ASTV ผู้จัดการรายวัน - นักเศรษฐศาสตร์-นักธุรกิจค้ารถยนต์มือ 2 ชี้นโยบายรถคันแรก เตรียมพ่นพิษหลังเผชิญปัญหาปากท้อง ค่าใช้จ่ายบานปลาย แถมเบี้ยประกันภัย-ค่าทางด่วนปรับราคาขึ้น ปล่อยผู้ซื้อต้องแบกรับชะตากรรม ผ่อนไม่ไหวให้ไฟแนนซ์ยึด หากขายทอดตลาดได้ต่ำกว่ามูลหนี้ ผู้ซื้อต้องถูกไล่บี้อีกรอบ ส่วนเต็นท์รถ BB ย่านตลิ่งชัน ระบุปลายปีนี้รถยนต์คันแรกทยอยออกมาขายแน่ ยอมรับมีลูกค้ารอคิวอื้อ ด้านรัฐบาลรับเต็มๆ ทั้งคะแนนเสียง ดึงความเชื่อมั่นค่ายรถหลังเหลวเรื่องน้ำท่วมเมื่อปี 54 เผยรัฐใช้ 9 หมื่นล้านล่อ-แต่สร้างรายได้เข้ารัฐมากกว่าแสนล้าน
จบไปแล้วสำหรับโครงการรถคันแรกของรัฐบาลที่เริ่มตั้งแต่ 16 กันยายน 2554 ถึง 31 ธันวาคม 2555 ด้วยวัตถุประสงค์ “เพื่อสนับสนุนให้ประชาชนที่ไม่เคยมีรถยนต์เป็นของตัวเองได้มีโอกาสซื้อรถยนต์ใหม่คันแรก ที่เป็นการยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชนให้มีชีวิตความเป็นอยู่ที่สะดวกสบายขึ้น ในภาคอุตสาหกรรมจะส่งเสริมอุตสาหกรรมยานยนต์และอุตสาหกรรมชิ้นส่วนให้ขยายตัวอย่างต่อเนื่อง รวมไปถึงภาคธุรกิจประกันภัย และธุรกิจไฟแนนซ์ ซึ่งจะช่วยขับเคลื่อนเศรษฐกิจไทย และเกิดการจ้างงานสร้างรายได้แก่ประชาชน และภาคธุรกิจเป็นจำนวนมาก ในขณะเดียวกัน ก็จะส่งผลให้ฐานะการคลังของประเทศมีความมั่นคงยิ่งขึ้น”
โครงการรถคันแรกเปิดโอกาสให้ผู้ที่ยังไม่เคยซื้อรถยนต์มาก่อนเข้าร่วมโครงการ โดยให้สิทธิประโยชน์ในการคืนเงินภาษีสรรพสามิตให้ไม่เกินรายละ 1 แสนบาท ด้วยข้อกำหนดราคารถไม่เกิน 1 ล้านบาท และขนาดของเครื่องยนต์ไม่เกิน 1500 ซีซีสำหรับรถเก๋ง และให้สิทธิกับรถกระบะและรถยนต์นั่งมีกระบะ (ดับเบิลแค็บ)
เดิมทีโครงการนี้ตั้งเป้าว่าจะมีผู้เข้าร่วมโครงการนี้ 5 แสนราย เตรียมเงินคืนภาษีให้ผู้ซื้อรถตามโครงการ 3 หมื่นล้านบาท แต่มีผู้ใช้สิทธิสูงเกินกว่าเป้าหมายมาก โดยกรมสรรพสามิตระบุว่ามีผู้มาขอใช้สิทธิ 1.25 ล้านราย คิดเป็นเงินภาษีที่ต้องคืนให้กับประชาชนราว 9 หมื่นล้านบาท โดยแยกเป็นรถยนต์นั่ง 7.39 แสนคัน รถกระบะ 2.58 แสนคัน รถยนต์นั่งที่มีกระบะ หรือดับเบิลแค็บ 2.57 แสนคัน
แม้โครงการดังกล่าวจะถูกวิพากษ์วิจารณ์จากนักวิชาการอย่างมาก เนื่องจากมองว่าไม่เกิดประโยชน์กับประเทศ สวนทางกับแนวทางการประหยัดพลังงานและเพิ่มปัญหารถติด เพราะถึงอย่างไรแม้ไม่มีโครงการนี้ออกมาประชาชนจำนวนไม่น้อยก็พร้อมจะซื้อรถยนต์อยู่ดี แต่รัฐบาลไม่ได้ให้ความสำคัญกับเสียงท้วงติงเหล่านั้น เดินหน้าโครงการนี้มาจนเสร็จสิ้นโครงการ
**นักเศรษฐศาสตร์ห่วงหนี้ครัวเรือน
ศ.ดร.พรายพล คุ้มทรัพย์ คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ กล่าวว่า หากดูระหว่างมีโครงการรถคันแรกกับไม่มีโครงการนี้ ถ้าไม่มีโครงการนี้คนก็ซื้อรถเหมือนกัน แต่จะไม่ซื้อในปี 2555 แต่จะเป็นการซื้อตามปกติ เช่น อาจจะซื้อปี 2556 หรือ 2557 คนบางกลุ่มอาจไม่มีความจำเป็นต้องซื้อรถยนต์ แต่เมื่อมีนาทีทองขึ้นมาก็ใช้สิทธินั้น
โครงการนี้เป็นตัวเร่งให้คนเข้ามาซื้อมากขึ้น สิ่งที่จะตามมาคือความเป็นห่วงเรื่องหนี้ภาคครัวเรือนที่จะเพิ่มสูงขึ้นกว่าที่เป็นอยู่ นอกจากนี้ยังมีปัญหาเรื่องการสวมสิทธิที่อาจถูกฟ้องร้องเป็นคดีความ ปัญหาสังคมก็จะตามมา ทำให้ระบบเสียไป
ดร.สมประวิณ มันประเสริฐ คณะเศรษฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โครงการนี้เปลี่ยนจากการเก็บภาษีจากผู้ซื้อรถมาเป็นการเก็บภาษีกำไรจากธุรกิจที่เกี่ยวข้องแทน เป็นเพียงแค่หลักการกระตุ้นการบริโภคภายในประเทศระยะสั้นเท่านั้น แม้ว่าภายในระยะเวลา 5 ปีรัฐจะได้เงินที่เสียไปคืนมา แต่ก็มีต้นทุนค่าเสียโอกาส เงิน 9 หมื่นล้านที่ต้องจ่ายไป สามารถนำมาสร้างสาธารณูปโภคขั้นพื้นฐานได้หลายโครงการ
ในช่วงแรกของโครงการยังไม่หวือหวา ส่วนหนึ่งเป็นผลจากเหตุน้ำท่วมใหญ่ แต่ในครึ่งปีหลังเริ่มมีผู้ใช้สิทธิมากขึ้น นอกจากนี้ยังมีเรื่องของภาษีสรรพสามิตรถใหม่ที่เพิ่งออกมาเป็นตัวกระตุ้นให้คนเร่งตัดสินใจซื้ออีกทางหนึ่ง คนที่ซื้อเพราะอยากได้เงินคืนที่รัฐบาลสัญญาไว้ แต่เมื่อได้รถมาความสามารถในการชำระหนี้ของคนอาจจะลดลง ด้วยปัจจัยอื่นที่เข้ามากระทบ
“ตอนนี้ห่วงเศรษฐกิจไทยมากกว่าเดิม แม้ระยะนี้จะยังไม่มีสัญญาณที่ไม่ดีออกมา แต่ใน 5 ปีข้างหน้า ปัญหาจะเกิดจากปัจจัยในประเทศ”
** 5 ปีรัฐได้เกินทุน
แหล่งข่าวจากวงการรถยนต์ ประเมินโครงการรถคันแรกของรัฐบาลว่า ภายในระยะเวลา 5 ปีนั้น รัฐไม่ได้เสียเงิน 9 หมื่นล้านบาทไปฟรีๆ เพราะหากคิดเฉพาะรถคันแรกที่ 1.25 ล้านคัน เก็บภาษีสรรพสามิตจากการขายตามโครงการที่สิ้นสุดเมื่อเดือนธันวาคม 2555 ที่ 4.76 หมื่นล้านบาท
เมื่อรวมกับรถยนต์ที่ออกไปวิ่งตามท้องถนนที่ต้องเติมน้ำมัน คิดเฉลี่ยอย่างต่ำที่ 100 ลิตรต่อเดือนของกลุ่มที่เติมแก๊สโซฮอล์ 91 และดีเซลสำหรับรถกระบะ โดยใช้ราคาขายปลีกเมื่อ 11 มกราคม 2556 หักด้วยราคาหน้าโรงกลั่น เท่ากับเป็นรายได้ที่เข้ารัฐทั้งหมด แต่แยกไปตามส่วนต่างๆ ของโครงสร้างราคาน้ำมัน
5 ปีจากจำนวนทั้งหมด รถในโครงการจะมีเงินเข้ารัฐ 6.745 หมื่นล้านบาท เมื่อรวมกับภาษีสรรพสามิตที่จัดเก็บจากการขายรถ 4.76 หมื่นล้านบาท รัฐจะมีรายได้ใน 2 ส่วนนี้ถึง 1.15 แสนล้านบาท
นี่เป็นเพียงแค่คาดการณ์เบื้องต้นเท่านั้น เพราะในความเป็นจริงใน 1 เดือนผู้ที่ใช้รถยนต์ส่วนใหญ่เติมน้ำมันมากกว่า 100 ลิตร หรือบางคนเลือกที่จะเติมแก๊สโซฮอล์ 95 นอกจากนี้ยังมีผู้ที่ซื้อรถยนต์ในช่วงดังกล่าว แต่เป็นการซื้อตามปกติ ไม่ใช้สิทธิรถคันแรกอีกจำนวนไม่น้อย ดังนั้นรายได้ของรัฐทั้งจากภาษีสรรพสามิตและน้ำมันย่อมสูงกว่านี้
นอกจากนี้ ภาครัฐยังมีรายได้ในส่วนอื่นๆ ที่ตามมาอีก เช่น เรื่องการออกใบอนุญาตขับขี่สำหรับเจ้าของรถมือใหม่ มีค่า พ.ร.บ. และค่าต่อทะเบียน 5 ปี รัฐน่าจะมีรายได้ไม่ต่ำกว่า 5 พันล้านบาท รวมไปถึงเรื่องภาษีของธุรกิจที่เกี่ยวเนื่อง เช่น ค่ายรถยนต์ บริษัทประกันภัยและบริษัทลีสซิ่ง
**รถใหม่ค่าใช้จ่ายเพียบ
ผู้ให้คำปรึกษาทางการเงินรายหนึ่งกล่าวว่า ผู้ที่ซื้อรถยนต์ในโครงการรถคันแรกต้องปฏิบัติตามเงื่อนไขที่รัฐกำหนดไว้ มิเช่นนั้นท่านต้องคืนสิทธินั้นให้กับรัฐ เมื่อซื้อรถมาย่อมมีค่าใช้จ่ายตามมาอีกหลายรายการ เริ่มที่การผ่อนชำระต่อเดือน แต่ละรายอาจมีเงื่อนไขต่างกัน ขึ้นอยู่กับจำนวนซีซี รถแต่ละรุ่น จำนวนเงินดาวน์ การผ่อนชำระและอัตราดอกเบี้ยของลีสซิ่งที่เลือกไว้ ในส่วนนี้จะมีค่าใช้จ่ายระหว่าง 6,500-12,000 บาทต่อเดือน
ตามมาด้วยค่าน้ำมันขึ้นอยู่กับการใช้งาน หากใช้แค่ 100 ลิตรต่อเดือน รายจ่ายจะอยู่ที่ 3,000-4,000 บาทขึ้นไป และยังมีรายจ่ายอื่นขึ้นอยู่กับการใช้งานของแต่ละบุคคล เช่น ค่าทางด่วน ค่าที่จอดรถ ค่าล้างรถ
ถัดมาจะเป็นค่าใช้จ่ายประจำปี มีค่า พ.ร.บ.และค่าต่อทะเบียนต้องเตรียมเงินไว้ตั้งแต่ 1,500-2,500 บาท หากเป็นรถนั่งที่มีกระบะตรงนี้จะเสียภาษีสูงกว่ารถเก๋งมากกว่า 2 เท่าตัว จากนั้นมีเรื่องของค่าประกันภัย หากเลือกต่อชั้น 1 ต้องมีเงินเตรียมไว้ 10,000-20,000 บาท ต่อมาเป็นค่าใช้จ่ายในการซ่อมบำรุง ซึ่งไม่จำเป็นต้องครบปี เช่น ทางศูนย์รถยนต์กำหนดไว้ในการตรวจอุปกรณ์ต่างๆ ตามจำนวนระยะทางที่กำหนด เช่น 5,000 กิโลเมตร หรือ 10,000 กิโลเมตร และส่วนใหญ่จะมีการเปลี่ยนอุปกรณ์ต่างๆ ครั้งใหญ่เมื่อครบ 4 ปี หรือประมาณ 20,000 กิโลเมตร
ค่าใช้จ่ายต่อเดือนที่ตามมาหลังจากรถคันแรกนั้นต้องมีไม่ต่ำกว่า 10,000-20,000 บาทต่อเดือนนั้น ไม่นับรวมภาระประจำปีอื่นๆ อีก จึงเป็นไปไม่ได้ที่ผู้ที่เพิ่งเริ่มทำงานใหม่จะมีรถไว้ในครอบครอง เว้นแต่มีผู้ค้ำประกัน เช่น ผู้ปกครอง แต่ถ้ามีผู้ที่เพิ่งเริ่มทำงานแล้วใช้สิทธิซื้อรถคันแรก โอกาสที่จะถูกยึดรถก็มีความเป็นไปได้สูง
**ล่าสุดเบี้ยประกันภัยจะมีการปรับเพิ่มขึ้นอีก 10% และค่าทางด่วนจะปรับเพิ่มขึ้นอีก 5 บาท
แม้ว่ารัฐบาลจะคืนเงินให้ตามข้อตกลงเมื่อครบ 1 ปีตามอัตราที่กำหนดไว้ไม่เกิน 100,000 บาท คำถามที่ตามมาคือท่านจะประคองตัวให้ครบได้ 1 ปีหรือไม่ นอกจากนั้นยังต้องกลับไปดูที่มาของเงินดาวน์รถไม่ว่าจะเป็น 15% 20% หรือ 25% นั้นมาอย่างไร หากเป็นการกู้ยืมมาก่อนเพื่อรอเงินที่รัฐจ่ายคืนมานั้นถือเป็นการกู้ที่ไม่คุ้มค่า เพราะต้องแบกรับทั้งดอกเบี้ยและต้องผ่อนชำระเงินต้นในส่วนนี้อีกจะทำให้การดำรงชีพในแต่ละเดือนลำบากมากขึ้น
** “ยึดแน่” มากหรือน้อยเท่านั้น
ที่เรากล่าวมานั้นเป็นเพียงการมองแค่ด้านเดียว แต่ในชีวิตของมนุษย์จะมีเรื่องของค่าใช้จ่ายอื่นๆ ในการดำรงชีพ เช่น ค่าเช่าบ้านหรือคอนโดมิเนียม ค่าอาหาร 3 มื้อ ค่าผ่อนบ้าน ค่าอาหารลูก ค่าประกันชีวิต เงินที่ใช้เลี้ยงดูบิดามารดา ค่าสังสรรค์ ค่าเสื้อผ้าและอื่นๆ อีก เมื่อนำเอาค่าใช้จ่ายในส่วนนี้ไปรวมกับค่าใช้จ่ายของรถคันแรกอาจทำให้เกิดปัญหาทางการเงินขึ้นมาได้
นอกจากนี้ท่ามกลางเศรษฐกิจและนโยบายของรัฐบาลปัจจุบัน มีความเสี่ยงทั้งในเรื่องเศรษฐกิจโลกผันผวน ใครที่อยู่ในกลุ่มเสี่ยงอย่างกลุ่มส่งออกอาจเสี่ยงต่อการถูกเลิกจ้าง หรือนโยบายของรัฐบาลที่ออกมาไม่ว่าจะเป็น 300 บาท หรือ 15,000 บาท บริษัทหรือองค์กรที่ท่านทำงานอยู่อาจประสบปัญหาถึงขั้นเลิกกิจการได้ รวมไปถึงค่าครองชีพที่สูงขึ้น ราคาอาหาร ข้าวของเครื่องใช้ต่างๆ ที่แพงขึ้น ตรงนี้ท่านต้องทราบ
“ไม่มีใครตอบได้ว่าโอกาสที่ผู้ซื้อรถคันแรกจะถูกยึดคืนจากการผ่อนไม่ไหวจะเป็นเท่าไหร่ แต่ตอบได้เลยว่ามีคนที่ร่วมโครงการนี้ถูกบริษัทลีสซิ่งยึดแน่ จะมากหรือน้อยเท่านั้นเอง”
**หันพึ่งบัตรเครดิต-สินเชื่อบุคคล
เมื่อรายจ่ายในชีวิตเริ่มสูงขึ้นทั้งจากราคาสินค้าที่แพง แถมมามีภาระเพิ่มเรื่องรถคนแรก ท่านต้องสำรวจตัวเองว่ารายได้ในปัจจุบันเพียงพอหรือไม่ หลายคนอาจแก้ปัญหานี้ด้วยการหันไปทำบัตรเครดิตทั้งชำระค่าน้ำมัน หรือซื้อข้าวของเครื่องใช้ในชีวิตประจำวัน เมื่อรายจ่ายเพิ่มขึ้นรายรับคงที่หรือเพิ่มขึ้นน้อยกว่ารายจ่าย ย่อมทำให้ความสามารถในการชำระหนี้ของท่านลดลง
ทางออกด้วยการผ่อนชำระบัตรเครดิตหรือใช้สินเชื่อบุคคลมาแก้ปัญหานี้ ถือเป็นแนวทางที่ผิด เพราะจะเป็นการเพิ่มพูนหนี้ให้เพิ่มมากขึ้นและกลายเป็นตัวเพิ่มภาระยิ่งกว่าเดิม
**แค่ยึดรถยังไม่จบ
ลำดับต่อไปของผู้ที่ไม่สามารถผ่อนชำระต่อไปได้ ลีสซิ่งหรือบริษัทไฟแนนซ์ที่ปล่อยกู้ซื้อรถก็จะตามทวงหนี้ให้ชำระตามที่กำหนด เมื่อไม่สามารถชำระได้จากนั้นก็จะทำการยึดรถ
ไม่ใช่ว่าเมื่อยึดรถแล้วท่านจะหมดภาระทันที ท่านต้องคืนเงินที่ได้มาส่งคืนไปที่กรมสรรพสามิต จากนั้นลีสซิ่งต้องทำการขายรถออกไป หากได้ราคาที่ต่ำกว่ามูลหนี้คงค้างที่ท่านมี ส่วนต่างของราคาที่ขายไปกับมูลหนี้ที่ท่านมี ลีสซิ่งก็จะมาเรียกเก็บจากท่านอีก
ทั้งนี้ยังไม่นับว่าส่วนที่ท่านผิดนัดชำระหนี้ไปก่อนหน้านี้ รายชื่อของท่านจะถูกขึ้นบัญชีดำไว้ที่เครดิตบูโร ดังนั้นการทำธุรกรรมทางการเงินครั้งต่อไปของท่านย่อมมีปัญหา
สำหรับกรณีการสวมสิทธิ เชื่อว่ามีเป็นจำนวนมากที่ใช้ชื่อบุคคลอื่นเข้ามาซื้อ หากเกิดปัญหาขึ้นผู้ที่ให้ใช้ชื่อจะกลายเป็นผู้ที่ต้องรับภาระหนี้ที่เกิดขึ้น รวมไปถึงเรื่องของบัญชีดำที่ท่านต้องแบกรับไว้ด้วย
**รอรถยึดปลุกเต็นท์มือ 2 คึก
ดาว ผู้จัดการเต็นท์รถเอื้องกล่าวว่า ที่ผ่านมาโครงการรถยนต์คันแรกมีผลต่อยอดขายรถยนต์มือ 2 มากน้อยแล้วแต่ราย ขึ้นอยู่กับวิธีการปรับตัวของเต็นท์แต่ละราย ในส่วนของเราไม่มีผลมากนัก แต่เต็นท์อื่นบ่นกันมาก
วิธีการปรับตัวของเต็นท์ต้องปรับราคาขายรถมือ 2 ลง ยอมลดลงมาจากเดิมกำไรราว 80% ตอนนี้ต้องปรับลงมาเหลือ 40% ก่อนหน้าที่จะมีโครงการนี้ รถที่นำมาขายเต็นท์ส่วนใหญ่จะใช้งานมาประมาณ 8 เดือนถึง 1 ปี บางรายก็ขายดาวน์ให้กับเต็นท์เหมือนกัน
เธอบอกต่อว่าปี 2555 และต้นปี 2556 รถในกลุ่ม 1500 ซีซี ขายยากเพราะจะไปชนกับโครงการรถคันแรก หลายคนจึงหันไปซื้อรถใหม่เพราะรัฐบาลคืนเงินให้ไม่เกิน 1 แสนบาท ส่วนใหญ่ตามเต็นท์ที่ขายได้มักจะเป็นรถที่มีซีซีสูงกว่านั้น
เมื่อสอบถามว่ารับซื้อรถตามโครงการรถคันแรกไว้บ้างหรือไม่ ได้รับคำตอบว่าตอนนี้ไม่มีใครกล้าซื้อรถในกลุ่มนี้เข้ามา เรียกว่าเกี่ยงกันซื้อจะดีกว่า เพราะเกรงเรื่องปัญหาการโอนชื่อที่กำหนดห้ามโอนใน 5 ปี เต็นท์ไหนที่มีรถประเภทนี้อยู่ต่างพยายามที่จะเร่งระบายรถออก
สอดคล้องกับสมพงษ์ ผู้จัดการเต็นท์ BB ย่านตลิ่งชัน กล่าวว่า ตอนนี้อาจจะยังไม่เห็นรถยนต์ตามโครงการรถคันแรกออกมาขาย แต่คาดว่าในปลายปี 2556 นี้คงจะเริ่มเห็นกัน แต่การรับซื้อนั้นมีขั้นตอนที่ยุ่งยากเนื่องจากติดขัดเรื่องการโอนชื่อ คาดว่าคงจะรอให้บริษัทไฟแนนซ์ยึดรถมาก่อนแล้วเปิดประมูลจึงจะเข้าไปซื้อ เพราะในส่วนนี้รัฐเปิดให้โอนชื่อได้
สำหรับราคารับซื้อรถจากโครงการรถคันแรก ผู้จัดการเต็นท์รถทั้ง 2 รายกล่าวตรงกันว่า จะต้องหักเงินที่ได้คืนจากสรรพสามิตออกไปก่อน เช่น รถ 6 แสนบาท หากได้รับเงินคืน 1 แสนบาทการตีราคารถจะอยู่ที่ 5 แสนบาท จากนั้นต้องดูสภาพว่าใช้มากี่ปี มีประวัติชนหรือไม่ ดูร่องรอยการซ่อม รวมถึงสภาพของเครื่องยนต์
มองกันว่าหากมีการยึดรถคันแรกแล้วปล่อยลงมาสู่เต้นท์รถมือ 2 มากขึ้น คาดว่าตลาดเต้นท์รถมือ 2 จะกลับมาคึกคักอีกครั้ง เพราะมีคนจำนวนไม่น้อยที่รถซื้อรถมือ 2 ที่ถูกยึดจากโครงการรถคันแรก เพราะราคารถมือ 2 จะถูกลงกว่าเดิมอีกมาก
** เพิ่มปัญหา-เพิ่มลูกค้าตำรวจ
ขณะที่นักวิชาการอีกรายกล่าวว่า จุดประสงค์ที่แท้จริงของโครงการรถคันแรกจะทำเพื่อประชาชนจริงหรือไม่ แต่ภายใต้โครงการเดียวกันมีผู้ที่ได้รับประโยชน์สูงที่สุดคือรัฐบาล ได้ใจประชาชนเมือง สร้างบุญคุณติดตัวไปตลอดและมีผลบ้างต่อการเลือกตั้งครั้งต่อไป นอกจากนี้ยังจะเป็นการมัดใจค่ารถยนต์ที่ไม่พอใจการบริหารงานของรัฐบาลยิ่งลักษณ์ในช่วงที่เกิดน้ำท่วมครั้งใหญ่
โครงการนี้จึงเท่ากับเป็นการเร่งหาลูกค้าให้กับเจ้าของค่ายรถให้มากขึ้น โดยรัฐบาลเป็นโต้โผหลักและใช้เงินภาษีอากรของประเทศมาเป็นตัวเร่ง เห็นได้จากก่อนการปิดโครงการเมื่อ 31 ธันวาคมได้มีการปรับภาษีสรรพสามิตรถยนต์ใหม่ออกมา โดยรถยนต์ขนาด 1,500 ซีซีขึ้นไป เพิ่มภาษีจาก 25% เป็น 35% เท่ากับใครที่จะซื้อรถขนาดดังกล่าวหลังจากพ้นโครงการนี้ราคาขายย่อมต้องปรับขึ้นอีกหลายหมื่นบาท ขณะที่รถอีโคคาร์(1,200 ซีซี)ได้ปรับภาษีลงจาก 17% เหลือ 14%
ผู้ประกอบการชิ้นส่วนรถยนต์ บริษัทประกันภัยและบริษัทลีสซิ่งย่อมได้รับผลบวกตามไปด้วย นอกจากนี้ยังเป็นการหาลูกค้าใหม่ให้กับ ปตท.และปั๊มน้ำมันรายอื่น ๆ ซึ่งรายได้จะกลับมาสู่ภาครัฐในที่สุด อีกทั้งรายได้จากกรมขนส่งทางบกทั้งการออกใบอนุญาตขับขี่ใหม่ การต่อ พ.ร.บ.ต่อทะเบียน
หากคิดในเชิงร้ายรถใหม่เหล่านี้ย่อมเป็นที่หมายตาของกลุ่มมิจฉาชีพอยู่ไม่น้อย จำนวนรถที่มากขึ้นโอกาสในการลักรถยนต์ก็มีมากขึ้น หรือเป็นการเพิ่มลูกค้าให้กับตำรวจจราจรมากขึ้น รถมากขึ้นโอกาสกระทำผิดย่อมมากขึ้น เอาแค่เฉพาะเรื่องการตรวจจับความเร็วเดือนหนึ่งก็สร้างรายได้ให้กับตำรวจจราจรได้มาก ด้วยกล้องตรวจจับความเร็วที่ลงทุนไป หรือโอกาสของการเกิดอุบัติเหตุและปัญหาการจราจรย่อมมีมากขึ้น
จบไปแล้วสำหรับโครงการรถคันแรกของรัฐบาลที่เริ่มตั้งแต่ 16 กันยายน 2554 ถึง 31 ธันวาคม 2555 ด้วยวัตถุประสงค์ “เพื่อสนับสนุนให้ประชาชนที่ไม่เคยมีรถยนต์เป็นของตัวเองได้มีโอกาสซื้อรถยนต์ใหม่คันแรก ที่เป็นการยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชนให้มีชีวิตความเป็นอยู่ที่สะดวกสบายขึ้น ในภาคอุตสาหกรรมจะส่งเสริมอุตสาหกรรมยานยนต์และอุตสาหกรรมชิ้นส่วนให้ขยายตัวอย่างต่อเนื่อง รวมไปถึงภาคธุรกิจประกันภัย และธุรกิจไฟแนนซ์ ซึ่งจะช่วยขับเคลื่อนเศรษฐกิจไทย และเกิดการจ้างงานสร้างรายได้แก่ประชาชน และภาคธุรกิจเป็นจำนวนมาก ในขณะเดียวกัน ก็จะส่งผลให้ฐานะการคลังของประเทศมีความมั่นคงยิ่งขึ้น”
โครงการรถคันแรกเปิดโอกาสให้ผู้ที่ยังไม่เคยซื้อรถยนต์มาก่อนเข้าร่วมโครงการ โดยให้สิทธิประโยชน์ในการคืนเงินภาษีสรรพสามิตให้ไม่เกินรายละ 1 แสนบาท ด้วยข้อกำหนดราคารถไม่เกิน 1 ล้านบาท และขนาดของเครื่องยนต์ไม่เกิน 1500 ซีซีสำหรับรถเก๋ง และให้สิทธิกับรถกระบะและรถยนต์นั่งมีกระบะ (ดับเบิลแค็บ)
เดิมทีโครงการนี้ตั้งเป้าว่าจะมีผู้เข้าร่วมโครงการนี้ 5 แสนราย เตรียมเงินคืนภาษีให้ผู้ซื้อรถตามโครงการ 3 หมื่นล้านบาท แต่มีผู้ใช้สิทธิสูงเกินกว่าเป้าหมายมาก โดยกรมสรรพสามิตระบุว่ามีผู้มาขอใช้สิทธิ 1.25 ล้านราย คิดเป็นเงินภาษีที่ต้องคืนให้กับประชาชนราว 9 หมื่นล้านบาท โดยแยกเป็นรถยนต์นั่ง 7.39 แสนคัน รถกระบะ 2.58 แสนคัน รถยนต์นั่งที่มีกระบะ หรือดับเบิลแค็บ 2.57 แสนคัน
แม้โครงการดังกล่าวจะถูกวิพากษ์วิจารณ์จากนักวิชาการอย่างมาก เนื่องจากมองว่าไม่เกิดประโยชน์กับประเทศ สวนทางกับแนวทางการประหยัดพลังงานและเพิ่มปัญหารถติด เพราะถึงอย่างไรแม้ไม่มีโครงการนี้ออกมาประชาชนจำนวนไม่น้อยก็พร้อมจะซื้อรถยนต์อยู่ดี แต่รัฐบาลไม่ได้ให้ความสำคัญกับเสียงท้วงติงเหล่านั้น เดินหน้าโครงการนี้มาจนเสร็จสิ้นโครงการ
**นักเศรษฐศาสตร์ห่วงหนี้ครัวเรือน
ศ.ดร.พรายพล คุ้มทรัพย์ คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ กล่าวว่า หากดูระหว่างมีโครงการรถคันแรกกับไม่มีโครงการนี้ ถ้าไม่มีโครงการนี้คนก็ซื้อรถเหมือนกัน แต่จะไม่ซื้อในปี 2555 แต่จะเป็นการซื้อตามปกติ เช่น อาจจะซื้อปี 2556 หรือ 2557 คนบางกลุ่มอาจไม่มีความจำเป็นต้องซื้อรถยนต์ แต่เมื่อมีนาทีทองขึ้นมาก็ใช้สิทธินั้น
โครงการนี้เป็นตัวเร่งให้คนเข้ามาซื้อมากขึ้น สิ่งที่จะตามมาคือความเป็นห่วงเรื่องหนี้ภาคครัวเรือนที่จะเพิ่มสูงขึ้นกว่าที่เป็นอยู่ นอกจากนี้ยังมีปัญหาเรื่องการสวมสิทธิที่อาจถูกฟ้องร้องเป็นคดีความ ปัญหาสังคมก็จะตามมา ทำให้ระบบเสียไป
ดร.สมประวิณ มันประเสริฐ คณะเศรษฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โครงการนี้เปลี่ยนจากการเก็บภาษีจากผู้ซื้อรถมาเป็นการเก็บภาษีกำไรจากธุรกิจที่เกี่ยวข้องแทน เป็นเพียงแค่หลักการกระตุ้นการบริโภคภายในประเทศระยะสั้นเท่านั้น แม้ว่าภายในระยะเวลา 5 ปีรัฐจะได้เงินที่เสียไปคืนมา แต่ก็มีต้นทุนค่าเสียโอกาส เงิน 9 หมื่นล้านที่ต้องจ่ายไป สามารถนำมาสร้างสาธารณูปโภคขั้นพื้นฐานได้หลายโครงการ
ในช่วงแรกของโครงการยังไม่หวือหวา ส่วนหนึ่งเป็นผลจากเหตุน้ำท่วมใหญ่ แต่ในครึ่งปีหลังเริ่มมีผู้ใช้สิทธิมากขึ้น นอกจากนี้ยังมีเรื่องของภาษีสรรพสามิตรถใหม่ที่เพิ่งออกมาเป็นตัวกระตุ้นให้คนเร่งตัดสินใจซื้ออีกทางหนึ่ง คนที่ซื้อเพราะอยากได้เงินคืนที่รัฐบาลสัญญาไว้ แต่เมื่อได้รถมาความสามารถในการชำระหนี้ของคนอาจจะลดลง ด้วยปัจจัยอื่นที่เข้ามากระทบ
“ตอนนี้ห่วงเศรษฐกิจไทยมากกว่าเดิม แม้ระยะนี้จะยังไม่มีสัญญาณที่ไม่ดีออกมา แต่ใน 5 ปีข้างหน้า ปัญหาจะเกิดจากปัจจัยในประเทศ”
** 5 ปีรัฐได้เกินทุน
แหล่งข่าวจากวงการรถยนต์ ประเมินโครงการรถคันแรกของรัฐบาลว่า ภายในระยะเวลา 5 ปีนั้น รัฐไม่ได้เสียเงิน 9 หมื่นล้านบาทไปฟรีๆ เพราะหากคิดเฉพาะรถคันแรกที่ 1.25 ล้านคัน เก็บภาษีสรรพสามิตจากการขายตามโครงการที่สิ้นสุดเมื่อเดือนธันวาคม 2555 ที่ 4.76 หมื่นล้านบาท
เมื่อรวมกับรถยนต์ที่ออกไปวิ่งตามท้องถนนที่ต้องเติมน้ำมัน คิดเฉลี่ยอย่างต่ำที่ 100 ลิตรต่อเดือนของกลุ่มที่เติมแก๊สโซฮอล์ 91 และดีเซลสำหรับรถกระบะ โดยใช้ราคาขายปลีกเมื่อ 11 มกราคม 2556 หักด้วยราคาหน้าโรงกลั่น เท่ากับเป็นรายได้ที่เข้ารัฐทั้งหมด แต่แยกไปตามส่วนต่างๆ ของโครงสร้างราคาน้ำมัน
5 ปีจากจำนวนทั้งหมด รถในโครงการจะมีเงินเข้ารัฐ 6.745 หมื่นล้านบาท เมื่อรวมกับภาษีสรรพสามิตที่จัดเก็บจากการขายรถ 4.76 หมื่นล้านบาท รัฐจะมีรายได้ใน 2 ส่วนนี้ถึง 1.15 แสนล้านบาท
นี่เป็นเพียงแค่คาดการณ์เบื้องต้นเท่านั้น เพราะในความเป็นจริงใน 1 เดือนผู้ที่ใช้รถยนต์ส่วนใหญ่เติมน้ำมันมากกว่า 100 ลิตร หรือบางคนเลือกที่จะเติมแก๊สโซฮอล์ 95 นอกจากนี้ยังมีผู้ที่ซื้อรถยนต์ในช่วงดังกล่าว แต่เป็นการซื้อตามปกติ ไม่ใช้สิทธิรถคันแรกอีกจำนวนไม่น้อย ดังนั้นรายได้ของรัฐทั้งจากภาษีสรรพสามิตและน้ำมันย่อมสูงกว่านี้
นอกจากนี้ ภาครัฐยังมีรายได้ในส่วนอื่นๆ ที่ตามมาอีก เช่น เรื่องการออกใบอนุญาตขับขี่สำหรับเจ้าของรถมือใหม่ มีค่า พ.ร.บ. และค่าต่อทะเบียน 5 ปี รัฐน่าจะมีรายได้ไม่ต่ำกว่า 5 พันล้านบาท รวมไปถึงเรื่องภาษีของธุรกิจที่เกี่ยวเนื่อง เช่น ค่ายรถยนต์ บริษัทประกันภัยและบริษัทลีสซิ่ง
**รถใหม่ค่าใช้จ่ายเพียบ
ผู้ให้คำปรึกษาทางการเงินรายหนึ่งกล่าวว่า ผู้ที่ซื้อรถยนต์ในโครงการรถคันแรกต้องปฏิบัติตามเงื่อนไขที่รัฐกำหนดไว้ มิเช่นนั้นท่านต้องคืนสิทธินั้นให้กับรัฐ เมื่อซื้อรถมาย่อมมีค่าใช้จ่ายตามมาอีกหลายรายการ เริ่มที่การผ่อนชำระต่อเดือน แต่ละรายอาจมีเงื่อนไขต่างกัน ขึ้นอยู่กับจำนวนซีซี รถแต่ละรุ่น จำนวนเงินดาวน์ การผ่อนชำระและอัตราดอกเบี้ยของลีสซิ่งที่เลือกไว้ ในส่วนนี้จะมีค่าใช้จ่ายระหว่าง 6,500-12,000 บาทต่อเดือน
ตามมาด้วยค่าน้ำมันขึ้นอยู่กับการใช้งาน หากใช้แค่ 100 ลิตรต่อเดือน รายจ่ายจะอยู่ที่ 3,000-4,000 บาทขึ้นไป และยังมีรายจ่ายอื่นขึ้นอยู่กับการใช้งานของแต่ละบุคคล เช่น ค่าทางด่วน ค่าที่จอดรถ ค่าล้างรถ
ถัดมาจะเป็นค่าใช้จ่ายประจำปี มีค่า พ.ร.บ.และค่าต่อทะเบียนต้องเตรียมเงินไว้ตั้งแต่ 1,500-2,500 บาท หากเป็นรถนั่งที่มีกระบะตรงนี้จะเสียภาษีสูงกว่ารถเก๋งมากกว่า 2 เท่าตัว จากนั้นมีเรื่องของค่าประกันภัย หากเลือกต่อชั้น 1 ต้องมีเงินเตรียมไว้ 10,000-20,000 บาท ต่อมาเป็นค่าใช้จ่ายในการซ่อมบำรุง ซึ่งไม่จำเป็นต้องครบปี เช่น ทางศูนย์รถยนต์กำหนดไว้ในการตรวจอุปกรณ์ต่างๆ ตามจำนวนระยะทางที่กำหนด เช่น 5,000 กิโลเมตร หรือ 10,000 กิโลเมตร และส่วนใหญ่จะมีการเปลี่ยนอุปกรณ์ต่างๆ ครั้งใหญ่เมื่อครบ 4 ปี หรือประมาณ 20,000 กิโลเมตร
ค่าใช้จ่ายต่อเดือนที่ตามมาหลังจากรถคันแรกนั้นต้องมีไม่ต่ำกว่า 10,000-20,000 บาทต่อเดือนนั้น ไม่นับรวมภาระประจำปีอื่นๆ อีก จึงเป็นไปไม่ได้ที่ผู้ที่เพิ่งเริ่มทำงานใหม่จะมีรถไว้ในครอบครอง เว้นแต่มีผู้ค้ำประกัน เช่น ผู้ปกครอง แต่ถ้ามีผู้ที่เพิ่งเริ่มทำงานแล้วใช้สิทธิซื้อรถคันแรก โอกาสที่จะถูกยึดรถก็มีความเป็นไปได้สูง
**ล่าสุดเบี้ยประกันภัยจะมีการปรับเพิ่มขึ้นอีก 10% และค่าทางด่วนจะปรับเพิ่มขึ้นอีก 5 บาท
แม้ว่ารัฐบาลจะคืนเงินให้ตามข้อตกลงเมื่อครบ 1 ปีตามอัตราที่กำหนดไว้ไม่เกิน 100,000 บาท คำถามที่ตามมาคือท่านจะประคองตัวให้ครบได้ 1 ปีหรือไม่ นอกจากนั้นยังต้องกลับไปดูที่มาของเงินดาวน์รถไม่ว่าจะเป็น 15% 20% หรือ 25% นั้นมาอย่างไร หากเป็นการกู้ยืมมาก่อนเพื่อรอเงินที่รัฐจ่ายคืนมานั้นถือเป็นการกู้ที่ไม่คุ้มค่า เพราะต้องแบกรับทั้งดอกเบี้ยและต้องผ่อนชำระเงินต้นในส่วนนี้อีกจะทำให้การดำรงชีพในแต่ละเดือนลำบากมากขึ้น
** “ยึดแน่” มากหรือน้อยเท่านั้น
ที่เรากล่าวมานั้นเป็นเพียงการมองแค่ด้านเดียว แต่ในชีวิตของมนุษย์จะมีเรื่องของค่าใช้จ่ายอื่นๆ ในการดำรงชีพ เช่น ค่าเช่าบ้านหรือคอนโดมิเนียม ค่าอาหาร 3 มื้อ ค่าผ่อนบ้าน ค่าอาหารลูก ค่าประกันชีวิต เงินที่ใช้เลี้ยงดูบิดามารดา ค่าสังสรรค์ ค่าเสื้อผ้าและอื่นๆ อีก เมื่อนำเอาค่าใช้จ่ายในส่วนนี้ไปรวมกับค่าใช้จ่ายของรถคันแรกอาจทำให้เกิดปัญหาทางการเงินขึ้นมาได้
นอกจากนี้ท่ามกลางเศรษฐกิจและนโยบายของรัฐบาลปัจจุบัน มีความเสี่ยงทั้งในเรื่องเศรษฐกิจโลกผันผวน ใครที่อยู่ในกลุ่มเสี่ยงอย่างกลุ่มส่งออกอาจเสี่ยงต่อการถูกเลิกจ้าง หรือนโยบายของรัฐบาลที่ออกมาไม่ว่าจะเป็น 300 บาท หรือ 15,000 บาท บริษัทหรือองค์กรที่ท่านทำงานอยู่อาจประสบปัญหาถึงขั้นเลิกกิจการได้ รวมไปถึงค่าครองชีพที่สูงขึ้น ราคาอาหาร ข้าวของเครื่องใช้ต่างๆ ที่แพงขึ้น ตรงนี้ท่านต้องทราบ
“ไม่มีใครตอบได้ว่าโอกาสที่ผู้ซื้อรถคันแรกจะถูกยึดคืนจากการผ่อนไม่ไหวจะเป็นเท่าไหร่ แต่ตอบได้เลยว่ามีคนที่ร่วมโครงการนี้ถูกบริษัทลีสซิ่งยึดแน่ จะมากหรือน้อยเท่านั้นเอง”
**หันพึ่งบัตรเครดิต-สินเชื่อบุคคล
เมื่อรายจ่ายในชีวิตเริ่มสูงขึ้นทั้งจากราคาสินค้าที่แพง แถมมามีภาระเพิ่มเรื่องรถคนแรก ท่านต้องสำรวจตัวเองว่ารายได้ในปัจจุบันเพียงพอหรือไม่ หลายคนอาจแก้ปัญหานี้ด้วยการหันไปทำบัตรเครดิตทั้งชำระค่าน้ำมัน หรือซื้อข้าวของเครื่องใช้ในชีวิตประจำวัน เมื่อรายจ่ายเพิ่มขึ้นรายรับคงที่หรือเพิ่มขึ้นน้อยกว่ารายจ่าย ย่อมทำให้ความสามารถในการชำระหนี้ของท่านลดลง
ทางออกด้วยการผ่อนชำระบัตรเครดิตหรือใช้สินเชื่อบุคคลมาแก้ปัญหานี้ ถือเป็นแนวทางที่ผิด เพราะจะเป็นการเพิ่มพูนหนี้ให้เพิ่มมากขึ้นและกลายเป็นตัวเพิ่มภาระยิ่งกว่าเดิม
**แค่ยึดรถยังไม่จบ
ลำดับต่อไปของผู้ที่ไม่สามารถผ่อนชำระต่อไปได้ ลีสซิ่งหรือบริษัทไฟแนนซ์ที่ปล่อยกู้ซื้อรถก็จะตามทวงหนี้ให้ชำระตามที่กำหนด เมื่อไม่สามารถชำระได้จากนั้นก็จะทำการยึดรถ
ไม่ใช่ว่าเมื่อยึดรถแล้วท่านจะหมดภาระทันที ท่านต้องคืนเงินที่ได้มาส่งคืนไปที่กรมสรรพสามิต จากนั้นลีสซิ่งต้องทำการขายรถออกไป หากได้ราคาที่ต่ำกว่ามูลหนี้คงค้างที่ท่านมี ส่วนต่างของราคาที่ขายไปกับมูลหนี้ที่ท่านมี ลีสซิ่งก็จะมาเรียกเก็บจากท่านอีก
ทั้งนี้ยังไม่นับว่าส่วนที่ท่านผิดนัดชำระหนี้ไปก่อนหน้านี้ รายชื่อของท่านจะถูกขึ้นบัญชีดำไว้ที่เครดิตบูโร ดังนั้นการทำธุรกรรมทางการเงินครั้งต่อไปของท่านย่อมมีปัญหา
สำหรับกรณีการสวมสิทธิ เชื่อว่ามีเป็นจำนวนมากที่ใช้ชื่อบุคคลอื่นเข้ามาซื้อ หากเกิดปัญหาขึ้นผู้ที่ให้ใช้ชื่อจะกลายเป็นผู้ที่ต้องรับภาระหนี้ที่เกิดขึ้น รวมไปถึงเรื่องของบัญชีดำที่ท่านต้องแบกรับไว้ด้วย
**รอรถยึดปลุกเต็นท์มือ 2 คึก
ดาว ผู้จัดการเต็นท์รถเอื้องกล่าวว่า ที่ผ่านมาโครงการรถยนต์คันแรกมีผลต่อยอดขายรถยนต์มือ 2 มากน้อยแล้วแต่ราย ขึ้นอยู่กับวิธีการปรับตัวของเต็นท์แต่ละราย ในส่วนของเราไม่มีผลมากนัก แต่เต็นท์อื่นบ่นกันมาก
วิธีการปรับตัวของเต็นท์ต้องปรับราคาขายรถมือ 2 ลง ยอมลดลงมาจากเดิมกำไรราว 80% ตอนนี้ต้องปรับลงมาเหลือ 40% ก่อนหน้าที่จะมีโครงการนี้ รถที่นำมาขายเต็นท์ส่วนใหญ่จะใช้งานมาประมาณ 8 เดือนถึง 1 ปี บางรายก็ขายดาวน์ให้กับเต็นท์เหมือนกัน
เธอบอกต่อว่าปี 2555 และต้นปี 2556 รถในกลุ่ม 1500 ซีซี ขายยากเพราะจะไปชนกับโครงการรถคันแรก หลายคนจึงหันไปซื้อรถใหม่เพราะรัฐบาลคืนเงินให้ไม่เกิน 1 แสนบาท ส่วนใหญ่ตามเต็นท์ที่ขายได้มักจะเป็นรถที่มีซีซีสูงกว่านั้น
เมื่อสอบถามว่ารับซื้อรถตามโครงการรถคันแรกไว้บ้างหรือไม่ ได้รับคำตอบว่าตอนนี้ไม่มีใครกล้าซื้อรถในกลุ่มนี้เข้ามา เรียกว่าเกี่ยงกันซื้อจะดีกว่า เพราะเกรงเรื่องปัญหาการโอนชื่อที่กำหนดห้ามโอนใน 5 ปี เต็นท์ไหนที่มีรถประเภทนี้อยู่ต่างพยายามที่จะเร่งระบายรถออก
สอดคล้องกับสมพงษ์ ผู้จัดการเต็นท์ BB ย่านตลิ่งชัน กล่าวว่า ตอนนี้อาจจะยังไม่เห็นรถยนต์ตามโครงการรถคันแรกออกมาขาย แต่คาดว่าในปลายปี 2556 นี้คงจะเริ่มเห็นกัน แต่การรับซื้อนั้นมีขั้นตอนที่ยุ่งยากเนื่องจากติดขัดเรื่องการโอนชื่อ คาดว่าคงจะรอให้บริษัทไฟแนนซ์ยึดรถมาก่อนแล้วเปิดประมูลจึงจะเข้าไปซื้อ เพราะในส่วนนี้รัฐเปิดให้โอนชื่อได้
สำหรับราคารับซื้อรถจากโครงการรถคันแรก ผู้จัดการเต็นท์รถทั้ง 2 รายกล่าวตรงกันว่า จะต้องหักเงินที่ได้คืนจากสรรพสามิตออกไปก่อน เช่น รถ 6 แสนบาท หากได้รับเงินคืน 1 แสนบาทการตีราคารถจะอยู่ที่ 5 แสนบาท จากนั้นต้องดูสภาพว่าใช้มากี่ปี มีประวัติชนหรือไม่ ดูร่องรอยการซ่อม รวมถึงสภาพของเครื่องยนต์
มองกันว่าหากมีการยึดรถคันแรกแล้วปล่อยลงมาสู่เต้นท์รถมือ 2 มากขึ้น คาดว่าตลาดเต้นท์รถมือ 2 จะกลับมาคึกคักอีกครั้ง เพราะมีคนจำนวนไม่น้อยที่รถซื้อรถมือ 2 ที่ถูกยึดจากโครงการรถคันแรก เพราะราคารถมือ 2 จะถูกลงกว่าเดิมอีกมาก
** เพิ่มปัญหา-เพิ่มลูกค้าตำรวจ
ขณะที่นักวิชาการอีกรายกล่าวว่า จุดประสงค์ที่แท้จริงของโครงการรถคันแรกจะทำเพื่อประชาชนจริงหรือไม่ แต่ภายใต้โครงการเดียวกันมีผู้ที่ได้รับประโยชน์สูงที่สุดคือรัฐบาล ได้ใจประชาชนเมือง สร้างบุญคุณติดตัวไปตลอดและมีผลบ้างต่อการเลือกตั้งครั้งต่อไป นอกจากนี้ยังจะเป็นการมัดใจค่ารถยนต์ที่ไม่พอใจการบริหารงานของรัฐบาลยิ่งลักษณ์ในช่วงที่เกิดน้ำท่วมครั้งใหญ่
โครงการนี้จึงเท่ากับเป็นการเร่งหาลูกค้าให้กับเจ้าของค่ายรถให้มากขึ้น โดยรัฐบาลเป็นโต้โผหลักและใช้เงินภาษีอากรของประเทศมาเป็นตัวเร่ง เห็นได้จากก่อนการปิดโครงการเมื่อ 31 ธันวาคมได้มีการปรับภาษีสรรพสามิตรถยนต์ใหม่ออกมา โดยรถยนต์ขนาด 1,500 ซีซีขึ้นไป เพิ่มภาษีจาก 25% เป็น 35% เท่ากับใครที่จะซื้อรถขนาดดังกล่าวหลังจากพ้นโครงการนี้ราคาขายย่อมต้องปรับขึ้นอีกหลายหมื่นบาท ขณะที่รถอีโคคาร์(1,200 ซีซี)ได้ปรับภาษีลงจาก 17% เหลือ 14%
ผู้ประกอบการชิ้นส่วนรถยนต์ บริษัทประกันภัยและบริษัทลีสซิ่งย่อมได้รับผลบวกตามไปด้วย นอกจากนี้ยังเป็นการหาลูกค้าใหม่ให้กับ ปตท.และปั๊มน้ำมันรายอื่น ๆ ซึ่งรายได้จะกลับมาสู่ภาครัฐในที่สุด อีกทั้งรายได้จากกรมขนส่งทางบกทั้งการออกใบอนุญาตขับขี่ใหม่ การต่อ พ.ร.บ.ต่อทะเบียน
หากคิดในเชิงร้ายรถใหม่เหล่านี้ย่อมเป็นที่หมายตาของกลุ่มมิจฉาชีพอยู่ไม่น้อย จำนวนรถที่มากขึ้นโอกาสในการลักรถยนต์ก็มีมากขึ้น หรือเป็นการเพิ่มลูกค้าให้กับตำรวจจราจรมากขึ้น รถมากขึ้นโอกาสกระทำผิดย่อมมากขึ้น เอาแค่เฉพาะเรื่องการตรวจจับความเร็วเดือนหนึ่งก็สร้างรายได้ให้กับตำรวจจราจรได้มาก ด้วยกล้องตรวจจับความเร็วที่ลงทุนไป หรือโอกาสของการเกิดอุบัติเหตุและปัญหาการจราจรย่อมมีมากขึ้น