ASTVผู้จัดการรายวัน-“พาณิชย์”ยิ้มออก เงินเฟ้อพ.ย.เพิ่มในอัตราที่ลดลงเหลือ 2.74% เหตุราคาสินค้าส่วนใหญ่ปรับตัวลดลง มั่นใจทั้งปีอยู่ที่ 3% ต่ำกว่าเป้าเดิมที่ตั้งไว้ 3.3-3.8% ส่วนปีหน้าคาดโต 2.8-3.4% หลังแรงกดดันไม่มาก แม้จะมีการปรับขึ้นค่าแรง 300 และทยอยขึ้นก๊าซหุงต้ม
นางวัชรี วิมุกตายน ปลัดกระทรวงพาณิชย์ เปิดเผยว่า ดัชนีราคาผู้บริโภคทั่วไป (เงินเฟ้อ) ประจำเดือนพ.ย.2555 อยู่ที่ 116.41 เพิ่มขึ้น 2.74% เมื่อเทียบกับเดือนพ.ย.2554 แต่ลดลง 0.35% เมื่อเทียบกับเดือนต.ค.ที่ผ่านมา ส่งผลให้เงินเฟ้อทั่วไป เฉลี่ย 11 เดือนของปีนี้ (ม.ค.-พ.ย.) เพิ่มขึ้น 2.96% ต่ำกว่าเป้าหมายเงินเฟ้อที่กระทรวงตั้งไว้ 3.3-3.8% เนื่องจากราคาน้ำมันในตลาดโลกและในประเทศ รวมถึงราคาสินค้าอาหารสด และสินค้าอุปโภคบริโภคทั่วไปราคาถูกกว่าที่คาดการณ์เอาไว้
“เงินเฟ้อเดือนพ.ย. แม้จะเพิ่มขึ้น แต่ก็เพิ่มขึ้นในอัตราที่ลดลง และไม่ได้หมายความว่ากำลังซื้อของประชาชนลดลง โดยสาเหตุที่ทำให้เงินเฟ้อลดลง มาจากน้ำมันในตลาดโลกไม่ได้สูงขึ้น หลังเศรษฐกิจโลกชะลอตัว ราคาสินค้าในประเทศต่ำกว่าที่ประเมินไว้ และภาครัฐยังมีมาตรการดูแลราคาสินค้าที่จำเป็นอยู่ โดยคาดว่าเงินเฟ้อทั้งปี ไม่น่าจะเกิน 3%ต่ำกว่าเป้าที่ตั้งไว้ แต่ก็ถือว่าขยายตัวในระดับที่เหมาะสมกับการขยายตัวของจีดีพีปีนี้ที่คาดว่าจะโต 5.5%”นางวัชรีกล่าว
สำหรับเงินเฟ้อพื้นฐานประจำเดือนพ.ย.2555 อยู่ที่ 108.84 เพิ่มขึ้น 1.85% เมื่อเทียบกับเดือนพ.ย.2554 และเพิ่มขึ้น 0.05% เมื่อเทียบกับเดือนต.ค.ที่ผ่านมา ส่งผลให้เงินเฟ้อพื้นฐาน เฉลี่ย 11 เดือนของปีนี้เพิ่มขึ้น 2.13%
ทั้งนี้ เงินเฟ้อเพิ่มขึ้น 2.74% มาจากดัชนีราคาหมวดอาหารและเครื่องดื่มเพิ่มขึ้น 1.92% ได้แก่ หมวดข้าว แป้งและผลิตภัณฑ์จากแป้งสูงขึ้น 1.34% ปลาและสัตว์น้ำ 3.53% ผักและผลไม้ 3.21% เครื่องประกอบอาหาร 2.34% เครื่องดื่มไม่มีแอลกอฮอล์ 2.75% และอาหารสำเร็จรูป 3.50% ขณะที่ดัชนีหมวดอื่นๆ ไม่ใช่อาหารและเครื่องดื่มสูงขึ้น 3.27% ได้แก่ หมวดเคหสถานเพิ่มขึ้น 3.36% เครื่องนุ่งห่มและรองเท้า 0.99% ตรวจรักษาและบริการส่วนบุคคล 1.13% พาหนะ การขนส่ง และการสื่อสาร 4.19% ยาสูบและเครื่องดื่มมีแอลกอฮอล์ 7.64%หมวดการบันเทิงการอ่าน การศึกษาและการศาสนา 0.50%
ส่วนงินเฟ้อในปี 2556 กระทรวงพาณิชย์ตั้งเป้าหมายจะเพิ่มขึ้นในกรอบ 2.8-3.4% ภายใต้เงื่อนไขราคาน้ำมันตลาดดูไบเคลื่อนไหว 100-120 เหรียญหรัฐต่อบาร์เรล อัตราแลกเปลี่ยนที่ 28.5-32.5 เหรียญสหรัฐ และรัฐบาลยังคงมาตรการดูแลค่าครองชีพที่จำเป็นต่อไป ขณะที่แนวโน้มราคาสินค้า คาดว่าจะยังคงทรงตัวเหมือนในปีนี้ เพราะปัจจัยต่างๆ ใกล้เคียงกัน และยังมีการแข่งขันกันสูง แต่ก็ต้องจับตาผลกระทบจากปรับขึ้นค่าแรงวันละ 300 และการทยอยปรับขึ้นราคาก๊าซหุงต้ม ที่อาจจะมีผลกระทบต่อเงินเฟ้อบ้าง แต่จากการประเมินเบื้องต้น ไม่ส่งผลกระทบมาก
นางวัชรี วิมุกตายน ปลัดกระทรวงพาณิชย์ เปิดเผยว่า ดัชนีราคาผู้บริโภคทั่วไป (เงินเฟ้อ) ประจำเดือนพ.ย.2555 อยู่ที่ 116.41 เพิ่มขึ้น 2.74% เมื่อเทียบกับเดือนพ.ย.2554 แต่ลดลง 0.35% เมื่อเทียบกับเดือนต.ค.ที่ผ่านมา ส่งผลให้เงินเฟ้อทั่วไป เฉลี่ย 11 เดือนของปีนี้ (ม.ค.-พ.ย.) เพิ่มขึ้น 2.96% ต่ำกว่าเป้าหมายเงินเฟ้อที่กระทรวงตั้งไว้ 3.3-3.8% เนื่องจากราคาน้ำมันในตลาดโลกและในประเทศ รวมถึงราคาสินค้าอาหารสด และสินค้าอุปโภคบริโภคทั่วไปราคาถูกกว่าที่คาดการณ์เอาไว้
“เงินเฟ้อเดือนพ.ย. แม้จะเพิ่มขึ้น แต่ก็เพิ่มขึ้นในอัตราที่ลดลง และไม่ได้หมายความว่ากำลังซื้อของประชาชนลดลง โดยสาเหตุที่ทำให้เงินเฟ้อลดลง มาจากน้ำมันในตลาดโลกไม่ได้สูงขึ้น หลังเศรษฐกิจโลกชะลอตัว ราคาสินค้าในประเทศต่ำกว่าที่ประเมินไว้ และภาครัฐยังมีมาตรการดูแลราคาสินค้าที่จำเป็นอยู่ โดยคาดว่าเงินเฟ้อทั้งปี ไม่น่าจะเกิน 3%ต่ำกว่าเป้าที่ตั้งไว้ แต่ก็ถือว่าขยายตัวในระดับที่เหมาะสมกับการขยายตัวของจีดีพีปีนี้ที่คาดว่าจะโต 5.5%”นางวัชรีกล่าว
สำหรับเงินเฟ้อพื้นฐานประจำเดือนพ.ย.2555 อยู่ที่ 108.84 เพิ่มขึ้น 1.85% เมื่อเทียบกับเดือนพ.ย.2554 และเพิ่มขึ้น 0.05% เมื่อเทียบกับเดือนต.ค.ที่ผ่านมา ส่งผลให้เงินเฟ้อพื้นฐาน เฉลี่ย 11 เดือนของปีนี้เพิ่มขึ้น 2.13%
ทั้งนี้ เงินเฟ้อเพิ่มขึ้น 2.74% มาจากดัชนีราคาหมวดอาหารและเครื่องดื่มเพิ่มขึ้น 1.92% ได้แก่ หมวดข้าว แป้งและผลิตภัณฑ์จากแป้งสูงขึ้น 1.34% ปลาและสัตว์น้ำ 3.53% ผักและผลไม้ 3.21% เครื่องประกอบอาหาร 2.34% เครื่องดื่มไม่มีแอลกอฮอล์ 2.75% และอาหารสำเร็จรูป 3.50% ขณะที่ดัชนีหมวดอื่นๆ ไม่ใช่อาหารและเครื่องดื่มสูงขึ้น 3.27% ได้แก่ หมวดเคหสถานเพิ่มขึ้น 3.36% เครื่องนุ่งห่มและรองเท้า 0.99% ตรวจรักษาและบริการส่วนบุคคล 1.13% พาหนะ การขนส่ง และการสื่อสาร 4.19% ยาสูบและเครื่องดื่มมีแอลกอฮอล์ 7.64%หมวดการบันเทิงการอ่าน การศึกษาและการศาสนา 0.50%
ส่วนงินเฟ้อในปี 2556 กระทรวงพาณิชย์ตั้งเป้าหมายจะเพิ่มขึ้นในกรอบ 2.8-3.4% ภายใต้เงื่อนไขราคาน้ำมันตลาดดูไบเคลื่อนไหว 100-120 เหรียญหรัฐต่อบาร์เรล อัตราแลกเปลี่ยนที่ 28.5-32.5 เหรียญสหรัฐ และรัฐบาลยังคงมาตรการดูแลค่าครองชีพที่จำเป็นต่อไป ขณะที่แนวโน้มราคาสินค้า คาดว่าจะยังคงทรงตัวเหมือนในปีนี้ เพราะปัจจัยต่างๆ ใกล้เคียงกัน และยังมีการแข่งขันกันสูง แต่ก็ต้องจับตาผลกระทบจากปรับขึ้นค่าแรงวันละ 300 และการทยอยปรับขึ้นราคาก๊าซหุงต้ม ที่อาจจะมีผลกระทบต่อเงินเฟ้อบ้าง แต่จากการประเมินเบื้องต้น ไม่ส่งผลกระทบมาก