ASTVผู้จัดการรายวัน-ปิดฉากเงินเฟ้อปี 55 เดือนธ.ค.พุ่ง 3.63% สูงสุดในรอบปี แต่ยอดทั้งปีโต 3.02% อยู่ในเกณฑ์ที่ตั้งไว้ ส่วนปี 56 คาดโต 2.8-3.4% ยันขึ้นค่าแรงกระทบเงินเฟ้อจิ๊บจ้อยแค่ 0.1%
นางวัชรี วิมุกตายน ปลัดกระทรวงพาณิชย์ เปิดเผยว่า ดัชนีราคาผู้บริโภคทั่วไปของประเทศ หรือเงินเฟ้อ เดือนธ.ค.2555 เท่ากับ 116.86 สูงขึ้น 3.63% เมื่อเทียบกับธ.ค.2554 ซึ่งเป็นอัตราขยายตัวสูงสุดของปีนี้ และสูงขึ้น 0.39% เมื่อเทียบกับเดือนพ.ย.2555 ส่งผลให้อัตราเงินเฟ้อเฉลี่ยปี 2555 สูงขึ้น 3.02% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันปีที่ผ่านมา และเป็นอัตราที่อยู่ในเป้าหมายที่กระทรวงพาณิชย์คาดการณ์ไว้ที่ 3-3.4%
สาเหตุที่เงินเฟ้อเดือนธ.ค.ขยายตัวสูง 3.63% เป็นผลจากดัชนีหมวดอาหารและเครื่องดื่มสูงขึ้น 4% โดยสินค้าที่มีราคาแพงขึ้น ได้แก่ ผักและผลไม้ เพิ่ม 16.79% เครื่องประกอบอาหาร 2.4% เครื่องดื่มไม่มีแอลกอฮอล์ 2.58% อาหารปรุงสำเร็จ 2.74% ส่วนหมวดไม่ใช่อาหารและเครื่องดื่มสูงขึ้น 3.39% สินค้าที่ราคาแพงขึ้น เช่น ราคาน้ำมันเชื้อเพลิง เพิ่ม 14.40% ค่าเช่าบ้าน ค่าเช่าหอพัก 3.38% และบุหรี่ เหล้า และเบียร์ 7.59% เป็นต้น
ส่วนเงินเฟ้อทั้งปี 2555 ที่สูงขึ้น 3.02% มาจากการสูงขึ้นของดัชนีหมวดอาหารและเครื่องดื่ม 4.85% และดัชนีหมวดอื่นๆ ไม่ใช่อาหารและเครื่องดื่มสูงขึ้น 1.85% โดยสินค้าสำคัญที่สูงขึ้น เช่น ข้าว แป้ง และผลิตภัณฑ์จากแป้ง 2.11% เครื่องดื่มไม่มีแอลกอฮอล์ 2.73% อาหารสำเร็จรูป 5.57% เครื่องนุ่งห่มและรองเท้า 0.96% เคหสถาน 2.73% น้ำประปา 6.64% ไฟฟ้า 15.78% ค่าเช่าบ้าน 0.42% การตรวจรักษาและบริการส่วนบุคคล 1.09% ยานพาหนะและการขนส่งและการสื่อสาร 1.56% บันเทิงการอ่าน การศึกษาและการศาสนา 0.41% ยาสูบและเครื่องอื่มมีแอลกอฮอล์ 2.95%
นางวัชรีกล่าวว่า สำหรับเป้าหมายเงินเฟ้อในปี 2556 คาดว่าจะขยายตัวระดับ 2.8-3.4% ภายใต้สมมุติฐาน คือระดับน้ำมันดิบตลาดดูไบ 100-120 เหรียญสหรัฐ/บาร์เรล อัตราแลกเปลี่ยน 28.5-32.5 บาท/เหรียญสหรัฐ และรัฐบาลยังคงมาตรการช่วยเหลือค่าครองชีพให้ประชาชน โดยปัจจัยเสี่ยงที่จะทำให้อัตราเงินเฟ้อในปี 2556 ขยายตัวเพิ่มขึ้น น่าจะเป็นเรื่องของราคาอาหาร โดยเฉพาะกลุ่มผักสดและผลไม้ และกลุ่มเนื้อสัตว์ หมู ไข่ไก่ ที่ราคาจะมีความผันผวนตามฤดูกาลและภัยธรรมชาติ
ส่วนผลการปรับขึ้นค่าแรง 300 บาทต่อเงินเฟ้อ มีผลกระทบเพียง 0.1% และมีผลต่อราคาสินค้าไม่มาก เนื่องจากจังหวัดใหญ่ 7 จังหวัด ซึ่งเป็นเขตอุตสาหกรรมได้มีการปรับขึ้นค่าแรงไปแล้วตั้งแต่ 1 เม.ย.2555 และตั้งแต่ 1 ม.ค.2556 ที่ปรับขึ้นทุกจังหวัด มีผลกระทบต่อผู้ประกอบการขนาดกลางและเล็ก (SMEs) โดยเฉพาะกลุ่มที่ใช้แรงงานมาก เช่น เครื่องนุ่งห่ม เฟอร์นิเจอร์ และบริการต่างๆ แต่ไม่ได้มีผลให้ต้องปรับขึ้นราคาสินค้า เพราะผู้ประกอบการได้มีการปรับตัว และยังมีการแข่งขันกันสูง
นางวัชรีกล่าวว่า กระทรวงฯ จะปรับฐานรายการสินค้าในตะกร้าที่ใช้คำนวณอัตราเงินเฟ้อในปี 2556 ใหม่ จากเดิมที่ใช้ฐานในปี 2550 ซึ่งมีรายการสินค้าที่ใช้คำนวณเงินเฟ้อ 417 รายการ โดยจะปรับมาใช้ฐานปี 2554 และเพิ่มรายการสินค้าขึ้นมาเป็น 450 รายการ เพื่อให้ครอบคลุมกับสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลงไป ซึ่งสินค้าที่จะนำมาบรรจุในการคำนวณเงินเฟ้อ เช่น ก๊าซเอ็นจีวี แก๊สโซฮอล์ ค่าดูแลความปลอดภัย ค่าดูแลสุขภาพ ค่ารถรับส่งนักเรียน ค่าโดยสารรถตู้ข้ามจังหวัด ค่าเช่ารถ เป็นต้น
นางวัชรี วิมุกตายน ปลัดกระทรวงพาณิชย์ เปิดเผยว่า ดัชนีราคาผู้บริโภคทั่วไปของประเทศ หรือเงินเฟ้อ เดือนธ.ค.2555 เท่ากับ 116.86 สูงขึ้น 3.63% เมื่อเทียบกับธ.ค.2554 ซึ่งเป็นอัตราขยายตัวสูงสุดของปีนี้ และสูงขึ้น 0.39% เมื่อเทียบกับเดือนพ.ย.2555 ส่งผลให้อัตราเงินเฟ้อเฉลี่ยปี 2555 สูงขึ้น 3.02% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันปีที่ผ่านมา และเป็นอัตราที่อยู่ในเป้าหมายที่กระทรวงพาณิชย์คาดการณ์ไว้ที่ 3-3.4%
สาเหตุที่เงินเฟ้อเดือนธ.ค.ขยายตัวสูง 3.63% เป็นผลจากดัชนีหมวดอาหารและเครื่องดื่มสูงขึ้น 4% โดยสินค้าที่มีราคาแพงขึ้น ได้แก่ ผักและผลไม้ เพิ่ม 16.79% เครื่องประกอบอาหาร 2.4% เครื่องดื่มไม่มีแอลกอฮอล์ 2.58% อาหารปรุงสำเร็จ 2.74% ส่วนหมวดไม่ใช่อาหารและเครื่องดื่มสูงขึ้น 3.39% สินค้าที่ราคาแพงขึ้น เช่น ราคาน้ำมันเชื้อเพลิง เพิ่ม 14.40% ค่าเช่าบ้าน ค่าเช่าหอพัก 3.38% และบุหรี่ เหล้า และเบียร์ 7.59% เป็นต้น
ส่วนเงินเฟ้อทั้งปี 2555 ที่สูงขึ้น 3.02% มาจากการสูงขึ้นของดัชนีหมวดอาหารและเครื่องดื่ม 4.85% และดัชนีหมวดอื่นๆ ไม่ใช่อาหารและเครื่องดื่มสูงขึ้น 1.85% โดยสินค้าสำคัญที่สูงขึ้น เช่น ข้าว แป้ง และผลิตภัณฑ์จากแป้ง 2.11% เครื่องดื่มไม่มีแอลกอฮอล์ 2.73% อาหารสำเร็จรูป 5.57% เครื่องนุ่งห่มและรองเท้า 0.96% เคหสถาน 2.73% น้ำประปา 6.64% ไฟฟ้า 15.78% ค่าเช่าบ้าน 0.42% การตรวจรักษาและบริการส่วนบุคคล 1.09% ยานพาหนะและการขนส่งและการสื่อสาร 1.56% บันเทิงการอ่าน การศึกษาและการศาสนา 0.41% ยาสูบและเครื่องอื่มมีแอลกอฮอล์ 2.95%
นางวัชรีกล่าวว่า สำหรับเป้าหมายเงินเฟ้อในปี 2556 คาดว่าจะขยายตัวระดับ 2.8-3.4% ภายใต้สมมุติฐาน คือระดับน้ำมันดิบตลาดดูไบ 100-120 เหรียญสหรัฐ/บาร์เรล อัตราแลกเปลี่ยน 28.5-32.5 บาท/เหรียญสหรัฐ และรัฐบาลยังคงมาตรการช่วยเหลือค่าครองชีพให้ประชาชน โดยปัจจัยเสี่ยงที่จะทำให้อัตราเงินเฟ้อในปี 2556 ขยายตัวเพิ่มขึ้น น่าจะเป็นเรื่องของราคาอาหาร โดยเฉพาะกลุ่มผักสดและผลไม้ และกลุ่มเนื้อสัตว์ หมู ไข่ไก่ ที่ราคาจะมีความผันผวนตามฤดูกาลและภัยธรรมชาติ
ส่วนผลการปรับขึ้นค่าแรง 300 บาทต่อเงินเฟ้อ มีผลกระทบเพียง 0.1% และมีผลต่อราคาสินค้าไม่มาก เนื่องจากจังหวัดใหญ่ 7 จังหวัด ซึ่งเป็นเขตอุตสาหกรรมได้มีการปรับขึ้นค่าแรงไปแล้วตั้งแต่ 1 เม.ย.2555 และตั้งแต่ 1 ม.ค.2556 ที่ปรับขึ้นทุกจังหวัด มีผลกระทบต่อผู้ประกอบการขนาดกลางและเล็ก (SMEs) โดยเฉพาะกลุ่มที่ใช้แรงงานมาก เช่น เครื่องนุ่งห่ม เฟอร์นิเจอร์ และบริการต่างๆ แต่ไม่ได้มีผลให้ต้องปรับขึ้นราคาสินค้า เพราะผู้ประกอบการได้มีการปรับตัว และยังมีการแข่งขันกันสูง
นางวัชรีกล่าวว่า กระทรวงฯ จะปรับฐานรายการสินค้าในตะกร้าที่ใช้คำนวณอัตราเงินเฟ้อในปี 2556 ใหม่ จากเดิมที่ใช้ฐานในปี 2550 ซึ่งมีรายการสินค้าที่ใช้คำนวณเงินเฟ้อ 417 รายการ โดยจะปรับมาใช้ฐานปี 2554 และเพิ่มรายการสินค้าขึ้นมาเป็น 450 รายการ เพื่อให้ครอบคลุมกับสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลงไป ซึ่งสินค้าที่จะนำมาบรรจุในการคำนวณเงินเฟ้อ เช่น ก๊าซเอ็นจีวี แก๊สโซฮอล์ ค่าดูแลความปลอดภัย ค่าดูแลสุขภาพ ค่ารถรับส่งนักเรียน ค่าโดยสารรถตู้ข้ามจังหวัด ค่าเช่ารถ เป็นต้น