*เคล็ดการฝึกอาสนะ ในหทะโยคะ (ต่อ)*
ปรัชญาในการฝึกอาสนะของเรา มิควรหยุดอยู่แค่การบริหารร่างกายเท่านั้น แต่เราควรจะมองอาสนะว่าเป็นเครื่องมืออันสำคัญยิ่งที่ตัวเราใช้หลอมรวมร่างกาย ลมหายใจ จิตใจ จิตสำนึก สติปัญญา มโนธรรม และแก่นแกนของตัวเราให้เป็นหนึ่งเดียวกัน เพื่อเข้าถึงอิสรภาพสูงสุด อาสนะควรถูกเราใช้เป็นเครื่องมือของการย่างก้าวสู่การแสวงหาภายใน โดยเริ่มจากการสร้างความมั่นคงของร่างกาย ลึกลงไปสู่ความมั่นคงทางอารมณ์ ซึ่งจะนำไปสู่ความกระจ่างแจ้งของสติปัญญา ปรีชาญาณ และการเผยตัวออกมาของจิตวิญญาณในที่สุด
เราต้องไม่ประเมินคุณค่าของการฝึกอาสนะต่ำไปเป็นอันขาด เพราะแม้แต่ท่าอาสนะที่ง่ายที่สุด หรือท่านั่งอาสนะเพื่อการเจริญสมาธิ ตัวเราก็จะมี ประสบการณ์ของการแสวงหา 3 ระดับ เกิดขึ้นอยู่แล้ว นั่นคือ
(1) การแสวงหาภายนอก ซึ่งทำให้ร่างกายเสถียร
(2) การแสวงหาภายใน ซึ่งทำให้สติปัญญามั่นคง
(3) การแสวงหาด้านในสุด ซึ่งนำความรัก ความเมตตา ความกรุณาออกมาจากจิตวิญญาณ
ต่อให้ผู้ฝึกโยคะจะยังไม่ได้ตระหนักถึงแง่มุมทั้ง 3 ระดับนี้อย่างครบถ้วนในขณะฝึกอาสนะ แต่ทว่าประสบการณ์เหล่านี้ล้วนมีอยู่จริง และมันจะค่อยๆ รู้สึกได้เอง เมื่อผู้ฝึกทำการฝึกฝนอาสนะอย่างต่อเนื่องและทุ่มเท โดยที่ผู้เริ่มฝึกโยคะหรืออาสนะจะเริ่มต้นจากการ “รู้สึกดี” ขึ้นมาก่อนหลังการฝึกอาสนะ หรือในระหว่างช่วงการฝึกอาสนะ ต่อจากนั้น เมื่อฝึกอาสนะอย่างต่อเนื่อง นานวันเข้าความ “รู้สึกดี” นี้จะค่อยๆ แผ่ขยายออกไปครอบคลุมการดำรงอยู่ในชีวิตประจำวันของผู้นั้นมากขึ้นเรื่อยๆ อย่างเป็นไปเอง จนกระทั่งผู้นั้นตระหนักได้เองว่า การฝึกอาสนะไม่เพียงส่งผลดีต่อสรีระภายนอกหรือร่างกายของตนเท่านั้น หากยังส่งผลดีต่อสรีระภายในและจิตใจของตนด้วย
โดยผ่านการฝึกอาสนะ ผู้ฝึกได้เรียนรู้ที่จะควบคุมตนเอง โยคะคือศาสตร์ที่ให้อิสรภาพที่แท้จริงแก่ผู้ฝึกได้ โดยผ่านการเข้าถึงความสุขที่มีวินัย ที่ได้จากการฝึกอาสนะ เพราะฉะนั้น แก่นแท้ของโยคะ จึงมิใช่การแสดงออกภายนอก และยิ่งมิใช่การประกวดแข่งขันกันทางสรีระ แต่เป็นการพัฒนาภายในเพื่อเข้าถึงความจริง ความดี ความงาม และความศักดิ์สิทธิ์ของชีวิต โดยที่ การพัฒนาภายในนี้สามารถทำได้โดยผ่านการฝึกอาสนะ ซึ่งผู้ฝึกควรจะต้องบรรลุสภาวะของความมั่นคงอันหมดจดของร่างกาย ความนิ่งของจิตใจ และความกรุณาของดวงจิตไปพร้อมๆ กันในขณะฝึกอาสนะ
ในการฝึกอาสนะ ผู้ฝึกควรจะต้องทำให้กายเนื้อ กายปราณ กายอารมณ์ กายแห่งจิต และกายแห่งจิตวิญญาณอยู่ในแนวเดียวกัน และกลมกลืนกัน หรืออาจกล่าวในอีกนัยหนึ่งได้ว่า ในการฝึกอาสนะ ผู้ฝึกควรจะต้องทำให้กายเนื้อกับกายทิพย์ชั้นต่างๆ อยู่ในแนวเดียวกัน กลมกลืนกัน และหลอมรวมกัน อันเป็นกระบวนการชำระล้างโลกภายในของตัวผู้ฝึกเอง สิ่งนี้สามารถทำได้โดยการฝึกอาสนะหรือดัดตนด้วยการ “ตามรู้” หรือการตระหนักรู้ทางกายที่ประสานกับการตระหนักรู้ทางใจ ซึ่งก็คือ การเคลื่อนไหวอย่างมีสติที่รู้ตัวทั่วพร้อม ทั้งในขณะดัดตนทำท่าอาสนะ และในขณะที่กำลังฝึกปราณายามะควบคุมการหายใจ ด้วยเหตุนี้ การมีความจดจ่อใส่ใจ ในขณะที่กำลังฝึกอาสนะและปราณายามะจึงมีความสำคัญมากเหลือเกิน
ผู้ฝึกควรระลึกอยู่เสมอว่า เป้าหมายของการฝึกอาสนะทั้งหมดนั้น อยู่ที่การทำอาสนะจากแก่นแกนของตัวผู้ฝึก และยืดออกอย่างมีชีวิตชีวาไปสู่พื้นผิวของร่างกาย สิ่งที่จำเป็นในขณะทำอาสนะคือ ผู้ฝึกต้องยืดและขยายออกจากแก่นแกนภายในของตัวผู้ฝึกเอง โดยที่การยืดออกในขณะทำอาสนะคือ การมีความจดจ่อใส่ใจ และการขยายออกในขณะทำอาสนะคือ การมีความตระหนักรู้ไปยังส่วนปลายสุดของร่างกาย ในขณะฝึกอาสนะ การยืดและการขยายออกควรเป็นไปอย่างมั่นคง โดยหยั่งรากลึกในศูนย์กลางของตัวผู้ฝึกเสมอ หรืออาจกล่าวในอีกนัยหนึ่งได้ว่า การยืดและการขยายออกในขณะฝึกอาสนะ จะต้องไม่เสียการเชื่อมโยงกับแก่นแกนหรือศูนย์กลางของตัวผู้ฝึกเป็นอันขาด
การเหยียดยืดที่มากเกินไป และไม่คำนึงถึงความสามารถของร่างกายตัวเอง ล้วนเป็นการเหยียบยืดที่ขาดการเชื่อมโยงกับศูนย์กลางหรือแก่นแกนทั้งสิ้น แต่ผู้ฝึกก็ไม่ควรเหยียดยืดน้อยเกินไปเช่นกัน เพราะการเหยียดยืดที่น้อยเกินไป สะท้อนการขาดความเชื่อมั่น และการหลบเลี่ยงหลีกหนีการท้าทายขีดจำกัดของตัวเองของผู้ฝึก แนวทางที่ถูกต้องคือ การเหยียดยืดจากแก่นแกน และรากฐานของแต่ละอาสนะ โดยพยายามยืดและขยายร่างกายเข้าไว้ แต่ต้องกระทำอย่างมีชีวิตชีวา ที่ทั้งไม่โอ้อวด แต่ก็ไม่หลบเลี่ยงหลีกหนี เพียงมุ่งเหยียดยืดและขยายออกไปอย่างเต็มที่ เท่าที่จะทำได้ทุกครั้งในขณะที่ฝึกอาสนะเท่านั้น
เนื่องเพราะ ความท้าทายของโยคะ คือการไปพ้นจากข้อจำกัดของผู้ฝึกอย่างมีเหตุผล โยคะมีเป้าหมายเพื่อทำให้ร่างกายของผู้ฝึกบริสุทธิ์ และทำให้กายทิพย์ชั้นต่างๆ ของผู้ฝึกบริสุทธิ์ อันเป็นกระบวนการขัดเกลาและชำระจิตใจด้วยในเวลาเดียวกัน อาสนะคือ ภาวะที่วางใจเป็นกลางต่อสรรพสิ่ง หากผู้ฝึกไม่ควบคุมความอยาก ประโยชน์ของอาสนะย่อมลดน้อยถอยลง แต่ถ้าหากผู้ฝึกควบคุมความอยากได้ และทำการฝึกอาสนะ ชีวิตจะประสบความสำเร็จ ผู้ฝึกควรตั้งเป้าหมายไว้ที่การไปให้ถึงความสมบูรณ์ โดยมุ่งมั่นที่จะก้าวหน้าเล็กๆ น้อยๆ ทุกๆ วัน ซึ่งจะนำไปสู่ความสมบูรณ์นั้น
ความอดทนผนวกกับการฝึกอย่างมีวินัย จะนำมาซึ่งเจตจำนงที่ตนเองปรารถนา หรือเจตจำนงที่จะลุถึงความสงบและอิสรภาพสูงสุด เจตจำนงนี้มีขึ้นมาได้จากความมุ่งมั่นที่จะทำ และยังต้องเป็นการกระทำอย่างมีชีวิตชีวา และอย่างกระตือรือร้นใส่ใจทุกครั้งด้วย มิใช่การกระทำอย่างเป็นกลไก และซ้ำซากจำเจเป็นอันขาด ผู้ฝึกจึงควรฝึกอาสนะแต่ละครั้งด้วยจิตใจที่สดชื่น เบิกบาน และพยายามหาทางฝึกด้วยวิธีการที่สดใหม่อยู่เสมอ เพื่อกระตุ้นความจดจ่อใส่ใจ กล่าวอีกนัยหนึ่งก็คือ ผู้ฝึกต้องรังสรรค์ความรู้สึกงดงาม อิสรภาพ และอนันตภาพขึ้นภายในตัวเอง ในขณะฝึกอาสนะ โดยที่สิ่งเหล่านี้สามารถสัมผัสรับรู้ได้ในปัจจุบันขณะเท่านั้น
ที่ผ่านมา ผมได้แนะนำท่าอาสนะ 16 ท่า เพื่อการเสริมสร้างร่างกายให้แข็งแรง และเพื่อการผ่อนคลายไปแล้ว ต่อไปผมจะขอแนะนำ อาสนะเพื่อการเจริญสมาธิ และเพื่อการฝึกปราณายามะ เพื่อเตรียมตัวสำหรับการฝึกโยคะในขั้นสูงต่อไป
(17) ปทุมอาสนะ (ท่าดอกบัวหรือท่าขัดสมาธิเพชร) ปทุมอาสนะ เป็นท่าคลาสสิกสำหรับการนั่งสมาธิ และการฝึกหายใจหรือปราณายามะ ถือเป็นท่านั่งที่มั่นคงช่วยให้กายตั้งมั่น เริ่มจากท่านั่งขัดสมาธิ ยกเท้าขวาวางบนต้นขาซ้าย จากนั้นยกเท้าซ้ายวางบนต้นขาขวา ขยับเท้าทั้ง 2 ขึ้นชิดบริเวณช่องท้อง ขยับเข่าทั้ง 2 เข้าใกล้กัน นั่งหลังตรง แอ่นอกนิ่งอยู่ในท่า มือทั้ง 2 วางบนต้นขา ฝ่ามือหงาย คงนิ่งไว้เท่าที่จะทำได้โดยไม่ฝืน หายใจตามปกติค่อยๆ ฝึกจนทำได้นานขึ้นๆ ตามลำดับ หากเริ่มฝึกใหม่ให้ทำไม่เกิน 1 นาที แล้วค่อยเพิ่มเวลาขึ้น เมื่อชำนาญแล้วจึงใช้ท่านี้เพื่อการนั่งสมาธิหรือฝึกปราณายามะต่อไป ตอนคืนกลับค่อยๆ ยกขาออกทีละข้าง
(18) วัชระอาสนะ (ท่านั่งแบบนักรบ)
วัชระอาสนะเป็นท่านั่งคุกเข่าแบบที่ซามูไร หรือนักรบญี่ปุ่นนิยมใช้ในการฝึกลมปราณและสมาธิ เริ่มจากท่านั่งหลังตรง จากนั้นพับเข่าซ้าย แบะส้นเท้าซ้ายออก นั่งบนหลังเท้าซ้าย น้ำหนักตัวตกบนเท้าซ้าย พับเข่าขวา นั่งบนหลังเท้าทั้ง 2 ที่แบะออก ปลายนิ้วเท้าจดติดกัน เฉลี่ยให้น้ำหนักตกลงบนหลังเท้าทั้ง 2 เข่าชิด มือทั้ง 2 วางไว้บนเข่า ยืดลำตัวให้กระดูกสันหลังเหยียดตรง ผ่อนคลายช่วงหน้าท้อง ตอนคืนกลับค่อยๆ เหยียดขาออกทีละข้าง
(19) สิทธะอาสนะ (ท่านั่งแบบผู้วิเศษ)
สิทธะอาสนะ เป็นท่านั่งสมาธิที่วิชากุณฑาลินีโยคะให้ความสำคัญมากเป็นพิเศษ พอๆ กับปทุมอาสนะ หรือยิ่งกว่า เพราะโยคีสมัยโบราณเชื่อว่า ท่าสิทธะอาสนะนี้ช่วยชำระล้างท่อปราณทั้งหมดในร่างกายของผู้ฝึก และยังกระตุ้นพลังกุณฑาลินีได้อย่างมีประสิทธิภาพ เริ่มจากท่านั่งหลังตรง งอเข่าซ้ายเข้ามาให้ส้นเท้าซ้ายอยู่ติดกับรอยฝีเย็บ (ระหว่างอวัยวะเพศกับรูตูด) โดยใช้มือดึงเข้ามา โดยที่ฝ่าเท้าซ้ายแนบติดกับด้านในของต้นขาขวา จากนั้นใช้มือดึงขาขวาหรืองอเข่าขวาเข้ามา โดยให้ส้นเท้าขวาอยู่บริเวณที่เหนือกว่าอวัยวะเพศ โดยเอาปลายเท้าขวาเสียบระหว่างต้นขากับพับในของขาซ้าย โดยที่ฝ่าเท้าขวาแนบอยู่กับต้นขาซ้าย ยืดหลังตรง แอ่นอก นิ่งอยู่ในท่า มือทั้ง 2 วางบนต้นขา ฝ่ามือหงาย โดยหัวแม่มือกับนิ้วชี้แตะกันเบาๆ เป็นวงกลม ส่วนนิ้วที่เหลือเหยียดตรง ขณะเดียวกัน ให้เก็บคางเพื่อสะดวกกับการทำพันธะ และมุทรา (รายละเอียดจะกล่าวในภายหลัง) และพยายามไม่ให้เข่าลอยขึ้นจากพื้น
ทั้งหมดนี้คือ ท่าอาสนะ 3 ท่าสำหรับการฝึกสมาธิ และปราณายามะที่ใช้ในหทะโยคะ และกุณฑาลินีโยคะ
www.dragon-press.com
ปรัชญาในการฝึกอาสนะของเรา มิควรหยุดอยู่แค่การบริหารร่างกายเท่านั้น แต่เราควรจะมองอาสนะว่าเป็นเครื่องมืออันสำคัญยิ่งที่ตัวเราใช้หลอมรวมร่างกาย ลมหายใจ จิตใจ จิตสำนึก สติปัญญา มโนธรรม และแก่นแกนของตัวเราให้เป็นหนึ่งเดียวกัน เพื่อเข้าถึงอิสรภาพสูงสุด อาสนะควรถูกเราใช้เป็นเครื่องมือของการย่างก้าวสู่การแสวงหาภายใน โดยเริ่มจากการสร้างความมั่นคงของร่างกาย ลึกลงไปสู่ความมั่นคงทางอารมณ์ ซึ่งจะนำไปสู่ความกระจ่างแจ้งของสติปัญญา ปรีชาญาณ และการเผยตัวออกมาของจิตวิญญาณในที่สุด
เราต้องไม่ประเมินคุณค่าของการฝึกอาสนะต่ำไปเป็นอันขาด เพราะแม้แต่ท่าอาสนะที่ง่ายที่สุด หรือท่านั่งอาสนะเพื่อการเจริญสมาธิ ตัวเราก็จะมี ประสบการณ์ของการแสวงหา 3 ระดับ เกิดขึ้นอยู่แล้ว นั่นคือ
(1) การแสวงหาภายนอก ซึ่งทำให้ร่างกายเสถียร
(2) การแสวงหาภายใน ซึ่งทำให้สติปัญญามั่นคง
(3) การแสวงหาด้านในสุด ซึ่งนำความรัก ความเมตตา ความกรุณาออกมาจากจิตวิญญาณ
ต่อให้ผู้ฝึกโยคะจะยังไม่ได้ตระหนักถึงแง่มุมทั้ง 3 ระดับนี้อย่างครบถ้วนในขณะฝึกอาสนะ แต่ทว่าประสบการณ์เหล่านี้ล้วนมีอยู่จริง และมันจะค่อยๆ รู้สึกได้เอง เมื่อผู้ฝึกทำการฝึกฝนอาสนะอย่างต่อเนื่องและทุ่มเท โดยที่ผู้เริ่มฝึกโยคะหรืออาสนะจะเริ่มต้นจากการ “รู้สึกดี” ขึ้นมาก่อนหลังการฝึกอาสนะ หรือในระหว่างช่วงการฝึกอาสนะ ต่อจากนั้น เมื่อฝึกอาสนะอย่างต่อเนื่อง นานวันเข้าความ “รู้สึกดี” นี้จะค่อยๆ แผ่ขยายออกไปครอบคลุมการดำรงอยู่ในชีวิตประจำวันของผู้นั้นมากขึ้นเรื่อยๆ อย่างเป็นไปเอง จนกระทั่งผู้นั้นตระหนักได้เองว่า การฝึกอาสนะไม่เพียงส่งผลดีต่อสรีระภายนอกหรือร่างกายของตนเท่านั้น หากยังส่งผลดีต่อสรีระภายในและจิตใจของตนด้วย
โดยผ่านการฝึกอาสนะ ผู้ฝึกได้เรียนรู้ที่จะควบคุมตนเอง โยคะคือศาสตร์ที่ให้อิสรภาพที่แท้จริงแก่ผู้ฝึกได้ โดยผ่านการเข้าถึงความสุขที่มีวินัย ที่ได้จากการฝึกอาสนะ เพราะฉะนั้น แก่นแท้ของโยคะ จึงมิใช่การแสดงออกภายนอก และยิ่งมิใช่การประกวดแข่งขันกันทางสรีระ แต่เป็นการพัฒนาภายในเพื่อเข้าถึงความจริง ความดี ความงาม และความศักดิ์สิทธิ์ของชีวิต โดยที่ การพัฒนาภายในนี้สามารถทำได้โดยผ่านการฝึกอาสนะ ซึ่งผู้ฝึกควรจะต้องบรรลุสภาวะของความมั่นคงอันหมดจดของร่างกาย ความนิ่งของจิตใจ และความกรุณาของดวงจิตไปพร้อมๆ กันในขณะฝึกอาสนะ
ในการฝึกอาสนะ ผู้ฝึกควรจะต้องทำให้กายเนื้อ กายปราณ กายอารมณ์ กายแห่งจิต และกายแห่งจิตวิญญาณอยู่ในแนวเดียวกัน และกลมกลืนกัน หรืออาจกล่าวในอีกนัยหนึ่งได้ว่า ในการฝึกอาสนะ ผู้ฝึกควรจะต้องทำให้กายเนื้อกับกายทิพย์ชั้นต่างๆ อยู่ในแนวเดียวกัน กลมกลืนกัน และหลอมรวมกัน อันเป็นกระบวนการชำระล้างโลกภายในของตัวผู้ฝึกเอง สิ่งนี้สามารถทำได้โดยการฝึกอาสนะหรือดัดตนด้วยการ “ตามรู้” หรือการตระหนักรู้ทางกายที่ประสานกับการตระหนักรู้ทางใจ ซึ่งก็คือ การเคลื่อนไหวอย่างมีสติที่รู้ตัวทั่วพร้อม ทั้งในขณะดัดตนทำท่าอาสนะ และในขณะที่กำลังฝึกปราณายามะควบคุมการหายใจ ด้วยเหตุนี้ การมีความจดจ่อใส่ใจ ในขณะที่กำลังฝึกอาสนะและปราณายามะจึงมีความสำคัญมากเหลือเกิน
ผู้ฝึกควรระลึกอยู่เสมอว่า เป้าหมายของการฝึกอาสนะทั้งหมดนั้น อยู่ที่การทำอาสนะจากแก่นแกนของตัวผู้ฝึก และยืดออกอย่างมีชีวิตชีวาไปสู่พื้นผิวของร่างกาย สิ่งที่จำเป็นในขณะทำอาสนะคือ ผู้ฝึกต้องยืดและขยายออกจากแก่นแกนภายในของตัวผู้ฝึกเอง โดยที่การยืดออกในขณะทำอาสนะคือ การมีความจดจ่อใส่ใจ และการขยายออกในขณะทำอาสนะคือ การมีความตระหนักรู้ไปยังส่วนปลายสุดของร่างกาย ในขณะฝึกอาสนะ การยืดและการขยายออกควรเป็นไปอย่างมั่นคง โดยหยั่งรากลึกในศูนย์กลางของตัวผู้ฝึกเสมอ หรืออาจกล่าวในอีกนัยหนึ่งได้ว่า การยืดและการขยายออกในขณะฝึกอาสนะ จะต้องไม่เสียการเชื่อมโยงกับแก่นแกนหรือศูนย์กลางของตัวผู้ฝึกเป็นอันขาด
การเหยียดยืดที่มากเกินไป และไม่คำนึงถึงความสามารถของร่างกายตัวเอง ล้วนเป็นการเหยียบยืดที่ขาดการเชื่อมโยงกับศูนย์กลางหรือแก่นแกนทั้งสิ้น แต่ผู้ฝึกก็ไม่ควรเหยียดยืดน้อยเกินไปเช่นกัน เพราะการเหยียดยืดที่น้อยเกินไป สะท้อนการขาดความเชื่อมั่น และการหลบเลี่ยงหลีกหนีการท้าทายขีดจำกัดของตัวเองของผู้ฝึก แนวทางที่ถูกต้องคือ การเหยียดยืดจากแก่นแกน และรากฐานของแต่ละอาสนะ โดยพยายามยืดและขยายร่างกายเข้าไว้ แต่ต้องกระทำอย่างมีชีวิตชีวา ที่ทั้งไม่โอ้อวด แต่ก็ไม่หลบเลี่ยงหลีกหนี เพียงมุ่งเหยียดยืดและขยายออกไปอย่างเต็มที่ เท่าที่จะทำได้ทุกครั้งในขณะที่ฝึกอาสนะเท่านั้น
เนื่องเพราะ ความท้าทายของโยคะ คือการไปพ้นจากข้อจำกัดของผู้ฝึกอย่างมีเหตุผล โยคะมีเป้าหมายเพื่อทำให้ร่างกายของผู้ฝึกบริสุทธิ์ และทำให้กายทิพย์ชั้นต่างๆ ของผู้ฝึกบริสุทธิ์ อันเป็นกระบวนการขัดเกลาและชำระจิตใจด้วยในเวลาเดียวกัน อาสนะคือ ภาวะที่วางใจเป็นกลางต่อสรรพสิ่ง หากผู้ฝึกไม่ควบคุมความอยาก ประโยชน์ของอาสนะย่อมลดน้อยถอยลง แต่ถ้าหากผู้ฝึกควบคุมความอยากได้ และทำการฝึกอาสนะ ชีวิตจะประสบความสำเร็จ ผู้ฝึกควรตั้งเป้าหมายไว้ที่การไปให้ถึงความสมบูรณ์ โดยมุ่งมั่นที่จะก้าวหน้าเล็กๆ น้อยๆ ทุกๆ วัน ซึ่งจะนำไปสู่ความสมบูรณ์นั้น
ความอดทนผนวกกับการฝึกอย่างมีวินัย จะนำมาซึ่งเจตจำนงที่ตนเองปรารถนา หรือเจตจำนงที่จะลุถึงความสงบและอิสรภาพสูงสุด เจตจำนงนี้มีขึ้นมาได้จากความมุ่งมั่นที่จะทำ และยังต้องเป็นการกระทำอย่างมีชีวิตชีวา และอย่างกระตือรือร้นใส่ใจทุกครั้งด้วย มิใช่การกระทำอย่างเป็นกลไก และซ้ำซากจำเจเป็นอันขาด ผู้ฝึกจึงควรฝึกอาสนะแต่ละครั้งด้วยจิตใจที่สดชื่น เบิกบาน และพยายามหาทางฝึกด้วยวิธีการที่สดใหม่อยู่เสมอ เพื่อกระตุ้นความจดจ่อใส่ใจ กล่าวอีกนัยหนึ่งก็คือ ผู้ฝึกต้องรังสรรค์ความรู้สึกงดงาม อิสรภาพ และอนันตภาพขึ้นภายในตัวเอง ในขณะฝึกอาสนะ โดยที่สิ่งเหล่านี้สามารถสัมผัสรับรู้ได้ในปัจจุบันขณะเท่านั้น
ที่ผ่านมา ผมได้แนะนำท่าอาสนะ 16 ท่า เพื่อการเสริมสร้างร่างกายให้แข็งแรง และเพื่อการผ่อนคลายไปแล้ว ต่อไปผมจะขอแนะนำ อาสนะเพื่อการเจริญสมาธิ และเพื่อการฝึกปราณายามะ เพื่อเตรียมตัวสำหรับการฝึกโยคะในขั้นสูงต่อไป
(17) ปทุมอาสนะ (ท่าดอกบัวหรือท่าขัดสมาธิเพชร) ปทุมอาสนะ เป็นท่าคลาสสิกสำหรับการนั่งสมาธิ และการฝึกหายใจหรือปราณายามะ ถือเป็นท่านั่งที่มั่นคงช่วยให้กายตั้งมั่น เริ่มจากท่านั่งขัดสมาธิ ยกเท้าขวาวางบนต้นขาซ้าย จากนั้นยกเท้าซ้ายวางบนต้นขาขวา ขยับเท้าทั้ง 2 ขึ้นชิดบริเวณช่องท้อง ขยับเข่าทั้ง 2 เข้าใกล้กัน นั่งหลังตรง แอ่นอกนิ่งอยู่ในท่า มือทั้ง 2 วางบนต้นขา ฝ่ามือหงาย คงนิ่งไว้เท่าที่จะทำได้โดยไม่ฝืน หายใจตามปกติค่อยๆ ฝึกจนทำได้นานขึ้นๆ ตามลำดับ หากเริ่มฝึกใหม่ให้ทำไม่เกิน 1 นาที แล้วค่อยเพิ่มเวลาขึ้น เมื่อชำนาญแล้วจึงใช้ท่านี้เพื่อการนั่งสมาธิหรือฝึกปราณายามะต่อไป ตอนคืนกลับค่อยๆ ยกขาออกทีละข้าง
(18) วัชระอาสนะ (ท่านั่งแบบนักรบ)
วัชระอาสนะเป็นท่านั่งคุกเข่าแบบที่ซามูไร หรือนักรบญี่ปุ่นนิยมใช้ในการฝึกลมปราณและสมาธิ เริ่มจากท่านั่งหลังตรง จากนั้นพับเข่าซ้าย แบะส้นเท้าซ้ายออก นั่งบนหลังเท้าซ้าย น้ำหนักตัวตกบนเท้าซ้าย พับเข่าขวา นั่งบนหลังเท้าทั้ง 2 ที่แบะออก ปลายนิ้วเท้าจดติดกัน เฉลี่ยให้น้ำหนักตกลงบนหลังเท้าทั้ง 2 เข่าชิด มือทั้ง 2 วางไว้บนเข่า ยืดลำตัวให้กระดูกสันหลังเหยียดตรง ผ่อนคลายช่วงหน้าท้อง ตอนคืนกลับค่อยๆ เหยียดขาออกทีละข้าง
(19) สิทธะอาสนะ (ท่านั่งแบบผู้วิเศษ)
สิทธะอาสนะ เป็นท่านั่งสมาธิที่วิชากุณฑาลินีโยคะให้ความสำคัญมากเป็นพิเศษ พอๆ กับปทุมอาสนะ หรือยิ่งกว่า เพราะโยคีสมัยโบราณเชื่อว่า ท่าสิทธะอาสนะนี้ช่วยชำระล้างท่อปราณทั้งหมดในร่างกายของผู้ฝึก และยังกระตุ้นพลังกุณฑาลินีได้อย่างมีประสิทธิภาพ เริ่มจากท่านั่งหลังตรง งอเข่าซ้ายเข้ามาให้ส้นเท้าซ้ายอยู่ติดกับรอยฝีเย็บ (ระหว่างอวัยวะเพศกับรูตูด) โดยใช้มือดึงเข้ามา โดยที่ฝ่าเท้าซ้ายแนบติดกับด้านในของต้นขาขวา จากนั้นใช้มือดึงขาขวาหรืองอเข่าขวาเข้ามา โดยให้ส้นเท้าขวาอยู่บริเวณที่เหนือกว่าอวัยวะเพศ โดยเอาปลายเท้าขวาเสียบระหว่างต้นขากับพับในของขาซ้าย โดยที่ฝ่าเท้าขวาแนบอยู่กับต้นขาซ้าย ยืดหลังตรง แอ่นอก นิ่งอยู่ในท่า มือทั้ง 2 วางบนต้นขา ฝ่ามือหงาย โดยหัวแม่มือกับนิ้วชี้แตะกันเบาๆ เป็นวงกลม ส่วนนิ้วที่เหลือเหยียดตรง ขณะเดียวกัน ให้เก็บคางเพื่อสะดวกกับการทำพันธะ และมุทรา (รายละเอียดจะกล่าวในภายหลัง) และพยายามไม่ให้เข่าลอยขึ้นจากพื้น
ทั้งหมดนี้คือ ท่าอาสนะ 3 ท่าสำหรับการฝึกสมาธิ และปราณายามะที่ใช้ในหทะโยคะ และกุณฑาลินีโยคะ
www.dragon-press.com