ASTVผู้จัดการรายวัน -โพลล์ ม.หอการค้าไทยชี้ดัชนีคอร์รัปชันไทยอยู่ที่ 3.9 คะแนน พบผู้ประกอบการจ่ายใต้โต๊ะมากกว่า 25-35% หรือกว่า 2.35-3.29 แสนล้านบาท เชื่ออนาคตปัญหารุนแรงมากขึ้น ถ้ารัฐยังดำเนินการไม่โปร่งใส โดยเฉพาะในช่วงที่กำลังใช้เงินบริหารจัดการน้ำ 3.5 แสนล้าน และสร้างอนาคตประเทศ 2.2 ล้านล้านบาท เตรียมจับมือ ป.ป.ช. ทำดัชนีวัดความโปร่งใสหน่วยงานรัฐ นำร่องกรมศุล-กรมทางหลวง
นางเสาวณีย์ ไทยรุ่งโรจน์ อธิการบดีมหาวิทยาลัยหอการค้าไทย เปิดเผยถึงดัชนีสถานการณ์คอร์รัปชันไทย จากการสำรวจกลุ่มตัวอย่างทั่วประเทศ ทั้งประชาชน ผู้ประกอบการ/ภาคเอกชน และข้าราชการ/ภาครัฐ 2,400 ตัวอย่าง ในเดือนธ.ค.55 ว่า ดัชนีสถานการณ์คอร์รัปชันไทยโดยรวมอยู่ที่ 3.9 คะแนน จากเต็ม 10 คะแนน (0 คะแนนหมายถึงมีการคอร์รัปชันรุนแรงที่สุด และ 10 คะแนนหมายถึงไม่มีการคอร์รัปชัน) เพิ่มขึ้นจาก 3.5 คะแนนในการสำรวจครั้งก่อนเมื่อเดือนมิ.ย.55 ส่วนดัชนีสถานการณ์ในปัจจุบัน อยู่ที่ 3.8 คะแนน เพิ่มขึ้นจาก 3.2 คะแนน และดัชนีแนวโน้มสถานการณ์ อยู่ที่ 4.2 คะแนน เพิ่มขึ้นจาก 3.7 คะแนน
ทั้งนี้ เมื่อแยกเป็นกลุ่มของผู้ตอบ ในดัชนีสถานการณ์คอร์รัปชัน โดยรวมที่ 3.9 คะแนนนั้น กลุ่มข้าราชการให้คะแนนมากสุดที่ 4.2 ตามด้วยกลุ่มประชาชน 3.9 และนักธุรกิจ 3.8 ส่วนดัชนีสถานการณ์ปัจจุบัน กลุ่มข้าราชการยังคงให้คะแนนสูงสุดที่ 4.1 ตามด้วยกลุ่มประชาชน ที่ 3.8 และกลุ่มนักธุรกิจที่ 3.7 ขณะที่ดัชนีแนวโน้มสถานการณ์ กลุ่มข้าราชการให้คะแนนมากสุดที่ 4.4 ส่วนกลุ่มประชาชน และภาคเอกชนให้เท่ากันที่ 4.1 หมายความว่า กลุ่มข้าราชการมองปัญหาคอร์รัปชัน ทั้งในปัจจุบัน และแนวโน้มในอนาคตดีขึ้นกว่ากลุ่มภาคเอกชน และประชาชน
นอกจากนี้ ยังพบว่า ผู้ประกอบการที่ทำธุรกิจกับภาครัฐมากถึง 76.9% ระบุว่าต้องจ่ายเงินเพิ่มพิเศษแก่ข้าราชการ/นักการเมืองที่ทุจริตเพื่อให้ได้สัญญา มีเพียง 7% เท่านั้นที่ไม่จ่าย ส่วนอีก 15.4% ตอบไม่ทราบ โดยกลุ่มที่ต้องจ่ายเงินพิเศษนั้น ส่วนใหญ่ถึง 38.5% ระบุปีนี้จ่ายมากกว่า 25% ของรายรับ ซึ่งลดลงจากปี 55 ที่มีสัดส่วนผู้ตอบถึง 39.7% ที่จ่ายมากกว่า 25% ขณะที่อีก 26.7% ระบุจ่ายที่ 16-25% ของรายรับ ส่วนอีก 16.1% ระบุจ่ายที่ 11-15% อีก 13.3% ระบุจ่ายที่ 6-10% และมีเพียง 5.4% เท่านั้นที่จ่ายเพียง 1-5%
อย่างไรก็ตาม เมื่อประเมินวงเงินคอร์รัปชันจากงบประมาณรายจ่าย ค่าครุภัณฑ์ ที่ดิน และสิ่งปลูกสร้าง รวมถึงงบลงทุนรัฐวิสาหกิจในปี 56 ที่มีเม็ดเงินรวม 942,608 ล้านบาทแล้ว หากผู้ประกอบการที่ระบุว่าจ่ายเงินพิเศษที่ 25% จะคิดเป็นเม็ดเงินที่ประเทศต้องเสียหายจากการคอร์รัปชันสูงถึง 235,652 ล้านบาท คิดเป็น 9.82% ของงบประมาณรายจ่ายที่ 2.40 ล้านล้านบาท หรือคิดเป็น 1.88% ต่อจีดีพี ที่มีมูลค่า 12.544 ล้านล้านบาท ซึ่งตัวเลขเหล่านี้เพิ่มขึ้นจากปี 55 ที่มีเม็ดเงินจากการคอร์รัปชัน 210.035.8 ล้านบาท คิดเป็น 8.83% ของงบประมาณรายจ่ายที่ 2.38 ล้านล้านบาท หรือคิดเป็น 1.81% ต่อจีดีพีที่มีมูลค่า 11.57 ล้านล้านบาท
แต่หากในปีนี้ ผู้ประกอบการต้องจ่ายเพิ่มขึ้นเป็น 30% จะคิดเป็นเม็ดเงินจากการคอร์รัปชันสูงถึง 282,782.4 ล้านบาท หรือคิดเป็น 11.78% ของงบประมาณรายจ่าย และ 2.25% ต่อจีดีพี และหากต้องจ่ายเพิ่มขึ้นเป็น 35% จะคิดเป็นเม็ดเงินจากการคอร์รัปชันที่ 329,912.8 ล้านบาท หรือคิดเป็น 13.75% ของงบประมาณรายจ่าย และคิดเป็น 2.63% ต่อจีดีพี
นายธนวรรธน์ พลวิชัย รองอธิการบดีฝ่ายวิจัย และผู้อำนวยการศูนย์พยากรณ์เศรษฐกิจและธุรกิจ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย กล่าวว่า จากตัวเลขดัชนีคอร์รัปชันโดยรวม ดัชนีสถานการณ์ปัจจุบัน และดัชนีสถานการณ์ในอนาคต ที่แม้จะดีขึ้นกว่าการสำรวจครั้งก่อน แต่ยังถือว่า สถานการณ์ยังไม่ดีขึ้น และไทยยังสอบตก เพราะทุกดัชนีได้คะแนนไม่ถึงครึ่ง หรือไม่ถึง 5 คะแนน โดยเฉพาะดัชนีวามรุนแรงของปัญหาคอร์รัปชัน ที่ยังต่ำมากเพียง 3.4 คะแนน แต่ดัชนีการปัองกันปัญหา ดัชนีการปราบปรามปัญหา และดัชนีการสร้างจิตสำนึก สูงกว่ามาก ที่4.1, 4.3 และ 4.4 คะแนน
”ความรุนแรงของปัญหาคอร์รัปชันยังมีอยู่มาก และน่าจะรุนแรงมากขึ้นอีก โดยเฉพาะในช่วงที่รัฐบาลกำลังจะใช้งบบริหารจัดการน้ำ 350,000 ล้านบาท และปรับโครงสร้างอนาคตประเทศไทย 2.2 ล้านล้านบาท ซึ่งถ้ารัฐบาลดำเนินการอย่างไม่โปร่งใส ก็อาจเกิดการคอร์รัปชันได้มาก แต่จากผลสำรวจพบว่า การตระหนักรู้ถึงปัญหาคอร์รัปชัน การสร้างจิตสำนึก และความพยายามในการแก้ปัญหาดีขึ้น ซึ่งเชื่อว่า ในอีก 5-10 ปีปัญหานี้น่าจะเบาบางลงได้” นายธนวรรธน์กล่าว
นายธนวรรธน์ กล่าวต่อว่า ศูนย์ฯจะร่วมกับสำนักงานป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) จัดทำดัชนีวัดความโปร่งใสของหน่วยงานภาครัฐ เพื่อใช้ประเมินความโปร่งใสในการดำเนินงานของหน่วยงานภาครัฐอย่างเป็นระบบ โดยคาดจะเริ่มจัดทำได้ตั้งแต่ปี 57 และนำร่องที่ 8 หน่วยงานคือ กรมศุลกากร กรมทางหลวง องค์การบริหารส่วนจังหวัดนนทบุรีและปทุมธานี ตำรวจภูธรนนทบุรีและปทุมธานี การท่าเรือแห่งประเทศไทย และการเคหะแห่งชาติ โดยสาเหตุที่เลือกทั้ง 8 หน่วยงาน ไม่ใช่เป็นเพราะมีภาพลักษณ์ไม่ดีในการทำงาน แต่เป็นเพราะเป็นหน่วยงานที่ทำงานใกล้ชิดกับประชาชน และผู้นำหน่วยงานดังกล่าวต้องการให้มีการวัดความโปร่งใส
นางเสาวณีย์ ไทยรุ่งโรจน์ อธิการบดีมหาวิทยาลัยหอการค้าไทย เปิดเผยถึงดัชนีสถานการณ์คอร์รัปชันไทย จากการสำรวจกลุ่มตัวอย่างทั่วประเทศ ทั้งประชาชน ผู้ประกอบการ/ภาคเอกชน และข้าราชการ/ภาครัฐ 2,400 ตัวอย่าง ในเดือนธ.ค.55 ว่า ดัชนีสถานการณ์คอร์รัปชันไทยโดยรวมอยู่ที่ 3.9 คะแนน จากเต็ม 10 คะแนน (0 คะแนนหมายถึงมีการคอร์รัปชันรุนแรงที่สุด และ 10 คะแนนหมายถึงไม่มีการคอร์รัปชัน) เพิ่มขึ้นจาก 3.5 คะแนนในการสำรวจครั้งก่อนเมื่อเดือนมิ.ย.55 ส่วนดัชนีสถานการณ์ในปัจจุบัน อยู่ที่ 3.8 คะแนน เพิ่มขึ้นจาก 3.2 คะแนน และดัชนีแนวโน้มสถานการณ์ อยู่ที่ 4.2 คะแนน เพิ่มขึ้นจาก 3.7 คะแนน
ทั้งนี้ เมื่อแยกเป็นกลุ่มของผู้ตอบ ในดัชนีสถานการณ์คอร์รัปชัน โดยรวมที่ 3.9 คะแนนนั้น กลุ่มข้าราชการให้คะแนนมากสุดที่ 4.2 ตามด้วยกลุ่มประชาชน 3.9 และนักธุรกิจ 3.8 ส่วนดัชนีสถานการณ์ปัจจุบัน กลุ่มข้าราชการยังคงให้คะแนนสูงสุดที่ 4.1 ตามด้วยกลุ่มประชาชน ที่ 3.8 และกลุ่มนักธุรกิจที่ 3.7 ขณะที่ดัชนีแนวโน้มสถานการณ์ กลุ่มข้าราชการให้คะแนนมากสุดที่ 4.4 ส่วนกลุ่มประชาชน และภาคเอกชนให้เท่ากันที่ 4.1 หมายความว่า กลุ่มข้าราชการมองปัญหาคอร์รัปชัน ทั้งในปัจจุบัน และแนวโน้มในอนาคตดีขึ้นกว่ากลุ่มภาคเอกชน และประชาชน
นอกจากนี้ ยังพบว่า ผู้ประกอบการที่ทำธุรกิจกับภาครัฐมากถึง 76.9% ระบุว่าต้องจ่ายเงินเพิ่มพิเศษแก่ข้าราชการ/นักการเมืองที่ทุจริตเพื่อให้ได้สัญญา มีเพียง 7% เท่านั้นที่ไม่จ่าย ส่วนอีก 15.4% ตอบไม่ทราบ โดยกลุ่มที่ต้องจ่ายเงินพิเศษนั้น ส่วนใหญ่ถึง 38.5% ระบุปีนี้จ่ายมากกว่า 25% ของรายรับ ซึ่งลดลงจากปี 55 ที่มีสัดส่วนผู้ตอบถึง 39.7% ที่จ่ายมากกว่า 25% ขณะที่อีก 26.7% ระบุจ่ายที่ 16-25% ของรายรับ ส่วนอีก 16.1% ระบุจ่ายที่ 11-15% อีก 13.3% ระบุจ่ายที่ 6-10% และมีเพียง 5.4% เท่านั้นที่จ่ายเพียง 1-5%
อย่างไรก็ตาม เมื่อประเมินวงเงินคอร์รัปชันจากงบประมาณรายจ่าย ค่าครุภัณฑ์ ที่ดิน และสิ่งปลูกสร้าง รวมถึงงบลงทุนรัฐวิสาหกิจในปี 56 ที่มีเม็ดเงินรวม 942,608 ล้านบาทแล้ว หากผู้ประกอบการที่ระบุว่าจ่ายเงินพิเศษที่ 25% จะคิดเป็นเม็ดเงินที่ประเทศต้องเสียหายจากการคอร์รัปชันสูงถึง 235,652 ล้านบาท คิดเป็น 9.82% ของงบประมาณรายจ่ายที่ 2.40 ล้านล้านบาท หรือคิดเป็น 1.88% ต่อจีดีพี ที่มีมูลค่า 12.544 ล้านล้านบาท ซึ่งตัวเลขเหล่านี้เพิ่มขึ้นจากปี 55 ที่มีเม็ดเงินจากการคอร์รัปชัน 210.035.8 ล้านบาท คิดเป็น 8.83% ของงบประมาณรายจ่ายที่ 2.38 ล้านล้านบาท หรือคิดเป็น 1.81% ต่อจีดีพีที่มีมูลค่า 11.57 ล้านล้านบาท
แต่หากในปีนี้ ผู้ประกอบการต้องจ่ายเพิ่มขึ้นเป็น 30% จะคิดเป็นเม็ดเงินจากการคอร์รัปชันสูงถึง 282,782.4 ล้านบาท หรือคิดเป็น 11.78% ของงบประมาณรายจ่าย และ 2.25% ต่อจีดีพี และหากต้องจ่ายเพิ่มขึ้นเป็น 35% จะคิดเป็นเม็ดเงินจากการคอร์รัปชันที่ 329,912.8 ล้านบาท หรือคิดเป็น 13.75% ของงบประมาณรายจ่าย และคิดเป็น 2.63% ต่อจีดีพี
นายธนวรรธน์ พลวิชัย รองอธิการบดีฝ่ายวิจัย และผู้อำนวยการศูนย์พยากรณ์เศรษฐกิจและธุรกิจ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย กล่าวว่า จากตัวเลขดัชนีคอร์รัปชันโดยรวม ดัชนีสถานการณ์ปัจจุบัน และดัชนีสถานการณ์ในอนาคต ที่แม้จะดีขึ้นกว่าการสำรวจครั้งก่อน แต่ยังถือว่า สถานการณ์ยังไม่ดีขึ้น และไทยยังสอบตก เพราะทุกดัชนีได้คะแนนไม่ถึงครึ่ง หรือไม่ถึง 5 คะแนน โดยเฉพาะดัชนีวามรุนแรงของปัญหาคอร์รัปชัน ที่ยังต่ำมากเพียง 3.4 คะแนน แต่ดัชนีการปัองกันปัญหา ดัชนีการปราบปรามปัญหา และดัชนีการสร้างจิตสำนึก สูงกว่ามาก ที่4.1, 4.3 และ 4.4 คะแนน
”ความรุนแรงของปัญหาคอร์รัปชันยังมีอยู่มาก และน่าจะรุนแรงมากขึ้นอีก โดยเฉพาะในช่วงที่รัฐบาลกำลังจะใช้งบบริหารจัดการน้ำ 350,000 ล้านบาท และปรับโครงสร้างอนาคตประเทศไทย 2.2 ล้านล้านบาท ซึ่งถ้ารัฐบาลดำเนินการอย่างไม่โปร่งใส ก็อาจเกิดการคอร์รัปชันได้มาก แต่จากผลสำรวจพบว่า การตระหนักรู้ถึงปัญหาคอร์รัปชัน การสร้างจิตสำนึก และความพยายามในการแก้ปัญหาดีขึ้น ซึ่งเชื่อว่า ในอีก 5-10 ปีปัญหานี้น่าจะเบาบางลงได้” นายธนวรรธน์กล่าว
นายธนวรรธน์ กล่าวต่อว่า ศูนย์ฯจะร่วมกับสำนักงานป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) จัดทำดัชนีวัดความโปร่งใสของหน่วยงานภาครัฐ เพื่อใช้ประเมินความโปร่งใสในการดำเนินงานของหน่วยงานภาครัฐอย่างเป็นระบบ โดยคาดจะเริ่มจัดทำได้ตั้งแต่ปี 57 และนำร่องที่ 8 หน่วยงานคือ กรมศุลกากร กรมทางหลวง องค์การบริหารส่วนจังหวัดนนทบุรีและปทุมธานี ตำรวจภูธรนนทบุรีและปทุมธานี การท่าเรือแห่งประเทศไทย และการเคหะแห่งชาติ โดยสาเหตุที่เลือกทั้ง 8 หน่วยงาน ไม่ใช่เป็นเพราะมีภาพลักษณ์ไม่ดีในการทำงาน แต่เป็นเพราะเป็นหน่วยงานที่ทำงานใกล้ชิดกับประชาชน และผู้นำหน่วยงานดังกล่าวต้องการให้มีการวัดความโปร่งใส