ถ้าท่านติดตามอ่านคอลัมน์นี้มาเป็นประจำก็คงจะได้อ่านเรื่องการเป็นหนี้เป็นทุกข์มาบ้างแล้ว เพราะเคยนำเรื่องการเป็นหนี้เป็นทุกข์ตามนัยแห่งคำสอนของพระพุทธเจ้ามาเขียนครั้งหรือสองครั้งแล้ว และตั้งใจว่าจะไม่นำเรื่องนี้มาเขียนอีก
แต่เมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมาได้อ่านข่าวเกี่ยวกับการทวงหนี้แบบสุดโหด จึงเห็นว่าน่าจะได้เขียนเรื่องการเป็นหนี้อีกครั้ง โดยเฉพาะอย่างยิ่งหนี้นอกระบบ
ทำไมคนจึงเป็นหนี้นอกระบบ ทั้งๆ ที่รู้ว่าต้องเสียดอกเบี้ยแพง และถ้าไม่จ่ายดอกเบี้ยตามกำหนด เจ้าหนี้ก็จะทวงหนี้แบบโหดเหี้ยม มีตั้งแต่คุกคาม ขู่เข็ญ ทำร้ายร่างกายจนบาดเจ็บ บางรายพิการและเสียชีวิตก็มี รวมไปถึงการยึดทรัพย์สินโดยพลการโดยไม่ผ่านกระบวนการยุติธรรมใดๆ
ก่อนที่จะตอบคำถามดังกล่าวข้างต้น ผู้เขียนใคร่ขอให้ท่านผู้อ่านย้อนไปดูการเป็นหนี้ และการทวงหนี้ในอดีตเมื่อ 2,500 กว่าปีมาแล้ว ซึ่งปรากฏอยู่ในคำสอนของพระพุทธศาสนา และมีที่มาในฉักกนิบาต อังคุตตรนิกาย พระไตรปิฎกเล่มที่ 22 หน้าที่ 392 ซึ่งมีเนื้อหาและสาระดังต่อไปนี้
“ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ความจนเป็นทุกข์ในโลกของผู้บริโภคกาม” และเมื่อภิกษุทั้งหลายกราบทูลว่าเป็นอย่างนั้นพระเจ้าข้า จึงได้ตรัสต่อไปว่า
“ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย คนจนไม่มีทรัพย์เป็นของตนเอง ไม่มั่งคั่ง ย่อมกู้หนี้ แม้การกู้หนี้ก็เป็นทุกข์ในโลกของผู้บริโภคกาม
คนจนกู้หนี้แล้ว ก็จะต้องเสียดอกเบี้ย แม้การเสียดอกเบี้ยก็เป็นทุกข์ในโลกของผู้บริโภคกาม
คนจนที่จะต้องเสียดอกเบี้ย ไม่ให้ดอกเบี้ยตามกำหนดก็จะถูกเขาทวง แม้การถูกทวงก็เป็นทุกข์ในโลกของผู้บริโภคกาม
คนจนถูกทวงไม่ให้เขา ก็ถูกตามตัว แม้การถูกตามตัวก็เป็นทุกข์ในโลกของผู้บริโภคกาม
คนจนถูกตามตัว ไม่ให้เขาก็ถูกจองจำ แม้การถูกจองจำก็เป็นทุกข์ในโลกของผู้บริโภคกาม
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ความจนก็ดี การกู้หนี้ก็ดี การเสียดอกเบี้ยก็ดี การถูกทวงก็ดี การถูกตามตัวก็ดี การถูกจองจำก็ดี เป็นทุกข์ในโลกของผู้บริโภคกามด้วยประการฉะนี้”
จากนัยแห่งคำสอนข้อนี้ จะเห็นได้ว่าพระพุทธองค์ได้ให้คำนิยามคำว่า คนจน ว่าหมายถึงคนที่ไม่มีทรัพย์เป็นของตัวเอง ไม่มีความมั่งคั่ง ส่วนคนจนที่เป็นทุกข์จากการก่อหนี้ ก็เฉพาะในหมู่ชนที่ยังต้องแสวงหากามคุณ 5 มาสนองความต้องการของตนเองแบบไม่รู้จักพอ หรือคนที่ยังวนเวียนอยู่ในโลกของผู้บริโภคกาม อันได้แก่โลกียชนหรือปุถุชนนั่นเอง จะไม่หมายรวมไปถึงพระอริยเจ้าซึ่งอยู่ในโลกุตตระหรือหลุดพ้นไปจากโลกของผู้บริโภคกามแล้ว และแสวงหาความสุขโดยไม่ต้องอาศัยอามิส คือ รูป เสียง กลิ่น รส และธรรมารมณ์แล้ว หรือพูดง่ายๆ ก็คือ ไม่ต้องกู้หนี้มาเพื่อหาซื้อสิ่งเหล่านี้แล้วนั่นเอง
อีกประการหนึ่ง การกู้หนี้และถูกทวงด้วยวิธีการโหดมีปรากฏในสังคมโลกตะวันตกในยุคโบราณเช่นกัน จะเห็นได้จากการทวงหนี้ในวรรณกรรมของเชกสเปียร์เรื่องพ่อค้าแห่งเวนิส (Merchant of Vanis)
ส่วนประเด็นที่ว่า ทำไมคนจนจึงต้องเป็นหนี้ เห็นได้ไม่ยากเพียงแต่ท่านผู้อ่านมองดูพฤติกรรมการใช้ชีวิตของคนในชนบทในยุคที่สังคมไทยถูกครอบงำด้วยวัตถุนิยม ทุกครัวเรือนไล่ล่าสิ่งของสนองจิตใจของคนที่ไม่รู้จักพอ เช่น รถมอเตอร์ไซค์ โทรศัพท์มือถือ เสื้อผ้าราคาแพงเพียงเพื่อให้เพื่อนฝูงมองว่าตนเองทันสมัย และจากการวิ่งไล่ล่าหาสิ่งต้องการมาสนองความอยากนี้เอง การเป็นหนี้ก็จะต้องเกิดขึ้นเมื่อรายได้ที่หามาได้ไม่เพียงพอที่จะหาซื้อสิ่งที่ว่านี้ ก็จะต้องเป็นหนี้กู้ยืมเงินมาซื้อหรือไม่ก็เป็นหนี้ซื้อสินค้าเงินผ่อน และเมื่อเป็นหนี้ก็เป็นที่แน่นอนว่าจะต้องแบกภาระในการจ่ายดอกเบี้ย และถ้าจ่ายไม่ทันกำหนดก็จะต้องถูกทวงแบบโหดเหี้ยม ทั้งยึดทรัพย์ และทำร้ายร่างกาย เป็นการคุกคามขู่เข็ญจากเจ้าหนี้
ยิ่งกว่านี้ สังคมไทยภายใต้นโยบายประชานิยมแบบสุดขั้ว ส่งเสริมให้คนจนเป็นหนี้เพิ่มขึ้นโดยการเปิดโอกาสให้กู้เพื่อซื้อรถ ซื้อบ้าน อันเป็นการให้คนจนที่ไม่รู้จักคำว่าพอเป็นหนี้เกินตัว และเป็นทุกข์ในที่สุด เมื่อไม่สามารถใช้คืนหนี้ตามกำหนด หรือไม่สามารถผ่อนสินค้าที่ซื้อมาด้วยการผ่อนชำระได้ สุดท้ายก็ยอมทิ้งให้ถูกยึด ส่วนการเป็นหนี้เงินสดก็ยอมให้เจ้าหนี้ยึดทรัพย์ ซึ่งส่วนใหญ่ก็เป็นที่อยู่ ที่ทำกิน และบางรายถึงกับฆ่าตัวตายไปก็มี
ทั้งหมดที่ยกมาคือการเป็นหนี้ และมูลเหตุแห่งการเป็นหนี้ที่คนจนในประเทศไทยกำลังเป็นอยู่
ส่วนประเด็นว่าจะแก้ไขอย่างไรไม่ให้คนไทยต้องเป็นทุกข์เพราะการเป็นหนี้ ในทางการปกครองและปรัชญาในการดำเนินชีวิตของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลปัจจุบัน พระองค์ได้พระราชทานแนวทางการดำเนินชีวิตโดยยึดหลักเศรษฐกิจพอเพียง ซึ่งเป็นหลักการที่แก้ความจนได้จริง จะเห็นได้จากเกษตรกรหลายรายที่ใช้หลักการนี้ประสบความสุขจากการดำเนินชีวิตแบบพอเพียง ไม่ต้องวิ่งไล่ล่าหาสิ่งสนองความต้องการแบบเป็นหนี้อีกต่อไป
อีกประการหนึ่ง ในฐานะที่เมืองไทยเป็นเมืองพุทธ ถ้าชาวไทยทั้งที่เป็นพุทธและไม่ใช่พุทธได้นำหลักการใช้ทรัพย์ 4 ประการมาใช้ ก็จะเป็นแนวทางหนึ่งที่ทำให้พ้นทุกข์จากการเป็นหนี้ได้ และแนวทางที่ว่านี้ก็คือ
โภควิภาค 4 คือการแบ่งรายได้ที่หามาได้ออกเป็น 4 ส่วน หรือเท่ากับส่วนละ 25% ดังนี้
1. เอเกน โภเค ภุญฺเชยฺย 1 ส่วนใช้เลี้ยงตน เลี้ยงคนที่ควรบำรุง อันได้แก่ คนในครอบครัว และทำประโยชน์ 2-3 ทฺวีหิ กมฺมํ ปโยชเย 2 ส่วน หรือ 50% ใช้ลงทุนประกอบการงาน 4. จตุตฺถญฺจ นิธาเปยฺย อีก 1 ส่วนเก็บไว้ใช้ในคราวจำเป็น
จากแนวทางใช้ทรัพย์ 4 ประการนี้ จะเห็นได้ว่าพระพุทธองค์ทรงเน้นการใช้จ่าย 75% ของรายได้ และให้เก็บออมไว้ 25% เพื่อใช้ในยามจำเป็น ซึ่งสอดคล้องกับการดำเนินชีวิตเป็นอย่างยิ่ง
ดังนั้น ถ้าทุกคนใช้แนวทางนี้ แน่นอนว่าจะหนีจากความจน และความทุกข์อันเกิดจากความจนได้แน่นอน
แต่เมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมาได้อ่านข่าวเกี่ยวกับการทวงหนี้แบบสุดโหด จึงเห็นว่าน่าจะได้เขียนเรื่องการเป็นหนี้อีกครั้ง โดยเฉพาะอย่างยิ่งหนี้นอกระบบ
ทำไมคนจึงเป็นหนี้นอกระบบ ทั้งๆ ที่รู้ว่าต้องเสียดอกเบี้ยแพง และถ้าไม่จ่ายดอกเบี้ยตามกำหนด เจ้าหนี้ก็จะทวงหนี้แบบโหดเหี้ยม มีตั้งแต่คุกคาม ขู่เข็ญ ทำร้ายร่างกายจนบาดเจ็บ บางรายพิการและเสียชีวิตก็มี รวมไปถึงการยึดทรัพย์สินโดยพลการโดยไม่ผ่านกระบวนการยุติธรรมใดๆ
ก่อนที่จะตอบคำถามดังกล่าวข้างต้น ผู้เขียนใคร่ขอให้ท่านผู้อ่านย้อนไปดูการเป็นหนี้ และการทวงหนี้ในอดีตเมื่อ 2,500 กว่าปีมาแล้ว ซึ่งปรากฏอยู่ในคำสอนของพระพุทธศาสนา และมีที่มาในฉักกนิบาต อังคุตตรนิกาย พระไตรปิฎกเล่มที่ 22 หน้าที่ 392 ซึ่งมีเนื้อหาและสาระดังต่อไปนี้
“ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ความจนเป็นทุกข์ในโลกของผู้บริโภคกาม” และเมื่อภิกษุทั้งหลายกราบทูลว่าเป็นอย่างนั้นพระเจ้าข้า จึงได้ตรัสต่อไปว่า
“ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย คนจนไม่มีทรัพย์เป็นของตนเอง ไม่มั่งคั่ง ย่อมกู้หนี้ แม้การกู้หนี้ก็เป็นทุกข์ในโลกของผู้บริโภคกาม
คนจนกู้หนี้แล้ว ก็จะต้องเสียดอกเบี้ย แม้การเสียดอกเบี้ยก็เป็นทุกข์ในโลกของผู้บริโภคกาม
คนจนที่จะต้องเสียดอกเบี้ย ไม่ให้ดอกเบี้ยตามกำหนดก็จะถูกเขาทวง แม้การถูกทวงก็เป็นทุกข์ในโลกของผู้บริโภคกาม
คนจนถูกทวงไม่ให้เขา ก็ถูกตามตัว แม้การถูกตามตัวก็เป็นทุกข์ในโลกของผู้บริโภคกาม
คนจนถูกตามตัว ไม่ให้เขาก็ถูกจองจำ แม้การถูกจองจำก็เป็นทุกข์ในโลกของผู้บริโภคกาม
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ความจนก็ดี การกู้หนี้ก็ดี การเสียดอกเบี้ยก็ดี การถูกทวงก็ดี การถูกตามตัวก็ดี การถูกจองจำก็ดี เป็นทุกข์ในโลกของผู้บริโภคกามด้วยประการฉะนี้”
จากนัยแห่งคำสอนข้อนี้ จะเห็นได้ว่าพระพุทธองค์ได้ให้คำนิยามคำว่า คนจน ว่าหมายถึงคนที่ไม่มีทรัพย์เป็นของตัวเอง ไม่มีความมั่งคั่ง ส่วนคนจนที่เป็นทุกข์จากการก่อหนี้ ก็เฉพาะในหมู่ชนที่ยังต้องแสวงหากามคุณ 5 มาสนองความต้องการของตนเองแบบไม่รู้จักพอ หรือคนที่ยังวนเวียนอยู่ในโลกของผู้บริโภคกาม อันได้แก่โลกียชนหรือปุถุชนนั่นเอง จะไม่หมายรวมไปถึงพระอริยเจ้าซึ่งอยู่ในโลกุตตระหรือหลุดพ้นไปจากโลกของผู้บริโภคกามแล้ว และแสวงหาความสุขโดยไม่ต้องอาศัยอามิส คือ รูป เสียง กลิ่น รส และธรรมารมณ์แล้ว หรือพูดง่ายๆ ก็คือ ไม่ต้องกู้หนี้มาเพื่อหาซื้อสิ่งเหล่านี้แล้วนั่นเอง
อีกประการหนึ่ง การกู้หนี้และถูกทวงด้วยวิธีการโหดมีปรากฏในสังคมโลกตะวันตกในยุคโบราณเช่นกัน จะเห็นได้จากการทวงหนี้ในวรรณกรรมของเชกสเปียร์เรื่องพ่อค้าแห่งเวนิส (Merchant of Vanis)
ส่วนประเด็นที่ว่า ทำไมคนจนจึงต้องเป็นหนี้ เห็นได้ไม่ยากเพียงแต่ท่านผู้อ่านมองดูพฤติกรรมการใช้ชีวิตของคนในชนบทในยุคที่สังคมไทยถูกครอบงำด้วยวัตถุนิยม ทุกครัวเรือนไล่ล่าสิ่งของสนองจิตใจของคนที่ไม่รู้จักพอ เช่น รถมอเตอร์ไซค์ โทรศัพท์มือถือ เสื้อผ้าราคาแพงเพียงเพื่อให้เพื่อนฝูงมองว่าตนเองทันสมัย และจากการวิ่งไล่ล่าหาสิ่งต้องการมาสนองความอยากนี้เอง การเป็นหนี้ก็จะต้องเกิดขึ้นเมื่อรายได้ที่หามาได้ไม่เพียงพอที่จะหาซื้อสิ่งที่ว่านี้ ก็จะต้องเป็นหนี้กู้ยืมเงินมาซื้อหรือไม่ก็เป็นหนี้ซื้อสินค้าเงินผ่อน และเมื่อเป็นหนี้ก็เป็นที่แน่นอนว่าจะต้องแบกภาระในการจ่ายดอกเบี้ย และถ้าจ่ายไม่ทันกำหนดก็จะต้องถูกทวงแบบโหดเหี้ยม ทั้งยึดทรัพย์ และทำร้ายร่างกาย เป็นการคุกคามขู่เข็ญจากเจ้าหนี้
ยิ่งกว่านี้ สังคมไทยภายใต้นโยบายประชานิยมแบบสุดขั้ว ส่งเสริมให้คนจนเป็นหนี้เพิ่มขึ้นโดยการเปิดโอกาสให้กู้เพื่อซื้อรถ ซื้อบ้าน อันเป็นการให้คนจนที่ไม่รู้จักคำว่าพอเป็นหนี้เกินตัว และเป็นทุกข์ในที่สุด เมื่อไม่สามารถใช้คืนหนี้ตามกำหนด หรือไม่สามารถผ่อนสินค้าที่ซื้อมาด้วยการผ่อนชำระได้ สุดท้ายก็ยอมทิ้งให้ถูกยึด ส่วนการเป็นหนี้เงินสดก็ยอมให้เจ้าหนี้ยึดทรัพย์ ซึ่งส่วนใหญ่ก็เป็นที่อยู่ ที่ทำกิน และบางรายถึงกับฆ่าตัวตายไปก็มี
ทั้งหมดที่ยกมาคือการเป็นหนี้ และมูลเหตุแห่งการเป็นหนี้ที่คนจนในประเทศไทยกำลังเป็นอยู่
ส่วนประเด็นว่าจะแก้ไขอย่างไรไม่ให้คนไทยต้องเป็นทุกข์เพราะการเป็นหนี้ ในทางการปกครองและปรัชญาในการดำเนินชีวิตของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลปัจจุบัน พระองค์ได้พระราชทานแนวทางการดำเนินชีวิตโดยยึดหลักเศรษฐกิจพอเพียง ซึ่งเป็นหลักการที่แก้ความจนได้จริง จะเห็นได้จากเกษตรกรหลายรายที่ใช้หลักการนี้ประสบความสุขจากการดำเนินชีวิตแบบพอเพียง ไม่ต้องวิ่งไล่ล่าหาสิ่งสนองความต้องการแบบเป็นหนี้อีกต่อไป
อีกประการหนึ่ง ในฐานะที่เมืองไทยเป็นเมืองพุทธ ถ้าชาวไทยทั้งที่เป็นพุทธและไม่ใช่พุทธได้นำหลักการใช้ทรัพย์ 4 ประการมาใช้ ก็จะเป็นแนวทางหนึ่งที่ทำให้พ้นทุกข์จากการเป็นหนี้ได้ และแนวทางที่ว่านี้ก็คือ
โภควิภาค 4 คือการแบ่งรายได้ที่หามาได้ออกเป็น 4 ส่วน หรือเท่ากับส่วนละ 25% ดังนี้
1. เอเกน โภเค ภุญฺเชยฺย 1 ส่วนใช้เลี้ยงตน เลี้ยงคนที่ควรบำรุง อันได้แก่ คนในครอบครัว และทำประโยชน์ 2-3 ทฺวีหิ กมฺมํ ปโยชเย 2 ส่วน หรือ 50% ใช้ลงทุนประกอบการงาน 4. จตุตฺถญฺจ นิธาเปยฺย อีก 1 ส่วนเก็บไว้ใช้ในคราวจำเป็น
จากแนวทางใช้ทรัพย์ 4 ประการนี้ จะเห็นได้ว่าพระพุทธองค์ทรงเน้นการใช้จ่าย 75% ของรายได้ และให้เก็บออมไว้ 25% เพื่อใช้ในยามจำเป็น ซึ่งสอดคล้องกับการดำเนินชีวิตเป็นอย่างยิ่ง
ดังนั้น ถ้าทุกคนใช้แนวทางนี้ แน่นอนว่าจะหนีจากความจน และความทุกข์อันเกิดจากความจนได้แน่นอน