วานนี้ (21 ก.พ.) นายวิรัตน์ กัลยาศิริ ส.ส.สงขลา ในฐานะทีมกฎหมายพรรคประชาธิปัตย์ ได้พานาย สัญญา จันทรรัตน์ ผู้มีสิทธิเลือกตั้ง ผู้ว่าฯกทม. ในเขตวังทองหลาง เข้ายื่นหนังสือร้องเรียนต่อ กกต.กลาง และกกต.กทม. ขอให้ตรวจสอบกรณีกระทรวงพัฒนาสังคม และความมั่นคงของมนุษย์ (พม.) นำแบบสำรวจข้อมูลครัวเรือน เพื่อการจัดสวัสดิการและพัฒนาสังคม ไปทำสำรวจกับประชาชนผู้มีสิทธิเลือกตั้งในกรุงเทพมหานคร โดยผู้ไปดำเนินการอ้างว่า ถ้าให้ข้อมูลในแบบสอบถามแล้วจะได้รับเงินชุดละ 1 พันบาท หลังจากการเลือกตั้งผู้ว่าฯกทม. ซึ่งก็ได้นำวีดีโอที่บันทึกภาพการพูดคุยระหว่างผู้มีสิทธิเลือกตั้ง กับผู้ที่ทำแบบสอบถาม โดยเหตุเกิดในพื้นที่พญาไท มามอบไว้เป็นหลักฐานด้วย
ทั้งนี้แบบสอบถามดังกล่าวโดยปกติ กระทรวงพม.จะใช้ดำเนินการในกรณีที่พื้นที่นั้นประสบภัยพิบัติต่างๆ เช่น ภัยหนาว ภัยแล้ง ภัยน้ำท่วม แต่ขณะนี้กรุงเทพมหานคร ไม่ได้ประสบภัยพิบัติดังกล่าวเลย อีกทั้งพบว่า แบบสอบถามดังกล่าวถูกจัดพิมพ์ขึ้นเพื่อใช้ในกรุงเทพมหานครเท่านั้น เนื่องจากไม่มีการระบุ ตำบล หรือ อำเภอให้กับผู้ตอบได้กรอก แต่กลับระบุเพียงแขวง และเขต เท่านั้น อีกทั้งผู้ที่ดำเนินการสำรวจก็พบว่า ไม่ใช่เจ้าหน้าที่ของรัฐ แต่เป็นบุคคลของพรรคการเมืองหนึ่ง โดยเวลาที่ไปทำการสำรวจ ก็ไม่ใช่เวลาราชการ แต่เป็นในช่วงยามวิกาล ซึ่งขณะนี้พบแล้วว่า พื้นที่มีการแจกแบบสอบถามดังกล่าวจะอยู่ในโซนกรุงเทพตะวันออก บริเวณ คลองสามวา คันนายาว โดยเน้นย่านที่เป็นชุมชนแออัด
" ก่อนจะแจกแบบสอบถามผู้ทำสำรวจจะไปตรวจดูบัญชีรายชื่อที่ทางกกต.ติดไว้ ว่าแต่ละบ้านมีผู้มีสิทธิเลือกตั้งกี่คน เมื่อไปถึงบ้านเป้าหมาย ก็จะสอบถาม ถ้ามี 5 คน ก็จะได้ 5 พันบาท โดยบอกว่าเงินจะให้หลังเสร็จสิ้นการเลือกตั้งผู้ว่าฯกทม.แล้ว การกระทำในลักษณะนี้เป็นการกระทำเพื่อเอื้อประโยชน์แก่ผู้สมัครผู้ว่าฯกทม. ของพรรคหนึ่ง ที่ร้ายกว่านั้นคือการที่รัฐบาลเอางบประมาณของแผ่นดินมาช่วยทำให้ผู้สมัครฯ ที่พรรครัฐบาลสนับสนุนให้ได้รับการเลือกตั้ง ทั้งที่ความจริงแล้ว รัฐบาลมีหน้าที่ช่วยให้การเลือกตั้งครั้งนี้เป็นไปอย่างสุจริต โปร่งใส แต่ก็กลับดำเนินการในลักษณะที่น่ารังเกียจ"
ดังนั้น จึงขอให้กกต.สั่งกระทรวงพม.ให้ยุติการกระทำดังกล่าว และสืบสวนสอบสวนเอาผิดตั้งแต่รัฐมนตรี พม. จนถึงระดับเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง รวมทั้งหากพบว่าเป็นการกระทำที่เกี่ยวเนื่องกับพรรคการเมืองก็ให้ดำเนินการเอาผิดกับพรรคการเมืองนั้น
นอกจากนี้ ทางทีมกฎหมายของพรรคยังพบว่ามีอีกหลายกระทรวง ที่มีการโยกย้ายงบประมาณมาเพื่อดำเนินการในลักษณะเดียวกันนี้ เพื่อช่วยเหลือผู้สมัครผู้ว่าฯที่รัฐบาลสนับสนุน ซึ่งก็จะได้มีการรวบรวมทำเป็นคำร้อง ยื่นต่อกกต. ต่อไป
ทั้งนี้แบบสอบถามดังกล่าวโดยปกติ กระทรวงพม.จะใช้ดำเนินการในกรณีที่พื้นที่นั้นประสบภัยพิบัติต่างๆ เช่น ภัยหนาว ภัยแล้ง ภัยน้ำท่วม แต่ขณะนี้กรุงเทพมหานคร ไม่ได้ประสบภัยพิบัติดังกล่าวเลย อีกทั้งพบว่า แบบสอบถามดังกล่าวถูกจัดพิมพ์ขึ้นเพื่อใช้ในกรุงเทพมหานครเท่านั้น เนื่องจากไม่มีการระบุ ตำบล หรือ อำเภอให้กับผู้ตอบได้กรอก แต่กลับระบุเพียงแขวง และเขต เท่านั้น อีกทั้งผู้ที่ดำเนินการสำรวจก็พบว่า ไม่ใช่เจ้าหน้าที่ของรัฐ แต่เป็นบุคคลของพรรคการเมืองหนึ่ง โดยเวลาที่ไปทำการสำรวจ ก็ไม่ใช่เวลาราชการ แต่เป็นในช่วงยามวิกาล ซึ่งขณะนี้พบแล้วว่า พื้นที่มีการแจกแบบสอบถามดังกล่าวจะอยู่ในโซนกรุงเทพตะวันออก บริเวณ คลองสามวา คันนายาว โดยเน้นย่านที่เป็นชุมชนแออัด
" ก่อนจะแจกแบบสอบถามผู้ทำสำรวจจะไปตรวจดูบัญชีรายชื่อที่ทางกกต.ติดไว้ ว่าแต่ละบ้านมีผู้มีสิทธิเลือกตั้งกี่คน เมื่อไปถึงบ้านเป้าหมาย ก็จะสอบถาม ถ้ามี 5 คน ก็จะได้ 5 พันบาท โดยบอกว่าเงินจะให้หลังเสร็จสิ้นการเลือกตั้งผู้ว่าฯกทม.แล้ว การกระทำในลักษณะนี้เป็นการกระทำเพื่อเอื้อประโยชน์แก่ผู้สมัครผู้ว่าฯกทม. ของพรรคหนึ่ง ที่ร้ายกว่านั้นคือการที่รัฐบาลเอางบประมาณของแผ่นดินมาช่วยทำให้ผู้สมัครฯ ที่พรรครัฐบาลสนับสนุนให้ได้รับการเลือกตั้ง ทั้งที่ความจริงแล้ว รัฐบาลมีหน้าที่ช่วยให้การเลือกตั้งครั้งนี้เป็นไปอย่างสุจริต โปร่งใส แต่ก็กลับดำเนินการในลักษณะที่น่ารังเกียจ"
ดังนั้น จึงขอให้กกต.สั่งกระทรวงพม.ให้ยุติการกระทำดังกล่าว และสืบสวนสอบสวนเอาผิดตั้งแต่รัฐมนตรี พม. จนถึงระดับเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง รวมทั้งหากพบว่าเป็นการกระทำที่เกี่ยวเนื่องกับพรรคการเมืองก็ให้ดำเนินการเอาผิดกับพรรคการเมืองนั้น
นอกจากนี้ ทางทีมกฎหมายของพรรคยังพบว่ามีอีกหลายกระทรวง ที่มีการโยกย้ายงบประมาณมาเพื่อดำเนินการในลักษณะเดียวกันนี้ เพื่อช่วยเหลือผู้สมัครผู้ว่าฯที่รัฐบาลสนับสนุน ซึ่งก็จะได้มีการรวบรวมทำเป็นคำร้อง ยื่นต่อกกต. ต่อไป