วานนี้ ( 10 ม.ค.) นางธิดา ถาวรเศรษฐ ประธานแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ (นปช.) พร้อม ด้วยนายจตุพร พรหมพันธุ์ น.พ.เหวง โตจิราการ แกนนำนปช. เข้ายื่นจดหมายเปิดผนึก ถึงคณะตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ ผ่านนายเชาวนะ ไตรมาศ เลขาธิการศาลรัฐธรรมนูญ เพื่อขอความชัดเจนใน 2 ประเด็น จากกรณีศาลรัฐธรรมนูญมีคำวินิจฉัย ที่ 18-22 / 2555 ว่า การแก้ไขรัฐธรรมนูญ มาตรา 291 ไม่เข้าข่ายเป็นการล้มล้างการปกครองตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 68 ว่า ตามคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญนั้น หากจะมีการแก้ไขรัฐธรรมนูญ จะต้องมีการทำประชามติสอบถามความเห็นจากประชาชนก่อน ใช่หรือไม่ รวมทั้งมาตราใดของรัฐธรรมนูญ ที่บอกถึงเจตนารมณ์ว่า หากจะแก้ไขรัฐธรรมนูญ ต้องมีการทำประชามติ และศาลรัฐธรรมนูญมีคำสั่งห้ามรัฐสภาลงมติ วาระ 3 แก้ไขรัฐธรรมนูญ มาตรา 291 ใช่หรือไม่ รวมทั้งอำนาจสั่งห้าม เป็นไปตามรัฐธรรมนูญมาตราใด เพื่อให้ฝ่ายนิติบัญญัติ ฝ่ายบริหาร มีความกระจ่างในแนวทางปฏิบัติ สามารถตัดสินใจอย่างใดอย่างหนึ่งได้
นางธิดา กล่าวว่า การมาสอบถามครั้งนี้ ไม่ได้มาในลักษณะก้าวร้าว คุกคามศาล แต่เป็นความปรารถนาดี ที่ต้องการมาหาทางออกให้กับประเทศชาติ ว่าตกลงแล้วที่ในคำวินิจฉัยศาลรัฐธรรมนูญที่ระบุให้มีการทำประชามตินั้น เป็นคำแนะนำ หรือเป็นคำวินิจฉัย อีกทั้งเมื่อตรวจสอบคำวินิจฉัยศาลรัฐธรรมนูญพบว่า มีตุลาการเพียง 1 เสียงเท่านั้น ที่ระบุว่า จะต้องมีการทำประชามติก่อน และศาลมีคำสั่งห้ามเดินหน้าลงมติใน วาระ 3 นั้นเป็นการอ้างรัฐธรรมนูญมาตราใด เพราะทั้ง 2 เรื่องนี้ เป็นที่มาของความชะงักงัน และสุ่มเสี่ยงให้ฝ่ายบริหาร และฝ่ายนิติบัญญัติ ที่ปฏิบัติตาม อาจจะนำไปสู่การกระทำผิดรัฐธรรมนูญได้
ด้านนายจตุพร กล่าวว่า งบประมาณที่จะใช้ในการทำประชามติสูงถึง 2 พันล้านบาท หากมีการดำเนินการไปแล้วเกิดปัญหาก็จะสูญเสียงบประมาณโดยเปล่าประโยชน์ 2 คำถามที่มีถึงศาลรัฐธรรมนูญ จึงมีมูลค่าถึงคำถามละ 1 พันล้านบาท ซึ่งไม่อยากให้ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญตอบว่า ไม่มีหน้าที่ เหมือนที่โฆษกศาลรัฐธรรมนูญกล่าว เพราะในเมื่อคำวินิจฉัยศาลรัฐธรรมนูญ ต้องเป็นที่ยุติ ทุกฝ่ายอ่านแล้วต้องเข้าใจตรงกัน แต่คำวินิจฉัยกรณีดังกล่าวกลับต้องทายใจว่า คณะตุลาการฯ ต้องการอะไรกันแน่ และถ้าองค์กรนี้บอกไม่มีหน้าที่ ก็ไม่รู้ว่าเป็นหน้าที่ขององค์กรไหน
" ตามหลักในการพิจ ารณาจะต้องยึดตามเสียงข้างมาก แต่เมื่อตรวจดูคำวินิจฉัยส่วนตนของตุลาการแต่ละคน มีตุลาการฯ เพียงคนเดียวที่เห็นว่าต้องทำประชามติก่อน แล้วกลับไปเขียนรวมไว้เป็นคำวินิจฉัย ทำให้ไม่แน่ใจว่า ตกลงแล้ว เรื่องให้ทำประชามติก่อน เป็นคำวินิจฉัย หรือคำแนะนำกันแน่ ถ้าหากรัฐสภา หรือรัฐบาลดำเนินการอย่างหนึ่งอย่างใดไปโดยไม่รู้ความต้องการที่แท้จริงของคณะตุลาการ ก็อาจนำไปสู่กับดักได้" นายจตุพร กล่าว
ด้านนายเชาวนะ กล่าวว่า จะรับเรื่อง และเร่งนำเรื่องเสนอตามกระบวนการ และขอบคุณที่มากันอย่างสุภาพชน
**ชี้คู่ความเท่านั้นมีสิทธิถามให้ศาลอธิบาย
นายวสันต์ สร้อยพิสุทธิ์ ประธานศาลรัฐธรรมนูญ กล่าวถึงกลุ่มนปช. ยื่นหนังสือขอความชัดเจนเกี่ยวกับคำวินิจฉัยศาลรัฐธรรมนูญว่า ต้องมีการทำประชามติก่อนการแก้ไขรัฐธรรมนูญหรือไม่ และศาลรัฐธรรมนูญมีคำสั่งห้ามลงมติแก้ไขรัฐธรรมนูญมาตรา 291 วาระ 3 หรือไม่ว่า เมื่อมีการยื่นคำร้องมาคงนำเข้าที่ประชุมคณะตุลาการ แต่ขณะนี้ตนยังไม่เห็นคำร้อง และตนมีเพียงเสียงเดียว คงตัดสินอะไรไม่ได้
อย่างไรก็ตาม ศาลไม่มีหน้าที่ต้องอธิบายคำวินิจฉัยที่มีออกไป แต่หากคู่ความไม่เข้าใจ มีสิทธิยื่นคำร้องต่อศาลได้ ซึ่งเป็นตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง ทั้งนี้ก็ต้องดูก่อนว่า คู่ความร้องมาว่าอย่างไร ไม่เข้าใจจริงๆ หรือว่าแกล้งไม่เข้าใจ โง่จริงๆ หรือแกล้งโง่ ถ้าแกล้งโง่ก็ขอให้โง่จริงๆ
ส่วนการมายื่นคำร้องของนปช. เพราะต้องการหลักประกันว่า ศาลฯจะให้เดินหน้าแก้ไขรัฐธรรมนูญอย่างไรนั้น ตนก็ไม่รู้เหมือนกัน จะเดินหน้าหรือถอยหลัง
ด้านนายสมศักดิ์ เกียรติสุรนนท์ ประธานรัฐสภา และประธานสภาผู้แทนราษฎร แสดงความเห็นเกี่ยวกับการแก้ไขรัฐธรรมนูญว่า ที่รัฐบาลมีข้อสรุปโยนให้สถาบันการศึกษาของรัฐ 3 สถาบัน ศึกษาแนวทางการแก้ไขรัฐธรรมนูญโดยเห็นว่า เป็นเรื่องดีที่มีการเปิดกระบวนการรับฟังความเห็นจากประชาชน
ส่วนที่คณะอนุกรรมการพิจารณาศึกษาแนวทางการแก้ไขรัฐธรรมนูญ สภาผู้แทนราษฎร เสนอโดย นายโสภณ เพชรสว่าง ประธานคณะอนุกรรมการพิจารณาศึกษาแก้ไขรัฐธรรมนูญสภาผู้แทนฯ เสนอยุบศาลรัฐธรรมนูญ-ศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง และ ลดอำนาจ ป.ป.ช. โดยส่วนตัวมองว่ายังไม่ใช่เวลาที่เหมาะสม เพราะตอนนี้การแก้ไขรัฐธรรมนูญ มีการหารือเพียงเรื่องหลักการเท่านั้น ข้อเสนอดังกล่าวยังไม่ใช้ข้อสรุป เพราะจะต้องมีการเสนอให้ประธานสภาฯ พิจารณาด้วย ส่วนที่แกนนำคนเสื้อแดงยื่นหนังสือต่อศาลรัฐธรรมนูญให้ชี้แจงถึงคำวินิจฉัยในการแก้ไขรัฐธรรมนูญ ก็เป็นแนวทางของคนเสื้อแดง ไม่เกี่ยวข้องกับรัฐบาล
นางธิดา กล่าวว่า การมาสอบถามครั้งนี้ ไม่ได้มาในลักษณะก้าวร้าว คุกคามศาล แต่เป็นความปรารถนาดี ที่ต้องการมาหาทางออกให้กับประเทศชาติ ว่าตกลงแล้วที่ในคำวินิจฉัยศาลรัฐธรรมนูญที่ระบุให้มีการทำประชามตินั้น เป็นคำแนะนำ หรือเป็นคำวินิจฉัย อีกทั้งเมื่อตรวจสอบคำวินิจฉัยศาลรัฐธรรมนูญพบว่า มีตุลาการเพียง 1 เสียงเท่านั้น ที่ระบุว่า จะต้องมีการทำประชามติก่อน และศาลมีคำสั่งห้ามเดินหน้าลงมติใน วาระ 3 นั้นเป็นการอ้างรัฐธรรมนูญมาตราใด เพราะทั้ง 2 เรื่องนี้ เป็นที่มาของความชะงักงัน และสุ่มเสี่ยงให้ฝ่ายบริหาร และฝ่ายนิติบัญญัติ ที่ปฏิบัติตาม อาจจะนำไปสู่การกระทำผิดรัฐธรรมนูญได้
ด้านนายจตุพร กล่าวว่า งบประมาณที่จะใช้ในการทำประชามติสูงถึง 2 พันล้านบาท หากมีการดำเนินการไปแล้วเกิดปัญหาก็จะสูญเสียงบประมาณโดยเปล่าประโยชน์ 2 คำถามที่มีถึงศาลรัฐธรรมนูญ จึงมีมูลค่าถึงคำถามละ 1 พันล้านบาท ซึ่งไม่อยากให้ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญตอบว่า ไม่มีหน้าที่ เหมือนที่โฆษกศาลรัฐธรรมนูญกล่าว เพราะในเมื่อคำวินิจฉัยศาลรัฐธรรมนูญ ต้องเป็นที่ยุติ ทุกฝ่ายอ่านแล้วต้องเข้าใจตรงกัน แต่คำวินิจฉัยกรณีดังกล่าวกลับต้องทายใจว่า คณะตุลาการฯ ต้องการอะไรกันแน่ และถ้าองค์กรนี้บอกไม่มีหน้าที่ ก็ไม่รู้ว่าเป็นหน้าที่ขององค์กรไหน
" ตามหลักในการพิจ ารณาจะต้องยึดตามเสียงข้างมาก แต่เมื่อตรวจดูคำวินิจฉัยส่วนตนของตุลาการแต่ละคน มีตุลาการฯ เพียงคนเดียวที่เห็นว่าต้องทำประชามติก่อน แล้วกลับไปเขียนรวมไว้เป็นคำวินิจฉัย ทำให้ไม่แน่ใจว่า ตกลงแล้ว เรื่องให้ทำประชามติก่อน เป็นคำวินิจฉัย หรือคำแนะนำกันแน่ ถ้าหากรัฐสภา หรือรัฐบาลดำเนินการอย่างหนึ่งอย่างใดไปโดยไม่รู้ความต้องการที่แท้จริงของคณะตุลาการ ก็อาจนำไปสู่กับดักได้" นายจตุพร กล่าว
ด้านนายเชาวนะ กล่าวว่า จะรับเรื่อง และเร่งนำเรื่องเสนอตามกระบวนการ และขอบคุณที่มากันอย่างสุภาพชน
**ชี้คู่ความเท่านั้นมีสิทธิถามให้ศาลอธิบาย
นายวสันต์ สร้อยพิสุทธิ์ ประธานศาลรัฐธรรมนูญ กล่าวถึงกลุ่มนปช. ยื่นหนังสือขอความชัดเจนเกี่ยวกับคำวินิจฉัยศาลรัฐธรรมนูญว่า ต้องมีการทำประชามติก่อนการแก้ไขรัฐธรรมนูญหรือไม่ และศาลรัฐธรรมนูญมีคำสั่งห้ามลงมติแก้ไขรัฐธรรมนูญมาตรา 291 วาระ 3 หรือไม่ว่า เมื่อมีการยื่นคำร้องมาคงนำเข้าที่ประชุมคณะตุลาการ แต่ขณะนี้ตนยังไม่เห็นคำร้อง และตนมีเพียงเสียงเดียว คงตัดสินอะไรไม่ได้
อย่างไรก็ตาม ศาลไม่มีหน้าที่ต้องอธิบายคำวินิจฉัยที่มีออกไป แต่หากคู่ความไม่เข้าใจ มีสิทธิยื่นคำร้องต่อศาลได้ ซึ่งเป็นตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง ทั้งนี้ก็ต้องดูก่อนว่า คู่ความร้องมาว่าอย่างไร ไม่เข้าใจจริงๆ หรือว่าแกล้งไม่เข้าใจ โง่จริงๆ หรือแกล้งโง่ ถ้าแกล้งโง่ก็ขอให้โง่จริงๆ
ส่วนการมายื่นคำร้องของนปช. เพราะต้องการหลักประกันว่า ศาลฯจะให้เดินหน้าแก้ไขรัฐธรรมนูญอย่างไรนั้น ตนก็ไม่รู้เหมือนกัน จะเดินหน้าหรือถอยหลัง
ด้านนายสมศักดิ์ เกียรติสุรนนท์ ประธานรัฐสภา และประธานสภาผู้แทนราษฎร แสดงความเห็นเกี่ยวกับการแก้ไขรัฐธรรมนูญว่า ที่รัฐบาลมีข้อสรุปโยนให้สถาบันการศึกษาของรัฐ 3 สถาบัน ศึกษาแนวทางการแก้ไขรัฐธรรมนูญโดยเห็นว่า เป็นเรื่องดีที่มีการเปิดกระบวนการรับฟังความเห็นจากประชาชน
ส่วนที่คณะอนุกรรมการพิจารณาศึกษาแนวทางการแก้ไขรัฐธรรมนูญ สภาผู้แทนราษฎร เสนอโดย นายโสภณ เพชรสว่าง ประธานคณะอนุกรรมการพิจารณาศึกษาแก้ไขรัฐธรรมนูญสภาผู้แทนฯ เสนอยุบศาลรัฐธรรมนูญ-ศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง และ ลดอำนาจ ป.ป.ช. โดยส่วนตัวมองว่ายังไม่ใช่เวลาที่เหมาะสม เพราะตอนนี้การแก้ไขรัฐธรรมนูญ มีการหารือเพียงเรื่องหลักการเท่านั้น ข้อเสนอดังกล่าวยังไม่ใช้ข้อสรุป เพราะจะต้องมีการเสนอให้ประธานสภาฯ พิจารณาด้วย ส่วนที่แกนนำคนเสื้อแดงยื่นหนังสือต่อศาลรัฐธรรมนูญให้ชี้แจงถึงคำวินิจฉัยในการแก้ไขรัฐธรรมนูญ ก็เป็นแนวทางของคนเสื้อแดง ไม่เกี่ยวข้องกับรัฐบาล