ASTVผู้จัดการรายวัน - แบงก์ชาติเผยสถาบันการเงินในระบบมีหนี้เพิ่มขึ้น ธุรกิจอุปโภคบริโภคส่วนบุคคลได้แชมป์มีลูกหนี้รายใหม่ 1.17 หมื่นล้านบาท ขณะที่การก่อตัวลูกหนี้กลุ่มเดียวกันยัง Re Entry เพิ่มมากสุดในภาคธุรกิจ 3.18 พันล้านบาท ส่วนหนี้เพิ่มด้วยสาเหตุอื่นๆ ภาคอุตสาหกรรมมีปริมาณหนี้สูงสุด 1.73 พันล้านบาท
รายงานข่าวจากธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) แจ้งว่า ธปท.ได้ประกาศตัวเลขหนี้ไม่ก่อให้เกิดรายได้(เอ็นพีแอล) จำแนกตามประเภทธุรกิจล่าสุดไตรมาส 3 ของปี 55 พบว่า สถาบันการเงินในระบบมียอดคงค้างเอ็นพีแอลทั้งสิ้น 2.65 แสนล้านบาท สัดส่วน 2.44%ของสินเชื่อรวม เพิ่มขึ้น 1.73 พันล้านบาทจากไตรมาสก่อน
โดยพิจารณาจากสาเหตุการเพิ่มขึ้นของเอ็นพีแอล พบว่า หนี้เพิ่มขึ้นจากลูกหนี้รายใหม่มีทั้งสิ้น 2.58 หมื่นล้านบาท โดยส่วนนี้เกิดจากธุรกิจอุปโภคบริโภคส่วนบุคคลมีปริมาณมากที่สุด 1.17 หมื่นล้านบาท ตามมาด้วยธุรกิจบริการ 5.30 พันล้านบาท อุตสาหกรรม 3.54 พันล้านบาท และธุรกิจพาณิชย์ 2.97 พันล้านบาท
ส่วนเอ็นพีแอลเพิ่มขึ้นเกิดจากลูกหนี้เก่าที่ปรับโครงสร้างหนี้แล้วกลับเป็นเอ็นพีแอลอีกครั้ง (Re Entry) ทั้งสิ้น 8.84 พันล้านบาท โดยธุรกิจอุปโภคบริโภคส่วนบุคคลมียอดเอ็นพีแอลมากที่สุด 3.18 พันล้านบาท อันดับ 2 อุตสาหกรรม 1.76 พันล้านบาท อันดับ 3 ธุรกิจเกี่ยวกับอสังหาริมทรัพย์กับการพาณิชย์เท่ากันที่ 1.30 พันล้านบาท
ด้านเอ็นพีแอลเพิ่มขึ้นจากสาเหตุอื่นๆ อาทิ ผลกระทบของอัตราแลกเปลี่ยนที่เพิ่มขึ้น หรือผลจากการรับลูกหนี้ที่รับโอนจากสถาบันการเงินอื่นมียอดทั้งสิ้น 5.2 พันล้านบาท เกิดจากธนาคารจดทะเบียนในประเทศ 3.62 พันล้านบาทและอีก 1.58 พันล้านบาทจากสาขาธนาคารต่างชาติ ขณะที่แง่ของภาคธุรกิจอุตสาหกรรมมีปริมาณมากสุด 1.73 พันล้านบาท ตามด้วยพาณิชย์ 1.29 พันล้านบาท
ขณะเดียวกันเมื่อพิจารณาสาเหตุการลดลงของเอ็นพีแอลก็ไม่ได้มากนัก กล่าวคือ ลูกหนี้ที่มาปรับปรุงโครงสร้างหนี้หรือพยายามทำให้หนี้ลดลงด้วยเหตุผลอื่นๆลดลง โดยสถาบันการเงินเลือกใช้วิธีไม่ปรับปรุงโครงสร้างหนี้แต่โอนเป็นหนี้ปกติมีทั้งสิ้น 4.92 พันล้านบาท ไตรมาสก่อนอยู่ที่ 6.43 พันล้านบาท และกรณีรับชำระหนี้ตัดหนี้สูญของหนี้ที่หมดสิทธิเรียกร้องและการขายหนี้ เป็นต้น มีทั้งสิ้น 2.48 หมื่นล้านบาท จากไตรมาสก่อนที่ 2.64 หมื่นล้านบาท ฉะนั้นทั้ง2กรณีนี้มีผลต่อหนี้ลดลงไม่มากนักเทียบกับไตรมาสก่อนหน้า.
รายงานข่าวจากธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) แจ้งว่า ธปท.ได้ประกาศตัวเลขหนี้ไม่ก่อให้เกิดรายได้(เอ็นพีแอล) จำแนกตามประเภทธุรกิจล่าสุดไตรมาส 3 ของปี 55 พบว่า สถาบันการเงินในระบบมียอดคงค้างเอ็นพีแอลทั้งสิ้น 2.65 แสนล้านบาท สัดส่วน 2.44%ของสินเชื่อรวม เพิ่มขึ้น 1.73 พันล้านบาทจากไตรมาสก่อน
โดยพิจารณาจากสาเหตุการเพิ่มขึ้นของเอ็นพีแอล พบว่า หนี้เพิ่มขึ้นจากลูกหนี้รายใหม่มีทั้งสิ้น 2.58 หมื่นล้านบาท โดยส่วนนี้เกิดจากธุรกิจอุปโภคบริโภคส่วนบุคคลมีปริมาณมากที่สุด 1.17 หมื่นล้านบาท ตามมาด้วยธุรกิจบริการ 5.30 พันล้านบาท อุตสาหกรรม 3.54 พันล้านบาท และธุรกิจพาณิชย์ 2.97 พันล้านบาท
ส่วนเอ็นพีแอลเพิ่มขึ้นเกิดจากลูกหนี้เก่าที่ปรับโครงสร้างหนี้แล้วกลับเป็นเอ็นพีแอลอีกครั้ง (Re Entry) ทั้งสิ้น 8.84 พันล้านบาท โดยธุรกิจอุปโภคบริโภคส่วนบุคคลมียอดเอ็นพีแอลมากที่สุด 3.18 พันล้านบาท อันดับ 2 อุตสาหกรรม 1.76 พันล้านบาท อันดับ 3 ธุรกิจเกี่ยวกับอสังหาริมทรัพย์กับการพาณิชย์เท่ากันที่ 1.30 พันล้านบาท
ด้านเอ็นพีแอลเพิ่มขึ้นจากสาเหตุอื่นๆ อาทิ ผลกระทบของอัตราแลกเปลี่ยนที่เพิ่มขึ้น หรือผลจากการรับลูกหนี้ที่รับโอนจากสถาบันการเงินอื่นมียอดทั้งสิ้น 5.2 พันล้านบาท เกิดจากธนาคารจดทะเบียนในประเทศ 3.62 พันล้านบาทและอีก 1.58 พันล้านบาทจากสาขาธนาคารต่างชาติ ขณะที่แง่ของภาคธุรกิจอุตสาหกรรมมีปริมาณมากสุด 1.73 พันล้านบาท ตามด้วยพาณิชย์ 1.29 พันล้านบาท
ขณะเดียวกันเมื่อพิจารณาสาเหตุการลดลงของเอ็นพีแอลก็ไม่ได้มากนัก กล่าวคือ ลูกหนี้ที่มาปรับปรุงโครงสร้างหนี้หรือพยายามทำให้หนี้ลดลงด้วยเหตุผลอื่นๆลดลง โดยสถาบันการเงินเลือกใช้วิธีไม่ปรับปรุงโครงสร้างหนี้แต่โอนเป็นหนี้ปกติมีทั้งสิ้น 4.92 พันล้านบาท ไตรมาสก่อนอยู่ที่ 6.43 พันล้านบาท และกรณีรับชำระหนี้ตัดหนี้สูญของหนี้ที่หมดสิทธิเรียกร้องและการขายหนี้ เป็นต้น มีทั้งสิ้น 2.48 หมื่นล้านบาท จากไตรมาสก่อนที่ 2.64 หมื่นล้านบาท ฉะนั้นทั้ง2กรณีนี้มีผลต่อหนี้ลดลงไม่มากนักเทียบกับไตรมาสก่อนหน้า.