ASTVผู้จัดการรายวัน - "โกลว์ พลังงาน"ชิงดำประมูลไอพีพีรอบใหม่ 1-2 โรง มั่นใจพื้นที่อ.ปลวกแดง จ.ระยองมีความาได้เปรียบคู่แข่ง ยอมรับไอพีพีรอบนี้แข่งดุ ส่วนโครงการโรงไฟฟ้าพลังลม 50 เมกะวัตต์ที่โคราชอยู่ระหว่างการเจรจาทำPPA แต่เบรกโรงไฟฟ้าพลังลมที่ชัยภูมิ เหตุติดปัญหาเป็นพื้นที่ซับน้ำ
นายณัฐพรรษ ตันบุญเอก ผู้อำนวยการฝ่ายการเงินและนักลงทุนสัมพันธ์ บริษัท โกลว์ พลังงาน จำกัด (มหาชน)(GLOW) เปิดเผยว่า บริษัทฯเตรียมยื่นประมูลโรงไฟฟ้าผู้ผลิตเอกชนรายใหญ่ (ไอพีพี)รอบใหม่ 1-2 โรง ขนาดกำลังการผลิตโรงละ 900 เมกะวัตต์ในพื้นที่อ.ปลวกแดง จ.ระยอง โดยการประมูลไอพีพีรอบนี้เชื่อว่าการแข่งขันรุนแรงอีกทั้งวิธีการประเมินผู้ได้รับคัดเลือกแตกต่างจากการประมูลไอพีพีรอบที่แล้ว นอกเหนือจากพิจารณาราคาค่าไฟแล้วยังนำราคาเสนอของรายอื่นๆมาประกอบการพิจารณาด้วย
ทั้งนี้ บริษัทฯมั่นใจการยื่นประมูลไอพีพีรอบนี้ เนื่องจากพื้นที่อ.ปลวกแดงเป็นพื้นที่อยู่ใกล้แนวท่อก๊าซฯ และมีสายส่งไฟฟ้า ถือเป็นพื้นที่Green Field ที่มีความได้เปรียบคู่แข่งที่เป็นGreen Fieldเหมือนกัน แต่มีข้อเสียเปรียบเพราะต้องลงทุนด้านระบบสาธารณูปโภคใหม่หมดแต่เชื่อว่าปัจจัยเสี่ยงโครงการนี้อยู่ที่การปิดความเสี่ยงด้านต้นทุนการเงินและค่าก่อสร้างที่ค่อนข้างยาก เนื่องจากกว่าจะเริ่มก่อสร้างได้ในปี 2560 แล้วเสร็จจ่ายไฟเข้าระบบในปี 2564 เป็นต้นไป ซึ่งการยื่นประมูลไอพีพีรอบนี้ บริษัทไม่ได้ปิดกั้นในการหาพันธมิตรร่วมทุน โดยอาจจะมีพาร์ทเนอร์ก่อนหรือหลังประมูลฯก็ได้ เพื่อลดต้นทุนหรือเพิ่มความได้เปรียบของโครงการ
นายณัฐพรรษ กล่าวถึงความคืบหน้าโครงการลงทุนโรงไฟฟ้าพลังลมขนาด 50 เมกะวัตต์ ที่จังหวัดนครราชสีมาว่า ขณะนี้โครงการดังกล่าวอยู่ระหว่างการเจรจาการขายไฟฟ้า(PPA)อยู่ ยังไม่มีข้อสรุป โดยโครงการนี้บริษัทฯจะถือหุ้น 49%ที่เหลือเป็นพันธมิตรร่วมทุน 2-3 ราย ใช้เงินลงทุน 150 ล้านเหรียญสหรัฐหรือ 4,500 ล้านบาท
ส่วนโครงการโรงไฟฟ้าพลังลมที่จังหวัดชัยภูมินั้น คงต้องชะลอออกไปอย่างไม่มีกำหนด เนื่องจากติดปัญหาพื้นที่ตั้งโรงไฟฟ้าเป็นพื้นที่ซับน้ำ ต้องได้รับการอนุมัติจากคณะรัฐมนตรี (ครม.)ก่อน ดังนั้นโครงการนี้จะเดินหน้าได้ ภาครัฐต้องมีกฎระเบียบใหม่ออกมาสนับสนุนการใช้พื้นที่สำหรับโครงการพลังงานทดแทนก่อน
ด้านผลการดำเนินงานในปี 2556 นายณัฐพรรษ กล่าวว่า ปีนี้เป็นปีแรกที่บริษัทฯไม่มีการลงทุนโครงการโรงไฟฟ้าใหม่ๆในมือเพิ่มเติม แต่จะเป็นปีที่รับรู้รายได้เต็มปีจากการลงทุนโรงไฟฟ้าใหม่จากเดิมมีกำลังผลิต 2 พันเมกะวัตต์เป็น 3.5 พันเมกะวัตต์ในตลอด 4ปีที่ผ่านมา ได้แก่ โครงการเก็คโค่ วัน ที่จะรับรู้รายได้ 11 เดือน เนื่องจากช่วงไตรมาส 2หรือไตรมาส 3
จะหยุดซ่อมบำรุงเป็นเวลา 1 เดือน โครงการโรงไฟฟ้า เฟส 5 กำลังผลิต 382 เมกะวัตต์ ที่จะมีปริมาณการขายไฟฟ้าให้กับโรงงานอุตสาหกรรมเพิ่มขึ้นเป็น 70-80% ของกำลังการผลิต จากปีก่อนที่มีปริมาณขายไฟอยู่ที่ 50%ของกำลังผลิต และรับรู้รายได้จากโครงการเอสพีพีที่ป้อนไฟฟ้าให้กับการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.)จำนวน 90เมกะวัตต์
ดังนั้น เมื่อไม่มีการลงทุนโครงการใหม่ๆเพิ่มเติม ทำให้ผู้ถือหุ้นบริษัทฯคาดหวังว่าจะมีการจ่ายเงินปันผลค่อนข้างสูง ซึ่งบริษัทฯไม่มีปัญหาในการจ่ายปันผล เพราะนโยบายบริษัทฯจ่ายเงินปันผลไม่ต่ำกว่า 50%ของกำไรสุทธิอยู่แล้ว
ขณะเดียวกัน บริษัทฯมีแผนจะลดอัตราหนี้สินต่อทุน (D/E) ลงเหลือ 1 เท่าในปี 2558 จากปัจจุบันบริษัทฯมี D/Eอยู่ที่ 2 เท่า โดยช่วง 2ปีนี้ บริษัทฯจะชำระคืนหนี้ที่ครบกำหนดปีละ 8 พันล้านบาท เพื่อให้บริษัทฯมีความพร้อมในการกู้เงินเพิ่มขึ้นหากมีโครงการลงทุนใหม่ๆเข้ามา ผลการดำเนินงานงวด 9 เดือนแรกปี 2555 บริษัทฯมีรายได้รวม 4.16 หมื่นล้านบาท กำไรสุทธิ 3.98 พันล้านบาท ดีกว่างวดปี 2554 ทั้งปี ที่บริษัทฯมีรายได้รวม 4 .10 หมื่นล้านบาท และกำไรสุทธิ 3.49 พันล้านบาท
นายณัฐพรรษ ตันบุญเอก ผู้อำนวยการฝ่ายการเงินและนักลงทุนสัมพันธ์ บริษัท โกลว์ พลังงาน จำกัด (มหาชน)(GLOW) เปิดเผยว่า บริษัทฯเตรียมยื่นประมูลโรงไฟฟ้าผู้ผลิตเอกชนรายใหญ่ (ไอพีพี)รอบใหม่ 1-2 โรง ขนาดกำลังการผลิตโรงละ 900 เมกะวัตต์ในพื้นที่อ.ปลวกแดง จ.ระยอง โดยการประมูลไอพีพีรอบนี้เชื่อว่าการแข่งขันรุนแรงอีกทั้งวิธีการประเมินผู้ได้รับคัดเลือกแตกต่างจากการประมูลไอพีพีรอบที่แล้ว นอกเหนือจากพิจารณาราคาค่าไฟแล้วยังนำราคาเสนอของรายอื่นๆมาประกอบการพิจารณาด้วย
ทั้งนี้ บริษัทฯมั่นใจการยื่นประมูลไอพีพีรอบนี้ เนื่องจากพื้นที่อ.ปลวกแดงเป็นพื้นที่อยู่ใกล้แนวท่อก๊าซฯ และมีสายส่งไฟฟ้า ถือเป็นพื้นที่Green Field ที่มีความได้เปรียบคู่แข่งที่เป็นGreen Fieldเหมือนกัน แต่มีข้อเสียเปรียบเพราะต้องลงทุนด้านระบบสาธารณูปโภคใหม่หมดแต่เชื่อว่าปัจจัยเสี่ยงโครงการนี้อยู่ที่การปิดความเสี่ยงด้านต้นทุนการเงินและค่าก่อสร้างที่ค่อนข้างยาก เนื่องจากกว่าจะเริ่มก่อสร้างได้ในปี 2560 แล้วเสร็จจ่ายไฟเข้าระบบในปี 2564 เป็นต้นไป ซึ่งการยื่นประมูลไอพีพีรอบนี้ บริษัทไม่ได้ปิดกั้นในการหาพันธมิตรร่วมทุน โดยอาจจะมีพาร์ทเนอร์ก่อนหรือหลังประมูลฯก็ได้ เพื่อลดต้นทุนหรือเพิ่มความได้เปรียบของโครงการ
นายณัฐพรรษ กล่าวถึงความคืบหน้าโครงการลงทุนโรงไฟฟ้าพลังลมขนาด 50 เมกะวัตต์ ที่จังหวัดนครราชสีมาว่า ขณะนี้โครงการดังกล่าวอยู่ระหว่างการเจรจาการขายไฟฟ้า(PPA)อยู่ ยังไม่มีข้อสรุป โดยโครงการนี้บริษัทฯจะถือหุ้น 49%ที่เหลือเป็นพันธมิตรร่วมทุน 2-3 ราย ใช้เงินลงทุน 150 ล้านเหรียญสหรัฐหรือ 4,500 ล้านบาท
ส่วนโครงการโรงไฟฟ้าพลังลมที่จังหวัดชัยภูมินั้น คงต้องชะลอออกไปอย่างไม่มีกำหนด เนื่องจากติดปัญหาพื้นที่ตั้งโรงไฟฟ้าเป็นพื้นที่ซับน้ำ ต้องได้รับการอนุมัติจากคณะรัฐมนตรี (ครม.)ก่อน ดังนั้นโครงการนี้จะเดินหน้าได้ ภาครัฐต้องมีกฎระเบียบใหม่ออกมาสนับสนุนการใช้พื้นที่สำหรับโครงการพลังงานทดแทนก่อน
ด้านผลการดำเนินงานในปี 2556 นายณัฐพรรษ กล่าวว่า ปีนี้เป็นปีแรกที่บริษัทฯไม่มีการลงทุนโครงการโรงไฟฟ้าใหม่ๆในมือเพิ่มเติม แต่จะเป็นปีที่รับรู้รายได้เต็มปีจากการลงทุนโรงไฟฟ้าใหม่จากเดิมมีกำลังผลิต 2 พันเมกะวัตต์เป็น 3.5 พันเมกะวัตต์ในตลอด 4ปีที่ผ่านมา ได้แก่ โครงการเก็คโค่ วัน ที่จะรับรู้รายได้ 11 เดือน เนื่องจากช่วงไตรมาส 2หรือไตรมาส 3
จะหยุดซ่อมบำรุงเป็นเวลา 1 เดือน โครงการโรงไฟฟ้า เฟส 5 กำลังผลิต 382 เมกะวัตต์ ที่จะมีปริมาณการขายไฟฟ้าให้กับโรงงานอุตสาหกรรมเพิ่มขึ้นเป็น 70-80% ของกำลังการผลิต จากปีก่อนที่มีปริมาณขายไฟอยู่ที่ 50%ของกำลังผลิต และรับรู้รายได้จากโครงการเอสพีพีที่ป้อนไฟฟ้าให้กับการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.)จำนวน 90เมกะวัตต์
ดังนั้น เมื่อไม่มีการลงทุนโครงการใหม่ๆเพิ่มเติม ทำให้ผู้ถือหุ้นบริษัทฯคาดหวังว่าจะมีการจ่ายเงินปันผลค่อนข้างสูง ซึ่งบริษัทฯไม่มีปัญหาในการจ่ายปันผล เพราะนโยบายบริษัทฯจ่ายเงินปันผลไม่ต่ำกว่า 50%ของกำไรสุทธิอยู่แล้ว
ขณะเดียวกัน บริษัทฯมีแผนจะลดอัตราหนี้สินต่อทุน (D/E) ลงเหลือ 1 เท่าในปี 2558 จากปัจจุบันบริษัทฯมี D/Eอยู่ที่ 2 เท่า โดยช่วง 2ปีนี้ บริษัทฯจะชำระคืนหนี้ที่ครบกำหนดปีละ 8 พันล้านบาท เพื่อให้บริษัทฯมีความพร้อมในการกู้เงินเพิ่มขึ้นหากมีโครงการลงทุนใหม่ๆเข้ามา ผลการดำเนินงานงวด 9 เดือนแรกปี 2555 บริษัทฯมีรายได้รวม 4.16 หมื่นล้านบาท กำไรสุทธิ 3.98 พันล้านบาท ดีกว่างวดปี 2554 ทั้งปี ที่บริษัทฯมีรายได้รวม 4 .10 หมื่นล้านบาท และกำไรสุทธิ 3.49 พันล้านบาท