xs
xsm
sm
md
lg

ปี55NPLลดธุรกิจตัดขายหนี้

เผยแพร่:   โดย: MGR Online

ASTVผู้จัดการรายวัน - แบงก์ชาติเผยภาคธุรกิจมียอดเอ็นพีแอลในระบบลดลง 1.04 ล้านบาท คิดเป็น 3.91% เกิดจากการชำระหนี้ ตัดหนี้สูญและขายหนี้ออกไป ขณะที่ธุรกิจธนาคารและการเงินกลับมีหนี้เพิ่มขึ้น 88 ล้านบาท

รายงานข่าวจากธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) แจ้งว่า ธปท.ได้รายงานข้อมูลยอดคงค้างหนี้ไม่ก่อให้เกิดรายได้ (เอ็นพีแอล) ซึ่งยังไม่ได้กันสำรองหนี้สงสัยจะสูญแยกตามประเภทธุรกิจล่าสุด ณ สิ้นไตรมาส 4 ของปี 55 พบว่า ในระบบมีเอ็นพีแอลทั้งสิ้น 2.54 แสนล้านบาท คิดเป็น 2.25%ต่อสินเชื่อรวม ทำให้หนี้โดยรวมลดลง 1.04 หมื่นล้านบาท หรือลดลง 3.91% เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อนหน้า
ซึ่งส่วนใหญ่ภาคธุรกิจต่างมีเอ็นพีแอลลดลงจากการรับชำระหนี้ การตัดหนี้สูญและการขายหนี้เอ็นพีแอลเป็นสำคัญ

ในแง่ของการเติบโตของยอดเอ็นพีแอล พบว่า ธุรกิจการธนาคารและธุรกิจการเงินและธุรกิจเกี่ยวกับการอุปโภคบริโภคส่วนบุคคลที่มียอดเพิ่มขึ้นสวนทางกับภาพรวมและธุรกิจส่วนใหญ่ โดยธุรกิจธนาคารและธุรกิจการเงินมียอดเอ็นพีแอลเพิ่มขึ้นจากไตรมาสก่อน 88 ล้านบาท หรือเพิ่มขึ้นถึง 10.81% และธุรกิจอุปโภคบริโภคส่วนบุคคลมีตัวเลขเอ็นพีแอลเพิ่มขึ้น 56 ล้านบาท หรือเพิ่มขึ้น 0.10% ซึ่งไตรมาส 4 ของปี 55 ที่มียอดคงค้างเอ็นพีแอลอยู่ที่ 5.65 หมื่นล้านบาท คิดเป็น 22.26%ของยอดเอ็นพีแอล และคิดเป็น 1.94%ต่อสินเชื่อรวม

ทั้งนี้ ในไตรมาสนี้ ภาคธุรกิจมียอดเอ็นพีแอลลดลงทั้งสิ้น 5.23 หมื่นล้านบาท เกิดจากภาคธุรกิจเลือกใช้วิธีปรับปรุงโครงสร้างหนี้จากธนาคารพาณิชย์ 8.42 พันล้านบาท จากสาขาธนาคารต่างชาติ 43 ล้านบาท นอกจากนี้ภาคธุรกิจบางส่วนเลือกวิธีโอนเป็นหนี้ปกติ 6.8 พันล้านบาท และเลือกใช้วิธีอื่นๆ อาทิ รับชำระหนี้ การตัดหนี้สูญของหนี้ที่หมดสิทธิเรียกร้องและการขายหนี้เป็นต้นอีก 3.71 หมื่นล้านบาท

ขณะเดียวกันยอดเอ็นพีแอลเพิ่มขึ้นมีทั้งสิ้น 4.20 หมื่นล้านบาท เกิดจากลูกหนี้รายใหม่ 2.73 หมื่นล้านบาท ลูกหนี้รายเก่าที่ปรับปรุงโครงสร้างหนี้แล้วกลับมาเป็นหนี้ใหม่อีกครั้ง (รี-เอ็นทรี) 9.38 พันล้านบาท และหนี้ที่เกิดจากสาเหตุอื่นๆ อีก 5.32 พันล้านบาท

เมื่อเทียบกับไตรมาส พบว่า ในส่วนของลูกหนี้รายใหม่เกิดจากภาคอุตสาหกรรมมากที่สุด 3.47 พันล้านบาท ก่อน รองลงมาเป็นธุรกิจอุปโภคบริโภคส่วนบุคคล 1.88 พันล้านบาท ตามมาด้วยการพาณิชย์ 687 ล้านบาท ก่อสร้าง 251 ล้านบาท และเกษตร ประมงและป่าไม้ 24 ล้านบาท ด้านลูกหนี้กลุ่มรีเอ็นทรีเทียบกับไตรมาสก่อน ภาคอุตสาหกรรมเพิ่มขึ้น 1.08 พันล้านบาท บริการ 524 ล้านบาท พาณิชย์ 59 ล้านบาท เกษตร ประมงและป่าไม้ 49 ล้านบาท และธุรกิจธนาคารและธุรกิจการเงิน 1 ล้านบาท.
กำลังโหลดความคิดเห็น