ASTVผู้จัดการรายวัน/สระบุรี - เซ่น 300 บาท บริษัทผลิตชุดชั้นในสระบุรีปิดโรงงานกะทันหัน เหตุรับค่าแรงใหม่ไม่ไหว คนงานกว่า 200 คนตกงานทันควัน จับตาสิ่งทอ เซรามิก ที่ขอนแก่นและพะเยา ส่อปิดอีก ผู้ประกอบการในระนองส่งสัญญาณเลิกจ้างด้วย "มาร์ค"ห่วง SMEs เดี้ยง เตือนรัฐอย่าประมาท คาดตกงานม.ค.เพิ่มอีก 1.5 แสนคน คณะกรรมการสมานฉันท์แรงงานไทย เปิดศูนย์รับเรื่องร้องทุกข์พิษ 300 สศช.ไม่เชื่อมีคนตกงานเป็นล้าน
เมื่อเวลา 12.00 น.วานนี้ (2 ม.ค.) กลุ่มพนักงานสตรีของบริษัท วีณาการ์เมนต์ จำกัด ผู้ผลิตชุดชั้นใน ตั้งอยู่เขตอำเภอวิหารแดง จังหวัดสระบุรี กว่า 200 คน ได้เดินทางมาชุมนุมกันที่หน้าศาลากลางจังหวัดสระบุรี เพื่อประท้วงบริษัท วีณาการ์เมนต์ จำกัด โดยมีนายบุญสม ทาวิจิตร ประธานกลุ่มผู้ใช้แรงงานสระบุรี เป็นแกนนำ เพื่อยื่นหนังสือต่อนายถาวร พรหมมีชัย ผู้ว่าราชการจังหวัดสระบุรี
นายบุญสม ทาวิจิตร ประธานกลุ่มผู้ใช้แรงงานสระบุรี กล่าวว่า กลุ่มผู้ชุมนุมทั้งหมดส่วนใหญ่ทำงานกับบริษัท วีณาการ์เมนต์ จำกัด ผลิตชุดชั้นในมานานกว่า 10 ปี ทุกคนต่างได้รับความเดือดร้อน เนื่องจากบริษัทได้ปิดประกาศปิดโรงงาน เมื่อวันที่ 30 ธ.ค.2555 ที่ผ่านมา โดยที่ไม่แจ้งให้พนักงานทราบล่วงหน้าว่าจะมีการปิดโรงงาน ทั้งๆ ที่ก่อนหน้านี้ เมื่อวันที่ 25 ธ.ค.2555 บริษัทได้เรียกตัวแทนพนักงานเข้าประชุมเพื่อทำความเข้าใจเกี่ยวกับค่าจ้างแรงงาน 300 บาท ที่พนักงานควรจะได้รับแล้ว แต่ทางบริษัทบอกว่าไม่สามารถจ่ายได้ เนื่องจากต้นทุน และวัตถุในการผลิตสูง
"การประชุมในวันนั้น ทั้งตัวแทนพนักงาน และบริษัทยังหาข้อตกลงกันไม่ได้ บริษัทจึงขอเลื่อนการนัดเจรจากับตัวแทนพนักงานออกไปก่อน แต่หลังจากนั้น บริษัทก็ไม่ได้ติดต่อกับตัวแทนพนักงานที่จะมีการนัดเจรจากันอีกเลย จนกระทั่งพนักงานมาพบว่าบริษัทได้ประกาศปิดโรงงานไปแล้ว โดยที่บริษัทก็ไม่ได้แจ้งให้พนักงานทราบล่วงหน้า ทำให้กลุ่มพนักงานทั้งหมดได้รับความเดือดร้อนอย่างหนัก เพราะแต่ละคนต้องอาศัยเงินเดือนในการเลี้ยงครอบครัวทั้งสิ้น"
ต่อมานายชโลธร ผาโคตร รองผู้ว่าราชการจังหวัดสระบุรี ได้ออกมารับหนังสือร้องเรียนจากตัวแทนกลุ่มผู้ชุมนุม จากนั้นผู้ชุมนุมได้แยกย้ายกันกลับ ส่วนทางด้านนายสมาน พงษ์พันธ์เดชา เจ้าของโรงงาน บริษัท วีณาการ์เมนต์ จำกัด ได้เดินทางเข้ากรุงเทพฯ ไม่สามารถที่จะติดต่อขอทราบรายละเอียดได้
ทั้งนี้ ค่าแรงขั้นต่ำตามประกาศคณะกรรมการค่าจ้างก่อนที่จะเปลี่ยนเป็น 300 บาท ที่บรรดาแรงงานใน จ.สระบุรีได้รับอยู่ที่อัตรา 269 บาท
**คาดมีอีก2จังหวัดส่อเลิกจ้างแรงงาน
นายปกรณ์ อมรชีวิน อธิบดีกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน กล่าวว่า ขณะนี้มี 2 จังหวัดที่ส่งสัญญาณว่าจะมีการเลิกจ้างแรงงาน โดยในพื้นที่ จ.ขอนแก่น และพะเยา ในประเภทกิจการสิ่งทอ และเซรามิก ซึ่งได้กำชับให้เจ้าหน้าที่เฝ้าระวังอย่างใกล้ชิด โดยเฉพาะ 29 จังหวัดที่มีการปรับค่าจ้างสูงให้ออกตรวจตราสถานประกอบการอย่างเข้มงวด 4,000 แห่งต่อเดือนและให้รายงานผลทุกวันที่ 5 ของเดือนถัดไป แต่หากพบสัญญาณที่รุนแรงสามารถแจ้งมาที่ตนได้ตลอดเวลา
"หากนายจ้างไม่จ่ายค่าจ้าง หรือนำสวัสดิการมารวมเป็นค่าจ้างจะมีความผิดตามกฎหมาย มีโทษจำคุกไม่เกิน 6 เดือน ปรับไม่เกิน 100,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ ซึ่งในช่วงแรกจะเป็นการออกคำเตือน หากไม่ปฏิบัติตามจะดำเนินคดีตามกฎหมาย ส่วนนายจ้างที่แจ้งการจ่ายค่าจ้างเท็จถ้าตรวจพบจะต้องจ่ายเงินส่วนต่างย้อนหลังให้กับแรงงาน แม้ว่าลูกจ้างจะยินยอม ซึ่งเรื่องนี้มีอายุความ 2 ปีนับจากวันที่เกิดสิทธิ์ ทั้งนี้ ยอมรับว่าการตรวจสอบสาเหตุการเลิกจ้างที่แท้จริงนั้นทำได้ยาก ดังนั้น ไม่ว่านายจ้างจะเลิกจ้างด้วยสาเหตุใดจะต้องจ่ายค่าชดเชยตามที่กฎหมายกำหนด"
อย่างไรก็ตาม มีรายงานจากหอการค้าจังหวัดระนองว่า ค่าแรงขั้นต่ำ 300 บาท จะทำให้ผู้ประกอบการระนองจะเลิกกิจการกว่า 20 ราย โดยเห็นว่า อัตราค่าจ้างขั้นต่ำที่เหมาะสมในเขตพื้นที่ จ.ระนอง ควรจะอยู่ที่ประมาณ 220-230 บาท
**"มาร์ค"เตือนรัฐอย่าประมาทพิษ300บาท
นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ ให้สัมภาษณ์ในรายการ “ฟ้าวันใหม่”ทางสถานีโทรทัศน์บลูสกาย ชาแนล โดยกล่าวถึงการที่รัฐบาลกำหนดอัตราค่าจ้างขั้นต่ำเป็นวันละ 300 บาท ซึ่งมีผลตั้งแต่วันที่ 1 ม.ค.2556 ว่า แม้รัฐบาลให้คำตอบกับบริษัทใหญ่ๆ ไปแล้วว่าจะลดภาษีจากร้อยละ 23 เหลือร้อยละ 20 ให้กับเขา แต่สิ่งที่เรากำลังห่วง คือ ธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (SMEs) ซึ่งตนอยากเห็นการประเมินตั้งแต่เดือนนี้ว่าธุรกิจขนาดเล็กที่ต้องใช้แรงงานจำนวนมาก เมื่อมีการปรับค่าแรงดังกล่าวแล้ว เขาจะอยู่ได้หรือไม่
"ผมหวังว่าปีใหม่นี้ ปัญหาภายในสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) จะสงบลง ซึ่งปัญหาภายในมาจากการปรับขึ้นค่าแรงด้วย จึงขอให้รัฐบาลเอาใจใส่และติดตามเรื่องนี้ สำหรับตัวเลขการว่างงานปีนี้ที่จะเพิ่มขึ้นอีก 150,000 คน จากเดิมที่มีอยู่ 350,000 คน เป็นเรื่องที่รัฐบาลตายใจหรือประมาทไม่ได้"
**แนวโน้มว่างงานม.ค.พุ่ง1.5แสนคน
ด้านกองวิจัยตลาดแรงงาน กรมการจัดหางาน กระทรวงแรงงาน วิเคราะห์แนวโน้มการว่างงานเดือน ม.ค. ว่า จะมีผู้ว่างงานประมาณ 3.5 แสนคน โดยเพิ่มขึ้นจากเดือนธ.ค.2555 ประมาณ 1.5 แสนคน และทำให้สัดส่วนอัตราการว่างงานเพิ่มขึ้นอีก 0.4% หรือจาก 0.5% ในเดือนธ.ค.2555 เป็น 0.9% ในเดือนม.ค.นี้
กองวิจัยตลาดแรงงาน ระบุว่า เมื่อพิจารณาสถิติอัตราการว่างงานตั้งแต่ปี 2552-2555 พบว่าอัตราการว่างงานจะสูงที่สุดในช่วงต้นปี เนื่องจากโครงสร้างการมีงานทำของแรงงานยังอยู่ในภาคเกษตรกรรม ซึ่งช่วงต้นปี เป็นช่วงนอกฤดูการเกษตร ทำให้มีจำนวนผู้ว่างงานเพิ่มขึ้น
อย่างไรก็ตาม ตัวเลขการว่างงานจะปรับตัวลดลงต่ำสุดในช่วงปลายปี เนื่องจากเป็นช่วงฤดูการเก็บเกี่ยวผลผลิต และสถานประกอบการจะเร่งผลิตสินค้าเพื่อให้ทันจำหน่ายช่วงเทศกาลปีใหม่ ทำให้มีการจ้างงานเพิ่มมากขึ้น และการว่างงานลดต่ำลงกว่าช่วงต้นปี
ขณะเดียวกัน ตัวเลขความต้องการแรงงานเดือนธ.ค.2555 มีสถานประกอบการแจ้งตำแหน่งงานว่างมายังกรมการจัดหางาน 1.24 แสนอัตรา ลดลง 10.38% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปี 2554 ในทุกหมวดอาชีพ
ทั้งนี้ หมวดอาชีพที่มีความต้องการลดลงมากที่สุด คือ 1.ผู้ปฏิบัติงานฝีมือด้านการเกษตรและประมง ลดลง 36.55% 2.ผู้ปฏิบัติงานโดยใช้ฝีมือในธุรกิจต่างๆ ลดลง 32.20% 3.ผู้ปฏิบัติงานในโรงงาน ลดลง 23.59% 4.ผู้ประกอบวิชาชีพด้านต่างๆ ลดลง 23.29% 5.ช่างเทคนิคและผู้ปฏิบัติงานที่เกี่ยวข้อง ลดลง 18.96% และ 6.พนักงานบริการ พนักงานขายในร้านค้า ลดลง 18.71%
นอกจากนี้ เมื่อพิจารณาความต้องการแรงงานจำแนกตามประเภทอาชีพ พบว่าอาชีพงานพื้นฐาน แรงงานบรรจุภัณฑ์ มีความต้องการแรงงานมากที่สุด 5 หมื่นอัตรา คิดเป็น 40.37% รองลงมา ได้แก่ พนักงานบริการ พนักงานขายในร้านค้าและตลาด 1.83 หมื่นอัตรา คิดเป็น 14.77% และเสมียนเจ้าหน้าที่ 1.69 หมื่นอัตรา คิดเป็น 13.69%
**เปิดศูนย์รับทุกข์แรงงานพิษ300บาท
นายชาลี ลอยสูง ประธานคณะกรรมการสมานฉันท์แรงงานไทย (คสรท.) กล่าวว่า ในช่วงเดือนธ.ค.ของปีที่ผ่านมา ยังไม่พบสัญญาณการเลิกจ้างอย่างรุนแรงตามที่คาดการณ์ไว้ โดยคาดว่าภายในสัปดาห์หน้าจะทราบสถานการณ์ที่แน่ชัด ซึ่งขณะนี้ คสรท.ได้เปิดรับเรื่องราวร้องทุกข์จากการปรับขึ้นค่าแรงขั้นต่ำ 300 บาทต่อวัน ผ่านศูนย์รับเรื่องราวร้องทุกข์ ซึ่งอยู่ที่พิพิธภัณฑ์แรงงานไทย และตามจังหวัดต่าง ๆ โดยผู้ใช้แรงงานที่ประสบปัญหาจากการปรับค่าจ้างสามารถโทรศัพท์มายังหมายเลข 02-251-3170 ซึ่งหมายเลขดังกล่าวจะเป็นช่องทาง เพื่อรับฟังสภาพปัญหาและสถานการณ์การเลิกจ้างจากแรงงาน และจะรวบรวมข้อมูลเสนอให้กระทรวงแรงงานรับทราบภายใน 2-3 เดือน อย่างไรก็ตาม อยากให้กระทรวงแรงงานเข้มงวดในการตรวจสอบเรื่องการนำสวัสดิการมารวมเป็นค่าจ้าง
**สภาพัฒน์อ้าง 300 ไม่ตกงานเป็นล้าน
นายอาคม เติมพิทยาไพสิฐ เลขาธิการคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.)กล่าวว่า การเพิ่มค่าจ้างขั้นต่ำทั่วประเทศ 300 บาททั่วประเทศ วันที่ 1 ม.ค.2556 จะเพิ่มกำลังซื้อและทำให้แรงงานได้รับค่าตอบแทนที่เป็นธรรม ส่วนผู้ประกอบการ SMEs ที่ได้รับผลกระทบ รัฐบาลก็มีมาตรการช่วยเหลือ เช่น การสร้างเทอร์มินอลทรัก และให้บริษัท ไปรษณีย์ไทย ที่จะลงทุนธุรกิจขนส่งสินค้า คิดค่าบริการในราคาพิเศษ
"มั่นใจว่าจะไม่มีปรากฏการณ์แรงงานตกงานเป็นล้านคนจากการเพิ่มค่าจ้างขั้นต่ำ 300 บาทต่อวันแน่ เพราะขณะนี้อัตราการว่างงานต่ำมาก และแรงงานไร้ฝีมือมีทางเลือก แต่รัฐบาลต้องเพิ่มทักษะที่จำเป็น และคนงานต้องไม่เลือกงาน"นายอาคมกล่าว
เมื่อเวลา 12.00 น.วานนี้ (2 ม.ค.) กลุ่มพนักงานสตรีของบริษัท วีณาการ์เมนต์ จำกัด ผู้ผลิตชุดชั้นใน ตั้งอยู่เขตอำเภอวิหารแดง จังหวัดสระบุรี กว่า 200 คน ได้เดินทางมาชุมนุมกันที่หน้าศาลากลางจังหวัดสระบุรี เพื่อประท้วงบริษัท วีณาการ์เมนต์ จำกัด โดยมีนายบุญสม ทาวิจิตร ประธานกลุ่มผู้ใช้แรงงานสระบุรี เป็นแกนนำ เพื่อยื่นหนังสือต่อนายถาวร พรหมมีชัย ผู้ว่าราชการจังหวัดสระบุรี
นายบุญสม ทาวิจิตร ประธานกลุ่มผู้ใช้แรงงานสระบุรี กล่าวว่า กลุ่มผู้ชุมนุมทั้งหมดส่วนใหญ่ทำงานกับบริษัท วีณาการ์เมนต์ จำกัด ผลิตชุดชั้นในมานานกว่า 10 ปี ทุกคนต่างได้รับความเดือดร้อน เนื่องจากบริษัทได้ปิดประกาศปิดโรงงาน เมื่อวันที่ 30 ธ.ค.2555 ที่ผ่านมา โดยที่ไม่แจ้งให้พนักงานทราบล่วงหน้าว่าจะมีการปิดโรงงาน ทั้งๆ ที่ก่อนหน้านี้ เมื่อวันที่ 25 ธ.ค.2555 บริษัทได้เรียกตัวแทนพนักงานเข้าประชุมเพื่อทำความเข้าใจเกี่ยวกับค่าจ้างแรงงาน 300 บาท ที่พนักงานควรจะได้รับแล้ว แต่ทางบริษัทบอกว่าไม่สามารถจ่ายได้ เนื่องจากต้นทุน และวัตถุในการผลิตสูง
"การประชุมในวันนั้น ทั้งตัวแทนพนักงาน และบริษัทยังหาข้อตกลงกันไม่ได้ บริษัทจึงขอเลื่อนการนัดเจรจากับตัวแทนพนักงานออกไปก่อน แต่หลังจากนั้น บริษัทก็ไม่ได้ติดต่อกับตัวแทนพนักงานที่จะมีการนัดเจรจากันอีกเลย จนกระทั่งพนักงานมาพบว่าบริษัทได้ประกาศปิดโรงงานไปแล้ว โดยที่บริษัทก็ไม่ได้แจ้งให้พนักงานทราบล่วงหน้า ทำให้กลุ่มพนักงานทั้งหมดได้รับความเดือดร้อนอย่างหนัก เพราะแต่ละคนต้องอาศัยเงินเดือนในการเลี้ยงครอบครัวทั้งสิ้น"
ต่อมานายชโลธร ผาโคตร รองผู้ว่าราชการจังหวัดสระบุรี ได้ออกมารับหนังสือร้องเรียนจากตัวแทนกลุ่มผู้ชุมนุม จากนั้นผู้ชุมนุมได้แยกย้ายกันกลับ ส่วนทางด้านนายสมาน พงษ์พันธ์เดชา เจ้าของโรงงาน บริษัท วีณาการ์เมนต์ จำกัด ได้เดินทางเข้ากรุงเทพฯ ไม่สามารถที่จะติดต่อขอทราบรายละเอียดได้
ทั้งนี้ ค่าแรงขั้นต่ำตามประกาศคณะกรรมการค่าจ้างก่อนที่จะเปลี่ยนเป็น 300 บาท ที่บรรดาแรงงานใน จ.สระบุรีได้รับอยู่ที่อัตรา 269 บาท
**คาดมีอีก2จังหวัดส่อเลิกจ้างแรงงาน
นายปกรณ์ อมรชีวิน อธิบดีกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน กล่าวว่า ขณะนี้มี 2 จังหวัดที่ส่งสัญญาณว่าจะมีการเลิกจ้างแรงงาน โดยในพื้นที่ จ.ขอนแก่น และพะเยา ในประเภทกิจการสิ่งทอ และเซรามิก ซึ่งได้กำชับให้เจ้าหน้าที่เฝ้าระวังอย่างใกล้ชิด โดยเฉพาะ 29 จังหวัดที่มีการปรับค่าจ้างสูงให้ออกตรวจตราสถานประกอบการอย่างเข้มงวด 4,000 แห่งต่อเดือนและให้รายงานผลทุกวันที่ 5 ของเดือนถัดไป แต่หากพบสัญญาณที่รุนแรงสามารถแจ้งมาที่ตนได้ตลอดเวลา
"หากนายจ้างไม่จ่ายค่าจ้าง หรือนำสวัสดิการมารวมเป็นค่าจ้างจะมีความผิดตามกฎหมาย มีโทษจำคุกไม่เกิน 6 เดือน ปรับไม่เกิน 100,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ ซึ่งในช่วงแรกจะเป็นการออกคำเตือน หากไม่ปฏิบัติตามจะดำเนินคดีตามกฎหมาย ส่วนนายจ้างที่แจ้งการจ่ายค่าจ้างเท็จถ้าตรวจพบจะต้องจ่ายเงินส่วนต่างย้อนหลังให้กับแรงงาน แม้ว่าลูกจ้างจะยินยอม ซึ่งเรื่องนี้มีอายุความ 2 ปีนับจากวันที่เกิดสิทธิ์ ทั้งนี้ ยอมรับว่าการตรวจสอบสาเหตุการเลิกจ้างที่แท้จริงนั้นทำได้ยาก ดังนั้น ไม่ว่านายจ้างจะเลิกจ้างด้วยสาเหตุใดจะต้องจ่ายค่าชดเชยตามที่กฎหมายกำหนด"
อย่างไรก็ตาม มีรายงานจากหอการค้าจังหวัดระนองว่า ค่าแรงขั้นต่ำ 300 บาท จะทำให้ผู้ประกอบการระนองจะเลิกกิจการกว่า 20 ราย โดยเห็นว่า อัตราค่าจ้างขั้นต่ำที่เหมาะสมในเขตพื้นที่ จ.ระนอง ควรจะอยู่ที่ประมาณ 220-230 บาท
**"มาร์ค"เตือนรัฐอย่าประมาทพิษ300บาท
นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ ให้สัมภาษณ์ในรายการ “ฟ้าวันใหม่”ทางสถานีโทรทัศน์บลูสกาย ชาแนล โดยกล่าวถึงการที่รัฐบาลกำหนดอัตราค่าจ้างขั้นต่ำเป็นวันละ 300 บาท ซึ่งมีผลตั้งแต่วันที่ 1 ม.ค.2556 ว่า แม้รัฐบาลให้คำตอบกับบริษัทใหญ่ๆ ไปแล้วว่าจะลดภาษีจากร้อยละ 23 เหลือร้อยละ 20 ให้กับเขา แต่สิ่งที่เรากำลังห่วง คือ ธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (SMEs) ซึ่งตนอยากเห็นการประเมินตั้งแต่เดือนนี้ว่าธุรกิจขนาดเล็กที่ต้องใช้แรงงานจำนวนมาก เมื่อมีการปรับค่าแรงดังกล่าวแล้ว เขาจะอยู่ได้หรือไม่
"ผมหวังว่าปีใหม่นี้ ปัญหาภายในสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) จะสงบลง ซึ่งปัญหาภายในมาจากการปรับขึ้นค่าแรงด้วย จึงขอให้รัฐบาลเอาใจใส่และติดตามเรื่องนี้ สำหรับตัวเลขการว่างงานปีนี้ที่จะเพิ่มขึ้นอีก 150,000 คน จากเดิมที่มีอยู่ 350,000 คน เป็นเรื่องที่รัฐบาลตายใจหรือประมาทไม่ได้"
**แนวโน้มว่างงานม.ค.พุ่ง1.5แสนคน
ด้านกองวิจัยตลาดแรงงาน กรมการจัดหางาน กระทรวงแรงงาน วิเคราะห์แนวโน้มการว่างงานเดือน ม.ค. ว่า จะมีผู้ว่างงานประมาณ 3.5 แสนคน โดยเพิ่มขึ้นจากเดือนธ.ค.2555 ประมาณ 1.5 แสนคน และทำให้สัดส่วนอัตราการว่างงานเพิ่มขึ้นอีก 0.4% หรือจาก 0.5% ในเดือนธ.ค.2555 เป็น 0.9% ในเดือนม.ค.นี้
กองวิจัยตลาดแรงงาน ระบุว่า เมื่อพิจารณาสถิติอัตราการว่างงานตั้งแต่ปี 2552-2555 พบว่าอัตราการว่างงานจะสูงที่สุดในช่วงต้นปี เนื่องจากโครงสร้างการมีงานทำของแรงงานยังอยู่ในภาคเกษตรกรรม ซึ่งช่วงต้นปี เป็นช่วงนอกฤดูการเกษตร ทำให้มีจำนวนผู้ว่างงานเพิ่มขึ้น
อย่างไรก็ตาม ตัวเลขการว่างงานจะปรับตัวลดลงต่ำสุดในช่วงปลายปี เนื่องจากเป็นช่วงฤดูการเก็บเกี่ยวผลผลิต และสถานประกอบการจะเร่งผลิตสินค้าเพื่อให้ทันจำหน่ายช่วงเทศกาลปีใหม่ ทำให้มีการจ้างงานเพิ่มมากขึ้น และการว่างงานลดต่ำลงกว่าช่วงต้นปี
ขณะเดียวกัน ตัวเลขความต้องการแรงงานเดือนธ.ค.2555 มีสถานประกอบการแจ้งตำแหน่งงานว่างมายังกรมการจัดหางาน 1.24 แสนอัตรา ลดลง 10.38% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปี 2554 ในทุกหมวดอาชีพ
ทั้งนี้ หมวดอาชีพที่มีความต้องการลดลงมากที่สุด คือ 1.ผู้ปฏิบัติงานฝีมือด้านการเกษตรและประมง ลดลง 36.55% 2.ผู้ปฏิบัติงานโดยใช้ฝีมือในธุรกิจต่างๆ ลดลง 32.20% 3.ผู้ปฏิบัติงานในโรงงาน ลดลง 23.59% 4.ผู้ประกอบวิชาชีพด้านต่างๆ ลดลง 23.29% 5.ช่างเทคนิคและผู้ปฏิบัติงานที่เกี่ยวข้อง ลดลง 18.96% และ 6.พนักงานบริการ พนักงานขายในร้านค้า ลดลง 18.71%
นอกจากนี้ เมื่อพิจารณาความต้องการแรงงานจำแนกตามประเภทอาชีพ พบว่าอาชีพงานพื้นฐาน แรงงานบรรจุภัณฑ์ มีความต้องการแรงงานมากที่สุด 5 หมื่นอัตรา คิดเป็น 40.37% รองลงมา ได้แก่ พนักงานบริการ พนักงานขายในร้านค้าและตลาด 1.83 หมื่นอัตรา คิดเป็น 14.77% และเสมียนเจ้าหน้าที่ 1.69 หมื่นอัตรา คิดเป็น 13.69%
**เปิดศูนย์รับทุกข์แรงงานพิษ300บาท
นายชาลี ลอยสูง ประธานคณะกรรมการสมานฉันท์แรงงานไทย (คสรท.) กล่าวว่า ในช่วงเดือนธ.ค.ของปีที่ผ่านมา ยังไม่พบสัญญาณการเลิกจ้างอย่างรุนแรงตามที่คาดการณ์ไว้ โดยคาดว่าภายในสัปดาห์หน้าจะทราบสถานการณ์ที่แน่ชัด ซึ่งขณะนี้ คสรท.ได้เปิดรับเรื่องราวร้องทุกข์จากการปรับขึ้นค่าแรงขั้นต่ำ 300 บาทต่อวัน ผ่านศูนย์รับเรื่องราวร้องทุกข์ ซึ่งอยู่ที่พิพิธภัณฑ์แรงงานไทย และตามจังหวัดต่าง ๆ โดยผู้ใช้แรงงานที่ประสบปัญหาจากการปรับค่าจ้างสามารถโทรศัพท์มายังหมายเลข 02-251-3170 ซึ่งหมายเลขดังกล่าวจะเป็นช่องทาง เพื่อรับฟังสภาพปัญหาและสถานการณ์การเลิกจ้างจากแรงงาน และจะรวบรวมข้อมูลเสนอให้กระทรวงแรงงานรับทราบภายใน 2-3 เดือน อย่างไรก็ตาม อยากให้กระทรวงแรงงานเข้มงวดในการตรวจสอบเรื่องการนำสวัสดิการมารวมเป็นค่าจ้าง
**สภาพัฒน์อ้าง 300 ไม่ตกงานเป็นล้าน
นายอาคม เติมพิทยาไพสิฐ เลขาธิการคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.)กล่าวว่า การเพิ่มค่าจ้างขั้นต่ำทั่วประเทศ 300 บาททั่วประเทศ วันที่ 1 ม.ค.2556 จะเพิ่มกำลังซื้อและทำให้แรงงานได้รับค่าตอบแทนที่เป็นธรรม ส่วนผู้ประกอบการ SMEs ที่ได้รับผลกระทบ รัฐบาลก็มีมาตรการช่วยเหลือ เช่น การสร้างเทอร์มินอลทรัก และให้บริษัท ไปรษณีย์ไทย ที่จะลงทุนธุรกิจขนส่งสินค้า คิดค่าบริการในราคาพิเศษ
"มั่นใจว่าจะไม่มีปรากฏการณ์แรงงานตกงานเป็นล้านคนจากการเพิ่มค่าจ้างขั้นต่ำ 300 บาทต่อวันแน่ เพราะขณะนี้อัตราการว่างงานต่ำมาก และแรงงานไร้ฝีมือมีทางเลือก แต่รัฐบาลต้องเพิ่มทักษะที่จำเป็น และคนงานต้องไม่เลือกงาน"นายอาคมกล่าว