วานนี้(5 มี.ค.56) นายปานเทพ พัวพงษ์พันธ์ โฆษกกลุ่มพันธมิตรฯ ได้โพสต์ข้อความบนเฟซบุ๊กส่วนตัวกรณีที่นายเจริญ จรรย์โกมล รองประธานสภาผู้แทนราษฎร ได้เชิญหลายกลุ่มการเมืองเข้าหารือเกี่ยวกับการออก พ.ร.บ.นิรโทษกรรม โดยระบุว่า " ผมได้รับมอบหมายจากแกนนำพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยให้ไปยื่นจดหมายถึง นายเจริญ จรรย์โกมล รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่หนึ่ง ต่อกรณีการเชิญ 4 ฝ่าย (พท. ปชป. นปช. พธม.)หารือเรื่อง พรบ.นิรโทษกรรม ในวันที่ 6 มีนาคม 2556 เวลา 10.00 น. โดยเนื้อหาในจดหมายจะแสดง"จุดยืน" และ "เงื่อนไข"ในการประชุมปรึกษาหารือที่จะมีขึ้นในวันที่ 11 มีนาคม 2556 นี้ ขอเชิญผู้สื่อข่าวทุกท่านด้วยครับ "
อนึ่ง ข้อความในเอกสารจากนายเจริญ ถึงนายปานเทพในครั้งนี้ ระบุว่า "ด้วยกระผมพิจารณาเห็นว่าในปัจจุบันมีการแสดงความคิดเห็นและให้ความสนใจเกี่ยวกับกรณีการออกพระราชบัญญัตินิรโทษกรรมของบุคคลในสังคมทั่วไป ซึ่งถือว่าเป็นเรื่องที่สภาผู้แทนราษฎรและผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้อง สมควรที่จะได้มีการพิจารณาและหาหนทางร่วมกันในกรณีดังกล่าว
ดังนั้น กระผมจึงเห็นว่าท่านเป็นบุคคลสำคัญสมควรที่จะได้ร่วมพิจารณาปรึกษาหารือ และให้ความเห็นเกี่ยวในประเด็นการออกพระราชบัญญัตินิรโทษกรรม และในประเด็นอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง อันจะทำให้การออกพระราชบัญญัติดังกล่าวได้รับการยอมรับจากสังคม กระผมจึงขอเรียนเชิญท่านเข้าร่วมในการหารือดังกล่าวในวันอังคารที่ 11 มีนาคม 2556 เวลา 10.00 นาฬิกา ณ ห้องประชุมคณะกรรมธิการ หมายเลข 4 ชั้น 2 อาคารรัฐสภา 1
จึงเรียนมาเพื่อโปรดทราบและขอเรียนเชิญท่านเข้าร่วมหารือในวัน เวลา และสถานที่ดังกล่าวข้างต้น ขอแสดงความนับถือ นายเจริญ จรรย์โกมล รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่หนึ่ง"
นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ ประธานวิปฝ่ายค้าน กล่าวว่า เป็นไปตามที่ตนได้วิเคราะห์ไว้ว่า หลังการเลือกตั้งผู้ว่าฯกทม. รัฐบาลจะต้องมีการเดินหน้าทันที เนื่องจากรัฐบาลรู้ว่าชาวกรุงเทพฯส่วนใหญ่ไม่เห็นด้วยกับกฎหมายล้างผิดคนโกง แต่เมื่อผลเลือกตั้งออกมา รัฐบาลก็ไม่สามารถนำคะแนนเสียงไปอ้างความชอบธรรมได้ ส่วนจุดยืนของฝ่ายค้านยังเหมือนเดิม ไม่สนับสนุนให้นิรโทษกรรมผู้ที่ความผิดเกี่ยวกับคดีอาญา คดีหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ และคดีทุจริต
สิ่งที่ห่วงกังลงตอนนี้คือ รัฐบาลได้เตรียมกฎหมายไว้แล้ว 2 ฉบับ เอาไว้ล้างผิดสำหรับผู้ชุมนุม และอีกฉบับครอบคลุมถึงระดับแกนนำ และฝ่ายอื่นที่เกี่ยวข้อง มันเป็นสิ่งที่เห็นได้ชัดสำหรับผู้ที่ติดตามสถานการณ์อย่างใกล้ชิดว่า เมื่อทำฉบับที่หนึ่งได้ก็จะนำไปสู่ฉบับที่สอง เป็นการได้คืบจะเอาศอกเพื่อเดินไปสู่เป้าหมายการล้างผิดคนโกง และจะทำให้บ้านเมืองเข้าสู่จุดวิกฤติอีกครั้ง จากฝ่ายไม่เห็นด้วยที่จะออกมาต่อต้าน และอยากถามว่า นายเจริญ อยู่ในฐานะอะไร เพราะก่อนหน้านี้เคยบอกว่าตัวเองไม่เกี่ยวข้อง
“การเลือกตั้งผู้ว่าฯกทม.เป็นเงื่อเวลาสำคัญที่รัฐบาลนำมาใช้เป็นข้ออ้าง ทั้งในเรื่องการนิรโทษกรรม และการแถลงผลงาน 1 ปี ทั้งที่เลยมาแล้ว 6 เดือน ที่ระบุว่าขอรอการเลือกตั้งผู้ว่าฯกทม. จะเสร็จก่อน เพราะหากชนะการเลือกตั้งก็จะนำคะแนนเสียงเลือกตั้งไปเป็นข้ออ้างว่า คนกทม.สนับสนุน แต่เมื่อผลเลือกตั้งออกมาในทางตรงกันข้าม ก็คงจะอ้างไม่ได้แล้ว" ประธานวิปฝ่ายค้าน กล่าว
นายณัฐฎ์ บรรทัดฐาน รองโฆษกพรรคประชาธิปัตย์ แถลงภายหลังการประชุมส.ส.พรรคว่า ที่ประชุมได้พิจารณาคำเชิญไปหารือเกี่ยวกับการออกกฎหมายนิรโทษกรรมของ นายเจริญ จรรย์โกมล รองประธานสภาฯว่า พรรคมีข้อสรุปว่าจะไม่เข้าร่วมการหารือดังกล่าวด้วยเหตุผลว่าพรรคมีจุดยืนที่ชัดเจนเกี่ยวกับเรื่องนี้ว่าจำกัดขอบเขตการนิรโทษกรรมเฉพาะผู้ที่ละเมิด พ.ร.ก.ฉุกเฉินไม่เกี่ยวกับผู้ทำผิดคดีอาญา และรัฐบาลก็ยังมีร่างเกี่ยวกับความปรองดอง นิรโทษกรรม ล้างผิด คาอยู่ถึง 4 ฉบับ ดังนั้นหากจะแสดงความจริงใจควรถอนร่างทั้งหมดออกก่อน
นอกจากนี้ยังเห็นว่าการเชิญกลุ่มต่าง ๆ ถือว่ายังไม่ครอบคลุมทุกส่วนที่ได้รับความเสียหายจากเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น จึงเห็นว่าเป็นเพียงการเชิญตัวแทนบางกลุ่มที่มีผลได้ผลเสียจากเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นเท่านั้น และไม่ห่วงว่าจะถูกกล่าวหาว่าพรรคขัดขวางความปรองดองเนื่องจากได้แสดงจุดยืนชัดเจนแล้วว่าพร้อมนิรโทษกรรมให้กับบุคคลที่ทำผิด พ.ร.ก.ฉุกเฉินแต่รักษาหลักการไม่นิรโทษกรรมคนทำผิดคดีอาญา
อนึ่ง ข้อความในเอกสารจากนายเจริญ ถึงนายปานเทพในครั้งนี้ ระบุว่า "ด้วยกระผมพิจารณาเห็นว่าในปัจจุบันมีการแสดงความคิดเห็นและให้ความสนใจเกี่ยวกับกรณีการออกพระราชบัญญัตินิรโทษกรรมของบุคคลในสังคมทั่วไป ซึ่งถือว่าเป็นเรื่องที่สภาผู้แทนราษฎรและผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้อง สมควรที่จะได้มีการพิจารณาและหาหนทางร่วมกันในกรณีดังกล่าว
ดังนั้น กระผมจึงเห็นว่าท่านเป็นบุคคลสำคัญสมควรที่จะได้ร่วมพิจารณาปรึกษาหารือ และให้ความเห็นเกี่ยวในประเด็นการออกพระราชบัญญัตินิรโทษกรรม และในประเด็นอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง อันจะทำให้การออกพระราชบัญญัติดังกล่าวได้รับการยอมรับจากสังคม กระผมจึงขอเรียนเชิญท่านเข้าร่วมในการหารือดังกล่าวในวันอังคารที่ 11 มีนาคม 2556 เวลา 10.00 นาฬิกา ณ ห้องประชุมคณะกรรมธิการ หมายเลข 4 ชั้น 2 อาคารรัฐสภา 1
จึงเรียนมาเพื่อโปรดทราบและขอเรียนเชิญท่านเข้าร่วมหารือในวัน เวลา และสถานที่ดังกล่าวข้างต้น ขอแสดงความนับถือ นายเจริญ จรรย์โกมล รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่หนึ่ง"
นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ ประธานวิปฝ่ายค้าน กล่าวว่า เป็นไปตามที่ตนได้วิเคราะห์ไว้ว่า หลังการเลือกตั้งผู้ว่าฯกทม. รัฐบาลจะต้องมีการเดินหน้าทันที เนื่องจากรัฐบาลรู้ว่าชาวกรุงเทพฯส่วนใหญ่ไม่เห็นด้วยกับกฎหมายล้างผิดคนโกง แต่เมื่อผลเลือกตั้งออกมา รัฐบาลก็ไม่สามารถนำคะแนนเสียงไปอ้างความชอบธรรมได้ ส่วนจุดยืนของฝ่ายค้านยังเหมือนเดิม ไม่สนับสนุนให้นิรโทษกรรมผู้ที่ความผิดเกี่ยวกับคดีอาญา คดีหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ และคดีทุจริต
สิ่งที่ห่วงกังลงตอนนี้คือ รัฐบาลได้เตรียมกฎหมายไว้แล้ว 2 ฉบับ เอาไว้ล้างผิดสำหรับผู้ชุมนุม และอีกฉบับครอบคลุมถึงระดับแกนนำ และฝ่ายอื่นที่เกี่ยวข้อง มันเป็นสิ่งที่เห็นได้ชัดสำหรับผู้ที่ติดตามสถานการณ์อย่างใกล้ชิดว่า เมื่อทำฉบับที่หนึ่งได้ก็จะนำไปสู่ฉบับที่สอง เป็นการได้คืบจะเอาศอกเพื่อเดินไปสู่เป้าหมายการล้างผิดคนโกง และจะทำให้บ้านเมืองเข้าสู่จุดวิกฤติอีกครั้ง จากฝ่ายไม่เห็นด้วยที่จะออกมาต่อต้าน และอยากถามว่า นายเจริญ อยู่ในฐานะอะไร เพราะก่อนหน้านี้เคยบอกว่าตัวเองไม่เกี่ยวข้อง
“การเลือกตั้งผู้ว่าฯกทม.เป็นเงื่อเวลาสำคัญที่รัฐบาลนำมาใช้เป็นข้ออ้าง ทั้งในเรื่องการนิรโทษกรรม และการแถลงผลงาน 1 ปี ทั้งที่เลยมาแล้ว 6 เดือน ที่ระบุว่าขอรอการเลือกตั้งผู้ว่าฯกทม. จะเสร็จก่อน เพราะหากชนะการเลือกตั้งก็จะนำคะแนนเสียงเลือกตั้งไปเป็นข้ออ้างว่า คนกทม.สนับสนุน แต่เมื่อผลเลือกตั้งออกมาในทางตรงกันข้าม ก็คงจะอ้างไม่ได้แล้ว" ประธานวิปฝ่ายค้าน กล่าว
นายณัฐฎ์ บรรทัดฐาน รองโฆษกพรรคประชาธิปัตย์ แถลงภายหลังการประชุมส.ส.พรรคว่า ที่ประชุมได้พิจารณาคำเชิญไปหารือเกี่ยวกับการออกกฎหมายนิรโทษกรรมของ นายเจริญ จรรย์โกมล รองประธานสภาฯว่า พรรคมีข้อสรุปว่าจะไม่เข้าร่วมการหารือดังกล่าวด้วยเหตุผลว่าพรรคมีจุดยืนที่ชัดเจนเกี่ยวกับเรื่องนี้ว่าจำกัดขอบเขตการนิรโทษกรรมเฉพาะผู้ที่ละเมิด พ.ร.ก.ฉุกเฉินไม่เกี่ยวกับผู้ทำผิดคดีอาญา และรัฐบาลก็ยังมีร่างเกี่ยวกับความปรองดอง นิรโทษกรรม ล้างผิด คาอยู่ถึง 4 ฉบับ ดังนั้นหากจะแสดงความจริงใจควรถอนร่างทั้งหมดออกก่อน
นอกจากนี้ยังเห็นว่าการเชิญกลุ่มต่าง ๆ ถือว่ายังไม่ครอบคลุมทุกส่วนที่ได้รับความเสียหายจากเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น จึงเห็นว่าเป็นเพียงการเชิญตัวแทนบางกลุ่มที่มีผลได้ผลเสียจากเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นเท่านั้น และไม่ห่วงว่าจะถูกกล่าวหาว่าพรรคขัดขวางความปรองดองเนื่องจากได้แสดงจุดยืนชัดเจนแล้วว่าพร้อมนิรโทษกรรมให้กับบุคคลที่ทำผิด พ.ร.ก.ฉุกเฉินแต่รักษาหลักการไม่นิรโทษกรรมคนทำผิดคดีอาญา