ASTVผู้จัดการรายวัน - หลายบริษัทตบเท้าเข้าขายหุ้น IPO ปี 2556 มีทั้ง Holding Company และ Industry Leader ด้าน “ชนิตร” เชื่อกองทุนรวมอสังหาฯ ทะลัก เพราะเป็นปีสุดท้ายก่อนเป็นกองทรัสต์ อีกทั้งมีโอกาสได้เห็นกองทุนรวมโครงสร้างพื้นฐานในหลายโครงการ พบปี 51-55 มาร์เกตแคปตลาดหุ้นโตเพราะ IPO กว่า 3.2 แสนล้านบาท
นายชนิตร ชาญชัยณรงค์ รองผู้จัดการ ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย และผู้จัดการตลาดหลักทรัพย์ เอ็ม เอ ไอ เปิดเผยว่า ในปี 2556 คาดว่าจะเป็นปีที่ดีมากสำหรับการเสนอขายหุ้นใหม่แก่ประชาชนทั่วไปเป็นครั้งแรก (IPO) เช่นกัน จากในปัจจุบันที่ยังมีดีล IPO ที่อยู่ระหว่างยื่นขอเข้าจดทะเบียนกับตลาดหลักทรัพย์ฯ อีก 14 หลักทรัพย์ โดยเป็นบริษัทที่เข้า SET 5 บริษัท บริษัทใน mai อีก 8 บริษัท และกองทุนรวมโครงสร้างพื้นฐานอีก 1 กองทุน
นอกจากนี้ ยังมีบริษัทที่เตรียมยื่นคำขอเข้าจดทะเบียนในปีช่วงปลายไตรมาส 1 ถึงต้นไตรมาส 2 ของปี 2556 โดยจะใช้งบการเงินปี 2555 ยื่นคำขออีกเกือบ 20 หลักทรัพย์ ประกอบด้วย บริษัทที่เข้า SET 10 บริษัท เข้า mai 5 บริษัท และกองทุนรวม 4 กองทุน โดยรวมทั้งกองทุนอสังหาริมทรัพย์ และกองทุนรวมโครงสร้างพื้นฐาน ซึ่งคาดว่าจะสามารถเข้าจดทะเบียนได้ทันในปีนี้
ขณะเดียวกัน จุดเด่นของหุ้น IPO ในปี 2556 นี้คือ ความหลากหลาย และความน่าสนใจของบริษัท โดยปีนี้จะมี Holding Company ซึ่งมีบริษัทแกนทำธุรกิจในต่างประเทศเข้ามาจดทะเบียนเป็นครั้งแรก โดยเป็นกิจการในประเทศลาว และประเทศเวียดนาม อีกทั้งยังมีบริษัทขนาดใหญ่ ที่เป็น Industry Leader ของอุตสาหกรรมในประเทศ มีแบรนด์ที่ได้รับการยอมรับจากประชาชนโดยทั่วไป รวมถึงปี 2556 ยังเป็นปีสุดท้ายที่ผู้ประกอบการจะสามารถระดมทุนผ่านการออกกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์ ก่อนที่จะปรับเปลี่ยนเป็นการออกกองทรัสต์เพื่อการลงทุนในอสังหาริมทรัพย์ (Real Estate Investment Trust: REIT) จึงเชื่อว่าหลายบริษัทที่มีแผนระดมทุนจะเร่งออกกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์อีกจำนวนมาก
นอกจากนี้ ปี 2556 ยังมีกองทุนรวมโครงสร้างพื้นฐานที่จะเข้ามาระดมทุนหลายกองทุน จึงเป็นโอกาสที่ดีของนักลงทุนที่จะได้ร่วมลงทุนในโครงสร้างพื้นฐานของประเทศ เป็นการสนับสนุนนโยบายของรัฐบาล และเป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานของประเทศ โดยคาดว่า กองทุนแรกที่จะเข้ามาระดมทุนคือ กองทุนรวมโครงสร้างพื้นฐานระบบขนส่งมวลชนทางราง บีทีเอสโกรท (BTSGIF) ซึ่งนำรายได้จากค่าโดยสารที่จะเกิดขึ้นในอนาคตจากการดำเนินงานของรถไฟฟ้าบีทีเอสสายหลัก ระยะทาง 23.5 กิโลเมตร ตามสัญญาสัมปทานที่มีอายุเหลืออยู่อีกประมาณ 17 ปี ไม่รวมส่วนต่อขยายมาจัดตั้งเป็นกองทุน และคาดว่าจะได้รับการตอบรับจากนักลงทุนเป็นอย่างดี
สำหรับรายชื่อบริษัทที่ยื่นเข้าขอจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ฯ ในปี 2556 ประกอบด้วย บมจ.พรีเมียร์ โปรดักส์ บมจ.เพซ ดีเวลลอปเมนท์ คอร์ปอเรชั่น บมจ.เซียร์ พร๊อพเพอร์ตี้ บมจ.โรงพยาบาลจุฬารัตน์ และ บมจ.พีทีจี เอ็นเนอยี
ขณะที่บริษัทยื่นขอเข้าจดทะเบียนในตลาด เอ็ม เอ ไอ ประกอบด้วย บมจ.ยูเรก้า ดีไซน์ บมจ.อัคคีปราการ บมจ.พลังงานบริสุทธิ์ บมจ.สหการประมูล บมจ.อีสต์โคสท์เฟอร์นิเทค บมจ.ซีซีเอ็น-เทค บมจ.ซังโกะ ไดคาซติ้ง (ประเทศไทย) และ บมจ.โมโน เทคโนโลยี
ส่วนในปี 2555 มีบริษัทจดทะเบียน (บจ.) เข้าใหม่ หรือไอพีโอรวม 18 บริษัท ในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (SET) 8 บริษัท ตลาดหลักทรัพย์ เอ็ม เอ ไอ (mai) 10 บริษัท นอกจากนี้ ยังมีการเข้าจดทะเบียนทางอ้อม (Reverse Take Over) 1 บริษัท และกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์ (PFUND) 6 กองทุน มาร์เกตแคป ณ ราคาปัจจุบัน (คำนวณจากราคาหุ้น ณ วันที่ 9 ม.ค.56) รวม 192,092 ล้านบาท ด้วยมูลค่าระดมทุน 52,467 ล้านบาท
โดยบริษัทจดทะเบียนเข้าระดมทุนผ่าน SET มีมาร์เกตแคปรวม ณ ราคาปัจจุบัน 126,738 ล้านบาท มูลค่าระดมทุน 17,183 ล้านบาท ระดมทุนผ่าน mai มาร์เกตแคปรวม ณ ราคาปัจจุบัน 21,203 ล้านบาท มูลค่าระดมทุน 2,482 ล้านบาท โดยมี บริษัท วีจีไอ โกลบอลมีเดีย จำกัด (มหาชน) (VGI) มีขนาดมาร์เกตแคปสูงสุด ที่ 26,400 ล้านบาท สำหรับกองทุนอสังหาริมทรัพย์มีมูลค่าระดมทุน 32,802 ล้านบาท เป็นการระดมทุนผ่านกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์ที่มากที่สุดเป็นประวัติศาสตร์ โดยมีกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์สิทธิการเช่าเทสโก้ โลตัส รีเทล โกรท (TLGF) มีขนาดมาร์เกตแคป สูงสุด ที่ 27,789 ล้านบาท
โดยเมื่อพิจารณาเปรียบเทียบกับการระดมทุนย้อนหลัง 5 ปี จะพบว่าหุ้น IPO นับตั้งแต่ปี 2551 จนถึงปี 2555 มีมาร์เกตแคป รวม ณ ราคาปัจจุบันกว่า 722,300 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากมาร์เกตแคป ณ ราคา IPO ที่ 329,100 ล้านบาท ถึง 119%
“หุ้น IPO ยังได้รับการตอบรับจากนักลงทุนรายย่อยเป็นจำนวนมาก เห็นได้จากค่าเฉลี่ยของจำนวนผู้ลงทุนรายย่อยของบริษัทจดทะเบียนเข้าใหม่ใน SET จำนวน 4,800 ราย และค่าเฉลี่ยของจำนวนผู้ลงทุนรายย่อยของบริษัทจดทะเบียนเข้าใหม่ใน mai จำนวน 3,000 ราย ซึ่งเพิ่มขึ้นจากค่าเฉลี่ยของจำนวนผู้ลงทุนรายย่อยของบริษัทจดทะเบียนเข้าใหม่ 5 ปีย้อนหลังของ SET ที่ 3,980 ราย และของ mai ที่ 1,470 ราย”
นายชนิตร ชาญชัยณรงค์ รองผู้จัดการ ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย และผู้จัดการตลาดหลักทรัพย์ เอ็ม เอ ไอ เปิดเผยว่า ในปี 2556 คาดว่าจะเป็นปีที่ดีมากสำหรับการเสนอขายหุ้นใหม่แก่ประชาชนทั่วไปเป็นครั้งแรก (IPO) เช่นกัน จากในปัจจุบันที่ยังมีดีล IPO ที่อยู่ระหว่างยื่นขอเข้าจดทะเบียนกับตลาดหลักทรัพย์ฯ อีก 14 หลักทรัพย์ โดยเป็นบริษัทที่เข้า SET 5 บริษัท บริษัทใน mai อีก 8 บริษัท และกองทุนรวมโครงสร้างพื้นฐานอีก 1 กองทุน
นอกจากนี้ ยังมีบริษัทที่เตรียมยื่นคำขอเข้าจดทะเบียนในปีช่วงปลายไตรมาส 1 ถึงต้นไตรมาส 2 ของปี 2556 โดยจะใช้งบการเงินปี 2555 ยื่นคำขออีกเกือบ 20 หลักทรัพย์ ประกอบด้วย บริษัทที่เข้า SET 10 บริษัท เข้า mai 5 บริษัท และกองทุนรวม 4 กองทุน โดยรวมทั้งกองทุนอสังหาริมทรัพย์ และกองทุนรวมโครงสร้างพื้นฐาน ซึ่งคาดว่าจะสามารถเข้าจดทะเบียนได้ทันในปีนี้
ขณะเดียวกัน จุดเด่นของหุ้น IPO ในปี 2556 นี้คือ ความหลากหลาย และความน่าสนใจของบริษัท โดยปีนี้จะมี Holding Company ซึ่งมีบริษัทแกนทำธุรกิจในต่างประเทศเข้ามาจดทะเบียนเป็นครั้งแรก โดยเป็นกิจการในประเทศลาว และประเทศเวียดนาม อีกทั้งยังมีบริษัทขนาดใหญ่ ที่เป็น Industry Leader ของอุตสาหกรรมในประเทศ มีแบรนด์ที่ได้รับการยอมรับจากประชาชนโดยทั่วไป รวมถึงปี 2556 ยังเป็นปีสุดท้ายที่ผู้ประกอบการจะสามารถระดมทุนผ่านการออกกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์ ก่อนที่จะปรับเปลี่ยนเป็นการออกกองทรัสต์เพื่อการลงทุนในอสังหาริมทรัพย์ (Real Estate Investment Trust: REIT) จึงเชื่อว่าหลายบริษัทที่มีแผนระดมทุนจะเร่งออกกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์อีกจำนวนมาก
นอกจากนี้ ปี 2556 ยังมีกองทุนรวมโครงสร้างพื้นฐานที่จะเข้ามาระดมทุนหลายกองทุน จึงเป็นโอกาสที่ดีของนักลงทุนที่จะได้ร่วมลงทุนในโครงสร้างพื้นฐานของประเทศ เป็นการสนับสนุนนโยบายของรัฐบาล และเป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานของประเทศ โดยคาดว่า กองทุนแรกที่จะเข้ามาระดมทุนคือ กองทุนรวมโครงสร้างพื้นฐานระบบขนส่งมวลชนทางราง บีทีเอสโกรท (BTSGIF) ซึ่งนำรายได้จากค่าโดยสารที่จะเกิดขึ้นในอนาคตจากการดำเนินงานของรถไฟฟ้าบีทีเอสสายหลัก ระยะทาง 23.5 กิโลเมตร ตามสัญญาสัมปทานที่มีอายุเหลืออยู่อีกประมาณ 17 ปี ไม่รวมส่วนต่อขยายมาจัดตั้งเป็นกองทุน และคาดว่าจะได้รับการตอบรับจากนักลงทุนเป็นอย่างดี
สำหรับรายชื่อบริษัทที่ยื่นเข้าขอจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ฯ ในปี 2556 ประกอบด้วย บมจ.พรีเมียร์ โปรดักส์ บมจ.เพซ ดีเวลลอปเมนท์ คอร์ปอเรชั่น บมจ.เซียร์ พร๊อพเพอร์ตี้ บมจ.โรงพยาบาลจุฬารัตน์ และ บมจ.พีทีจี เอ็นเนอยี
ขณะที่บริษัทยื่นขอเข้าจดทะเบียนในตลาด เอ็ม เอ ไอ ประกอบด้วย บมจ.ยูเรก้า ดีไซน์ บมจ.อัคคีปราการ บมจ.พลังงานบริสุทธิ์ บมจ.สหการประมูล บมจ.อีสต์โคสท์เฟอร์นิเทค บมจ.ซีซีเอ็น-เทค บมจ.ซังโกะ ไดคาซติ้ง (ประเทศไทย) และ บมจ.โมโน เทคโนโลยี
ส่วนในปี 2555 มีบริษัทจดทะเบียน (บจ.) เข้าใหม่ หรือไอพีโอรวม 18 บริษัท ในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (SET) 8 บริษัท ตลาดหลักทรัพย์ เอ็ม เอ ไอ (mai) 10 บริษัท นอกจากนี้ ยังมีการเข้าจดทะเบียนทางอ้อม (Reverse Take Over) 1 บริษัท และกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์ (PFUND) 6 กองทุน มาร์เกตแคป ณ ราคาปัจจุบัน (คำนวณจากราคาหุ้น ณ วันที่ 9 ม.ค.56) รวม 192,092 ล้านบาท ด้วยมูลค่าระดมทุน 52,467 ล้านบาท
โดยบริษัทจดทะเบียนเข้าระดมทุนผ่าน SET มีมาร์เกตแคปรวม ณ ราคาปัจจุบัน 126,738 ล้านบาท มูลค่าระดมทุน 17,183 ล้านบาท ระดมทุนผ่าน mai มาร์เกตแคปรวม ณ ราคาปัจจุบัน 21,203 ล้านบาท มูลค่าระดมทุน 2,482 ล้านบาท โดยมี บริษัท วีจีไอ โกลบอลมีเดีย จำกัด (มหาชน) (VGI) มีขนาดมาร์เกตแคปสูงสุด ที่ 26,400 ล้านบาท สำหรับกองทุนอสังหาริมทรัพย์มีมูลค่าระดมทุน 32,802 ล้านบาท เป็นการระดมทุนผ่านกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์ที่มากที่สุดเป็นประวัติศาสตร์ โดยมีกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์สิทธิการเช่าเทสโก้ โลตัส รีเทล โกรท (TLGF) มีขนาดมาร์เกตแคป สูงสุด ที่ 27,789 ล้านบาท
โดยเมื่อพิจารณาเปรียบเทียบกับการระดมทุนย้อนหลัง 5 ปี จะพบว่าหุ้น IPO นับตั้งแต่ปี 2551 จนถึงปี 2555 มีมาร์เกตแคป รวม ณ ราคาปัจจุบันกว่า 722,300 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากมาร์เกตแคป ณ ราคา IPO ที่ 329,100 ล้านบาท ถึง 119%
“หุ้น IPO ยังได้รับการตอบรับจากนักลงทุนรายย่อยเป็นจำนวนมาก เห็นได้จากค่าเฉลี่ยของจำนวนผู้ลงทุนรายย่อยของบริษัทจดทะเบียนเข้าใหม่ใน SET จำนวน 4,800 ราย และค่าเฉลี่ยของจำนวนผู้ลงทุนรายย่อยของบริษัทจดทะเบียนเข้าใหม่ใน mai จำนวน 3,000 ราย ซึ่งเพิ่มขึ้นจากค่าเฉลี่ยของจำนวนผู้ลงทุนรายย่อยของบริษัทจดทะเบียนเข้าใหม่ 5 ปีย้อนหลังของ SET ที่ 3,980 ราย และของ mai ที่ 1,470 ราย”