เมื่อวานนี้ (20 ก.พ.) นายประพันธ์ คูณมี ตัวแทนของพล.ต.อ. เสรีพิศุทธ์ เตมียาเวส ผู้สมัครผู้ว่าฯ กทม. หมายเลข 11 ได้นำหลักฐานมายื่นเพิ่มเติมต่อกกต.กทม. กรณีที่ได้ร้องขอให้ตรวจสอบการทำ และเผยแพร่ผลสำรวจความคิดเห็นประชาชนของ สวนดุสิตโพล ไม่เป็นไปตามหลักวิชาการ โดยเป็นมติ ครม. 31 ม.ค.56 ที่แต่งตั้ง นายสุขุม เฉลยทรัพย์ ประธานดำเนินงานสวนดุสิตโพล เป็นกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ ด้านมนุษยศาสตร์ ของคณะกรรมการคุรุสภา ตามที่นายพงศ์เทพ เทพกาญจนา รมว.ศึกษาธิการเสนอ และลงประกาศราชกิจจานุเบกษา เล่ม 130 ตอนพิเศษ 21 ง ลงวันที่14 ก.พ. 56 ซึ่งการแต่งตั้งดังกล่าวเชื่อว่า มีผลผลประโยชน์ทับซ้อนเกิดขึ้นแน่นอน เพราะคุรุสภาถือเป็นแหล่งผลประโยชน์ขนาดใหญ่ของวงการศึกษา ไม่แตกต่างจากประธานคณะกรรมการของรัฐวิสาหกิจอื่นๆ คิดว่าสิ่งที่ตนยื่นนั้น น่าจะเป็นเอกสารที่ครบถ้วนแล้ว หลังจากนี้ ก็เป็นหน้าที่ของกกต.กทม. ที่ต้องไปพิจารณาดำเนินการตรวจสอบข้อเท็จจริงต่อไป
ในวันเดียวกันนี้ นายสุขุม วงประสิทธิ์ ผู้สมัครผู้ว่าฯ กทม. หมายเลข 19 ได้เข้ายื่นเรื่องร้องเรียนต่อกกต.กทม. ขอให้ตรวจสอบ ปลัดกทม. ในฐานะผู้อำนวยการเลือกตั้งผู้ว่าฯกทม. กรณีเพิกเฉย ละเลย และละเว้นการปฏิบัติหน้าที่ ไม่อำนวยความสะดวกให้กับผู้สมัครเลือกตั้งผู้ว่าฯกทม.ได้ปราศรัยหาเสียง บริเวณศาลาภิรมย์ภักดี สวนลุมพีนี เมื่อวันที่ 17 ก.พ.ที่ผ่านมา ในช่วงเวลา 16.00-20.00 น. ทั้งที่ได้มีการประสานขอใช้พื้นที่ไปก่อนแล้ว แต่กลับปล่อยให้มีการแสดงคอนเสิร์ต ทำให้เกิดการเข้าใจผิดต่อประชาชน และผู้สมัครผู้ว่าฯกทม. ที่มาร่วมเวทีปราศรัยด้วยกัน ถือว่าไม่ปฏิบัติตามประกาศ คณะกรรมการการเลือกตั้ง พ.ศ.2551 ข้อ 6(3) ขณะเดียวกันยังถูกเจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัยในพื้นที่ดังกล่าวขัดขวางจนหา เสียงไม่ได้อีกด้วย
ขณะที่นายสัณหพจน์ สุขศรีเมือง ผู้สมัครหมายเลข 6 ก็ได้ยื่นขอให้ กกต.กทม. ขอให้ตรวจสอบ กรณีรายการ “คุยโขมงบ่าย 3 โมงภาคพิเศษ เจาะลึกศึกเลือกตั้งผู้ว่าฯกทม. เลือกปฎิบัติ เชิญผู้สมัครชี้แจงไม่ครบทุกคน รวมทั้งมีการใช้คำพูดชี้นำว่า จะมีผู้สมัครเพียงไม่กี่คนที่อยู่ในข่ายได้รับเลือกตั้ง เข้าข่ายผิด มาตรา 57(5) จึงขอให้กกต.กทม.ให้ความเป็นธรรมกับผู้สมัครคนอื่นๆ และตรวจสอบการทำ หน้าที่ของสื่อด้วย
ด้านพล.ต.ท. ทวีศักดิ์ ตู้จินดา ประธาน กกต.กทม. ระบุว่า รัฐธรรมนูญมาตรา45 ให้สิทธิและเสรีภาพ สื่อมวลชนในการนำข้อมูลต่างๆ ในการทำหน้าที่ และยืนยันว่าการทำหน้าที่ของกกต.กทม. เป็นไปตามระเบียบที่มีอยู่ อย่างไรตามหากบุคคลใดพบเห็นการกระทำที่เข้าข่ายผิดกฎหมายเลือกตั้ง สามารถดำเนินการยื่นร้องมาได้ โดย กกต.กทม.จะพิจารณาบนเงื่อนไขที่ว่า เป็นผู้มีสิทธิเลือกตั้งที่พบเห็นการกระทำตาม มาตรา 27 พ.ร.บ.การเลือกตั้งท้องถิ่น ก็สามารถร้องทุกข์กับฝ่ายปกครองหรือกกต.ได้ อีกกรณีหนึ่งคือ เป็นผู้สมัครรับเลือกตั้งที่ร้องได้ ซึ่งขณะนี้คำร้องที่มีเข้ามายังกกต.กทม. มีทั้งหมด 5 คำร้อง รวมของนายสัณหพจน์ ที่ยื่นในครั้งนี้ โดยขณะนี้ 4 คำร้อง อยู่ในการพิจารณาของเจ้าหน้าที่สืบสวนกกต.กทม. เชื่อว่าในวันศุกร์ที่ 22 ก.พ. น่าจะนำเข้าที่ประชุมกกต.กทม. พิจารณาได้ว่าจะรับเป็นคำร้องไว้วินิจฉัยหรือไม่
ในวันเดียวกันนี้ นายสุขุม วงประสิทธิ์ ผู้สมัครผู้ว่าฯ กทม. หมายเลข 19 ได้เข้ายื่นเรื่องร้องเรียนต่อกกต.กทม. ขอให้ตรวจสอบ ปลัดกทม. ในฐานะผู้อำนวยการเลือกตั้งผู้ว่าฯกทม. กรณีเพิกเฉย ละเลย และละเว้นการปฏิบัติหน้าที่ ไม่อำนวยความสะดวกให้กับผู้สมัครเลือกตั้งผู้ว่าฯกทม.ได้ปราศรัยหาเสียง บริเวณศาลาภิรมย์ภักดี สวนลุมพีนี เมื่อวันที่ 17 ก.พ.ที่ผ่านมา ในช่วงเวลา 16.00-20.00 น. ทั้งที่ได้มีการประสานขอใช้พื้นที่ไปก่อนแล้ว แต่กลับปล่อยให้มีการแสดงคอนเสิร์ต ทำให้เกิดการเข้าใจผิดต่อประชาชน และผู้สมัครผู้ว่าฯกทม. ที่มาร่วมเวทีปราศรัยด้วยกัน ถือว่าไม่ปฏิบัติตามประกาศ คณะกรรมการการเลือกตั้ง พ.ศ.2551 ข้อ 6(3) ขณะเดียวกันยังถูกเจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัยในพื้นที่ดังกล่าวขัดขวางจนหา เสียงไม่ได้อีกด้วย
ขณะที่นายสัณหพจน์ สุขศรีเมือง ผู้สมัครหมายเลข 6 ก็ได้ยื่นขอให้ กกต.กทม. ขอให้ตรวจสอบ กรณีรายการ “คุยโขมงบ่าย 3 โมงภาคพิเศษ เจาะลึกศึกเลือกตั้งผู้ว่าฯกทม. เลือกปฎิบัติ เชิญผู้สมัครชี้แจงไม่ครบทุกคน รวมทั้งมีการใช้คำพูดชี้นำว่า จะมีผู้สมัครเพียงไม่กี่คนที่อยู่ในข่ายได้รับเลือกตั้ง เข้าข่ายผิด มาตรา 57(5) จึงขอให้กกต.กทม.ให้ความเป็นธรรมกับผู้สมัครคนอื่นๆ และตรวจสอบการทำ หน้าที่ของสื่อด้วย
ด้านพล.ต.ท. ทวีศักดิ์ ตู้จินดา ประธาน กกต.กทม. ระบุว่า รัฐธรรมนูญมาตรา45 ให้สิทธิและเสรีภาพ สื่อมวลชนในการนำข้อมูลต่างๆ ในการทำหน้าที่ และยืนยันว่าการทำหน้าที่ของกกต.กทม. เป็นไปตามระเบียบที่มีอยู่ อย่างไรตามหากบุคคลใดพบเห็นการกระทำที่เข้าข่ายผิดกฎหมายเลือกตั้ง สามารถดำเนินการยื่นร้องมาได้ โดย กกต.กทม.จะพิจารณาบนเงื่อนไขที่ว่า เป็นผู้มีสิทธิเลือกตั้งที่พบเห็นการกระทำตาม มาตรา 27 พ.ร.บ.การเลือกตั้งท้องถิ่น ก็สามารถร้องทุกข์กับฝ่ายปกครองหรือกกต.ได้ อีกกรณีหนึ่งคือ เป็นผู้สมัครรับเลือกตั้งที่ร้องได้ ซึ่งขณะนี้คำร้องที่มีเข้ามายังกกต.กทม. มีทั้งหมด 5 คำร้อง รวมของนายสัณหพจน์ ที่ยื่นในครั้งนี้ โดยขณะนี้ 4 คำร้อง อยู่ในการพิจารณาของเจ้าหน้าที่สืบสวนกกต.กทม. เชื่อว่าในวันศุกร์ที่ 22 ก.พ. น่าจะนำเข้าที่ประชุมกกต.กทม. พิจารณาได้ว่าจะรับเป็นคำร้องไว้วินิจฉัยหรือไม่