตรากันในตลาดมืด ที่เป็นเช่นนั้นเพราะประชาชนขาดความเชื่อมั่นในการบริหารจัดการประเทศและมักสะสมเงินตราต่างประเทศไว้และขนออกไปนอกประเทศเมื่อมีโอกาส
ในสภาพเช่นนี้ใครที่ขึ้นมาเป็นประธานาธิบดีแทนชาเวซย่อมจะมีโจทย์หินข้อใหญ่ที่หาคำตอบให้ชาวเวเนซุเอลาพอใจได้ยากมาก นอกจากนั้น การที่จะป้องกันมิให้เวเนซุเอลาล้มละลายอีกครั้งก็จะยังอยู่ในสภาพลูกผีลูกคน
เราได้บทเรียนอะไรจากการเป็นและการตายของฮูโก ชาเวซ?
คำถามนี้คงมีคำตอบหลากหลายซึ่งอาจหาอ่านและฟังได้จากสื่อต่างๆ คำตอบจะเป็นอย่างไรขึ้นอยู่กับจุดยืนของผู้ตอบ สำหรับผมซึ่งได้ศึกษาประวัติของการพัฒนา เวเนซุเอลา อาร์เจนตินา ประเทศในกลุ่มละตินอเมริกาและประเทศกำลังพัฒนาจำนวนมาก อยากจะสรุปดังนี้
คำสาปของทรัพยากรมิใช่เกิดขึ้นเพราะการมีทรัพยากร หากเกิดขึ้นเพราะคนมีความฉ้อฉลและอวิชชา ความฉ้อฉลเป็นตัวสร้างปัญหาหมายเลขหนึ่งซึ่งต้องแก้ให้ได้ก่อน มิฉะนั้น การทำอะไรต่อไปจะไม่ได้ผลดีสมกับที่ควรจะได้ การโทษคนอื่นนั้นง่าย มันมักทำให้นักการเมืองเอาตัวรอดได้โดยเฉพาะในสังคมที่มีประชาชนโง่เขลา แต่มันไม่ก่อให้เกิดประโยชน์ นโยบายประชานิยมแบบเลวร้ายยังใช้ได้ผลในการสร้างความนิยมให้แก่นักการเมือง แต่นโยบายแนวนี้ไม่มีทางก่อให้เกิดการพัฒนาที่มั่นคง ตรงกันข้าม มันมักนำไปสู่ความล่มสลายหายนะ ความฝันที่จะใช้น้ำมันราคาถูกเพราะตัวเองผลิตได้เป็นข้ออ้างที่มีแต่ทางนำไปสู่ความเสียหาย และสุดท้าย การใส่เสื้อแดงเช่นฮูโก ชาเวซออกมาท้าทายระบบตลาดเสรีที่มีความฉ้อฉลต่ำเป็นความหลงยุคอันน่าบัดสี มันจะมีผลไม่ต่างกับความพยายามถ่มน้ำลายรดฟ้าซึ่งหน้าของผู้ถ่มนั่นแหละจะแปดเปื้อน