ค่าแรง 300 ลามชาวนา ต้นทุนพุ่งไร่ละ 500-1,000 บาท เหตุต้องจ้างคนมาช่วยทำนาแพงขึ้น แถมเจอนายทุนโขกค่าเช่าที่เพิ่ม จับตาลามพืชเกษตรอื่นๆ เพราะใช้แรงงานสูงเหมือนกัน ปชป.กัดไม่ปล่อย บี้รัฐบาลดูแลแรงงานเอสเอ็มอี เชื่อปีนี้เจ๊งกระจาย จนกระจุก เปรียบเป็นนโยบายเผาชาติซ้ำ
นายประสิทธิ์ บุญเฉย นายกสมาคมชาวนาไทย เปิดเผยว่า การปรับขึ้นค่าจ้างขั้นต่ำเป็นวันละ 300 บาทตั้งแต่วันที่ 1 ม.ค.2556 ที่ผ่านมา ได้ส่งผลกระทบต่อต้นทุนในการทำนาเพิ่มขึ้นไร่ละ 500-1,000 บาท เพราะค่าจ้างแรงงานภาคเกษตรได้ปรับขึ้นสูงกว่าเดิมมาก โดยการกำจัดข้าวดีด หรือกำจัดวัชพืชในนาข้าว ที่ปกติจ้างคนละ 100 บาทต่อ 1 ไร่ ก็เพิ่มเป็น 120-130 บาทต่อ 1 ไร่ ซึ่งแต่ละฤดูเพาะปลูกต้องจ้างกำจัดข้าวดีด 2-3 รอบ หรือหากจะจ้างแบบเหมาวัน ก็เพิ่มจากวันละ 250 บาท เป็นวันละ 300-350 บาท ถึงจะมีคนมาทำ
นอกจากนี้ ค่าเช่าที่นายังได้ปรับขึ้นอย่างต่อเนื่องมาอยู่ไร่ละ 1,000-1,500 บาทต่อฤดูกาล ซึ่งเพิ่มจากก่อนหน้านี้ที่ยังไม่มีโครงการรับจำนำที่ต้นทุนการเช่าตกเพียงไร่ละ 500 บาทเท่านั้น โดยสาเหตุก็มาจากเจ้าของพื้นที่ได้ฉวยโอกาสปรับขึ้นค่าเช่าตามราคารับจำนำข้าวที่ปรับเพิ่มขึ้น เรื่องนี้ถือเป็นปัญหาใหญ่ที่กระทบชาวนาอย่างมาก เพราะชาวนาไทยเกิน 50%ต้องเช่านาในการทำนา ขณะที่เจ้าของพื้นที่ส่วนใหญ่เป็นนายทุน
ขณะเดียวกัน เกษตรกรยังได้รับผลกระทบจากการปรับขึ้นค่าขนส่ง ค่าปุ๋ย ยากำจัดศัตรูพืช ที่มีแนวโน้มจะสูงขึ้นอีก เพราะจากนโยบายการปล่อยลอยตัวก๊าซธรรมชาติ รวมถึงแนวโน้มราคาน้ำมันที่ปรับตัวเพิ่มในอนาคต อาจทำให้ราคาสินค้าปัจจัยพื้นฐานทางการเกษตรปรับตัวเพิ่มขึ้นอีกได้ ซึ่งหากเกิดเช่นนั้นจริงชาวนาจะอยู่ได้ลำบาก อีกทั้งยังคาดว่าปีนี้ผลผลิตข้าวอาจจะไม่ดี เนื่องจากชาวนามีปัญหาน้ำเพาะปลูกไม่เพียงพอ และบางพื้นที่ยังประสบปัญหาโรคระบาด
“ที่ผ่านมา ปัญหาการขึ้นค่าแรง 300 บาททั่วประเทศ ส่วนใหญ่จะได้รับการร้องเรียนจากภาคอุตสาหกรรม และธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อม หรือ SMEs ว่า ประสบปัญหาปรับตัวไม่ทัน จนบางรายถึงขั้นต้องล้มเลิกปิดกิจการไป แต่ในส่วนของภาคการเกษตรก็ได้รับผลกระทบมากเหมือนกัน เพราะหากเราไม่ขึ้นค่าจ้างให้ ก็ไม่มีใครมาทำงานให้ แต่เสียงจากเกษตรกรคงไม่ค่อยดัง อยากขอให้ภาครัฐบาลเข้ามาดูแล เรื่องผลกระทบจากต้นทุนต่างๆ ที่ปรับขึ้นบ้าง”นายประสิทธิ์กล่าว
สำหรับโครงการรับจำนำ ต้องการให้รัฐบาลดูแลโครงการรับจำนำข้าวให้มากกว่านี้ เพราะขณะนี้ได้รับร้องเรียนจากชาวนาหลายรายว่า มีโรงสีหลายแห่งเริ่มปฏิเสธการรับจำนำข้าวแล้ว โดยอ้างว่าโกดังเก็บข้าวของโรงสี รวมถึงโกดังกลางเต็ม ซึ่งกระทบต่อการขายข้าวของเกษตรกร ต้องนำไปขายในท้องตลาด และถูกกดราคารับซื้อ
ผู้สื่อข่าวรายงานเพิ่มเติมว่า นอกจากการปลูกข้าวของชาวนาแล้ว ยังต้องจับตาสินค้าเกษตรชนิดอื่นๆ ด้วย ว่าอาจได้รับผลกระทบจากการขึ้นค่าแรงขั้นต่ำ 300 บาท ทั้งกลุ่มผักสวนครัว ผลไม้ พืชไร่ เนื่องจากกระบวนการปลูกสินค้าเกษตรส่วนใหญ่ ต้องพึ่งพาแรงงานคนเป็นหลัก ตั้งแต่การหว่านเมล็ด การเพาะปลูก ใส่ปุ้ย การเก็บเกี่ยว การคัดแยก ขนส่ง รวมถึงการจำหน่าย จึงต้องการให้ภาครัฐเข้ามาดูแลและหามาตรการลดผลกระทบค่าแรงในภาคการเกษตรบ้าง เนื่องจากภาคเกษตรถือเป็นคนส่วนใหญ่ของประเทศ และกระจายไปทั่ว 70 จังหวัดที่เพิ่งปรับขึ้นค่าแรง แตกต่างจากภาคอุตสาหกรรมที่ส่วนใหญ่กระจุกตัวอยู่ใน 7 จังหวัดที่นำร่องขึ้นค่าแรงไปก่อนหน้านี้แล้ว
***ปชป.บี้รัฐดูแลแรงงานเอสเอ็มอี
น.ส.มัลลิกา บุญมีตระกูล รองโฆษกพรรคประชาธิปัตย์ กล่าวถึงมาตรการแก้ปัญหาแรงงานและวิกฤตเศรษฐกิจจากนโยบายประชานิยม เพราะปี 2556 พรรคจะติดตามเรื่องนี้อย่างใกล้ชิด โดยเริ่มจากนโยบายค่าแรง 300 บาท ที่เป็นการฆาตกรรมหมู่แรงงานไทยกว่า 14 ล้านคน และยังฆ่าแรงงานนอกระบบอีกกว่า 24 ลัานคนด้วย เพราะนโยบายดังกล่าวทำให้ค่าครองชีพสูงขึ้นอย่างต่อเนื่องโดยที่รัฐบาลไม่มีมาตรการใดๆ รองรับ อีกทั้งกำลังเกิดผลกระทบเกี่ยวกับการปิดกิจการของเอสเอ็มอี และการว่างงาน โดยรัฐบาลออกมาตรการกิ๊กก๊อก 5 มาตรการ ที่ช่วยอะไรไม่ได้
ทั้งนี้ข้อมูลแรงงาน 37.8 ล้านคนในระบบ 14.6 ล้านคน และนอกระบบอีก 24.1 ล้านคน คิดเป็นกว่า 63 % ของแรงงานทั้งหมด โดยนโยบายดังกล่าวกระทบรากหญ้า คือแรงงานนอกระบบเพราะไม่ได้ค่าตอบแทน 300 บาท ตามนโยบายของรัฐบาลที่ทำให้ของแพงทั้งปี เงินเฟ้อ แต่รายได้ไม่เพิ่มขึ้น เป็นการฆาตกรรมคนจน และในส่วนที่อยู่ในระบบ 14.6 ล้านคนก็กระทบกับธุรกิจเอสเอ็มอี ที่ต้องขึ้นค่าแรงเกือบ 40 % ทำให้ต้นทุนสูงขึ้นจนแข่งขันไม่ได้ แบกรับภาระด้านแรงงานเพิ่ม 6.4 % เท่ากับว่านโยบายดังกล่าว กระทบทั้งแรงงานในและนอกระบบตั้งแต่ปี 2555 และส่งผลรุนแรงในปีนี้ เป็นการหักดิบอุตสาหกรรมแรงงาน และยังส่งผลกระทบให้เกิดการย้ายฐานการผลิตของอุตสาหกรรมสิ่งทอไป พม่า และกัมพูชา โดยที่รัฐบาลไม่เตรียมมาตรการใดรองรับ เพื่อดูแลธุรกิจเหล่านี้
รองโฆษกพรรคประชาธิปัตย์ กล่าวด้วยว่า นโยบายดังกล่าวเป็นการกระชากค่าครองชีัพสูงขึ้นในทุกเรื่อง ทั้งค่าไฟ น้ำมัน ภาษี และจะทำให้เกิดวิกฤตในปี 2556 แน่นอน เพราะทุกนโยบายเชื่อมโยงและมีผลกระทบซึ่งกันและกัน จึงอยากกระตุ้นเตือนสติรัฐบาล ให้ประชาชนตั้งรับสถานการณ์ พร้อมประนามนโยบายรัฐบาลว่า ฉาบฉวย หวังผลเลือกตั้ง ไร้ความรับผิดชอบประเทศ เหมือนเผาประเทศซ้ำ ชำเราบ้านเมือง ตามนโยบายทักษิณคิด เพื่อไทยทำ ปูตีกรรเชียง ไม่รับผิดชอบ
พร้อมกันนี้ยังฝากถึง น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี ที่ให้สัมภาษณ์สื่อมวลชน เกี่ยวกับโครงการรับจำนำข้าวหลังจากที่ธนาคารโลกออกมาเตือนว่า เป็นโครงการที่สิ้นเปลืองงบประมาณถึง 1.5-1.7 แสนล้านบาทต่อ 1 ฤดูกาลเก็บเกี่ยว ทำให้เสียงบประมาณมหาศาลจาก 3 ฤดูกาลต่อปี ซึ่งจะสร้างปัญหารุนแรงต่อไทยและภูมิภาคนี้ จึงกลายเป็นที่จับตาของนานาชาติ เพราะข้าวเสื่อมสภาพตามอายุการจัดเก็บ ทำให้มีการเปลี่ยนการซื้อข้าวไปยังประเทศพม่า เช่น ประเทศญี่ปุ่น หากมีการขายในราคาต่ำกว่าตลาดโลก ก็จะสร้างความปั่นป่วนต่อกลไกทางด้านราคาด้วย แต่รัฐบาลเก็บงำข้อมูล ไม่บอกความจริง พาประชาชนไปตายหมู่เอาดาบหน้า
" ถ้ารัฐบาลมีอายุครบ 2 ปี จะเสียงบประมาณกว่า 4.5 แสนล้านบาท คิดเป็น 1 ใน 5 ของงบประมาณทั้งปี แต่ผลประโยชน์หมุนเวียนกับเกษตรกรเพียงกว่าสองแสนรายเท่านั้น นอกจากนั้นหายไปกับการทุจริต สวมสิทธิ รั่วไหล กับการบริหารจัดการ จึงขอให้นายกฯ เลิกงอนนักข่าว เพราะเสียประโยชน์ต่อการรับรู้ข้อมูลข่าวสารของประชาชน ขอให้เปิดรายละเอียดทั้งหมดในการระบายข้าว ทั้งจีทูจี และการระบายข้าวด้วยวิธีอื่น ว่าดำเนินการรูปแบบใด มีรายละเอียดกำไร ขาดทุนอย่างไร เงินกลับคืนคลังหรือยัง และจะวางแผนนำไปใช้จ่ายในปี 2556-2557 อย่างไร ซึ่งพรรคจะติดตามอย่างใกล้ชิด โดยรัฐบาลจะปล่อยให้เรื่องเงียบไปเฉย ๆไม่ได้ เพราะหากไม่มีการสารภาพความจริงกับประชาชนก็เชื่อว่า ประชาชนจะลุกฮือขึ้นมาต่อต้าน จึงขอแนะนำให้ น.ส.ยิ่งลักษณ์ รีบหาประเทศกบดาน เพราะชะตากรรมจะไม่ต่างจาก พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร พี่ชาย ที่หนีคดีอยู่ในต่างประเทศ" รองโฆษกพรรคประชาธิปัตย์ กล่าว .
นายประสิทธิ์ บุญเฉย นายกสมาคมชาวนาไทย เปิดเผยว่า การปรับขึ้นค่าจ้างขั้นต่ำเป็นวันละ 300 บาทตั้งแต่วันที่ 1 ม.ค.2556 ที่ผ่านมา ได้ส่งผลกระทบต่อต้นทุนในการทำนาเพิ่มขึ้นไร่ละ 500-1,000 บาท เพราะค่าจ้างแรงงานภาคเกษตรได้ปรับขึ้นสูงกว่าเดิมมาก โดยการกำจัดข้าวดีด หรือกำจัดวัชพืชในนาข้าว ที่ปกติจ้างคนละ 100 บาทต่อ 1 ไร่ ก็เพิ่มเป็น 120-130 บาทต่อ 1 ไร่ ซึ่งแต่ละฤดูเพาะปลูกต้องจ้างกำจัดข้าวดีด 2-3 รอบ หรือหากจะจ้างแบบเหมาวัน ก็เพิ่มจากวันละ 250 บาท เป็นวันละ 300-350 บาท ถึงจะมีคนมาทำ
นอกจากนี้ ค่าเช่าที่นายังได้ปรับขึ้นอย่างต่อเนื่องมาอยู่ไร่ละ 1,000-1,500 บาทต่อฤดูกาล ซึ่งเพิ่มจากก่อนหน้านี้ที่ยังไม่มีโครงการรับจำนำที่ต้นทุนการเช่าตกเพียงไร่ละ 500 บาทเท่านั้น โดยสาเหตุก็มาจากเจ้าของพื้นที่ได้ฉวยโอกาสปรับขึ้นค่าเช่าตามราคารับจำนำข้าวที่ปรับเพิ่มขึ้น เรื่องนี้ถือเป็นปัญหาใหญ่ที่กระทบชาวนาอย่างมาก เพราะชาวนาไทยเกิน 50%ต้องเช่านาในการทำนา ขณะที่เจ้าของพื้นที่ส่วนใหญ่เป็นนายทุน
ขณะเดียวกัน เกษตรกรยังได้รับผลกระทบจากการปรับขึ้นค่าขนส่ง ค่าปุ๋ย ยากำจัดศัตรูพืช ที่มีแนวโน้มจะสูงขึ้นอีก เพราะจากนโยบายการปล่อยลอยตัวก๊าซธรรมชาติ รวมถึงแนวโน้มราคาน้ำมันที่ปรับตัวเพิ่มในอนาคต อาจทำให้ราคาสินค้าปัจจัยพื้นฐานทางการเกษตรปรับตัวเพิ่มขึ้นอีกได้ ซึ่งหากเกิดเช่นนั้นจริงชาวนาจะอยู่ได้ลำบาก อีกทั้งยังคาดว่าปีนี้ผลผลิตข้าวอาจจะไม่ดี เนื่องจากชาวนามีปัญหาน้ำเพาะปลูกไม่เพียงพอ และบางพื้นที่ยังประสบปัญหาโรคระบาด
“ที่ผ่านมา ปัญหาการขึ้นค่าแรง 300 บาททั่วประเทศ ส่วนใหญ่จะได้รับการร้องเรียนจากภาคอุตสาหกรรม และธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อม หรือ SMEs ว่า ประสบปัญหาปรับตัวไม่ทัน จนบางรายถึงขั้นต้องล้มเลิกปิดกิจการไป แต่ในส่วนของภาคการเกษตรก็ได้รับผลกระทบมากเหมือนกัน เพราะหากเราไม่ขึ้นค่าจ้างให้ ก็ไม่มีใครมาทำงานให้ แต่เสียงจากเกษตรกรคงไม่ค่อยดัง อยากขอให้ภาครัฐบาลเข้ามาดูแล เรื่องผลกระทบจากต้นทุนต่างๆ ที่ปรับขึ้นบ้าง”นายประสิทธิ์กล่าว
สำหรับโครงการรับจำนำ ต้องการให้รัฐบาลดูแลโครงการรับจำนำข้าวให้มากกว่านี้ เพราะขณะนี้ได้รับร้องเรียนจากชาวนาหลายรายว่า มีโรงสีหลายแห่งเริ่มปฏิเสธการรับจำนำข้าวแล้ว โดยอ้างว่าโกดังเก็บข้าวของโรงสี รวมถึงโกดังกลางเต็ม ซึ่งกระทบต่อการขายข้าวของเกษตรกร ต้องนำไปขายในท้องตลาด และถูกกดราคารับซื้อ
ผู้สื่อข่าวรายงานเพิ่มเติมว่า นอกจากการปลูกข้าวของชาวนาแล้ว ยังต้องจับตาสินค้าเกษตรชนิดอื่นๆ ด้วย ว่าอาจได้รับผลกระทบจากการขึ้นค่าแรงขั้นต่ำ 300 บาท ทั้งกลุ่มผักสวนครัว ผลไม้ พืชไร่ เนื่องจากกระบวนการปลูกสินค้าเกษตรส่วนใหญ่ ต้องพึ่งพาแรงงานคนเป็นหลัก ตั้งแต่การหว่านเมล็ด การเพาะปลูก ใส่ปุ้ย การเก็บเกี่ยว การคัดแยก ขนส่ง รวมถึงการจำหน่าย จึงต้องการให้ภาครัฐเข้ามาดูแลและหามาตรการลดผลกระทบค่าแรงในภาคการเกษตรบ้าง เนื่องจากภาคเกษตรถือเป็นคนส่วนใหญ่ของประเทศ และกระจายไปทั่ว 70 จังหวัดที่เพิ่งปรับขึ้นค่าแรง แตกต่างจากภาคอุตสาหกรรมที่ส่วนใหญ่กระจุกตัวอยู่ใน 7 จังหวัดที่นำร่องขึ้นค่าแรงไปก่อนหน้านี้แล้ว
***ปชป.บี้รัฐดูแลแรงงานเอสเอ็มอี
น.ส.มัลลิกา บุญมีตระกูล รองโฆษกพรรคประชาธิปัตย์ กล่าวถึงมาตรการแก้ปัญหาแรงงานและวิกฤตเศรษฐกิจจากนโยบายประชานิยม เพราะปี 2556 พรรคจะติดตามเรื่องนี้อย่างใกล้ชิด โดยเริ่มจากนโยบายค่าแรง 300 บาท ที่เป็นการฆาตกรรมหมู่แรงงานไทยกว่า 14 ล้านคน และยังฆ่าแรงงานนอกระบบอีกกว่า 24 ลัานคนด้วย เพราะนโยบายดังกล่าวทำให้ค่าครองชีพสูงขึ้นอย่างต่อเนื่องโดยที่รัฐบาลไม่มีมาตรการใดๆ รองรับ อีกทั้งกำลังเกิดผลกระทบเกี่ยวกับการปิดกิจการของเอสเอ็มอี และการว่างงาน โดยรัฐบาลออกมาตรการกิ๊กก๊อก 5 มาตรการ ที่ช่วยอะไรไม่ได้
ทั้งนี้ข้อมูลแรงงาน 37.8 ล้านคนในระบบ 14.6 ล้านคน และนอกระบบอีก 24.1 ล้านคน คิดเป็นกว่า 63 % ของแรงงานทั้งหมด โดยนโยบายดังกล่าวกระทบรากหญ้า คือแรงงานนอกระบบเพราะไม่ได้ค่าตอบแทน 300 บาท ตามนโยบายของรัฐบาลที่ทำให้ของแพงทั้งปี เงินเฟ้อ แต่รายได้ไม่เพิ่มขึ้น เป็นการฆาตกรรมคนจน และในส่วนที่อยู่ในระบบ 14.6 ล้านคนก็กระทบกับธุรกิจเอสเอ็มอี ที่ต้องขึ้นค่าแรงเกือบ 40 % ทำให้ต้นทุนสูงขึ้นจนแข่งขันไม่ได้ แบกรับภาระด้านแรงงานเพิ่ม 6.4 % เท่ากับว่านโยบายดังกล่าว กระทบทั้งแรงงานในและนอกระบบตั้งแต่ปี 2555 และส่งผลรุนแรงในปีนี้ เป็นการหักดิบอุตสาหกรรมแรงงาน และยังส่งผลกระทบให้เกิดการย้ายฐานการผลิตของอุตสาหกรรมสิ่งทอไป พม่า และกัมพูชา โดยที่รัฐบาลไม่เตรียมมาตรการใดรองรับ เพื่อดูแลธุรกิจเหล่านี้
รองโฆษกพรรคประชาธิปัตย์ กล่าวด้วยว่า นโยบายดังกล่าวเป็นการกระชากค่าครองชีัพสูงขึ้นในทุกเรื่อง ทั้งค่าไฟ น้ำมัน ภาษี และจะทำให้เกิดวิกฤตในปี 2556 แน่นอน เพราะทุกนโยบายเชื่อมโยงและมีผลกระทบซึ่งกันและกัน จึงอยากกระตุ้นเตือนสติรัฐบาล ให้ประชาชนตั้งรับสถานการณ์ พร้อมประนามนโยบายรัฐบาลว่า ฉาบฉวย หวังผลเลือกตั้ง ไร้ความรับผิดชอบประเทศ เหมือนเผาประเทศซ้ำ ชำเราบ้านเมือง ตามนโยบายทักษิณคิด เพื่อไทยทำ ปูตีกรรเชียง ไม่รับผิดชอบ
พร้อมกันนี้ยังฝากถึง น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี ที่ให้สัมภาษณ์สื่อมวลชน เกี่ยวกับโครงการรับจำนำข้าวหลังจากที่ธนาคารโลกออกมาเตือนว่า เป็นโครงการที่สิ้นเปลืองงบประมาณถึง 1.5-1.7 แสนล้านบาทต่อ 1 ฤดูกาลเก็บเกี่ยว ทำให้เสียงบประมาณมหาศาลจาก 3 ฤดูกาลต่อปี ซึ่งจะสร้างปัญหารุนแรงต่อไทยและภูมิภาคนี้ จึงกลายเป็นที่จับตาของนานาชาติ เพราะข้าวเสื่อมสภาพตามอายุการจัดเก็บ ทำให้มีการเปลี่ยนการซื้อข้าวไปยังประเทศพม่า เช่น ประเทศญี่ปุ่น หากมีการขายในราคาต่ำกว่าตลาดโลก ก็จะสร้างความปั่นป่วนต่อกลไกทางด้านราคาด้วย แต่รัฐบาลเก็บงำข้อมูล ไม่บอกความจริง พาประชาชนไปตายหมู่เอาดาบหน้า
" ถ้ารัฐบาลมีอายุครบ 2 ปี จะเสียงบประมาณกว่า 4.5 แสนล้านบาท คิดเป็น 1 ใน 5 ของงบประมาณทั้งปี แต่ผลประโยชน์หมุนเวียนกับเกษตรกรเพียงกว่าสองแสนรายเท่านั้น นอกจากนั้นหายไปกับการทุจริต สวมสิทธิ รั่วไหล กับการบริหารจัดการ จึงขอให้นายกฯ เลิกงอนนักข่าว เพราะเสียประโยชน์ต่อการรับรู้ข้อมูลข่าวสารของประชาชน ขอให้เปิดรายละเอียดทั้งหมดในการระบายข้าว ทั้งจีทูจี และการระบายข้าวด้วยวิธีอื่น ว่าดำเนินการรูปแบบใด มีรายละเอียดกำไร ขาดทุนอย่างไร เงินกลับคืนคลังหรือยัง และจะวางแผนนำไปใช้จ่ายในปี 2556-2557 อย่างไร ซึ่งพรรคจะติดตามอย่างใกล้ชิด โดยรัฐบาลจะปล่อยให้เรื่องเงียบไปเฉย ๆไม่ได้ เพราะหากไม่มีการสารภาพความจริงกับประชาชนก็เชื่อว่า ประชาชนจะลุกฮือขึ้นมาต่อต้าน จึงขอแนะนำให้ น.ส.ยิ่งลักษณ์ รีบหาประเทศกบดาน เพราะชะตากรรมจะไม่ต่างจาก พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร พี่ชาย ที่หนีคดีอยู่ในต่างประเทศ" รองโฆษกพรรคประชาธิปัตย์ กล่าว .