ASTV ผู้จัดการรายวัน – “เทมาเส็ก” เดินหน้าลดสัดส่วนการลงทุนธุรกิจสื่อสาร สั่ง“ ซีดาร์ โฮลดิ้งส์”ตัดขายหุ้นชินคอร์ป 10.3% มูลค่ากว่า 2 หมื่นล้านบาท โบรกฯมองฟรีโฟลตพุ่ง หลังรับทรัพย์เงินปันผลตั้งแต่ปี 48 รวมแล้วกว่า 7.2 หมื่นล้าน กดตลาดหุ้นไทยรูด 17 จุด วอลุ่มเทรด 8.1 หมื่นล้านสูงสุดในรอบ 7 ปี ด้าน “ไทยคม” ปรับแผนนำเอ็มโฟน ผู้ให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ในกัมพูชา เข้าสู่กระบวนการล้มละลาย จนต้องปลดคนงานกว่า 50 คน โดยไม่เหลียวแล อ้างขายให้แก่ผู้ซื้อรายใหม่ ได้ทันตามกำหนด “นพดล”ออกตัวแทนทักษิณ ยืนยันไม่มีเอี่ยว
นายสมประสงค์ บุญยะชัย กรรมการ บริษัท ชิน คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) หรือ INTUCH แจ้งว่า บริษัท ซีดาร์ โฮลดิ้งส์ จำกัด ซึ่งเป็นผู้ถือหุ้นรายใหญ่ของ INTUCH ได้ดำเนินการขายหุ้นบางส่วนที่ถืออยู่ในบริษัท เป็นจำนวน 330 ล้านหุ้น คิดเป็นร้อยละ 10.3 ของหุ้นทั้งหมดของบริษัท โดยขายให้แก่นักลงทุนไทยประมาณในสัดส่วนร้อยละ 20 และบริษัทไทยเอ็นวีดีอาร์ จำกัด ซึ่งขายในราคาเฉลี่ยประมาณ 62.75-63.75 บาท/หุ้น โดยมีบริษัทเครดิตสวิสฯ เป็นที่ปรึกษา ทั้งนี้ คาดว่าจะได้เงินจากการขายครั้งนี้ 21,037.5 ล้านบาท
สำหรับสัดส่วนที่เหลือของจำนวนหุ้นภายหลังจากการขายหุ้นในครั้งนี้ เป็นผลให้ซีดาร์เป็นผู้ถือหุ้นในบริษัท จำนวน 428,049,239 หุ้น หรือคิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 13.3 ของหุ้นทั้งหมดของบริษัท
ขณะเดียวกัน เพื่อให้สามารถตอบข้อซักถาม หรือข้อสงสัยที่อาจมีขึ้นได้จากผู้ถือหุ้นรายย่อย ประชาชน หรือผู้เกี่ยวข้องอื่นๆ บริษัทจึงได้สอบถามไปยังบริษัท แอสเพน โฮลดิ้งส์ จำกัด (แอสเพน) ซึ่งเป็นผู้ถือหุ้นรายใหญ่อีกรายหนึ่งในสัดส่วน 41.62% ของบริษัทว่ามีความประสงค์ที่จะขายหุ้นของบริษัทที่แอสเพนถืออยู่ด้วยหรือไม่ ซึ่งทางแอสเพนได้แจ้งลับมายังบริษัทว่า แอสเพนยังไม่มีแผนที่จะขายหุ้นของบริษัทในระยะเวลานี้ และแอสเพนยังมีความมั่นใจในธุรกิจ และผู้บริหารของบริษัท
ล่าสุด ปิดตลาดราคาหุ้น INTUCH ปิดที่ 65.25 บาท ลดลง 1.75 บาท หรือ 2.61% มูลค่าการซื้อขาย 2.711 หมื่นล้านบาท ขณะที่ ADVANC ปิดที่ 197.00 บาท ลดลง 4.00 บาท หรือ 1.99% มูลค่าการซื้อขาย 2.67 พันล้านบาท
*** “เทมาเส็ก” ขายทิ้งหุ้น “ชิน คอร์ป” ส่งสัญญาณถอย
รายงานข่าวซึ่งอ้างเอกสารที่ส่งถึงบรรดานักลงทุนระบุว่า เทมาเส็ก โฮลดิงส์ และหุ้นส่วนในบริษัทซีดาร์ โฮลดิงส์ได้ประกาศขายหุ้นของชิน คอร์ปจำนวน “330 ล้านหุ้น” ที่ตนถือครองอยู่ ในราคาซึ่งคิดเป็นเงินไทย 63.25 บาทต่อหุ้น ก่อนที่หุ้นทั้งหมดจะถูกขายออกไปในราคาที่ลดลง 5.6%เมื่อวันพุธ (9ม.ค.) โดยมีกลุ่มเครดิตสวิสของสวิตเซอร์แลนด์ และธนาคารมอร์แกน สแตนลีย์ของสหรัฐฯเป็นผู้ดำเนินการ
ความเคลื่อนไหวดังกล่าว สอดคล้องกับคำแถลงก่อนหน้านี้ของ “มาดามโฮ” หรือนางโฮ ชิง ซึ่งเป็นซีอีโอของเทมาเส็ก โฮลดิงส์ และยังเป็นภริยาของนายกรัฐมนตรีลี เซียน ลุงแห่งสิงคโปร์ที่ว่าทางเทมาเส็กกำลังต้องการลดสัดส่วนการลงทุนในธุรกิจด้านโทรคมนาคมทั่วทั้งภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิกลง เนื่องจากมีทิศทางด้านการลงทุนที่ไม่สดใส
ก่อนหน้านี้ เทมาเส็ก โฮลดิงส์ ซึ่งมีมูลค่าสินทรัพย์ภายใต้การบริหารทั้งหมดกว่า 161,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ (ราว 4.9 ล้านล้านบาท) เมื่อปีที่ผ่านมา เพิ่งขายหุ้นของสิงคโปร์ เทเลคอมมิวนิเคชันส์ หรือ “SingTel” ยักษ์ใหญ่ด้านโทรคมนาคมของสิงคโปร์ไปเมื่อปีที่ผ่านมา
ทั้งนี้ บริษัทชิน คอร์ปก่อตั้งโดยพ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรีของไทยที่ถูกกองทัพโค่นอำนาจและอยู่ระหว่างหลบหนีคดีทุจริตในต่างแดน โดยรายได้เกือบ 40%ของชิน คอร์ปมาจากบริษัทในเครือที่เป็นผู้ให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่รายใหญ่ที่สุดของไทยนอกจากนั้น ชิน คอร์ปยังถือหุ้นอีก 41%ในบริษัทดาวเทียมไทยคม
**โบรกฯมองINTUCHฟรีโฟลตพุ่ง
นักวิเคราะห์รายหนึ่ง กล่าวถึงเรื่องดังกล่าวว่า การลดสัดส่วนของกลุ่มเทมาเส็กเป็นนโยบายการลงทุนที่วางเป้าหมายลดสัดส่วนในการทยอยสดสัดส่วนตั้งแต่ช่วงประมาณกลางปี 2554 โดยปัจจุบัน เทมาเส็ก ถือหุ้นในบมจ.ชินคอร์ป ประมาณ 70% จากเดิม 96% แต่ถ้าดูในเชิงของปันผล พบว่าทางกลุ่มเทมาเส็ก เริ่มได้รับเงินปันผลมาตั้งแต่ครึ่งหลังของปี 2548 จนถึงถึงครึ่งปีแรกของปี 2555 ซึ่งมีมูลค่ารวมประมาณ 72,000 ล้านบาท จะได้เงินปันผลโดยรวมทั้งหมดไปแล้วประมาณ 25 สตางค์ 25 เศษๆ 25.25 สตางค์ต่อหุ้น เพราะฉะนั้นคิดเป็นมูลค่าเฉพาะเงินปันผลมันจะตกประมาณ 72,000 ล้านบาท และถ้าดูแวลูในตัวของเชิงมูลค่าหุ้นจะอยู่ที่ประมาณ 153,000 ล้านบาท รวมสุทธิทางกลุ่มนี้จะได้เม็ดเงินไปประมาณ 225,000 ล้านบาท ในขณะที่ต้นทุนในการซื้อตอนนั้นประมาณ 79,000 ล้านบาท
ด้าน บล. เอเซีย พลัส ระบุว่า แจ้งว่า การขายหุ้นของ บริษัท ซีดาร์ โฮลดิ้งส์ จำกัดได้ส่งผลให้ Free Float ของหุ้น INTUCH ปรับตัวสูงขึ้นจากเดิม 34.8% เป็น 45.1% ซึ่งทำให้ข้อจำกัดในเรื่องปัญหาหุ้นขาดสภาพคล่อง ดังที่เคยเกิดขึ้นในอดีตถูกกำจัดไป โดยสภาพคล่องของหุ้น INTUCH ล่าสุดใกล้เคียงกับในอดีต ซึ่งเคยมี Free Float สูงราว 50% ก่อนที่จะมีการเปลี่ยนโครงสร้างการหุ้นของกลุ่ม INTUCH ในช่วงปี 2549 ซึ่งถือเป็นประเด็นทำให้ INTUCH กลายเป็นหุ้นตัวหนึ่งที่มีสภาพคล่องหมุนเวียนในตลาดสูงมากบริษัทหนึ่ง และทำให้เกิดความน่าสนใจลงทุนมากขึ้น ในสายตาของนักลงทุนประเภทสถาบัน ทั้งในประเทศ และต่างประเทศ
**หุ้นไทยรูด17 จุด แรงขายชินคอร์ปฉุด
ตลาดหุ้นไทยวานนี้ (10ม.ค.) ดัชนีปิดที่ ที่ระดับ 1,405.99 จุด ลดลง 17.47 จุด หรือ -1.23% มูลค่าการซื้อขาย 81,270.08 ล้านบาท สูงสุดในรอบ 7 ปี นับจากวันที่ 23 ม.ค. 2549 ซึ่งมีมูลค่าซื้อขาย 94,062.05 ล้านบาท
น.ส.ธีรดา ชาญยิ่งยงค์ ผู้ช่วยผู้อำนวยการฝ่ายวิเคราะห์หลักทรัพย์ บล.ฟิลลิป(ประเทศไทย)กล่าวว่า ตลาดหุ้นไทยดัชนีมีความผันผวนค่อนข้างมาก โดยช่วงเช้าขึ้นไปทดสอบระดับ 1,430 จุด จากนั้นช่วงบ่ายเริ่มมีแรงเทขายทำกำไรออกมาอย่างเห็นได้ชัด หลังดัชนี SET ปรับตัวเพิ่มขึ้นต่อเนื่องช่วงหลายวันที่ผ่านมาจากการแก้ปัญหา Fiscal Cliff ที่คลี่คลายไปแล้วส่วนหนึ่ง แต่ดัชนียังไม่ได้พักตัว ดังนั้น เมื่อทดสอบระดับแนวต้านสำคัญๆ ทำให้มีแรงขายทำกำไรออกมา
แนวโน้มตลาดหุ้นไทยในวันนี้(11ม.ค.) ภาพรวมดัชนี ยังน่าจะชะลอตัวอยู่ ตลาดยังคงมีความผันผวนและยังต้องติดตามการเจรจาแก้ปัญหาเศรษฐกิจสหรัฐ พร้อมให้แนวรับ 1,400 จุด แนวต้าน 1,415 จุด
***THCOM ขาย“เอ็มโฟน” ไม่ทัน จนเข้าสู่การล้มละลาย
ขณะเดียวกัน วานนี้(10ม.ค.) นายวุฒิ อัศวเสริมเจริญ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารด้านการเงิน บริษัท ไทยคม จำกัด (มหาชน) หรือ THCOM แจ้งว่า บริษัท เชนนิงตันอินเวสเม้นท์ พีทีอี จำกัด (SHEN) ซึ่งเป็นบริษัทย่อย และถือหุ้น 100% ในบริษัท เอ็มโฟน จำกัด ซึ่งเป็นผู้ให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ และโทรศัพย์ตามบ้านในประเทศกัมพูชา เข้าสู่กระบวนการล้มละลายตามกฎหมายกัมพูชา หลังไม่สามารถขายหุ้นทั้ง 100% ในเอ็มโฟนให้แก่ผู้ซื้อรายใหม่ได้ทันตามกำหนดภายในเดือน ม.ค.56
โดยเงื่อนไขบังคับก่อนที่คู่สัญญาจะต้องดำเนินการเกี่ยวกับการปรับโครงสร้างหนี้กับเจ้าหนี้ของเอ็มโฟน ไม่สามารถดำเนินการได้แล้วเสร็จลงภายในระยะเวลาที่กำหนดไว้ได้ ทำให้ไม่สามารถขายหุ้นเอ็มโฟนให้แก่บริษัท อินท์ แมแนจเม้นท์ เซอร์วิสส์ คอร์ปอเรชั่น จำกัด (INT) ได้ตามสัญญาก่อนหน้านี้ และฝ่ายบริหารของ SHEN มีข้อเสนอให้นำ เอ็มโฟน เข้าสู่กระบวนการล้มละลายตามกฎหมายของประเทศกัมพูชา
ทั้งนี้ ที่ประชุมคณะกรรมการของ THCOM เมื่อวันที่ 7 ม.ค. จึงมีมติเห็นชอบตามที่ฝ่าย บริหารของ SHEN เสนอ และได้รับแจ้งจาก SHEN แล้วว่า เอ็มโฟนได้ยื่นคำร้องต่อศาลในกรุงพนมเปญ เพื่อขอเข้าสู่กระบวนการล้มละลาย ตามกฎหมายของประเทศกัมพูชา
อย่างไรก็ตาม THCOM ระบุอีกว่า การที่เอ็มโฟนยื่นคำร้องเข้าสู่กระบวนการล้มละลายนี้ จะไม่ส่งผลกระทบทางการเงินอย่างมีสาระสำคัญ ต่องบการเงินรวมของบริษัท เพราะบริษัทได้ตั้ง สำรองขาดทุนจากการด้อยค่า และสำรองค่าใช้จ่ายต่างๆ ที่เกี่ยวข้องไว้แล้วใน 9 เดือนแรกของปี 55 อีกทั้งจะไม่ส่งผลกระทบต่องบการเงินเฉพาะกิจการของบริษัทด้วย
โดย เมื่อเดือน พ.ย.ปี 55 THCOM ระบุว่า บริษัทจะขายหุ้นทั้งหมดในเอ็มโฟน ให้แก่ INT คิดเป็นมูลค่า 98.44 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ซึ่งจะช่วยลดปัญหาขาดทุนจากธุรกิจนี้ที่มีมาตลอด 3 ปี โดยมีเงื่อนไขบังคับก่อนที่จะต้องดำเนินการให้เสร็จสิ้นภายในเดือน ม.ค.56
**ปัดข่าวบริษัทมือถือของ "แม้ว" เลิกจ้างแรงงานเขมร ยันนายใหญ่ไม่ทำธุรกิจนี้
นายนพดล ปัทมะ ที่ปรึกษากฎหมาย พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี กล่าวกรณีที่มีการนำเสนอข่าวของสื่อมวลชนที่อ้างว่าบริษัทมือถือในกัมพูชาชื่อ เอ็มโฟน เป็นของ พ.ต.ท.ทักษิณ และได้เลิกจ้างคนงานชาวกัมพูชานั้น ขอปฏิเสธว่า พ.ต.ท.ทักษิณ ไม่ได้เป็นเจ้าของบริษัทเอ็มโฟนและไม่ได้มีการลงทุนใด ๆ ในกัมพูชาเลย ขอท้าหากมีใครพิสูจน์ได้ว่า พ.ต.ท.ทักษิณ มีหุ้นหรือสัมปทานใดๆ ในกัมพูชาให้นำหลักฐานมาแสดง พ.ต.ท.ทักษิณ จะยกหุ้นและสัมปทานเหล่านั้นทั้งหมดให้ฟรี ๆ จึงขอชี้แจงเพื่อความถูกต้อง เพื่อไม่ให้ประชาชนเกิดความสับสน
นายสมประสงค์ บุญยะชัย กรรมการ บริษัท ชิน คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) หรือ INTUCH แจ้งว่า บริษัท ซีดาร์ โฮลดิ้งส์ จำกัด ซึ่งเป็นผู้ถือหุ้นรายใหญ่ของ INTUCH ได้ดำเนินการขายหุ้นบางส่วนที่ถืออยู่ในบริษัท เป็นจำนวน 330 ล้านหุ้น คิดเป็นร้อยละ 10.3 ของหุ้นทั้งหมดของบริษัท โดยขายให้แก่นักลงทุนไทยประมาณในสัดส่วนร้อยละ 20 และบริษัทไทยเอ็นวีดีอาร์ จำกัด ซึ่งขายในราคาเฉลี่ยประมาณ 62.75-63.75 บาท/หุ้น โดยมีบริษัทเครดิตสวิสฯ เป็นที่ปรึกษา ทั้งนี้ คาดว่าจะได้เงินจากการขายครั้งนี้ 21,037.5 ล้านบาท
สำหรับสัดส่วนที่เหลือของจำนวนหุ้นภายหลังจากการขายหุ้นในครั้งนี้ เป็นผลให้ซีดาร์เป็นผู้ถือหุ้นในบริษัท จำนวน 428,049,239 หุ้น หรือคิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 13.3 ของหุ้นทั้งหมดของบริษัท
ขณะเดียวกัน เพื่อให้สามารถตอบข้อซักถาม หรือข้อสงสัยที่อาจมีขึ้นได้จากผู้ถือหุ้นรายย่อย ประชาชน หรือผู้เกี่ยวข้องอื่นๆ บริษัทจึงได้สอบถามไปยังบริษัท แอสเพน โฮลดิ้งส์ จำกัด (แอสเพน) ซึ่งเป็นผู้ถือหุ้นรายใหญ่อีกรายหนึ่งในสัดส่วน 41.62% ของบริษัทว่ามีความประสงค์ที่จะขายหุ้นของบริษัทที่แอสเพนถืออยู่ด้วยหรือไม่ ซึ่งทางแอสเพนได้แจ้งลับมายังบริษัทว่า แอสเพนยังไม่มีแผนที่จะขายหุ้นของบริษัทในระยะเวลานี้ และแอสเพนยังมีความมั่นใจในธุรกิจ และผู้บริหารของบริษัท
ล่าสุด ปิดตลาดราคาหุ้น INTUCH ปิดที่ 65.25 บาท ลดลง 1.75 บาท หรือ 2.61% มูลค่าการซื้อขาย 2.711 หมื่นล้านบาท ขณะที่ ADVANC ปิดที่ 197.00 บาท ลดลง 4.00 บาท หรือ 1.99% มูลค่าการซื้อขาย 2.67 พันล้านบาท
*** “เทมาเส็ก” ขายทิ้งหุ้น “ชิน คอร์ป” ส่งสัญญาณถอย
รายงานข่าวซึ่งอ้างเอกสารที่ส่งถึงบรรดานักลงทุนระบุว่า เทมาเส็ก โฮลดิงส์ และหุ้นส่วนในบริษัทซีดาร์ โฮลดิงส์ได้ประกาศขายหุ้นของชิน คอร์ปจำนวน “330 ล้านหุ้น” ที่ตนถือครองอยู่ ในราคาซึ่งคิดเป็นเงินไทย 63.25 บาทต่อหุ้น ก่อนที่หุ้นทั้งหมดจะถูกขายออกไปในราคาที่ลดลง 5.6%เมื่อวันพุธ (9ม.ค.) โดยมีกลุ่มเครดิตสวิสของสวิตเซอร์แลนด์ และธนาคารมอร์แกน สแตนลีย์ของสหรัฐฯเป็นผู้ดำเนินการ
ความเคลื่อนไหวดังกล่าว สอดคล้องกับคำแถลงก่อนหน้านี้ของ “มาดามโฮ” หรือนางโฮ ชิง ซึ่งเป็นซีอีโอของเทมาเส็ก โฮลดิงส์ และยังเป็นภริยาของนายกรัฐมนตรีลี เซียน ลุงแห่งสิงคโปร์ที่ว่าทางเทมาเส็กกำลังต้องการลดสัดส่วนการลงทุนในธุรกิจด้านโทรคมนาคมทั่วทั้งภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิกลง เนื่องจากมีทิศทางด้านการลงทุนที่ไม่สดใส
ก่อนหน้านี้ เทมาเส็ก โฮลดิงส์ ซึ่งมีมูลค่าสินทรัพย์ภายใต้การบริหารทั้งหมดกว่า 161,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ (ราว 4.9 ล้านล้านบาท) เมื่อปีที่ผ่านมา เพิ่งขายหุ้นของสิงคโปร์ เทเลคอมมิวนิเคชันส์ หรือ “SingTel” ยักษ์ใหญ่ด้านโทรคมนาคมของสิงคโปร์ไปเมื่อปีที่ผ่านมา
ทั้งนี้ บริษัทชิน คอร์ปก่อตั้งโดยพ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรีของไทยที่ถูกกองทัพโค่นอำนาจและอยู่ระหว่างหลบหนีคดีทุจริตในต่างแดน โดยรายได้เกือบ 40%ของชิน คอร์ปมาจากบริษัทในเครือที่เป็นผู้ให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่รายใหญ่ที่สุดของไทยนอกจากนั้น ชิน คอร์ปยังถือหุ้นอีก 41%ในบริษัทดาวเทียมไทยคม
**โบรกฯมองINTUCHฟรีโฟลตพุ่ง
นักวิเคราะห์รายหนึ่ง กล่าวถึงเรื่องดังกล่าวว่า การลดสัดส่วนของกลุ่มเทมาเส็กเป็นนโยบายการลงทุนที่วางเป้าหมายลดสัดส่วนในการทยอยสดสัดส่วนตั้งแต่ช่วงประมาณกลางปี 2554 โดยปัจจุบัน เทมาเส็ก ถือหุ้นในบมจ.ชินคอร์ป ประมาณ 70% จากเดิม 96% แต่ถ้าดูในเชิงของปันผล พบว่าทางกลุ่มเทมาเส็ก เริ่มได้รับเงินปันผลมาตั้งแต่ครึ่งหลังของปี 2548 จนถึงถึงครึ่งปีแรกของปี 2555 ซึ่งมีมูลค่ารวมประมาณ 72,000 ล้านบาท จะได้เงินปันผลโดยรวมทั้งหมดไปแล้วประมาณ 25 สตางค์ 25 เศษๆ 25.25 สตางค์ต่อหุ้น เพราะฉะนั้นคิดเป็นมูลค่าเฉพาะเงินปันผลมันจะตกประมาณ 72,000 ล้านบาท และถ้าดูแวลูในตัวของเชิงมูลค่าหุ้นจะอยู่ที่ประมาณ 153,000 ล้านบาท รวมสุทธิทางกลุ่มนี้จะได้เม็ดเงินไปประมาณ 225,000 ล้านบาท ในขณะที่ต้นทุนในการซื้อตอนนั้นประมาณ 79,000 ล้านบาท
ด้าน บล. เอเซีย พลัส ระบุว่า แจ้งว่า การขายหุ้นของ บริษัท ซีดาร์ โฮลดิ้งส์ จำกัดได้ส่งผลให้ Free Float ของหุ้น INTUCH ปรับตัวสูงขึ้นจากเดิม 34.8% เป็น 45.1% ซึ่งทำให้ข้อจำกัดในเรื่องปัญหาหุ้นขาดสภาพคล่อง ดังที่เคยเกิดขึ้นในอดีตถูกกำจัดไป โดยสภาพคล่องของหุ้น INTUCH ล่าสุดใกล้เคียงกับในอดีต ซึ่งเคยมี Free Float สูงราว 50% ก่อนที่จะมีการเปลี่ยนโครงสร้างการหุ้นของกลุ่ม INTUCH ในช่วงปี 2549 ซึ่งถือเป็นประเด็นทำให้ INTUCH กลายเป็นหุ้นตัวหนึ่งที่มีสภาพคล่องหมุนเวียนในตลาดสูงมากบริษัทหนึ่ง และทำให้เกิดความน่าสนใจลงทุนมากขึ้น ในสายตาของนักลงทุนประเภทสถาบัน ทั้งในประเทศ และต่างประเทศ
**หุ้นไทยรูด17 จุด แรงขายชินคอร์ปฉุด
ตลาดหุ้นไทยวานนี้ (10ม.ค.) ดัชนีปิดที่ ที่ระดับ 1,405.99 จุด ลดลง 17.47 จุด หรือ -1.23% มูลค่าการซื้อขาย 81,270.08 ล้านบาท สูงสุดในรอบ 7 ปี นับจากวันที่ 23 ม.ค. 2549 ซึ่งมีมูลค่าซื้อขาย 94,062.05 ล้านบาท
น.ส.ธีรดา ชาญยิ่งยงค์ ผู้ช่วยผู้อำนวยการฝ่ายวิเคราะห์หลักทรัพย์ บล.ฟิลลิป(ประเทศไทย)กล่าวว่า ตลาดหุ้นไทยดัชนีมีความผันผวนค่อนข้างมาก โดยช่วงเช้าขึ้นไปทดสอบระดับ 1,430 จุด จากนั้นช่วงบ่ายเริ่มมีแรงเทขายทำกำไรออกมาอย่างเห็นได้ชัด หลังดัชนี SET ปรับตัวเพิ่มขึ้นต่อเนื่องช่วงหลายวันที่ผ่านมาจากการแก้ปัญหา Fiscal Cliff ที่คลี่คลายไปแล้วส่วนหนึ่ง แต่ดัชนียังไม่ได้พักตัว ดังนั้น เมื่อทดสอบระดับแนวต้านสำคัญๆ ทำให้มีแรงขายทำกำไรออกมา
แนวโน้มตลาดหุ้นไทยในวันนี้(11ม.ค.) ภาพรวมดัชนี ยังน่าจะชะลอตัวอยู่ ตลาดยังคงมีความผันผวนและยังต้องติดตามการเจรจาแก้ปัญหาเศรษฐกิจสหรัฐ พร้อมให้แนวรับ 1,400 จุด แนวต้าน 1,415 จุด
***THCOM ขาย“เอ็มโฟน” ไม่ทัน จนเข้าสู่การล้มละลาย
ขณะเดียวกัน วานนี้(10ม.ค.) นายวุฒิ อัศวเสริมเจริญ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารด้านการเงิน บริษัท ไทยคม จำกัด (มหาชน) หรือ THCOM แจ้งว่า บริษัท เชนนิงตันอินเวสเม้นท์ พีทีอี จำกัด (SHEN) ซึ่งเป็นบริษัทย่อย และถือหุ้น 100% ในบริษัท เอ็มโฟน จำกัด ซึ่งเป็นผู้ให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ และโทรศัพย์ตามบ้านในประเทศกัมพูชา เข้าสู่กระบวนการล้มละลายตามกฎหมายกัมพูชา หลังไม่สามารถขายหุ้นทั้ง 100% ในเอ็มโฟนให้แก่ผู้ซื้อรายใหม่ได้ทันตามกำหนดภายในเดือน ม.ค.56
โดยเงื่อนไขบังคับก่อนที่คู่สัญญาจะต้องดำเนินการเกี่ยวกับการปรับโครงสร้างหนี้กับเจ้าหนี้ของเอ็มโฟน ไม่สามารถดำเนินการได้แล้วเสร็จลงภายในระยะเวลาที่กำหนดไว้ได้ ทำให้ไม่สามารถขายหุ้นเอ็มโฟนให้แก่บริษัท อินท์ แมแนจเม้นท์ เซอร์วิสส์ คอร์ปอเรชั่น จำกัด (INT) ได้ตามสัญญาก่อนหน้านี้ และฝ่ายบริหารของ SHEN มีข้อเสนอให้นำ เอ็มโฟน เข้าสู่กระบวนการล้มละลายตามกฎหมายของประเทศกัมพูชา
ทั้งนี้ ที่ประชุมคณะกรรมการของ THCOM เมื่อวันที่ 7 ม.ค. จึงมีมติเห็นชอบตามที่ฝ่าย บริหารของ SHEN เสนอ และได้รับแจ้งจาก SHEN แล้วว่า เอ็มโฟนได้ยื่นคำร้องต่อศาลในกรุงพนมเปญ เพื่อขอเข้าสู่กระบวนการล้มละลาย ตามกฎหมายของประเทศกัมพูชา
อย่างไรก็ตาม THCOM ระบุอีกว่า การที่เอ็มโฟนยื่นคำร้องเข้าสู่กระบวนการล้มละลายนี้ จะไม่ส่งผลกระทบทางการเงินอย่างมีสาระสำคัญ ต่องบการเงินรวมของบริษัท เพราะบริษัทได้ตั้ง สำรองขาดทุนจากการด้อยค่า และสำรองค่าใช้จ่ายต่างๆ ที่เกี่ยวข้องไว้แล้วใน 9 เดือนแรกของปี 55 อีกทั้งจะไม่ส่งผลกระทบต่องบการเงินเฉพาะกิจการของบริษัทด้วย
โดย เมื่อเดือน พ.ย.ปี 55 THCOM ระบุว่า บริษัทจะขายหุ้นทั้งหมดในเอ็มโฟน ให้แก่ INT คิดเป็นมูลค่า 98.44 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ซึ่งจะช่วยลดปัญหาขาดทุนจากธุรกิจนี้ที่มีมาตลอด 3 ปี โดยมีเงื่อนไขบังคับก่อนที่จะต้องดำเนินการให้เสร็จสิ้นภายในเดือน ม.ค.56
**ปัดข่าวบริษัทมือถือของ "แม้ว" เลิกจ้างแรงงานเขมร ยันนายใหญ่ไม่ทำธุรกิจนี้
นายนพดล ปัทมะ ที่ปรึกษากฎหมาย พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี กล่าวกรณีที่มีการนำเสนอข่าวของสื่อมวลชนที่อ้างว่าบริษัทมือถือในกัมพูชาชื่อ เอ็มโฟน เป็นของ พ.ต.ท.ทักษิณ และได้เลิกจ้างคนงานชาวกัมพูชานั้น ขอปฏิเสธว่า พ.ต.ท.ทักษิณ ไม่ได้เป็นเจ้าของบริษัทเอ็มโฟนและไม่ได้มีการลงทุนใด ๆ ในกัมพูชาเลย ขอท้าหากมีใครพิสูจน์ได้ว่า พ.ต.ท.ทักษิณ มีหุ้นหรือสัมปทานใดๆ ในกัมพูชาให้นำหลักฐานมาแสดง พ.ต.ท.ทักษิณ จะยกหุ้นและสัมปทานเหล่านั้นทั้งหมดให้ฟรี ๆ จึงขอชี้แจงเพื่อความถูกต้อง เพื่อไม่ให้ประชาชนเกิดความสับสน