ASTV ผู้จัดการรายวัน - ผ้าเบรกสัญชาติไทย “คอมแพ็ค” ทุ่มกว่า 100 ล้านบาท ขยายกำลังการผลิตเพิ่ม 1.5 ล้านชุด หวังดันยอดขายพุ่ง 1,000 ล้านบาท พร้อมเดินหน้ารับมือเออีซี (AEC) และส่งออกทั่วโลก คาดจะมีความต้องการพุ่ง 3 เท่า เล็งลงทุนตั้งโรงงานแห่งใหม่ ที่นิคมฯ เมืองทวาย ประเทศพม่า จับมือพันธมิตรรุกตลาดอาเซียน และเปลี่ยนเครื่องจักรในไทย
นายพัฒนะ อิสระพิทักษ์กุล ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการ สายงานพัฒนาธุรกิจและภาพลักษณ์ บริษัท คอมแพ็ค อินเตอร์เนชั่นแนล (1994) จำกัด ผู้ผลิตและจำหน่ายผลิตภัณฑ์ผ้าเบรกรถยนต์ระดับพรีเมียมของคนไทย ภายใต้แบรนด์ คอมแพ็ค (COMPACT), ไดมอนด์ (DIAMOND) และมูซาชิ (MUSASHI) เปิดเผยว่า เป็นความสำเร็จอย่างต่อเนื่องตลอด 9 ปี ของผ้าเบรกในกลุ่มคอมแพ็ค จากระดับยอดขายเพียงกว่า 100 ล้านบาท เพิ่มเป็น 820 ล้านบาทในปีที่ผ่านมา และถือเป็นผ้าเบรกอันดับหนึ่งในตลาดทดแทน (REM) ขณะเดียวกันแม้จะเป็นผ้าเบรกแบรนด์ไทย 100% แต่ได้รับการยอมรับในระดับนานาชาติ มีการส่งออกไปกว่า 30 ประเทศทั่วโลกแล้ว
“จากการขยายตัวของตลาดรถยนต์ และเศรษฐกิจไทยที่มีเติบโตอย่างมาก ทำให้ตลาดมีความต้องการผ้าเบรกรถยนต์ของบริษัทฯ สูงกว่ากำลังการผลิต 1.0-1.5 ล้านชุด จากปัจจุบันกำลังการผลิตอยู่ที่ประมาณ 4 ล้านชุดต่อปี เพื่อรองรับความต้องการดังกล่าว จึงเร่งขยายกำลังการผลิตในช่วงมาสที่สองของปีนี้ โดยใช้เงินลงทุนที่โรงงานเพชรบุรีไม่น้อยกว่า 100 ล้านบาท เพิ่มกำลังการผลิตตามปริมาณความต้องการของตลาด ส่งผลให้ภายในปีนี้ผ้าเบรกรถในกลุ่มคอมแพ็ก จะมีกำลังการผลิตไม่ต่ำกว่า 5.5 ล้านชุดต่อปี และคาดจะมียอดขายไม่ต่ำกว่า 1,000 ล้านบาท หรือเพิ่มขึ้น 20%”
ทั้งนี้เพื่อให้บรรลุเป้าหมายยอดขาย จึงเตรียมงบการตลาดเพิ่มเป็นกว่า 35 ล้านบาท จากปีที่ผ่านมาใช้ไปกว่า 20 ล้านบาท โดยหนึ่งในกิจกรรมการตลาดปีนี้จะมีการเดินสายโรดโชว์ทั่วประเทศ เพื่อตอกย้ำภาพลักษณ์บริษัท, ตราสินค้า และผลิตภัณฑ์ ภายใต้เทคโนโลยีการผลิต “ผ้าเบรกไร้ใยหิน” ชนิด NAO (Non Asbestos Organics) ด้วยฝีมือของไทย เพื่อสร้างความมั่นใจให้กับผู้บริโภค และจัดทำป้ายตราสัญลักษณ์ “COMPACT” ขนาดต่างๆ นำไปติดตั้งที่ร้านค้าผู้แทนจำหน่ายอย่างเป็นทางการทั่วประเทศ รวมถึงการโฆษณาประชาสัมพันธ์ต่างๆ
นายพัฒนะเปิดเผยว่า ความต้องการผ้าเบรกรถยนต์จะเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง และในปีนี้ภาพรวมตลาดผ้าเบรกจะเติบโตประมาณ 30% เห็นได้จากการขยายตัวของตลาดรถยนต์ โดยเฉพาะการเติบโตของเก๋งขนาดเล็กอย่างอีโคคาร์ ซึ่งจะทำให้ภายในระยะเวลา 3-5 ปี จะมีความต้องการผ้าเบรกเพิ่มขึ้นไม่ต่ำกว่า 3 เท่าตัว เช่นเดียวกับผ้าเบรกในกลุ่มคอมแพ็ค โดยเฉพาะเมื่อมีการเปิดตลาดประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน หรือ AEC ในปี 2558 เป็นต้นไป
“เพื่อรองรับความต้องการดังกล่าว กลุ่มผ้าเบรกคอมแพ็คจึงเตรียมลงทุนไม่ต่ำกว่า 500 ล้านบาท ในการตั้งโรงงานแห่งใหม่ที่นิคมอุตสาหกรรมเมืองทวาย ประเทศพม่า ในช่วง 2-3 ปีนี้ รวมถึงปรับเปลี่ยนเครื่องจักรโรงงานในไทยที่เพชรบุรี และมหาชัย จังหวัดสมุทรสาคร ให้เป็นระบบอัตโนมัติมากขึ้น โดยย้ายเครื่องจักรเก่าไปติดตั้งที่โรงงานเมืองทวายแทน และนอกจากนี้ยังจะมีการลงทุนจับมือกับพันธมิตร อย่างในประเทศมาเลเซีย, อินโดนีเซีย และฟิลิปปินส์ ในการขยายการทำตลาดในอาเซียน รวมถึงขยายตลาดไปยังออสเตรเลีย และสหรัฐอเมริกาด้วย”
พร้อมกันนี้เพื่อสร้างความชัดเจนของแต่ละแบรนด์ จึงได้มีการว่าจ้างนักวิจัยและพัฒนาที่มีประสบการณ์ระดับโลก มารับผิดชอบในการวิจัยและพัฒนาผ้าเบรกของบริษัท โดยจะมีนาย Takagi Teiji จากญี่ปุ่นจะรับผิดชอบผ้าเบรกมูซาชิ , Mike Hibbert ที่เคยร่วมพัฒนาสูตรผ้าเบรกรถบรรทุกในยุโรปมากกว่า 20 ปี มาดูแลการพัฒนาผ้าเบรกไดมอนด์ และผ้าเบรกคอมแพ็คจะได้ผู้ชำนาญจากสหรัฐอเมริกา Marvin Weitraub มารับผิดชอบในการพัฒนา ซึ่งจะทำให้ผ้าเบรกทั้งสามแบรนด์ในกลุ่มคอมแพ็ค มีความแตกต่างและยังแข่งขันกันเอง ในตลาดผ้าเบรกคุณภาพระดับพรีเมียม โดยไม่มีการใช้ราคามาเป็นจุดขาย
นายพัฒนะ อิสระพิทักษ์กุล ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการ สายงานพัฒนาธุรกิจและภาพลักษณ์ บริษัท คอมแพ็ค อินเตอร์เนชั่นแนล (1994) จำกัด ผู้ผลิตและจำหน่ายผลิตภัณฑ์ผ้าเบรกรถยนต์ระดับพรีเมียมของคนไทย ภายใต้แบรนด์ คอมแพ็ค (COMPACT), ไดมอนด์ (DIAMOND) และมูซาชิ (MUSASHI) เปิดเผยว่า เป็นความสำเร็จอย่างต่อเนื่องตลอด 9 ปี ของผ้าเบรกในกลุ่มคอมแพ็ค จากระดับยอดขายเพียงกว่า 100 ล้านบาท เพิ่มเป็น 820 ล้านบาทในปีที่ผ่านมา และถือเป็นผ้าเบรกอันดับหนึ่งในตลาดทดแทน (REM) ขณะเดียวกันแม้จะเป็นผ้าเบรกแบรนด์ไทย 100% แต่ได้รับการยอมรับในระดับนานาชาติ มีการส่งออกไปกว่า 30 ประเทศทั่วโลกแล้ว
“จากการขยายตัวของตลาดรถยนต์ และเศรษฐกิจไทยที่มีเติบโตอย่างมาก ทำให้ตลาดมีความต้องการผ้าเบรกรถยนต์ของบริษัทฯ สูงกว่ากำลังการผลิต 1.0-1.5 ล้านชุด จากปัจจุบันกำลังการผลิตอยู่ที่ประมาณ 4 ล้านชุดต่อปี เพื่อรองรับความต้องการดังกล่าว จึงเร่งขยายกำลังการผลิตในช่วงมาสที่สองของปีนี้ โดยใช้เงินลงทุนที่โรงงานเพชรบุรีไม่น้อยกว่า 100 ล้านบาท เพิ่มกำลังการผลิตตามปริมาณความต้องการของตลาด ส่งผลให้ภายในปีนี้ผ้าเบรกรถในกลุ่มคอมแพ็ก จะมีกำลังการผลิตไม่ต่ำกว่า 5.5 ล้านชุดต่อปี และคาดจะมียอดขายไม่ต่ำกว่า 1,000 ล้านบาท หรือเพิ่มขึ้น 20%”
ทั้งนี้เพื่อให้บรรลุเป้าหมายยอดขาย จึงเตรียมงบการตลาดเพิ่มเป็นกว่า 35 ล้านบาท จากปีที่ผ่านมาใช้ไปกว่า 20 ล้านบาท โดยหนึ่งในกิจกรรมการตลาดปีนี้จะมีการเดินสายโรดโชว์ทั่วประเทศ เพื่อตอกย้ำภาพลักษณ์บริษัท, ตราสินค้า และผลิตภัณฑ์ ภายใต้เทคโนโลยีการผลิต “ผ้าเบรกไร้ใยหิน” ชนิด NAO (Non Asbestos Organics) ด้วยฝีมือของไทย เพื่อสร้างความมั่นใจให้กับผู้บริโภค และจัดทำป้ายตราสัญลักษณ์ “COMPACT” ขนาดต่างๆ นำไปติดตั้งที่ร้านค้าผู้แทนจำหน่ายอย่างเป็นทางการทั่วประเทศ รวมถึงการโฆษณาประชาสัมพันธ์ต่างๆ
นายพัฒนะเปิดเผยว่า ความต้องการผ้าเบรกรถยนต์จะเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง และในปีนี้ภาพรวมตลาดผ้าเบรกจะเติบโตประมาณ 30% เห็นได้จากการขยายตัวของตลาดรถยนต์ โดยเฉพาะการเติบโตของเก๋งขนาดเล็กอย่างอีโคคาร์ ซึ่งจะทำให้ภายในระยะเวลา 3-5 ปี จะมีความต้องการผ้าเบรกเพิ่มขึ้นไม่ต่ำกว่า 3 เท่าตัว เช่นเดียวกับผ้าเบรกในกลุ่มคอมแพ็ค โดยเฉพาะเมื่อมีการเปิดตลาดประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน หรือ AEC ในปี 2558 เป็นต้นไป
“เพื่อรองรับความต้องการดังกล่าว กลุ่มผ้าเบรกคอมแพ็คจึงเตรียมลงทุนไม่ต่ำกว่า 500 ล้านบาท ในการตั้งโรงงานแห่งใหม่ที่นิคมอุตสาหกรรมเมืองทวาย ประเทศพม่า ในช่วง 2-3 ปีนี้ รวมถึงปรับเปลี่ยนเครื่องจักรโรงงานในไทยที่เพชรบุรี และมหาชัย จังหวัดสมุทรสาคร ให้เป็นระบบอัตโนมัติมากขึ้น โดยย้ายเครื่องจักรเก่าไปติดตั้งที่โรงงานเมืองทวายแทน และนอกจากนี้ยังจะมีการลงทุนจับมือกับพันธมิตร อย่างในประเทศมาเลเซีย, อินโดนีเซีย และฟิลิปปินส์ ในการขยายการทำตลาดในอาเซียน รวมถึงขยายตลาดไปยังออสเตรเลีย และสหรัฐอเมริกาด้วย”
พร้อมกันนี้เพื่อสร้างความชัดเจนของแต่ละแบรนด์ จึงได้มีการว่าจ้างนักวิจัยและพัฒนาที่มีประสบการณ์ระดับโลก มารับผิดชอบในการวิจัยและพัฒนาผ้าเบรกของบริษัท โดยจะมีนาย Takagi Teiji จากญี่ปุ่นจะรับผิดชอบผ้าเบรกมูซาชิ , Mike Hibbert ที่เคยร่วมพัฒนาสูตรผ้าเบรกรถบรรทุกในยุโรปมากกว่า 20 ปี มาดูแลการพัฒนาผ้าเบรกไดมอนด์ และผ้าเบรกคอมแพ็คจะได้ผู้ชำนาญจากสหรัฐอเมริกา Marvin Weitraub มารับผิดชอบในการพัฒนา ซึ่งจะทำให้ผ้าเบรกทั้งสามแบรนด์ในกลุ่มคอมแพ็ค มีความแตกต่างและยังแข่งขันกันเอง ในตลาดผ้าเบรกคุณภาพระดับพรีเมียม โดยไม่มีการใช้ราคามาเป็นจุดขาย