วานนี้(3 มี.ค.56) นายทวี ประจวบลาภ อธิบดีผู้พิพากษาศาลอาญา กล่าวถึงกรณีที่ศาลแพ่งมีคำพิพากษาให้บริษัท เทเวศประกันภัย ชดใช้ค่าสินไหมทดแทนกว่า 3 พันล้านบาท ให้กลับกลุ่มเซ็นทรัลฯจากกรณีที่เกิดเหตุไฟไหม้ห้างสรรพสินค้าเซ็นทรัลเวิลด์ ระหว่างการกระชับพื้นที่เมื่อ 19 พ.ค. 53 ของศอฉ. โดยระบุว่าไม่ใช่ก่อการร้ายแต่เป็นเพียงการจลาจลจึงอยู่ในเงื่อนไขกรมธรรม์ที่คุ้มครอง เนื่องจากคดีแพ่งที่ศาลแพ่งตัดสินไปนั้น เป็นกรณีที่เซ็นทรัลฯ ยื่นฟ้องบริษัทเทเวศประกันภัยแต่เพียงผู้เดียว ไม่ได้ยื่นฟ้องบุคคลที่ถูกฟ้องในคดีอาญา
โดยที่ศาลอาญามีอยู่ 2คดี คือคดีก่อการร้าย ซึ่งมีจำเลย 24 คน และมีแกนนำ นปช. อยู่ด้วย ส่วนอีกคดีเป็นจำเลยในคดีเผาห้างเซ็นทรัลเวิลด์ ข้อหาวางเพลิงเผาทรัพย์สินผู้อื่น ดังนั้นตามหลักกฎหมายเมื่อจำเลยในคดีแพ่งและจำเลยในคดีอาญาเป็นคนละคนกัน จึงไม่ผลผูกพันจำเลยในคดีอาญา อีกทั้งคำพิพากษาของศาลแพ่งก็ไม่ได้มีการกล่าวถึงจำเลยที่ถูกฟ้องในคดีอาญาเลย สรุปแล้วไม่มีผลต่อคำพิพากษาในคดีอาญาทั้ง 2 คดี
นายอำนวย คลังผา ประธานคณะกรรมการประสานพรรคร่วมรัฐบาล หรือ ประธานวิปรัฐบาล กล่าวถึงการบรรจุร่างกฎหมายที่อยู่ในความสนใจของประชาชนทั้งร่างพ.ร.บ.ปรองดอง ร่างพ.ร.บ.นิรโทษกรรม และร่างพ.ร.บ.กู้เงิน 2 ล้านล้านบาท เข้าสู่การพิจารณาของสภาว่า ขณะนี้ยังไม่มีการหารือถึงกฎหมายเหล่านั้นว่าจะนำเข้าสู่สภาเมื่อใด เพราะในเบื้องต้นยังมีกฎหมายค้างพิจารณากว่า 10 เรื่อง ที่ต้องทยอยพิจารณาให้แล้วเสร็จก่อน อีกทั้งยังมีกฎหมายที่ต้องเรียกประชุมร่วมส.ส. และ ส.ว. ตามมาตรา 190 อีกหลายเรื่องเช่นกัน สำหรับเรื่องพ.ร.บ.ปรองดอง เรื่องนิรโทษกรรม หรือแม้แต่พ.ร.บ.เงินกู้ ตนไม่แน่ใจว่าจะเช้าสมัยประชุมสภานี้ที่จะปิดในวันที่ 23 เม.ย.หรือไม่ หากเข้าก็จะทราบเรื่องก่อนประมาณ 1 สัปดาห์
นายวราเทพ รัตนากร รมต.ประจำสำนักนายกฯในฐานะคณะทำงานศึกษาการทำประชามติแก้ไขรัฐธรรมนูญ กล่าวถึงความคืบหน้าการศึกษาการทำประชามติเพื่อศึกษาการแก้ไขรัฐธรรมรูญมาตรา291ว่า คงต้องรอในส่วนของนายพงศ์เทพ เทพกาญจนา รองนายกรัฐมนตรี และรมว.ศึกษาธิการ หนึ่งในคณะทำงานที่ได้มอบหมายให้ 3 สถาบันการศึกษา ด้านนิติศาสตร์-รัฐศาสตร์ ของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และมหาวิทยาลัยรามคำแหง ไปศึกษาโครงสร้างการทำประชามติ ซึ่งจะครบกำหนด 60 วันในช่วงกลางมี.ค.นี้ จากนั้นจะนำผลการศึกษาที่ได้เข้าหารือทั้งในส่วนของคณะทำงานพรรคร่วมรัฐบาล เพื่อศึกษาการแก้ไขรัฐธรรมนูญมาตรา291 และคณะทำงานศึกษาการทำประชามติของรัฐบาลก่อนที่จะรายงานเข้าที่ประชุมคณะรัฐมนตรีเพื่อขอความคิดเห็น
ส่วนกรณีที่คณะทำงานส.ว.เลือกตั้งเพื่อพิจารณาแก้ไขรัฐธรรมนูญ ต้องการหารือร่วมกับคณะทำงานพรรคร่วมรัฐบาล เพื่อศึกษาการแก้ไขเพิ่มรัฐธรรมนูญมาตรา291 ที่จนถึงขณะนี้ยังไม่มีการประสานมา และการทำงานของคณะทำงานพรรคร่วมถือว่าจบแล้ว ที่ได้ข้อสรุปให้ทำประชามติ
ด้านนายโภคิน พลกุล ที่ปรึกษากฎหมายพรรคเพื่อไทย ในฐานะประธานคณะทำงานพรรคร่วมรัฐบาล เพื่อศึกษาการแก้ไขเพิ่มรัฐธรรมนูญมาตรา291 ว่ายังไม่มีการประสานงานเพื่อพูดคุย ขั้นตอนยังต้องรอ
นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฎ์ ประธานคณะกรรมการประสานงานพรรคร่วมฝ่ายค้าน กล่าวถึงกรณีที่ สว.เลือกตั้ง ระบุจะหารือกับคระทำงานพรรคร่วมรัฐบาล เพื่อศึกษาแนวทางการแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญ ปี 50 ที่มีนายโภคิน พลกุล เป็นประธาน เพื่อผลักดันให้มีการแก้ไขรัฐธรรมนูญ 50 เป็นรายมาตราว่า เหมือนที่ตนคาดการณ์ไว้ว่า หลังเลือกตั้งผู้ว่ากรุงเทพมหานคร(ผู้ว่าฯกทม.) คือหลังวันที่ 3 มี.ค.56 รัฐบาลจะมีความพยายามผลักดันอย่างน้อย 2 เรื่องคือ 1.กฎหมายนิรโทษกรรม และ 2.การแก้ไขรัฐธรรมนูญที่รัฐบาลต้องเดินหน้าต่อ โดยในกรณี ส.ว.เลือกตั้งนี้ ตนยังไม่ทราบในรายละเอียดว่าจะแก้อะไร มาตราไหน และมีเนื้อหาอย่างไร แต่ประเด็นสำคัญอยู่ที่ว่า ถ้าจะมีความพยายามเดินหน้าแก้ไข โดยจับมือกับรัฐบาลก็ต้องพิจารณาว่า เรื่องที่จะทำนี้เป็นประโยชน์ต่อส่วนรวม หรือส่วนตัว หรือทำเพื่อคนกลุ่มใดกลุ่มหนึ่งหรือไม่ โดยในชั้นนี้ตนไม่สามารถตอบล่วงหน้าได้ว่าจะเห็นด้วยหรือไม่ เพราะต้องขอดูในรายละเอียด สาระก่อน
จากนี้ตนจะจับตาเป็นพิเศษ หากเป็น ส.ว.เลือกตั้ง ก็เข้าใจว่า ความเห็นของ ส.ว.เลือกตั้งด้วยกันเอง ก็ยังมีความแตกต่างกันอยู่ แต่หากเป็น ส.ว.เลือกตั้งสายรัฐบาล ก็ชัดเจนว่ากรณีนี้ รัฐบาลอาจไม่ออกหน้าเอง แต่ให้ ส.ว.กลุ่มนี้ออกหน้าผลักดันเริ่มต้นไปก่อน ดังนั้นจำเป็นต้องเห็นรายละเอียดเนื้อหา เช่น ที่ระบุว่า จะขอแก้มาตรา 190 ในเรื่องการทำสัญญาต่างๆกับต่างประเทศ ซึ่งในอดีต รัฐบาลพ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกฯ ใช้อำนาจในการตัดสินใจไปทำสัญญาต่างๆกับต่างประเทศ ที่หลายกรณีเกิดคำถามว่า มีการเอื้อประโยชน์ให้กับธุรกิจกลุ่มใดกลุ่มหนึ่งหรือไม่ ดังนั้นรัฐธรรมนูญปี 50 มาตราดังกล่าวจึงกำหนดให้ต้องนำเรื่องมารายงานต่อรัฐสภารับทราบก่อน ซึ่งตนในฐานะประธานคณะกรรมการประสานงานพรรคร่วมฝ่ายค้าน ได้ติดตามใกล้ชิดอยู่แล้ว โดยยึดหลักว่า การแก้ไขกฎหมายใดๆต้องเป็นระโยชน์ต่อประเทศชาติ
โดยที่ศาลอาญามีอยู่ 2คดี คือคดีก่อการร้าย ซึ่งมีจำเลย 24 คน และมีแกนนำ นปช. อยู่ด้วย ส่วนอีกคดีเป็นจำเลยในคดีเผาห้างเซ็นทรัลเวิลด์ ข้อหาวางเพลิงเผาทรัพย์สินผู้อื่น ดังนั้นตามหลักกฎหมายเมื่อจำเลยในคดีแพ่งและจำเลยในคดีอาญาเป็นคนละคนกัน จึงไม่ผลผูกพันจำเลยในคดีอาญา อีกทั้งคำพิพากษาของศาลแพ่งก็ไม่ได้มีการกล่าวถึงจำเลยที่ถูกฟ้องในคดีอาญาเลย สรุปแล้วไม่มีผลต่อคำพิพากษาในคดีอาญาทั้ง 2 คดี
นายอำนวย คลังผา ประธานคณะกรรมการประสานพรรคร่วมรัฐบาล หรือ ประธานวิปรัฐบาล กล่าวถึงการบรรจุร่างกฎหมายที่อยู่ในความสนใจของประชาชนทั้งร่างพ.ร.บ.ปรองดอง ร่างพ.ร.บ.นิรโทษกรรม และร่างพ.ร.บ.กู้เงิน 2 ล้านล้านบาท เข้าสู่การพิจารณาของสภาว่า ขณะนี้ยังไม่มีการหารือถึงกฎหมายเหล่านั้นว่าจะนำเข้าสู่สภาเมื่อใด เพราะในเบื้องต้นยังมีกฎหมายค้างพิจารณากว่า 10 เรื่อง ที่ต้องทยอยพิจารณาให้แล้วเสร็จก่อน อีกทั้งยังมีกฎหมายที่ต้องเรียกประชุมร่วมส.ส. และ ส.ว. ตามมาตรา 190 อีกหลายเรื่องเช่นกัน สำหรับเรื่องพ.ร.บ.ปรองดอง เรื่องนิรโทษกรรม หรือแม้แต่พ.ร.บ.เงินกู้ ตนไม่แน่ใจว่าจะเช้าสมัยประชุมสภานี้ที่จะปิดในวันที่ 23 เม.ย.หรือไม่ หากเข้าก็จะทราบเรื่องก่อนประมาณ 1 สัปดาห์
นายวราเทพ รัตนากร รมต.ประจำสำนักนายกฯในฐานะคณะทำงานศึกษาการทำประชามติแก้ไขรัฐธรรมนูญ กล่าวถึงความคืบหน้าการศึกษาการทำประชามติเพื่อศึกษาการแก้ไขรัฐธรรมรูญมาตรา291ว่า คงต้องรอในส่วนของนายพงศ์เทพ เทพกาญจนา รองนายกรัฐมนตรี และรมว.ศึกษาธิการ หนึ่งในคณะทำงานที่ได้มอบหมายให้ 3 สถาบันการศึกษา ด้านนิติศาสตร์-รัฐศาสตร์ ของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และมหาวิทยาลัยรามคำแหง ไปศึกษาโครงสร้างการทำประชามติ ซึ่งจะครบกำหนด 60 วันในช่วงกลางมี.ค.นี้ จากนั้นจะนำผลการศึกษาที่ได้เข้าหารือทั้งในส่วนของคณะทำงานพรรคร่วมรัฐบาล เพื่อศึกษาการแก้ไขรัฐธรรมนูญมาตรา291 และคณะทำงานศึกษาการทำประชามติของรัฐบาลก่อนที่จะรายงานเข้าที่ประชุมคณะรัฐมนตรีเพื่อขอความคิดเห็น
ส่วนกรณีที่คณะทำงานส.ว.เลือกตั้งเพื่อพิจารณาแก้ไขรัฐธรรมนูญ ต้องการหารือร่วมกับคณะทำงานพรรคร่วมรัฐบาล เพื่อศึกษาการแก้ไขเพิ่มรัฐธรรมนูญมาตรา291 ที่จนถึงขณะนี้ยังไม่มีการประสานมา และการทำงานของคณะทำงานพรรคร่วมถือว่าจบแล้ว ที่ได้ข้อสรุปให้ทำประชามติ
ด้านนายโภคิน พลกุล ที่ปรึกษากฎหมายพรรคเพื่อไทย ในฐานะประธานคณะทำงานพรรคร่วมรัฐบาล เพื่อศึกษาการแก้ไขเพิ่มรัฐธรรมนูญมาตรา291 ว่ายังไม่มีการประสานงานเพื่อพูดคุย ขั้นตอนยังต้องรอ
นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฎ์ ประธานคณะกรรมการประสานงานพรรคร่วมฝ่ายค้าน กล่าวถึงกรณีที่ สว.เลือกตั้ง ระบุจะหารือกับคระทำงานพรรคร่วมรัฐบาล เพื่อศึกษาแนวทางการแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญ ปี 50 ที่มีนายโภคิน พลกุล เป็นประธาน เพื่อผลักดันให้มีการแก้ไขรัฐธรรมนูญ 50 เป็นรายมาตราว่า เหมือนที่ตนคาดการณ์ไว้ว่า หลังเลือกตั้งผู้ว่ากรุงเทพมหานคร(ผู้ว่าฯกทม.) คือหลังวันที่ 3 มี.ค.56 รัฐบาลจะมีความพยายามผลักดันอย่างน้อย 2 เรื่องคือ 1.กฎหมายนิรโทษกรรม และ 2.การแก้ไขรัฐธรรมนูญที่รัฐบาลต้องเดินหน้าต่อ โดยในกรณี ส.ว.เลือกตั้งนี้ ตนยังไม่ทราบในรายละเอียดว่าจะแก้อะไร มาตราไหน และมีเนื้อหาอย่างไร แต่ประเด็นสำคัญอยู่ที่ว่า ถ้าจะมีความพยายามเดินหน้าแก้ไข โดยจับมือกับรัฐบาลก็ต้องพิจารณาว่า เรื่องที่จะทำนี้เป็นประโยชน์ต่อส่วนรวม หรือส่วนตัว หรือทำเพื่อคนกลุ่มใดกลุ่มหนึ่งหรือไม่ โดยในชั้นนี้ตนไม่สามารถตอบล่วงหน้าได้ว่าจะเห็นด้วยหรือไม่ เพราะต้องขอดูในรายละเอียด สาระก่อน
จากนี้ตนจะจับตาเป็นพิเศษ หากเป็น ส.ว.เลือกตั้ง ก็เข้าใจว่า ความเห็นของ ส.ว.เลือกตั้งด้วยกันเอง ก็ยังมีความแตกต่างกันอยู่ แต่หากเป็น ส.ว.เลือกตั้งสายรัฐบาล ก็ชัดเจนว่ากรณีนี้ รัฐบาลอาจไม่ออกหน้าเอง แต่ให้ ส.ว.กลุ่มนี้ออกหน้าผลักดันเริ่มต้นไปก่อน ดังนั้นจำเป็นต้องเห็นรายละเอียดเนื้อหา เช่น ที่ระบุว่า จะขอแก้มาตรา 190 ในเรื่องการทำสัญญาต่างๆกับต่างประเทศ ซึ่งในอดีต รัฐบาลพ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกฯ ใช้อำนาจในการตัดสินใจไปทำสัญญาต่างๆกับต่างประเทศ ที่หลายกรณีเกิดคำถามว่า มีการเอื้อประโยชน์ให้กับธุรกิจกลุ่มใดกลุ่มหนึ่งหรือไม่ ดังนั้นรัฐธรรมนูญปี 50 มาตราดังกล่าวจึงกำหนดให้ต้องนำเรื่องมารายงานต่อรัฐสภารับทราบก่อน ซึ่งตนในฐานะประธานคณะกรรมการประสานงานพรรคร่วมฝ่ายค้าน ได้ติดตามใกล้ชิดอยู่แล้ว โดยยึดหลักว่า การแก้ไขกฎหมายใดๆต้องเป็นระโยชน์ต่อประเทศชาติ