ASTV ผู้จัดการรายวัน-ศาลพิพากษาจำคุก 10 ปี “สมยศ พฤกษาเกษมสุข” บก.วอยซ์ออฟทักษิณ มีความผิดคดีลงบทความหมิ่นเบื้องสูง ย้ำเจตนาดูหมิ่นชัดเจน ชี้เป็นถึงบรรณาธิการน่าจะมีวิจารณญาณเพียงพอ แถมเจอกรรมเก่าคดีหมิ่น "พล.อ.สพรั่ง" ที่รอลงอาญาไว้ ให้นำโทษมารวมด้วย รวมเป็นจำคุก 11 ปี ไม่รอลงอาญา ทนายดิ้นยื่นประกันอีก
วานนี้ (23 ม.ค.) ที่ห้องพิจารณา 704 ศาลอาญา ถ.รัชดาภิเษก ศาลอ่านคำพิพากษาคดีหมิ่นเบื้องสูง หมายเลขดำ อ.2962/2554 ที่อัยการฝ่ายคดีพิเศษ 4 เป็นโจทก์ ยื่นฟ้องนายสมยศ พฤกษาเกษมสุข อดีตบรรณาธิการนิตยสารวอยซ์ ออฟ ทักษิณ (VOICE OF TUKSIN) และแกนนำกลุ่ม 24 มิถุนา เพื่อประชาธิปไตย เป็นจำเลย ในความผิดฐานหมิ่นประมาท ดูหมิ่นและแสดงความอาฆาตมาดร้าย พระมหากษัตริย์ และองค์รัชทายาท ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 112
โดยโจทก์ยื่นฟ้องเมื่อวันที่ 22 ก.ค.2554 ระบุว่า ระหว่างวันที่ 15 ก.พ.-15 มี.ค.2553 จำเลย ซึ่งเป็นบรรณาธิการนิตยสาร วอยซ์ ออฟ ทักษิณ ได้จัดพิมพ์ จัดจำหน่าย เผยแพร่นิตยสารวอยซ์ ออฟ ทักษิณ : เสียงทักษิณ ปีที่ 1 ฉบับที่ 15 ปักษ์หลัง เดือน ก.พ.2553 ที่พิมพ์บทความ คมความคิด ของผู้ใช้นามปากกาว่า จิตร พลจันทร์ เรื่องแผนนองเลือดกับยิงข้ามรุ่น หน้าที่ 45-47 มีเนื้อหาผิดตามมาตรา 112 เหตุเกิดที่แขวง-เขตวังทองหลาง กรุงเทพฯ และทุกท้องที่ ทั่วราชอาณาจักรไทย ขอให้ลงโทษจำเลยตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 58,91,112 และขอให้นำโทษจำคุกคดีอาญาหมายเลขแดง อ.1078/2552 ที่หมิ่นประมาท พ.ล.อ.สพรั่ง กัลยาณมิตร ซึ่งศาลอาญานี้ได้มีคำพิพากษาแล้ว มาบวกกับโทษจำคุกคดีนี้ด้วย
ทั้งนี้ จำเลยให้การปฏิเสธ ต่อสู้คดีว่าเป็นเพียงลูกจ้างในนิตยสาร ได้รับค่าตอบแทน 25,000 บาทต่อเดือน และจำเลยไม่มีเจตนา ซึ่งนามปากกาการเขียนบทความ จิตร พลจันทร์ คือ นายจักรภพ เพ็ญแข อดีตรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ที่ได้เขียนบทความส่งมายังนิตยสารเป็นประจำและได้มีการตีพิมพ์หลายครั้ง โดยเมื่อจำเลยอ่านบทความแล้วเห็นว่าเป็นการกล่าวถึงอำมาตย์เท่านั้น และเป็นการกล่าวเตือนถึงความรุนแรงที่อาจจะเกิดขึ้น ไม่ได้หมายถึงพระมหากษัตริย์
ศาลพิเคราะห์พยานหลักฐานโจทก์ จำเลยแล้ว โจทก์ยื่นฟ้องว่าจำเลย กระทำผิดฐานหมิ่นประมาท ดูหมิ่นและแสดงความอาฆาตมาดร้าย พระมหากษัตริย์ ด้วยการจัดพิมพ์ จำหน่าย และเผยแพร่นิตยสารเสียงทักษิณที่เป็นความผิด ม.112 โดยจำเลยต่อสู้ว่า พ.ร.บ.จดแจ้งการพิมพ์ พ.ศ.2550 มีบทบัญญัติยกเลิก พ.ร.บ.การพิมพ์ พ.ศ.2484 ซึ่งในฐานะบรรณาธิการไม่ต้องรับผิด จำเลยย่อมพ้นจากการเป็นผู้กระทำผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 2 วรรคสองนั้น ศาลเห็นว่า การที่จำเลยจะพ้นผิดย่อมหมายความว่าจำเลยพ้นจากการเป็นผู้กระทำความผิด ตาม พ.ร.บ.การพิมพ์ พ.ศ.2484 เท่านั้น ส่วนการกระทำของจำเลยจะเป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 112 ตามฟ้องนั้น ไม่ได้ถูกยกเลิกโดยผลของกฎหมายดังกล่าวด้วย
ส่วนที่จำเลยต่อสู้ว่า จำเลยไม่ใช่ผู้เขียนบทความที่โจทก์นำมาฟ้อง ศาลเห็นว่า โจทก์ฟ้องจำเลยว่าหมิ่นประมาท ดูหมิ่นต่อพระมหากษัตริย์ด้วยการจัดพิมพ์ จัดจำหน่ายนิตยสาร ข้อต่อสู้ของจำเลย จึงไม่ใช่การกระทำที่ถูกฟ้อง และไม่ใช่ประเด็นแห่งคดีที่ศาลจะรับวินิจฉัยตามประมวลกฎมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 104 วรรคหนึ่ง ประกอบประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 15
คดีมีประเด็นต้องวินิจฉัยต่อว่า จำเลยกระทำความผิดตามมาตรา 112 หรือไม่ เห็นว่า โจทก์มีพยานซึ่งเป็นลูกจ้างฝ่ายสมาชิก ช่างภาพ ศิลปกรรม ของนิตยสาร 4 ปาก เบิกความสอดคล้องกันว่า จำเลยเป็นบรรณาธิการอยู่ที่มีการตีพิมพ์ฉบับที่ 4-20 และจำเลยเป็นผู้มีอำนาจพิจารณาลงบทความแต่เพียงผู้เดียว รวมทั้งดูแลการเงิน นอกจากนี้ ยังมีผู้ที่รับจ้างทำแม่พิมพ์และผู้รับจัดจำหน่ายนิตยสาร เบิกความด้วยว่า การจัดจำหน่ายได้มีการติดต่อกับตัวจำเลยเอง ซึ่งพยานโจทก์ดังกล่าวไม่ปรากฏว่าเคยมีเหตุโกรธเคียงกับจำเลยมาก่อน จึงเชื่อว่าเบิกความตามที่แต่ละคนรู้เห็นมา รวมทั้งยังมีนายทหาร 2 นาย ,นายธงทอง จันทรางศุ และ บรรณารักษ์ ซึ่งได้อ่านบทความตามฟ้อง เบิกความทำนองเดียวกันว่า บทความสื่อถึงเหตุการณ์ประวัติศาสตร์ที่มีการย้อนไป 200 กว่าปี ซึ่งสอดคล้องเชื่อมโยงที่บันทึกในพระราชพงศาวดารและที่มีการเรียนรู้ทั่วไปเกี่ยวกับราชวงศ์ ซึ่งทำให้เข้าใจว่าบทความสื่อถึงสถาบันพระมหากษัตริย์
จึงเห็นว่า แม้เนื้อหาในบทความทั้ง 2 ฉบับ ไม่ได้กล่าวถึงชื่อบุคคล แต่เขียนโดยมีเจตนาเชื่อมโยงเหตุการณ์ในอดีตและเมื่อนำเหตุการณ์มาเชื่อมโยงแล้วสามารถระบุได้ว่าหมายถึง พระมหากษัตริย์ว่าทรงมีอำนาจเหนือรัฐบาลทหารและรัฐบาลพลเรือน และเกี่ยวข้องในเหตุการณ์ความรุนแรง ที่จำเลยและพยานจำเลย ซึ่งเป็นนักวิชาการ เบิกความว่า บทความไม่หมายถึงพระมหากษัตริย์ แต่หมายถึงกลุ่มอำมาตย์ จึงไม่มีน้ำหนักรับฟังหักล้างพยานโจทก์ได้
ขณะที่จำเลย จบการศึกษาระดับปริญญาตรีรัฐศาสตร์ เคยทำงานในองค์กรพัฒนาเอกชน และเป็นถึงบรรณาธิการบริหารรวมทั้งสื่อมวลชน ย่อมจะต้องวิเคราะห์เนื้อหาก่อนที่จะเผยแพร่ การที่จำเลยนำบทความไปตีพิมพ์เผยแพร่ จึงมีเจตนาหมิ่นพระมหากษัตริย์ ตามมาตรา 112 และเมื่อมีการจัดพิมพ์นิตยสารถึง 2 ฉบับ อันเป็นการกระทำต่างกรรมต่างวาระกัน
จึงพิพากษาว่า จำเลยมีความผิดซึ่งเป็นการกระทำหลายกรรมต่างกันให้ลงโทษเป็นกระทงความผิดไป ให้จำคุกจำเลย 2 กระทงๆ ละ 5 ปี รวมจำคุก 10 ปี และบวกนับโทษ 1 ปี ในคดีอาญาที่ศาลพิพากษาแล้ว รวมจำคุกจำเลยทั้งสิ้น 11 ปี
ภายหลังฟังคำพิพากษาแล้ว นายสุวิทย์ ทองนวล ทนายความของนายสมยศ กล่าวว่า จะได้ใช้หลักทรัพย์เดิมที่เป็นโฉนดที่ดิน จ.สุพรรณบุรี ของนายสมยศ ยื่นเพื่อประกันตัวเพื่อต่อสู้คดีในชั้นอุทธรณ์ต่อไป แม้ว่าที่ผ่านมา ระหว่างการพิจารณาคดีนี้จะมีการยื่นประกันถึง 12 ครั้งแล้ว แต่ศาลไม่อนุญาตให้ปล่อยชั่วคราวก็ตาม ขณะที่การยื่นประกันถือเป็นสิทธิตามกฎหมายและรัฐธรรมนูญ ส่วนการยื่นอุทธรณ์คดี ก็จะต่อสู้ทั้งประเด็นข้อเท็จจริงและข้อกฎหมายว่า นายสมยศ ไม่ใช่ผู้เขียนบทความที่จะเป็นความผิด และไม่มีเจตนาในการหมิ่นสถาบัน ขณะที่การเป็นบรรณาธิการ ตามกฎหมาย พ.ร.บ.จดแจ้งการพิมพ์ ปี 2550 ไม่ได้บัญญัติให้เป็นความผิด ดังนั้น เมื่อไม่มีกฎหมาย ก็ไม่มีความผิด ซึ่งการยื่นอุทธรณ์จะชี้ให้ศาลพิจารณาหลักฐานพยานฝ่ายจำเลยด้วยที่ศาลชั้นต้นวินิจฉัยไว้ว่ารับฟังไม่ได้
อย่างไรก็ดี ที่ศาลมีคำพิพากษาจำคุกกระทงละ 5 ปีนั้น ตนเห็นว่าสูงเกินไป ซึ่งมาตรา 115 อัตราโทษขั้นตอนจำคุกตั้งแต่ 3 ปี โดยเมื่อเทียบกับคดีที่นายยศวริศ ชูกล่อม หรือเจ๋ง ดอกจิก ถูกศาลพิพากษาคดีหมิ่นเบื้องสูง ซึ่งนายยศวริศ เป็นผู้พูดเอง ศาลยังพิพากษาโทษเพียงแค่ 3 ปี และยังลดโทษเหลือจำคุก 2 ปี แต่คดีของนายสมยศ ที่ไม่ใช่ผู้เขียนบทความกลับรับโทษถึง 5 ปี
ขณะที่นายคารม พลพรกลาง หนึ่งในทีมทนายคามของนายสมยศ กล่าวว่า โทษที่ศาลพิพากษาจำคุกกระทงละ 5 ปี ถือว่าสูงกว่าโทษขั้นต่ำ แต่ยังไม่สูงมาก โดยมาตรา 112 กำหนดอัตราโทษจำคุก 3-15 ปี อัตราโทษ 5 ปีที่ศาลพิพากษา จึงเท่ากับว่าอยู่ในระดับ 1 ใน 3 ของอัตราโทษสูงสุด แต่อย่างไรก็ดี จำเลยจะต้องต่อสู้คดีต่อไป โดยยืนยันว่าไม่มีเจตนาหมิ่นเบื้องสูง
โดยวันเดียวกันนี้ นายปณิธาน บุตรชายของนายสมยศ ได้เดินทางมาร่วมฟังคำพิพากษา โดยมีนางธิดา ถาวรเศรษฐ ประธาน นปช. และคนเสื้อแดงมาร่วมให้กำลังใจ นอกจากนี้ ยังมีสื่อต่างชาติจำนวนมากได้มาร่วมฟังคำพิพากษากันจนแน่นห้องพิจารณาคดีกว่า 100 คน
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า หลังจากเสร็จสิ้นการฟังคำพิพากษา กลุ่มเสื้อแดงได้รวมตัวกัน ที่บริเวณหน้าศาลอาญาพร้อมชูป้ายกระดาษเขียนข้อความว่า “ทวงคืนยุติธรรม” “อำมาตย์หยุดทำนาบนหลังคน” “มีเมตตาเป็นเพียงแค่ลมปาก” “การอาฆาตและพยาบาทคือความจริง” “คนไทยไม่ใช่ทาส” “อำมาตย์ทวงคืนความยุติธรรม” โดยยืนชูป้ายอยู่นานประมาณ 2-3 นาที
ต่อมากลุ่มเสื้อแดงทำกิจกรรมบริเวณด้านนอกรั้วศาลอาญา โดยจุดเทียนสีดำและมีป้ายผ้าวางบนทางเท้า เขียนข้อความว่า “ความยุติธรรม คุณวัดด้วยอะไร ใครเกี่ยวข้องช่วยตอบที” ระหว่างนั้น มีรถยนต์โตโยต้า อัสติส หมายเลขทะเบียน ญช 9691 กทม. แต่ถอดป้ายทะเบียนออก มีกระดาษติดอยู่รอบตัวรถและเขียนข้อความว่า “ช่วยหยุดรอยต่อความโกง อย่าทนดูเขาครองไทยไม่เหลือหรอ เขาได้อีสานเหนือก็เหลือพอ ต้องรักษา กทม.พ้นมือมาร” มาจอดขวางช่องทางการจราจร ถ.รัชดาภิเษก 1 เลน ส่งผลให้การจราจรติดขัดชั่วคราว โดยกลุ่มเสื้อแดงที่สนับสนุนนายสมยศได้ตะโกนต่อว่า และไม่ให้กลุ่มเสื้อแดงเข้าไปเกี่ยวข้องกับกรณีดังกล่าว ต่อมาตำรวจสน.พหลโยธินตรวจสอบพบว่า มีนางชิดชนก นนทรัตน์ อายุ 42 ปี ที่นั่งอยู่ภายในรถ เจ้าหน้าที่ตำรวจจึงได้ออกใบสั่งพร้อมอำนวยการจราจรให้เข้าสู่ปกติ
วานนี้ (23 ม.ค.) ที่ห้องพิจารณา 704 ศาลอาญา ถ.รัชดาภิเษก ศาลอ่านคำพิพากษาคดีหมิ่นเบื้องสูง หมายเลขดำ อ.2962/2554 ที่อัยการฝ่ายคดีพิเศษ 4 เป็นโจทก์ ยื่นฟ้องนายสมยศ พฤกษาเกษมสุข อดีตบรรณาธิการนิตยสารวอยซ์ ออฟ ทักษิณ (VOICE OF TUKSIN) และแกนนำกลุ่ม 24 มิถุนา เพื่อประชาธิปไตย เป็นจำเลย ในความผิดฐานหมิ่นประมาท ดูหมิ่นและแสดงความอาฆาตมาดร้าย พระมหากษัตริย์ และองค์รัชทายาท ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 112
โดยโจทก์ยื่นฟ้องเมื่อวันที่ 22 ก.ค.2554 ระบุว่า ระหว่างวันที่ 15 ก.พ.-15 มี.ค.2553 จำเลย ซึ่งเป็นบรรณาธิการนิตยสาร วอยซ์ ออฟ ทักษิณ ได้จัดพิมพ์ จัดจำหน่าย เผยแพร่นิตยสารวอยซ์ ออฟ ทักษิณ : เสียงทักษิณ ปีที่ 1 ฉบับที่ 15 ปักษ์หลัง เดือน ก.พ.2553 ที่พิมพ์บทความ คมความคิด ของผู้ใช้นามปากกาว่า จิตร พลจันทร์ เรื่องแผนนองเลือดกับยิงข้ามรุ่น หน้าที่ 45-47 มีเนื้อหาผิดตามมาตรา 112 เหตุเกิดที่แขวง-เขตวังทองหลาง กรุงเทพฯ และทุกท้องที่ ทั่วราชอาณาจักรไทย ขอให้ลงโทษจำเลยตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 58,91,112 และขอให้นำโทษจำคุกคดีอาญาหมายเลขแดง อ.1078/2552 ที่หมิ่นประมาท พ.ล.อ.สพรั่ง กัลยาณมิตร ซึ่งศาลอาญานี้ได้มีคำพิพากษาแล้ว มาบวกกับโทษจำคุกคดีนี้ด้วย
ทั้งนี้ จำเลยให้การปฏิเสธ ต่อสู้คดีว่าเป็นเพียงลูกจ้างในนิตยสาร ได้รับค่าตอบแทน 25,000 บาทต่อเดือน และจำเลยไม่มีเจตนา ซึ่งนามปากกาการเขียนบทความ จิตร พลจันทร์ คือ นายจักรภพ เพ็ญแข อดีตรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ที่ได้เขียนบทความส่งมายังนิตยสารเป็นประจำและได้มีการตีพิมพ์หลายครั้ง โดยเมื่อจำเลยอ่านบทความแล้วเห็นว่าเป็นการกล่าวถึงอำมาตย์เท่านั้น และเป็นการกล่าวเตือนถึงความรุนแรงที่อาจจะเกิดขึ้น ไม่ได้หมายถึงพระมหากษัตริย์
ศาลพิเคราะห์พยานหลักฐานโจทก์ จำเลยแล้ว โจทก์ยื่นฟ้องว่าจำเลย กระทำผิดฐานหมิ่นประมาท ดูหมิ่นและแสดงความอาฆาตมาดร้าย พระมหากษัตริย์ ด้วยการจัดพิมพ์ จำหน่าย และเผยแพร่นิตยสารเสียงทักษิณที่เป็นความผิด ม.112 โดยจำเลยต่อสู้ว่า พ.ร.บ.จดแจ้งการพิมพ์ พ.ศ.2550 มีบทบัญญัติยกเลิก พ.ร.บ.การพิมพ์ พ.ศ.2484 ซึ่งในฐานะบรรณาธิการไม่ต้องรับผิด จำเลยย่อมพ้นจากการเป็นผู้กระทำผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 2 วรรคสองนั้น ศาลเห็นว่า การที่จำเลยจะพ้นผิดย่อมหมายความว่าจำเลยพ้นจากการเป็นผู้กระทำความผิด ตาม พ.ร.บ.การพิมพ์ พ.ศ.2484 เท่านั้น ส่วนการกระทำของจำเลยจะเป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 112 ตามฟ้องนั้น ไม่ได้ถูกยกเลิกโดยผลของกฎหมายดังกล่าวด้วย
ส่วนที่จำเลยต่อสู้ว่า จำเลยไม่ใช่ผู้เขียนบทความที่โจทก์นำมาฟ้อง ศาลเห็นว่า โจทก์ฟ้องจำเลยว่าหมิ่นประมาท ดูหมิ่นต่อพระมหากษัตริย์ด้วยการจัดพิมพ์ จัดจำหน่ายนิตยสาร ข้อต่อสู้ของจำเลย จึงไม่ใช่การกระทำที่ถูกฟ้อง และไม่ใช่ประเด็นแห่งคดีที่ศาลจะรับวินิจฉัยตามประมวลกฎมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 104 วรรคหนึ่ง ประกอบประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 15
คดีมีประเด็นต้องวินิจฉัยต่อว่า จำเลยกระทำความผิดตามมาตรา 112 หรือไม่ เห็นว่า โจทก์มีพยานซึ่งเป็นลูกจ้างฝ่ายสมาชิก ช่างภาพ ศิลปกรรม ของนิตยสาร 4 ปาก เบิกความสอดคล้องกันว่า จำเลยเป็นบรรณาธิการอยู่ที่มีการตีพิมพ์ฉบับที่ 4-20 และจำเลยเป็นผู้มีอำนาจพิจารณาลงบทความแต่เพียงผู้เดียว รวมทั้งดูแลการเงิน นอกจากนี้ ยังมีผู้ที่รับจ้างทำแม่พิมพ์และผู้รับจัดจำหน่ายนิตยสาร เบิกความด้วยว่า การจัดจำหน่ายได้มีการติดต่อกับตัวจำเลยเอง ซึ่งพยานโจทก์ดังกล่าวไม่ปรากฏว่าเคยมีเหตุโกรธเคียงกับจำเลยมาก่อน จึงเชื่อว่าเบิกความตามที่แต่ละคนรู้เห็นมา รวมทั้งยังมีนายทหาร 2 นาย ,นายธงทอง จันทรางศุ และ บรรณารักษ์ ซึ่งได้อ่านบทความตามฟ้อง เบิกความทำนองเดียวกันว่า บทความสื่อถึงเหตุการณ์ประวัติศาสตร์ที่มีการย้อนไป 200 กว่าปี ซึ่งสอดคล้องเชื่อมโยงที่บันทึกในพระราชพงศาวดารและที่มีการเรียนรู้ทั่วไปเกี่ยวกับราชวงศ์ ซึ่งทำให้เข้าใจว่าบทความสื่อถึงสถาบันพระมหากษัตริย์
จึงเห็นว่า แม้เนื้อหาในบทความทั้ง 2 ฉบับ ไม่ได้กล่าวถึงชื่อบุคคล แต่เขียนโดยมีเจตนาเชื่อมโยงเหตุการณ์ในอดีตและเมื่อนำเหตุการณ์มาเชื่อมโยงแล้วสามารถระบุได้ว่าหมายถึง พระมหากษัตริย์ว่าทรงมีอำนาจเหนือรัฐบาลทหารและรัฐบาลพลเรือน และเกี่ยวข้องในเหตุการณ์ความรุนแรง ที่จำเลยและพยานจำเลย ซึ่งเป็นนักวิชาการ เบิกความว่า บทความไม่หมายถึงพระมหากษัตริย์ แต่หมายถึงกลุ่มอำมาตย์ จึงไม่มีน้ำหนักรับฟังหักล้างพยานโจทก์ได้
ขณะที่จำเลย จบการศึกษาระดับปริญญาตรีรัฐศาสตร์ เคยทำงานในองค์กรพัฒนาเอกชน และเป็นถึงบรรณาธิการบริหารรวมทั้งสื่อมวลชน ย่อมจะต้องวิเคราะห์เนื้อหาก่อนที่จะเผยแพร่ การที่จำเลยนำบทความไปตีพิมพ์เผยแพร่ จึงมีเจตนาหมิ่นพระมหากษัตริย์ ตามมาตรา 112 และเมื่อมีการจัดพิมพ์นิตยสารถึง 2 ฉบับ อันเป็นการกระทำต่างกรรมต่างวาระกัน
จึงพิพากษาว่า จำเลยมีความผิดซึ่งเป็นการกระทำหลายกรรมต่างกันให้ลงโทษเป็นกระทงความผิดไป ให้จำคุกจำเลย 2 กระทงๆ ละ 5 ปี รวมจำคุก 10 ปี และบวกนับโทษ 1 ปี ในคดีอาญาที่ศาลพิพากษาแล้ว รวมจำคุกจำเลยทั้งสิ้น 11 ปี
ภายหลังฟังคำพิพากษาแล้ว นายสุวิทย์ ทองนวล ทนายความของนายสมยศ กล่าวว่า จะได้ใช้หลักทรัพย์เดิมที่เป็นโฉนดที่ดิน จ.สุพรรณบุรี ของนายสมยศ ยื่นเพื่อประกันตัวเพื่อต่อสู้คดีในชั้นอุทธรณ์ต่อไป แม้ว่าที่ผ่านมา ระหว่างการพิจารณาคดีนี้จะมีการยื่นประกันถึง 12 ครั้งแล้ว แต่ศาลไม่อนุญาตให้ปล่อยชั่วคราวก็ตาม ขณะที่การยื่นประกันถือเป็นสิทธิตามกฎหมายและรัฐธรรมนูญ ส่วนการยื่นอุทธรณ์คดี ก็จะต่อสู้ทั้งประเด็นข้อเท็จจริงและข้อกฎหมายว่า นายสมยศ ไม่ใช่ผู้เขียนบทความที่จะเป็นความผิด และไม่มีเจตนาในการหมิ่นสถาบัน ขณะที่การเป็นบรรณาธิการ ตามกฎหมาย พ.ร.บ.จดแจ้งการพิมพ์ ปี 2550 ไม่ได้บัญญัติให้เป็นความผิด ดังนั้น เมื่อไม่มีกฎหมาย ก็ไม่มีความผิด ซึ่งการยื่นอุทธรณ์จะชี้ให้ศาลพิจารณาหลักฐานพยานฝ่ายจำเลยด้วยที่ศาลชั้นต้นวินิจฉัยไว้ว่ารับฟังไม่ได้
อย่างไรก็ดี ที่ศาลมีคำพิพากษาจำคุกกระทงละ 5 ปีนั้น ตนเห็นว่าสูงเกินไป ซึ่งมาตรา 115 อัตราโทษขั้นตอนจำคุกตั้งแต่ 3 ปี โดยเมื่อเทียบกับคดีที่นายยศวริศ ชูกล่อม หรือเจ๋ง ดอกจิก ถูกศาลพิพากษาคดีหมิ่นเบื้องสูง ซึ่งนายยศวริศ เป็นผู้พูดเอง ศาลยังพิพากษาโทษเพียงแค่ 3 ปี และยังลดโทษเหลือจำคุก 2 ปี แต่คดีของนายสมยศ ที่ไม่ใช่ผู้เขียนบทความกลับรับโทษถึง 5 ปี
ขณะที่นายคารม พลพรกลาง หนึ่งในทีมทนายคามของนายสมยศ กล่าวว่า โทษที่ศาลพิพากษาจำคุกกระทงละ 5 ปี ถือว่าสูงกว่าโทษขั้นต่ำ แต่ยังไม่สูงมาก โดยมาตรา 112 กำหนดอัตราโทษจำคุก 3-15 ปี อัตราโทษ 5 ปีที่ศาลพิพากษา จึงเท่ากับว่าอยู่ในระดับ 1 ใน 3 ของอัตราโทษสูงสุด แต่อย่างไรก็ดี จำเลยจะต้องต่อสู้คดีต่อไป โดยยืนยันว่าไม่มีเจตนาหมิ่นเบื้องสูง
โดยวันเดียวกันนี้ นายปณิธาน บุตรชายของนายสมยศ ได้เดินทางมาร่วมฟังคำพิพากษา โดยมีนางธิดา ถาวรเศรษฐ ประธาน นปช. และคนเสื้อแดงมาร่วมให้กำลังใจ นอกจากนี้ ยังมีสื่อต่างชาติจำนวนมากได้มาร่วมฟังคำพิพากษากันจนแน่นห้องพิจารณาคดีกว่า 100 คน
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า หลังจากเสร็จสิ้นการฟังคำพิพากษา กลุ่มเสื้อแดงได้รวมตัวกัน ที่บริเวณหน้าศาลอาญาพร้อมชูป้ายกระดาษเขียนข้อความว่า “ทวงคืนยุติธรรม” “อำมาตย์หยุดทำนาบนหลังคน” “มีเมตตาเป็นเพียงแค่ลมปาก” “การอาฆาตและพยาบาทคือความจริง” “คนไทยไม่ใช่ทาส” “อำมาตย์ทวงคืนความยุติธรรม” โดยยืนชูป้ายอยู่นานประมาณ 2-3 นาที
ต่อมากลุ่มเสื้อแดงทำกิจกรรมบริเวณด้านนอกรั้วศาลอาญา โดยจุดเทียนสีดำและมีป้ายผ้าวางบนทางเท้า เขียนข้อความว่า “ความยุติธรรม คุณวัดด้วยอะไร ใครเกี่ยวข้องช่วยตอบที” ระหว่างนั้น มีรถยนต์โตโยต้า อัสติส หมายเลขทะเบียน ญช 9691 กทม. แต่ถอดป้ายทะเบียนออก มีกระดาษติดอยู่รอบตัวรถและเขียนข้อความว่า “ช่วยหยุดรอยต่อความโกง อย่าทนดูเขาครองไทยไม่เหลือหรอ เขาได้อีสานเหนือก็เหลือพอ ต้องรักษา กทม.พ้นมือมาร” มาจอดขวางช่องทางการจราจร ถ.รัชดาภิเษก 1 เลน ส่งผลให้การจราจรติดขัดชั่วคราว โดยกลุ่มเสื้อแดงที่สนับสนุนนายสมยศได้ตะโกนต่อว่า และไม่ให้กลุ่มเสื้อแดงเข้าไปเกี่ยวข้องกับกรณีดังกล่าว ต่อมาตำรวจสน.พหลโยธินตรวจสอบพบว่า มีนางชิดชนก นนทรัตน์ อายุ 42 ปี ที่นั่งอยู่ภายในรถ เจ้าหน้าที่ตำรวจจึงได้ออกใบสั่งพร้อมอำนวยการจราจรให้เข้าสู่ปกติ