นายองอาจ คล้ามไพบูลย์ ผอ.ศูนย์อำนวยการเลือกตั้งผู้ว่าฯ กทม.พรรคประชาธิปัตย์ กล่าวถึง การรณรงค์หาเสียงของพรรคในช่วงโค้งสุดท้ายว่า จะมีการจัดกิจกรรม "รวมพลคนหัวใจฟ้ารักกรุงเทพ" เริ่มงาน 6.30 น. ช่วงเช้าที่ลานพระบรมรูปทรงม้า โดยจะรวบรวมแกนนำพรรคทั้งหมดไม่ว่าจะเป็น ส.ส. สก. สข. นายกอบจ. นายกอบต. นายกเทศมนตรีที่ทำงานในระดับท้องถิ่นในนามพรรคทั่วประเทศ มาร่วมรณรงค์และมีกลุ่มเยาวชนของพรรคทุกกลุ่ม รวมทั้งมวลชนคนสนับสนุนพรรคประชาธิปัตย์ อีกหลายกลุ่มมาร่วมกันรณรงค์ ในวันเสาร์ที่ 23 ก.พ.56 ซึ่งจะมีขบวนแห่รถไปทุกพื้นที่ของ กทม. หลังจากมีพิธีสักการะพระบรมรูป ร.5 แล้ว
ส่วนในช่วงเย็นเวลา 16.00 น. จะมีการรวมพลอีกครั้งที่ลานคนเมืองหน้าศาลาว่าการกทม.เพื่อปราศรัยใหญ่หัวข้อ “ความจริงที่คนกรุงเทพฯต้องรู้” จึงขอเชิญชวนพี่น้องคนกรุงเทพฯ มาร่วมรับฟังการปราศรัยครั้งนี้ด้วย โดยวัตถุประสงค์ในการจัดงานมีสามประการ คือ 1 รวมพลังคนประชาธิปัตย์ ผู้สนับสนุนและคนที่รักพรรคร่วมรณรงค์ 2 กระจายกำลังตะลุยทุกพื้นที่ทั่วกทม. ขอคะแนนเสียงให้พรรค และ 3 เผยแพร่ความจริงหลายเรื่องในช่วงหลายปีที่ผ่านมา ที่คนกรุงเทพฯ ต้องรู้เพื่อประกอบการตัดสินใจในการเลือกตั้งผู้ว่าฯกทม. ในวันที่ 3 มี.ค.นี้ ซึ่งเชื่อมั่นว่าข้อมูลข่าวสารดังกล่าวจะเป็นปัจจัยสำคัญในการตัดสินใจเลือกตั้งของคนกรุงเทพ จึงถือเป็นมหกรรมครั้งสำคัญของพรรค
ด้านนายวิรัตน์ กัลยาศิริ ส.ส. สงขลา พรรคประชาธิปัตย์ (ปชป.) ในฐานะหัวหน้าทีมกฎหมาย ปชป.แถลงว่า มีพฤติกรรมที่น่าสงสัยของกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (พม.) ที่ได้จัดทำแบบสำรวจข้อมูลครัวเรือน เพื่อการจัดสวัสดิการและพัฒนาสังคม และแบบคำร้องขอความช่วยเหลือ อย่างละ 1 แผ่น ซึ่งแจกในพื้นที่ชุมชนที่มีสิทธิเลือกผู้ว่าฯกทม. ทั้งเป็นที่น่าสังเกตว่า แบบสำรวจดังกล่าวแจกเจาะจงในพื้นที่กทม.อย่างเดียว เนื่องจากในแบบสำรวจใช้คำว่า แขวง และ เขต ไม่มีตำบาล และอำเภอ ซึ่งแตกต่างไปจากแบบสำรวจทั่วไป ส่วนคนที่เดินแจกก็ไม่ใช่ข้าราชการพม. แต่เป็นคนของพรรคการเมืองหนึ่ง โดยผู้ที่เดินแจกระบุว่า ถ้าใครเซ็นแบบสำรวจ ก็จะได้รับเงินคนละ 1,000 บาท ถือเป็นพฤติกรรมที่เอื้อประโยชน์ให้กับผู้สมัครบางคนอย่างชัดเจน
นอกจากนี้ยังมีพิรุธ คือ ถ้ามองว่าเป็นการแจกเงินเพื่อช่วยเหลือผู้ประสบภัย จะต้องแจกเป็นครัวเรือน แต่กลับแจกเป็นรายหัว โดยดูจากบัญชีผู้มีสิทธิเลือกตั้ง อีกทั้งหากจะอ้างว่าช่วยเหลือผู้ประสบภัย ก็ไม่เป็นเหตุอันสมควร เพราะขณะนี้ไม่มีภัยพิบัติใดๆ ทั้งที่เป็นหน่วยงานองค์กรของรัฐที่ต้องเป็นกลาง ไม่แทรกแซงการเลือกตั้ง จึงถือเป็นการใช้เงินงบประมาณแผ่นดินไปซื้อเสียง
ทั้งนี้่จากการลงพื้นที่สำรวจในเขตพญาไท เมื่อวันที่ 18 ก.พ.ที่ผ่านมา ก็ได้หลักฐานที่เป็นทั้งเอกสาร และคลิปเสียงที่ระบุการกระทำชัดเจน อย่างไรก็ตามในวันที่ 21 ก.พ. จะได้ยื่นเอกสารและหลักฐานทั้งหมด ให้คณะกรรมการการเลือกตั้งประจำกรุงเทพมหานคร (กกต.กทม.) และคณะกรรมการการเลือกตั้ง(กกต.)เพื่อให้ตรวจสอบ และระงับการกระทำของพม. ต่อไป
ส่วนในช่วงเย็นเวลา 16.00 น. จะมีการรวมพลอีกครั้งที่ลานคนเมืองหน้าศาลาว่าการกทม.เพื่อปราศรัยใหญ่หัวข้อ “ความจริงที่คนกรุงเทพฯต้องรู้” จึงขอเชิญชวนพี่น้องคนกรุงเทพฯ มาร่วมรับฟังการปราศรัยครั้งนี้ด้วย โดยวัตถุประสงค์ในการจัดงานมีสามประการ คือ 1 รวมพลังคนประชาธิปัตย์ ผู้สนับสนุนและคนที่รักพรรคร่วมรณรงค์ 2 กระจายกำลังตะลุยทุกพื้นที่ทั่วกทม. ขอคะแนนเสียงให้พรรค และ 3 เผยแพร่ความจริงหลายเรื่องในช่วงหลายปีที่ผ่านมา ที่คนกรุงเทพฯ ต้องรู้เพื่อประกอบการตัดสินใจในการเลือกตั้งผู้ว่าฯกทม. ในวันที่ 3 มี.ค.นี้ ซึ่งเชื่อมั่นว่าข้อมูลข่าวสารดังกล่าวจะเป็นปัจจัยสำคัญในการตัดสินใจเลือกตั้งของคนกรุงเทพ จึงถือเป็นมหกรรมครั้งสำคัญของพรรค
ด้านนายวิรัตน์ กัลยาศิริ ส.ส. สงขลา พรรคประชาธิปัตย์ (ปชป.) ในฐานะหัวหน้าทีมกฎหมาย ปชป.แถลงว่า มีพฤติกรรมที่น่าสงสัยของกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (พม.) ที่ได้จัดทำแบบสำรวจข้อมูลครัวเรือน เพื่อการจัดสวัสดิการและพัฒนาสังคม และแบบคำร้องขอความช่วยเหลือ อย่างละ 1 แผ่น ซึ่งแจกในพื้นที่ชุมชนที่มีสิทธิเลือกผู้ว่าฯกทม. ทั้งเป็นที่น่าสังเกตว่า แบบสำรวจดังกล่าวแจกเจาะจงในพื้นที่กทม.อย่างเดียว เนื่องจากในแบบสำรวจใช้คำว่า แขวง และ เขต ไม่มีตำบาล และอำเภอ ซึ่งแตกต่างไปจากแบบสำรวจทั่วไป ส่วนคนที่เดินแจกก็ไม่ใช่ข้าราชการพม. แต่เป็นคนของพรรคการเมืองหนึ่ง โดยผู้ที่เดินแจกระบุว่า ถ้าใครเซ็นแบบสำรวจ ก็จะได้รับเงินคนละ 1,000 บาท ถือเป็นพฤติกรรมที่เอื้อประโยชน์ให้กับผู้สมัครบางคนอย่างชัดเจน
นอกจากนี้ยังมีพิรุธ คือ ถ้ามองว่าเป็นการแจกเงินเพื่อช่วยเหลือผู้ประสบภัย จะต้องแจกเป็นครัวเรือน แต่กลับแจกเป็นรายหัว โดยดูจากบัญชีผู้มีสิทธิเลือกตั้ง อีกทั้งหากจะอ้างว่าช่วยเหลือผู้ประสบภัย ก็ไม่เป็นเหตุอันสมควร เพราะขณะนี้ไม่มีภัยพิบัติใดๆ ทั้งที่เป็นหน่วยงานองค์กรของรัฐที่ต้องเป็นกลาง ไม่แทรกแซงการเลือกตั้ง จึงถือเป็นการใช้เงินงบประมาณแผ่นดินไปซื้อเสียง
ทั้งนี้่จากการลงพื้นที่สำรวจในเขตพญาไท เมื่อวันที่ 18 ก.พ.ที่ผ่านมา ก็ได้หลักฐานที่เป็นทั้งเอกสาร และคลิปเสียงที่ระบุการกระทำชัดเจน อย่างไรก็ตามในวันที่ 21 ก.พ. จะได้ยื่นเอกสารและหลักฐานทั้งหมด ให้คณะกรรมการการเลือกตั้งประจำกรุงเทพมหานคร (กกต.กทม.) และคณะกรรมการการเลือกตั้ง(กกต.)เพื่อให้ตรวจสอบ และระงับการกระทำของพม. ต่อไป