นายก่วน มู่ เอกอัครราชทูตสาธารณรัฐประชาชนจีนประจำประเทศไทย ปาฐกถาพิเศษ"การพัฒนาของจีนกับอนาคตความสัมพันธ์ไทย-จีน" ในงาน 40 ปีผสานใจนักธุรกิจไทยจีนเชียงใหม่ ที่อาคารศูนย์ประชุมนานาชาติ โรงแรมดิเอ็มเพรส จังหวัดเชียงใหม่ (2 มี.ค.) ว่าในรอบปีที่ผ่านมา จีนมีความเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้นหลายด้าน เช่น การประชุมสมัชชาผู้แทนทั่วประเทศแห่งพรรคคอมมิวนิสต์จีนครั้งที่ 18 เป็นการประชุมใหญ่ครั้งประวัติศาสตร์ที่นำมาสู่การเปลี่ยนแปลงหลายด้าน มีการเลือกตั้งคณะผู้นำของพรรคชุดใหม่ ยึดหลักนโยบายปฎิรูปเปิดประเทศเป็นนโยบายหลักแห่งชาติเพื่อก้าวทันการค้าของโลก ไม่เฉพาะด้านการค้าและการลงทุนเท่านั้น จีนยังจะเพิ่มสัดส่วนการนำเข้ามากขึ้นจากเดิมนำเข้าปีละ 7 ล้านล้านเหรียญสหรัฐ จะเพิ่มอีก 2 ล้านล้านเหรียญสหรัฐโดยเฉพาะการนำเข้าข้าว ซึ่งจะเป็นประโยชน์อย่างมากกับประเทศเพื่อนบ้านในภูมิภาค เช่น ไทย
"ไทยถือเป็นคู่ค้าอันดับที่ 12-13 ของจีน มีมูลค่าการค้าปีละ 70,000 ล้านเหรียญสหรัฐ มากกว่าหลายประเทศในอียูที่เป็นคู่ค้าอันดับหนึ่งของจีน คาดว่าในอนนาคตอีก 5 ปีข้างหน้าการค้าจีนไทยจะเติบโตเพิ่มขึ้นเพราะจีนได้ใช้นโยบายสร้างความมั่นคั่งให้กับประชาชน ขณะเดียวกันด้านการท่องเที่ยวก็มีการขยายตัวมาก ปี 2012 นักท่องเที่ยวจีนเดินทางมาไทย 2.8 ล้านคน เพิ่มขึ้น 63.6% ส่วนนักท่องเที่ยวไทยที่ไปจีนมี 6.6 แสนคนเพิ่มขึ้น 15.3% โดยมีเที่ยวบินเชื่อมระหว่างจีนและไทยกว่าสัปดาห์ละ 200 เที่ยว ภาพยนตร์เรื่องลอสอินไทยแลนด์เป็นส่วนหนึ่งที่ทำให้ชาวจีนอยากเดินทางมาประเทศไทย แต่ไม่ใช่ทั้งหมดเพราะประชาชนจีนมีความรู้สึกที่ดีต่อไทย เพราะเราไม่มีเรื่องบาดหมางและขัดแย้งกัน รวมทั้งข่าวสารจากไทยที่ได้รับก็เป็นไปในทางบวก"เอกอัครราชทูตสาธารณรัฐประชาชนจีน กล่าวและว่าโครงการรถไฟความเร็วสูงในไทย เส้นทางกรุงเทพฯ-เชียงใหม่ ผู้เชี่ยวชาญจีนได้มาศึกษาแล้ว แบ่งสถานีย่อย คือกรุงเทพฯ-อยุธยา-พาชี-ลพบุรี-นครสวรรค์-พิจิตร-พิษณุโลก-อุตรดิตถ์-เด่นชัย-ลำปาง-ลำพูน-เชียงใหม่ รวมระยะทาง 677.67 กม. ต้องสร้างสะพาน 164 แห่ง อุโมงค์ 24 แห่ง ใช้ความเร็ว 255.5 กม./ชม. และใช้เวลาเดินทาง 2.5-3 ชั่วโมง
นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฎ์ ประธานคณะกรรมการประสานงานพรรคร่วมฝ่ายค้าน กล่าวถึงกรณีรัฐบาลประกาศเดินหน้าจะขอกู้เงินจำนวน 2 ล้านล้านบาท โดยอ้างความจำเป็นและต้องกู้เพื่อมาลงทุนว่า ตนยังไม่ทราบว่ารัฐบาลจะกู้ในรูปแบไหน จะออกเป็นพระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) หรือออกเป็น พระราชกำหนด (พ.ร.ก.) ซึ่งยังไม่มีความชัดเจน จึงต้องถามความจำเป็นจากรัฐบาลว่า จำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องกู้เงินจำนวนนี้ โดยไม่สามารถหลีกเลี่ยงได้หรือไม่ ก็ต้องยอมรับว่า หลังจากรัฐบาลน.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกฯ เข้ามาบริหารประเทศปีเศษ ได้สร้างภาระหนี้สินให้กับประเทศชาติจำนวนมาก ซึ่งหากเทียบในจำนวนเงิน กับระยะเวลาที่บริหารงานถือว่ากู้มาสูงมากอยู่ในเกณฑ์ ซึ่งรัฐบาลจะอ้างว่า จำนวนเงินที่กู้มาแล้วนั้น ยังอยู่ในเกณฑ์หนี้สาธารณะต่อดัชนีมวลรวมของประเทศ(จีดีพี) คือ ไม่เกิน 50 เปอร์เซ็นต์ ซึ่งไม่กระทบต่อความชื่อมั่นด้านเศรษฐกิจ แต่ตนกลับเห็นว่าตัวเลขดังกล่าวที่รัฐบาลกล่าวอ้างว่าแค่ 50 เปอร์เซ็นต์นั้น เป็นตัวเลขที่จริงหรือไม่ เพราะส่วนตัวคิดว่า มันมากว่านั้น ซึ่งจะจับตาติดตามอย่างใกล้ชิดเช่นกัน
อีกด้าน นางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี และคณะบุคคลสำคัญประกอบด้วย นายสุรพงษ์ โตวิจักษณ์ชัยกุล รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ นายกิตติรัตน์ ณ ระนอง รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง นายบุญทรง เตริยาภิรมย์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ นายประเสริฐ บุญชัยสุข รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม มีกำหนดการเยือนราชอาณาจักรสวีเดน ราชอาณาจักรเบลเยียม และสหภาพยุโรปอย่างเป็นทางการระหว่างวันที่ 4 - 7 มีนาคม 2556
ตามคำเชิญของนายเฟรดริก ไรน์เฟลด์ท นายกรัฐมนตรีสวีเดน และเป็นการเยือนครั้งแรกของนายกรัฐมนตรีไทยในรอบ 9 ปี นับตั้งแต่ปี 2547 โดยสวีเดนเป็นประเทศที่เป็นมิตรที่แนบแน่นของไทยมายาวนาน เป็นประเทศที่ลงทุนในไทยสูงเป็นอันดับ 3 ของ EU และไทยเป็นตลาดท่องเที่ยวสำคัญและเป็นที่นิยมของสวีเดน เพื่อส่งเสริม Medical Tourism ในการเยือนครั้งนี้ ไทยมุ่งหวังการขยายความร่วมมือทางการค้า การลงทุน การท่องเที่ยว เทคโนโลยีนวัตกรรม และการวิจัย เป็นสำคัญ รวมทั้งจะเปิดโอกาสภาคเอกชนไทยได้เข้าไปเปิดตลาดในประเทศสวีเดนและกลุ่มประเทศนอร์ดิกในสาขาที่ไทยมีศักยภาพ เช่น อาหาร สาธารณสุข และสร้างความเชื่อมั่นให้แก่บริษัทชั้นนำและนักธุรกิจสวีเดนเกี่ยวกับศักยภาพของไทย เช่น ไทยเป็นศูนย์กลางภูมิภาคและมีการพัฒนาการเชื่อมโยง ที่จะเอื้อต่อการลงทุนและการค้าในอนาคต ความพร้อมในการเป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ และรองรับการท่องเที่ยวจากสวีเดน ที่ไทยถือเป็นแหล่งท่องเที่ยวยอดนิยมของนักท่องเที่ยวสวีเดนอย่างต่อเนื่อง พร้อมทั้งส่งเสริมความร่วมมือด้านพลังงานทดแทนนวัตกรรมและเทคโนโลยี ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแลดล้อม และศึกษาดูงานที่ Symbio City ซึ่งเป็นเมืองต้นแบบในการบริหารจัดการเมืองแบบบูรณาการและรักษาสิ่งแวดล้อม เพื่อนำมาปรับใช้ให้เกิดประโยชน์ต่อประเทศไทย
จากนั้น ในวันที่5–6มีนาคม 2556 นายกรัฐมนตรีและคณะจะออกเดินทางจากสวีเดนไปยังราชอาณาจักรเบลเยี่ยม และสหภาพยุโรป หรือ EU เพื่อเยือนอย่างเป็นทางการ ซึ่งนับเป็นการเยือนเบลเยี่ยมในวาระครบรอบ 130 ปีของการสถาปนาความสัมพันธ์ทางการทูตระหว่างกันด้วย ทั้งนี้ การเยือนเบลเยียม มีเป้าหมายกระชับความสัมพันธ์กับพันธมิตรเก่าแก่ในยุโรปและสหภาพยุโรป ซึ่งเบลเยี่ยมเป็นหนึ่งในประเทศยุโรปที่ไทยมีสัมพันธไมตรีที่ยาวนานในทุกระดับ และในโอกาสนี้ จะได้มุ่งขยายการค้า การลงทุน และการท่องเที่ยวระหว่างกันเป็นสำคัญ โดยจะการแลกเปลี่ยนองค์ความรู้ด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรม (สาขาการแพทย์ ความปลอดภัยทางอาหาร โลจิสติกส์) เพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของไทย ส่งเสริมการเพิ่มความร่วมมือด้านอากาศยาน เพิ่มเที่ยวบินเส้นทางกรุงเทพฯ-บรัสเซลส์และขยายเส้นทางยินของการบินไทยไปภูมิภาคอื่นๆ (ผ่านบรัสเซลส์) เช่น อเมริกาเหนือ แอฟริกา และยุโรป ทั้งนี้ไทยได้ตั้งเป้าหมายในการขยายการค้า การลงทุน และการท่องเที่ยว เพราะเบลเยียมมีศักยภาพทางเศรษฐกิจสูง
ทั้งนี้ การเยือนเบลเยี่ยมในช่วงเวลาดังกล่าว จะช่วยเตรียมความพร้อมและประชาสัมพันธ์การเสด็จเยือนประเทศไทยของเจ้าชายฟิลิป มกุฏราชกุมเจ้าหญิงมาทิลเดอ พระชายา และคณะนักธุรกิจเบลเยียม ระหว่างวันที่ 17-22 มีนาคม 2556 ด้วย ในโอกาสนี้ นายกรัฐมนตรีจะได้ใช้ช่วงเวลาการเยือนเบลเยียม เยือนสหภาพยุโรป หรือ EU ตามคำเชิญของประธานคณะกรรมาธิการยุโรป และจะใช้โอกาสนี้ ยกระดับความสัมพันธ์เป็นหุ้นส่วนหลักทางการค้า การลงทุน และความร่วมมือรอบด้านระหว่างกันด้วย โดยนายกรัฐมนตรี นับเป็นผู้นำไทยคนแรกที่ได้พบกับผู้นำ 3 สถาบันหลักของ EU ได้แก่ ประธานสภายุโรป ประธานคณะกรรมาธิการยุโรป และประธานคณะมนตรียุโรป ทั้งนี้ EU เป็นคู่ค้าสำคัญอันดับที่ 4 ของไทย และมีมูลค่าการลงทุนเป็นอันดับที่ 4 โดยในปี 2555 มีการลงทุนสุทธิ 740 ล้านยูโร
นอกจากนี้ นายกรัฐมนตรีจะได้ร่วมชื่นชมความสำเร็จของข้าวหอมมะลิทุ่งกุลาร้องไห้ สินค้าเกษตรตัวแรกของเอเชียที่ได้รับความคุ้มครองสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ ( GI ) ของ EU ซึ่งจะช่วยประชาสัมพันธ์การขยายตลาดข้าวของไทยใน EU รวมทั้ง ผลักดันสินค้าเกษตรอีก 2 รายการได้แก่ การแฟดอยช้าง และกาแฟดอยตุง ที่กำลังดำเนินการขอรับการจดทะเบียนด้วยเช่นกัน นอกจากนี้ ในการเยือนครั้งนี้มีภาคเอกชนที่จะร่วมเดินทางกับคณะด้วย โดยเป็นธุรกิจสาขาหลัก 5 สาขา คือ สาขาอาหาร สาขาพลังงาน/เศรษฐกิจสีเขียว สาขาการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ สาขาสินค้าดีไซน์/เศรษฐกิจสร้างสรรค์ และสาขาการธนาคาร เพื่อส่งเสริมภาพลักษณ์ของสินค้าไทยโดยรวม และผลักดันให้ธุรกิจไทยสามารถเพิ่มปริมาณการ ส่งออกสินค้าจากไทยสู่ยุโรปได้มากยิ่งขึ้น ทั้งนี้ นายกรัฐมนตรีและคณะ มีกำหนดการเดินทางออกจากท่าอากาศยานสุวรรรณภูมิในวันจันทร์ที่ 4 มีนาคม 2556 เวลา 00.05 น. และจะเดินทางถึงประเทศไทยในวันพฤหัสบดีที่ 7 มีนาคม 2556 เวลา 15.20 น.
"ไทยถือเป็นคู่ค้าอันดับที่ 12-13 ของจีน มีมูลค่าการค้าปีละ 70,000 ล้านเหรียญสหรัฐ มากกว่าหลายประเทศในอียูที่เป็นคู่ค้าอันดับหนึ่งของจีน คาดว่าในอนนาคตอีก 5 ปีข้างหน้าการค้าจีนไทยจะเติบโตเพิ่มขึ้นเพราะจีนได้ใช้นโยบายสร้างความมั่นคั่งให้กับประชาชน ขณะเดียวกันด้านการท่องเที่ยวก็มีการขยายตัวมาก ปี 2012 นักท่องเที่ยวจีนเดินทางมาไทย 2.8 ล้านคน เพิ่มขึ้น 63.6% ส่วนนักท่องเที่ยวไทยที่ไปจีนมี 6.6 แสนคนเพิ่มขึ้น 15.3% โดยมีเที่ยวบินเชื่อมระหว่างจีนและไทยกว่าสัปดาห์ละ 200 เที่ยว ภาพยนตร์เรื่องลอสอินไทยแลนด์เป็นส่วนหนึ่งที่ทำให้ชาวจีนอยากเดินทางมาประเทศไทย แต่ไม่ใช่ทั้งหมดเพราะประชาชนจีนมีความรู้สึกที่ดีต่อไทย เพราะเราไม่มีเรื่องบาดหมางและขัดแย้งกัน รวมทั้งข่าวสารจากไทยที่ได้รับก็เป็นไปในทางบวก"เอกอัครราชทูตสาธารณรัฐประชาชนจีน กล่าวและว่าโครงการรถไฟความเร็วสูงในไทย เส้นทางกรุงเทพฯ-เชียงใหม่ ผู้เชี่ยวชาญจีนได้มาศึกษาแล้ว แบ่งสถานีย่อย คือกรุงเทพฯ-อยุธยา-พาชี-ลพบุรี-นครสวรรค์-พิจิตร-พิษณุโลก-อุตรดิตถ์-เด่นชัย-ลำปาง-ลำพูน-เชียงใหม่ รวมระยะทาง 677.67 กม. ต้องสร้างสะพาน 164 แห่ง อุโมงค์ 24 แห่ง ใช้ความเร็ว 255.5 กม./ชม. และใช้เวลาเดินทาง 2.5-3 ชั่วโมง
นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฎ์ ประธานคณะกรรมการประสานงานพรรคร่วมฝ่ายค้าน กล่าวถึงกรณีรัฐบาลประกาศเดินหน้าจะขอกู้เงินจำนวน 2 ล้านล้านบาท โดยอ้างความจำเป็นและต้องกู้เพื่อมาลงทุนว่า ตนยังไม่ทราบว่ารัฐบาลจะกู้ในรูปแบไหน จะออกเป็นพระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) หรือออกเป็น พระราชกำหนด (พ.ร.ก.) ซึ่งยังไม่มีความชัดเจน จึงต้องถามความจำเป็นจากรัฐบาลว่า จำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องกู้เงินจำนวนนี้ โดยไม่สามารถหลีกเลี่ยงได้หรือไม่ ก็ต้องยอมรับว่า หลังจากรัฐบาลน.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกฯ เข้ามาบริหารประเทศปีเศษ ได้สร้างภาระหนี้สินให้กับประเทศชาติจำนวนมาก ซึ่งหากเทียบในจำนวนเงิน กับระยะเวลาที่บริหารงานถือว่ากู้มาสูงมากอยู่ในเกณฑ์ ซึ่งรัฐบาลจะอ้างว่า จำนวนเงินที่กู้มาแล้วนั้น ยังอยู่ในเกณฑ์หนี้สาธารณะต่อดัชนีมวลรวมของประเทศ(จีดีพี) คือ ไม่เกิน 50 เปอร์เซ็นต์ ซึ่งไม่กระทบต่อความชื่อมั่นด้านเศรษฐกิจ แต่ตนกลับเห็นว่าตัวเลขดังกล่าวที่รัฐบาลกล่าวอ้างว่าแค่ 50 เปอร์เซ็นต์นั้น เป็นตัวเลขที่จริงหรือไม่ เพราะส่วนตัวคิดว่า มันมากว่านั้น ซึ่งจะจับตาติดตามอย่างใกล้ชิดเช่นกัน
อีกด้าน นางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี และคณะบุคคลสำคัญประกอบด้วย นายสุรพงษ์ โตวิจักษณ์ชัยกุล รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ นายกิตติรัตน์ ณ ระนอง รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง นายบุญทรง เตริยาภิรมย์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ นายประเสริฐ บุญชัยสุข รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม มีกำหนดการเยือนราชอาณาจักรสวีเดน ราชอาณาจักรเบลเยียม และสหภาพยุโรปอย่างเป็นทางการระหว่างวันที่ 4 - 7 มีนาคม 2556
ตามคำเชิญของนายเฟรดริก ไรน์เฟลด์ท นายกรัฐมนตรีสวีเดน และเป็นการเยือนครั้งแรกของนายกรัฐมนตรีไทยในรอบ 9 ปี นับตั้งแต่ปี 2547 โดยสวีเดนเป็นประเทศที่เป็นมิตรที่แนบแน่นของไทยมายาวนาน เป็นประเทศที่ลงทุนในไทยสูงเป็นอันดับ 3 ของ EU และไทยเป็นตลาดท่องเที่ยวสำคัญและเป็นที่นิยมของสวีเดน เพื่อส่งเสริม Medical Tourism ในการเยือนครั้งนี้ ไทยมุ่งหวังการขยายความร่วมมือทางการค้า การลงทุน การท่องเที่ยว เทคโนโลยีนวัตกรรม และการวิจัย เป็นสำคัญ รวมทั้งจะเปิดโอกาสภาคเอกชนไทยได้เข้าไปเปิดตลาดในประเทศสวีเดนและกลุ่มประเทศนอร์ดิกในสาขาที่ไทยมีศักยภาพ เช่น อาหาร สาธารณสุข และสร้างความเชื่อมั่นให้แก่บริษัทชั้นนำและนักธุรกิจสวีเดนเกี่ยวกับศักยภาพของไทย เช่น ไทยเป็นศูนย์กลางภูมิภาคและมีการพัฒนาการเชื่อมโยง ที่จะเอื้อต่อการลงทุนและการค้าในอนาคต ความพร้อมในการเป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ และรองรับการท่องเที่ยวจากสวีเดน ที่ไทยถือเป็นแหล่งท่องเที่ยวยอดนิยมของนักท่องเที่ยวสวีเดนอย่างต่อเนื่อง พร้อมทั้งส่งเสริมความร่วมมือด้านพลังงานทดแทนนวัตกรรมและเทคโนโลยี ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแลดล้อม และศึกษาดูงานที่ Symbio City ซึ่งเป็นเมืองต้นแบบในการบริหารจัดการเมืองแบบบูรณาการและรักษาสิ่งแวดล้อม เพื่อนำมาปรับใช้ให้เกิดประโยชน์ต่อประเทศไทย
จากนั้น ในวันที่5–6มีนาคม 2556 นายกรัฐมนตรีและคณะจะออกเดินทางจากสวีเดนไปยังราชอาณาจักรเบลเยี่ยม และสหภาพยุโรป หรือ EU เพื่อเยือนอย่างเป็นทางการ ซึ่งนับเป็นการเยือนเบลเยี่ยมในวาระครบรอบ 130 ปีของการสถาปนาความสัมพันธ์ทางการทูตระหว่างกันด้วย ทั้งนี้ การเยือนเบลเยียม มีเป้าหมายกระชับความสัมพันธ์กับพันธมิตรเก่าแก่ในยุโรปและสหภาพยุโรป ซึ่งเบลเยี่ยมเป็นหนึ่งในประเทศยุโรปที่ไทยมีสัมพันธไมตรีที่ยาวนานในทุกระดับ และในโอกาสนี้ จะได้มุ่งขยายการค้า การลงทุน และการท่องเที่ยวระหว่างกันเป็นสำคัญ โดยจะการแลกเปลี่ยนองค์ความรู้ด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรม (สาขาการแพทย์ ความปลอดภัยทางอาหาร โลจิสติกส์) เพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของไทย ส่งเสริมการเพิ่มความร่วมมือด้านอากาศยาน เพิ่มเที่ยวบินเส้นทางกรุงเทพฯ-บรัสเซลส์และขยายเส้นทางยินของการบินไทยไปภูมิภาคอื่นๆ (ผ่านบรัสเซลส์) เช่น อเมริกาเหนือ แอฟริกา และยุโรป ทั้งนี้ไทยได้ตั้งเป้าหมายในการขยายการค้า การลงทุน และการท่องเที่ยว เพราะเบลเยียมมีศักยภาพทางเศรษฐกิจสูง
ทั้งนี้ การเยือนเบลเยี่ยมในช่วงเวลาดังกล่าว จะช่วยเตรียมความพร้อมและประชาสัมพันธ์การเสด็จเยือนประเทศไทยของเจ้าชายฟิลิป มกุฏราชกุมเจ้าหญิงมาทิลเดอ พระชายา และคณะนักธุรกิจเบลเยียม ระหว่างวันที่ 17-22 มีนาคม 2556 ด้วย ในโอกาสนี้ นายกรัฐมนตรีจะได้ใช้ช่วงเวลาการเยือนเบลเยียม เยือนสหภาพยุโรป หรือ EU ตามคำเชิญของประธานคณะกรรมาธิการยุโรป และจะใช้โอกาสนี้ ยกระดับความสัมพันธ์เป็นหุ้นส่วนหลักทางการค้า การลงทุน และความร่วมมือรอบด้านระหว่างกันด้วย โดยนายกรัฐมนตรี นับเป็นผู้นำไทยคนแรกที่ได้พบกับผู้นำ 3 สถาบันหลักของ EU ได้แก่ ประธานสภายุโรป ประธานคณะกรรมาธิการยุโรป และประธานคณะมนตรียุโรป ทั้งนี้ EU เป็นคู่ค้าสำคัญอันดับที่ 4 ของไทย และมีมูลค่าการลงทุนเป็นอันดับที่ 4 โดยในปี 2555 มีการลงทุนสุทธิ 740 ล้านยูโร
นอกจากนี้ นายกรัฐมนตรีจะได้ร่วมชื่นชมความสำเร็จของข้าวหอมมะลิทุ่งกุลาร้องไห้ สินค้าเกษตรตัวแรกของเอเชียที่ได้รับความคุ้มครองสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ ( GI ) ของ EU ซึ่งจะช่วยประชาสัมพันธ์การขยายตลาดข้าวของไทยใน EU รวมทั้ง ผลักดันสินค้าเกษตรอีก 2 รายการได้แก่ การแฟดอยช้าง และกาแฟดอยตุง ที่กำลังดำเนินการขอรับการจดทะเบียนด้วยเช่นกัน นอกจากนี้ ในการเยือนครั้งนี้มีภาคเอกชนที่จะร่วมเดินทางกับคณะด้วย โดยเป็นธุรกิจสาขาหลัก 5 สาขา คือ สาขาอาหาร สาขาพลังงาน/เศรษฐกิจสีเขียว สาขาการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ สาขาสินค้าดีไซน์/เศรษฐกิจสร้างสรรค์ และสาขาการธนาคาร เพื่อส่งเสริมภาพลักษณ์ของสินค้าไทยโดยรวม และผลักดันให้ธุรกิจไทยสามารถเพิ่มปริมาณการ ส่งออกสินค้าจากไทยสู่ยุโรปได้มากยิ่งขึ้น ทั้งนี้ นายกรัฐมนตรีและคณะ มีกำหนดการเดินทางออกจากท่าอากาศยานสุวรรรณภูมิในวันจันทร์ที่ 4 มีนาคม 2556 เวลา 00.05 น. และจะเดินทางถึงประเทศไทยในวันพฤหัสบดีที่ 7 มีนาคม 2556 เวลา 15.20 น.