ASTVผู้จัดการรายวัน - “มาม่า” กัดฟันสู้ ตรึงราคาทั้งปี ยอมแบกต้นทุนที่เพิ่มขึ้น พร้อมดิ้นหารายได้ทดแทนตลาดบะหมี่ซองอิ่มตัว รุกฐานผลิตต่างประเทศชูกานารุกแอฟริกา และภูฏานรุกอินเดีย ยอมรับปีนี้กำไรลดลง 50%
นายพิพัฒ พะเนียงเวทย์ ประธานกรรมการ บริษท ไทยเพรซิเดนท์ฟูดส์ จำกัด (มหาชน) หรือทีเอฟ เปิดเผยว่า ปีนี้บริษัทจะไม่ขึ้นราคาขายมาม่าอย่างแน่นอน จะยืนยันราคาเดิม แม้ว่าต้นทุนการผลิตขณะนี้จะสูงขึ้นอย่างน้อย 15% ก็ตาม โดยเฉพาะขณะนี้แป้งสาลีราคา 360 บาทต่อกระสอบขนาด22.5 กิโลกรัม จากปีที่แล้วราคา 330 บาท ส่วนน้ำมันปาล์มราคาสูงขึ้น 10% จากปีที่แล้วเฉลี่ย 30 บาทต่อกิโลกรัม
โดยบริษัทแก้ไขด้วยวิธีการเจรจาซื้อวัตถุดิบหลักๆล่วงหน้าไว้ก่อนนาน 6 เดือน - 1 ปี จากปรกติที่ซื้อเฉลี่ย 2-3 เดือนเท่านั้น ซึ่งมาม่าขึ้นราคาล่าสุดเมื่อ 5 ปีที่แล้ว จาก 5 บาทต่อซองเป็น 6 บาทต่อซอง
ทั้งนี้จะส่งผลให้ผลประกอบการปีนี้คาดว่าจะมีกำไรประมาณ 700 ล้านบาท ลดลงจากเดิมปีที่แล้วที่มีกำไรสูงที่สุดที่เคยทำมาถึง 1,253 ล้านบาท เนื่องจากปีนี้ลงทุนมากและต้องพยายามตรึงราคาขายเอาไว้ ขณะที่รายได้รวมปีนี้คาดว่าจะเติบโต 10% ซึ่งปีที่แล้วมีรายได้รวม 10,000 ล้านบาท เป็นรายได้จากการส่งออก 20%
อย่างไรก็ตามแผนการลงทุนปีนี้ทั้งในและต่างประเทศยังมีต่อเนื่อง เพื่อสร้างการเติบโตขององค์กร โดยเฉพาะการที่ตลาดบะหมี่กึ่งสำเร็จรูปในไทยที่อิ่มตัวแล้วจำเป็นต้องสร้างมูลค่าเพิ่มและขยายไลน์สินค้าใหม่ๆเพื่อสร้างการเติบโต ซึ่งปีนี้จะลงทุนรวม 369 ล้านบาท 1.เปลี่ยนเครื่องจักรบะหมี่ฯแบบซองทดแทนเครื่องเก่า 2 เครื่อง 369 ล้านบาท
2.ลงทุนเครื่องจักรใหม่ผลิตบะหมี่มาม่าคัพ 1 เครื่อง 135 ล้านบาท เพิ่มกำลังผลิต 20% ปัจจุบันมีกำลังผลิตรวม 3 โรงงาน 5.4 ล้านซองต่อวัน และ 1 ล้านคัพต่อวัน หรือสัดส่วนแบบซอง 84% แบบคัพ 16% และ 3. ลงทุน 74 ล้านบาท ซื้อเครื่องจักรผลิตเวเฟอร์ บิสชิน ใหม่เพิ่มกำลังผลิตเป็น 2 เท่า จากปัจจุบันกำลังผลิตรวม 44.3 ตันต่อวัน
ส่วนโครงการร่วมทุนกับบริษัท เคอรี่ฟลาวมิลล์ จำกัด ตั้งบริษัท เพรซิเดนท์ฟลาวมิลล์ ทุนจดทะเบียน 600 ล้านบาท ผลิตแป้งสาลีจำหน่ายที่จังหวัดระยองคาดว่าจะเริ่มเดินเครื่องผลิตได้ปลายปีนี้
“ตลาดบะหมี่กึ่งสำเร็จรูปในไทยมีมูลค่าตลาดรวมประมาณ 13,000 ล้านบาทเมื่อปีที่แล้ว เชิงมูลค่าเติบโต 3% ต่ำที่สุดในรอบ 5 ปี โดยเฉพาะบะหมี่กึ่งสำเร็จรูปแบบซองค่อนข้างอิ่มตัวติดลบ 3% ส่วนรูปแบบถ้วยขยายตัวเชิงมูลค่า 20% จากสัดส่วนตลาดรูปแบบซอง 75% รูปแบบคัพ 25%”
ด้านแผนลงทุนต่างประเทศขณะนี้ให้ความสนใจไปที่ประเทศภูฏานกับประเทศกานา โดยที่ภูฏานนั้นเซ็นสัญญากับกลุ่มทุนรายใหญ่ของภูฏานที่มีธุรกิจหลากหลายทั้งโรงแรม สายการบิน ธนาคาร เหมืองแร่ เป็นต้นและเป็นกลุ่มธุรกิจที่เสียภาษีมากที่สุดในภูฏานด้วย เพื่อตั้งบริษัทร่วมทุนด้วยทุนจดทะเบียน 8 ล้านเหรียญสหรัฐ ลงทุนประมาณ 250 ล้านบาท มีกำลังผลิตประมาณ 300-400ซองต่อนาที
“เป้าหมายการลงที่ภูฏานเพราะต้องการใช้เป็นฐานผลิตในการรุกตลาดประเทศอินเดีย ซึ่งเป็นตลาดที่ใหญ่มีประชากรมากกว่า 200 ล้านคน แต่มีรายใหญ่ทำตลาดบะหมี่กึ่งฯเพียงรายเดียวคือแบรนด์แม็กกี้ ซึ่งก่อนหน้านี้ทีเอฟเคยมีแผนที่จะตั้งโรงงานในอินเดียเช่นกันแต่ล้มเลิกไปแล้ว”
อีกประเทศคือที่ กานา จดทะเบียนตั้งบริษัทแล้ว อยู่ระหว่างเตรียมการ ซึ่งทีเอฟจะเป็นบริษัทเอกชนไทยรายแรกที่เข้าไปลงทุนในกานา โดยไทยจะถือหุ้น 60% (ทีเอฟ 51% และ สหหัฒน์ 9%) และกานา 40% อย่างไรก็ตาม เบื้องต้น กานาจะถือหุ้น 25% ก่อน และหากมั่นใจว่าธุรกิจไปได้ดีก็สามารถเข้ามาถือหุ้นเต็ม 40% ได้ ซึ่งทีเอฟจะใช้กานาเป็นฐานผลิตเพื่อรุกตลาดแอฟริกาใต้
ก่อนนี้ทีเอฟมีการลงทุนในประเทศพม่าแล้ว ตั้งแต่ปี 2546 ซึ่งปีที่แล้วมีรายได้ 481 ล้านบาท เติบโต 26.8% กำไร 8.5% ขณะที่ในเขมรเปิดดำเนินการตั้งแต่ปี 2545 ซึ่งปีที่แล้วมียอดรายได้ 250 ล้านบาท กำไร 5.2% ส่วนที่ประเทศบังคลาเทศเริ่มมาตั้งแต่ปี 2555 ร่วมทุนกับกลุ่มสหกรุ๊ปกับกลุ่มKALLOL ตั้งบริษัท KALLOL Thai President Foods ทุนจดทะเบียน 220 ล้านบาท ผลิตและขายมาม่า กำลังผลิต 20 ล้านซองต่อปี คาดว่าจะทำเริ่มทำตลาดได้เดือนมกราคมนี้
นายพิพัฒ พะเนียงเวทย์ ประธานกรรมการ บริษท ไทยเพรซิเดนท์ฟูดส์ จำกัด (มหาชน) หรือทีเอฟ เปิดเผยว่า ปีนี้บริษัทจะไม่ขึ้นราคาขายมาม่าอย่างแน่นอน จะยืนยันราคาเดิม แม้ว่าต้นทุนการผลิตขณะนี้จะสูงขึ้นอย่างน้อย 15% ก็ตาม โดยเฉพาะขณะนี้แป้งสาลีราคา 360 บาทต่อกระสอบขนาด22.5 กิโลกรัม จากปีที่แล้วราคา 330 บาท ส่วนน้ำมันปาล์มราคาสูงขึ้น 10% จากปีที่แล้วเฉลี่ย 30 บาทต่อกิโลกรัม
โดยบริษัทแก้ไขด้วยวิธีการเจรจาซื้อวัตถุดิบหลักๆล่วงหน้าไว้ก่อนนาน 6 เดือน - 1 ปี จากปรกติที่ซื้อเฉลี่ย 2-3 เดือนเท่านั้น ซึ่งมาม่าขึ้นราคาล่าสุดเมื่อ 5 ปีที่แล้ว จาก 5 บาทต่อซองเป็น 6 บาทต่อซอง
ทั้งนี้จะส่งผลให้ผลประกอบการปีนี้คาดว่าจะมีกำไรประมาณ 700 ล้านบาท ลดลงจากเดิมปีที่แล้วที่มีกำไรสูงที่สุดที่เคยทำมาถึง 1,253 ล้านบาท เนื่องจากปีนี้ลงทุนมากและต้องพยายามตรึงราคาขายเอาไว้ ขณะที่รายได้รวมปีนี้คาดว่าจะเติบโต 10% ซึ่งปีที่แล้วมีรายได้รวม 10,000 ล้านบาท เป็นรายได้จากการส่งออก 20%
อย่างไรก็ตามแผนการลงทุนปีนี้ทั้งในและต่างประเทศยังมีต่อเนื่อง เพื่อสร้างการเติบโตขององค์กร โดยเฉพาะการที่ตลาดบะหมี่กึ่งสำเร็จรูปในไทยที่อิ่มตัวแล้วจำเป็นต้องสร้างมูลค่าเพิ่มและขยายไลน์สินค้าใหม่ๆเพื่อสร้างการเติบโต ซึ่งปีนี้จะลงทุนรวม 369 ล้านบาท 1.เปลี่ยนเครื่องจักรบะหมี่ฯแบบซองทดแทนเครื่องเก่า 2 เครื่อง 369 ล้านบาท
2.ลงทุนเครื่องจักรใหม่ผลิตบะหมี่มาม่าคัพ 1 เครื่อง 135 ล้านบาท เพิ่มกำลังผลิต 20% ปัจจุบันมีกำลังผลิตรวม 3 โรงงาน 5.4 ล้านซองต่อวัน และ 1 ล้านคัพต่อวัน หรือสัดส่วนแบบซอง 84% แบบคัพ 16% และ 3. ลงทุน 74 ล้านบาท ซื้อเครื่องจักรผลิตเวเฟอร์ บิสชิน ใหม่เพิ่มกำลังผลิตเป็น 2 เท่า จากปัจจุบันกำลังผลิตรวม 44.3 ตันต่อวัน
ส่วนโครงการร่วมทุนกับบริษัท เคอรี่ฟลาวมิลล์ จำกัด ตั้งบริษัท เพรซิเดนท์ฟลาวมิลล์ ทุนจดทะเบียน 600 ล้านบาท ผลิตแป้งสาลีจำหน่ายที่จังหวัดระยองคาดว่าจะเริ่มเดินเครื่องผลิตได้ปลายปีนี้
“ตลาดบะหมี่กึ่งสำเร็จรูปในไทยมีมูลค่าตลาดรวมประมาณ 13,000 ล้านบาทเมื่อปีที่แล้ว เชิงมูลค่าเติบโต 3% ต่ำที่สุดในรอบ 5 ปี โดยเฉพาะบะหมี่กึ่งสำเร็จรูปแบบซองค่อนข้างอิ่มตัวติดลบ 3% ส่วนรูปแบบถ้วยขยายตัวเชิงมูลค่า 20% จากสัดส่วนตลาดรูปแบบซอง 75% รูปแบบคัพ 25%”
ด้านแผนลงทุนต่างประเทศขณะนี้ให้ความสนใจไปที่ประเทศภูฏานกับประเทศกานา โดยที่ภูฏานนั้นเซ็นสัญญากับกลุ่มทุนรายใหญ่ของภูฏานที่มีธุรกิจหลากหลายทั้งโรงแรม สายการบิน ธนาคาร เหมืองแร่ เป็นต้นและเป็นกลุ่มธุรกิจที่เสียภาษีมากที่สุดในภูฏานด้วย เพื่อตั้งบริษัทร่วมทุนด้วยทุนจดทะเบียน 8 ล้านเหรียญสหรัฐ ลงทุนประมาณ 250 ล้านบาท มีกำลังผลิตประมาณ 300-400ซองต่อนาที
“เป้าหมายการลงที่ภูฏานเพราะต้องการใช้เป็นฐานผลิตในการรุกตลาดประเทศอินเดีย ซึ่งเป็นตลาดที่ใหญ่มีประชากรมากกว่า 200 ล้านคน แต่มีรายใหญ่ทำตลาดบะหมี่กึ่งฯเพียงรายเดียวคือแบรนด์แม็กกี้ ซึ่งก่อนหน้านี้ทีเอฟเคยมีแผนที่จะตั้งโรงงานในอินเดียเช่นกันแต่ล้มเลิกไปแล้ว”
อีกประเทศคือที่ กานา จดทะเบียนตั้งบริษัทแล้ว อยู่ระหว่างเตรียมการ ซึ่งทีเอฟจะเป็นบริษัทเอกชนไทยรายแรกที่เข้าไปลงทุนในกานา โดยไทยจะถือหุ้น 60% (ทีเอฟ 51% และ สหหัฒน์ 9%) และกานา 40% อย่างไรก็ตาม เบื้องต้น กานาจะถือหุ้น 25% ก่อน และหากมั่นใจว่าธุรกิจไปได้ดีก็สามารถเข้ามาถือหุ้นเต็ม 40% ได้ ซึ่งทีเอฟจะใช้กานาเป็นฐานผลิตเพื่อรุกตลาดแอฟริกาใต้
ก่อนนี้ทีเอฟมีการลงทุนในประเทศพม่าแล้ว ตั้งแต่ปี 2546 ซึ่งปีที่แล้วมีรายได้ 481 ล้านบาท เติบโต 26.8% กำไร 8.5% ขณะที่ในเขมรเปิดดำเนินการตั้งแต่ปี 2545 ซึ่งปีที่แล้วมียอดรายได้ 250 ล้านบาท กำไร 5.2% ส่วนที่ประเทศบังคลาเทศเริ่มมาตั้งแต่ปี 2555 ร่วมทุนกับกลุ่มสหกรุ๊ปกับกลุ่มKALLOL ตั้งบริษัท KALLOL Thai President Foods ทุนจดทะเบียน 220 ล้านบาท ผลิตและขายมาม่า กำลังผลิต 20 ล้านซองต่อปี คาดว่าจะทำเริ่มทำตลาดได้เดือนมกราคมนี้