การตายคือจุดจบ หรือจุดสุดท้ายของทุกชีวิตที่เริ่มต้นด้วยการเกิด ไม่ว่าจะเกิดจากไข่หรือเกิดจากครรภ์
อีกประการหนึ่ง การตายเป็นจุดหนึ่งที่แสดงถึงความเสมอภาคของทุกชีวิต ในทำนองเดียวกับการเกิดอันเป็นจุดเริ่มต้นของชีวิต กล่าวคือ เสมอภาคในแง่ที่ว่าเกิดมาโดยที่ไม่มีสมบัติอันใดติดตัวมา และตายไปโดยเอาสมบัติอันใดซึ่งตนเองได้ทำขึ้น และสะสมไว้ในระหว่างเกิดกับตายไปไม่ได้ ยกเว้นผลแห่งกรรมทั้งดีและชั่วที่ตนเองได้กระทำติดตัวไปเป็นปัจจัยเกื้อหนุน และตัดรอนแก่การเกิดในภาพต่อไป นี่คือคติความเชื่อเกี่ยวกับความตายในแง่ของคำสอนทางพระพุทธศาสนา
ถึงแม้ว่าทุกชีวิตที่เกิดมาสักวันหนึ่งจะต้องตาย ส่วนจะเร็วหรือช้าขึ้นอยู่กับผลของกรรม แต่ในความเป็นจริงที่ปรากฏให้เห็นทุกชีวิตรักตัวกลัวตาย จะเห็นได้จากการหนีเมื่อมีภัยมาถึงตน และเมื่อหนีไม่ทันหรือจวนตัวก็จะสู้เพื่อป้องกัน และรักษาชีวิตไว้ และด้วยเหตุที่สิ่งมีชีวิต โดยเฉพาะอย่างยิ่งคนและสัตว์ นี่เอง พระพุทธเจ้าจึงทรงห้ามฆ่าสัตว์ และถือว่าการกระทำเยี่ยงนี้เป็นบาป โดยบัญญัติองค์ประกอบแห่งการฆ่าสัตว์ รวมทั้งมนุษย์ด้วย ดังนี้
1. ปาโณ หมายถึงว่าในขณะที่ทำการฆ่าสัตว์นั้นยังมีลมหายใจเข้าออก หรือที่เรียกว่า ปาโณ ในภาษาบาลี และเรียกว่า ปราณ ในภาษาสันสกฤต
2. ปาณสัญญิตา ผู้ฆ่ารู้อยู่ว่าสิ่งที่ตนฆ่ายังมีชีวิตหรือมีลมหายใจเข้าออกอยู่
3. วธกัง จิตตัง มีจิตคิดจะฆ่า
4. อุปักกโม มีความพยายามจะฆ่า
5. เตน มรณัง สัตว์ตายด้วยความพยายามนั้น
ถ้าการฆ่าประกอบด้วยองค์ประกอบ 5 ประการนี้ จึงถือเป็นการฆ่าและเป็นบาปตามหลักศาสนาพุทธ
การตายอันเป็นวาระสุดท้ายของชีวิตโดยปกติทั่วๆ ไปจะมีอยู่ 3 ลักษณะ คือ
1. ตายเอง เมื่อถึงวัยอันควรแก่การตาย หรือที่พูดเป็นภาษาชาวบ้านว่า แก่ตาย หรือพูดเป็นทางการหน่อยก็บอกว่า ตายด้วยโรคชรา
2. ตายด้วยเหตุอื่นทำให้ตาย เช่น เกิดอุบัติเหตุตาย หรือเจ็บป่วยด้วยโรคร้าย และตายก่อนวัยอันควร และการที่คนอื่นหรือสิ่งอื่นมาทำให้ตาย เช่น คนฆ่า หรือสัตว์กัดตาย เป็นต้น ก็จัดอยู่ในประเภทถูกทำให้ตาย
3. ฆ่าตัวตายเอง หรือที่เรียกว่า อัตตวินิบาต ซึ่งมีเหตุหลากหลายมากมาย และจะได้พูดถึงต่อไปโดยละเอียด และการตายเช่นนี้ถือว่าเป็นบาป
อย่างไรก็ตาม เวลานี้สังคมไทยกำลังมีปัญหาการฆ่าตัวตายเพิ่มขึ้น จะเห็นได้ว่าเมื่อ 2 สัปดาห์ที่ผ่านมามีการฆ่าตัวตายหลายราย เริ่มด้วยนายอำเภอผูกคอตาย เศรษฐียิงตัวตายที่ลาดพร้าว นักศึกษาไปทำศัลยกรรมแล้วได้ผลไม่เป็นไปตามที่คาดหวังฆ่าตัวตาย และสุดท้ายเมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา แพทย์ รพ.ศิริราชกระโดดตึกตายด้วยวัยแค่ 29 ปี
ทำไมผู้คนในสังคมไทยมีแนวโน้มฆ่าตัวตายเพิ่มขึ้น ทั้งๆ ที่เมืองไทยเป็นเมืองพุทธ และคำสอนในพระพุทธศาสนาถือว่าการฆ่าตัวตายเป็นบาป
ดังได้บอกแล้วตอนต้นว่าโดยปกติทุกชีวิตรักตัวกลัวตาย ดังนั้น การที่มีใครสักคนอยากตายจึงถือได้ว่าคนคนนั้นไม่อยู่ในภาวะของปกติชนแน่นอน แต่มีปัญหาว่าอะไรทำให้เขาสูญเสียความเป็นปกติชน และไม่รักตัวแต่ยอมตายด้วยการทำลายตนเอง
เกี่ยวกับเรื่องนี้ ถ้านำเหตุที่ทำให้คนฆ่าตัวตายมารวบรวมและวิเคราะห์หาสาเหตุก็น่าจะอนุมานโดยสังเขปได้ดังนี้
1. ผิดหวังในชีวิต และหาทางออกไม่ได้ฆ่าตัวตายเพื่อหนีปัญหา เช่น หนุ่มสาวหรือแม้พ้นวัยแห่งความเป็นหนุ่มสาวแต่ยึดติดเรื่องความรัก ผิดหวังจากคนรักตีจากไปมีคนอื่นตามง้อขอคืนดี แต่เขาไม่ดีด้วยจึงฆ่าตัวตาย หรือในบางรายฆ่าคนรักแล้วฆ่าตัวตายตาม เป็นต้น
2. ถูกโรคร้ายเบียดเบียนรักษาไม่หาย ทนทุกข์ทรมานไม่ไหวฆ่าตัวตายเพื่อหนีความเจ็บป่วย เช่น คนที่ชอบเที่ยวสำส่อนและติดเอดส์จากหญิงหรือชายขายบริการ รักษาไม่หายจึงจบลงด้วยการฆ่าตัวตายชดใช้ความสำส่อนของตนเอง เป็นต้น
3. เป็นหนี้สิน และถูกเจ้าหนี้เร่งรัดขู่เข็ญบังคับจะจับไปทรมาน โดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้ที่เป็นหนี้นอกระบบหรือหนี้การพนันที่เจ้าหนี้เลี้ยงนักเลงไว้ทวงหนี้ เป็นต้น
การฆ่าตัวตายทั้ง 3 ประการดังกล่าวข้างต้นจะเห็นได้ว่าในปัจจุบันเกิดขึ้นบ่อยๆ และมีแนวโน้มจะมากขึ้นเรื่อยๆ ทั้งนี้ด้วยเหตุผลดังต่อไปนี้
1. ในปัจจุบันผู้คนในสังคมไทยตกอยู่ภายใต้ลัทธิบริโภคนิยม ใช้เงินเกินตัว และต้องเป็นลูกหนี้เงินนอกระบบที่มีอัตราดอกเบี้ยแพง และมีการทวงหนี้ด้วยมาตรการที่รุนแรง และบีบคั้นจนทำให้ลูกหนี้หลายรายต้องฆ่าตัวตาย
2. สังคมไทยในยุคปัจจุบันได้รับอิทธิพลจากวัฒนธรรมตะวันตกในเรื่องเสรีภาพทางเพศเพิ่มมากขึ้น จะเห็นได้จากที่เด็กวัยรุ่นใจแตกคบหาเพื่อนต่างเพศ ปล่อยตัวปล่อยใจจนมีบุตรก่อนวัยอันควรต้องทำแท้งเถื่อน และเมื่อพบกับความผิดหวังก็หันไปพึ่งเพื่อน พึ่งยาเสพติดทำให้ปัญหาหนักขึ้น เมื่อหาทางออกไม่พบก็ฆ่าตัวตาย
ส่วนแนวทางแก้ไขในเรื่องนี้ เท่าที่มองจากเหตุมาหาผลแล้วยากแก่การแก้ไขด้วยการนำเด็กเข้าวัดและสอนให้ทำดี เพราะจะต้องไม่ลืมว่าการที่เด็กมีพฤติกรรมเหลวแหลกในทางเพศก็แสดงให้เห็นชัดแล้วว่าหันหลังให้วัดและปฏิเสธความเชื่อในเรื่องกรรมอยู่ในที ดังนั้น ทางที่ดีแทนที่จะจับเด็กไปอบรมศีลธรรม ก็ควรอย่างยิ่งที่จะเริ่มต้นด้วยการนำพ่อแม่และผู้ปกครองเด็กมาร่วมกันหาแนวทางป้องกัน โดยมีครูและพระสงฆ์แนะแนวทางปกครองเด็กให้พ่อแม่รับรู้ และช่วยเป็นหูเป็นตาในการป้องปรามก่อนปัญหาเกิด ก็จะช่วยสกัดกั้นมิให้เด็กหรือแม้กระทั่งผู้ที่อายุแก่เกินที่จะเรียกว่าเด็ก แต่ยังมีความคิดแย่กว่าเด็ก มิให้เดินเข้าสู่ห้วงแห่งปัญหาไว้ล่วงหน้า ก็จะช่วยลดจำนวนการฆ่าตัวตายลงได้อย่างน้อยก็ระดับหนึ่ง แต่จะให้หมดไปคงจะยาก เพราะคนอยากตายคงหาโอกาสตายจนได้ เว้นแต่คิดได้เอง และเลิกคิดฆ่าตัวตายเองเท่านั้นจะเป็นการป้องกันได้ 100 เปอร์เซ็นต์
อีกประการหนึ่ง การตายเป็นจุดหนึ่งที่แสดงถึงความเสมอภาคของทุกชีวิต ในทำนองเดียวกับการเกิดอันเป็นจุดเริ่มต้นของชีวิต กล่าวคือ เสมอภาคในแง่ที่ว่าเกิดมาโดยที่ไม่มีสมบัติอันใดติดตัวมา และตายไปโดยเอาสมบัติอันใดซึ่งตนเองได้ทำขึ้น และสะสมไว้ในระหว่างเกิดกับตายไปไม่ได้ ยกเว้นผลแห่งกรรมทั้งดีและชั่วที่ตนเองได้กระทำติดตัวไปเป็นปัจจัยเกื้อหนุน และตัดรอนแก่การเกิดในภาพต่อไป นี่คือคติความเชื่อเกี่ยวกับความตายในแง่ของคำสอนทางพระพุทธศาสนา
ถึงแม้ว่าทุกชีวิตที่เกิดมาสักวันหนึ่งจะต้องตาย ส่วนจะเร็วหรือช้าขึ้นอยู่กับผลของกรรม แต่ในความเป็นจริงที่ปรากฏให้เห็นทุกชีวิตรักตัวกลัวตาย จะเห็นได้จากการหนีเมื่อมีภัยมาถึงตน และเมื่อหนีไม่ทันหรือจวนตัวก็จะสู้เพื่อป้องกัน และรักษาชีวิตไว้ และด้วยเหตุที่สิ่งมีชีวิต โดยเฉพาะอย่างยิ่งคนและสัตว์ นี่เอง พระพุทธเจ้าจึงทรงห้ามฆ่าสัตว์ และถือว่าการกระทำเยี่ยงนี้เป็นบาป โดยบัญญัติองค์ประกอบแห่งการฆ่าสัตว์ รวมทั้งมนุษย์ด้วย ดังนี้
1. ปาโณ หมายถึงว่าในขณะที่ทำการฆ่าสัตว์นั้นยังมีลมหายใจเข้าออก หรือที่เรียกว่า ปาโณ ในภาษาบาลี และเรียกว่า ปราณ ในภาษาสันสกฤต
2. ปาณสัญญิตา ผู้ฆ่ารู้อยู่ว่าสิ่งที่ตนฆ่ายังมีชีวิตหรือมีลมหายใจเข้าออกอยู่
3. วธกัง จิตตัง มีจิตคิดจะฆ่า
4. อุปักกโม มีความพยายามจะฆ่า
5. เตน มรณัง สัตว์ตายด้วยความพยายามนั้น
ถ้าการฆ่าประกอบด้วยองค์ประกอบ 5 ประการนี้ จึงถือเป็นการฆ่าและเป็นบาปตามหลักศาสนาพุทธ
การตายอันเป็นวาระสุดท้ายของชีวิตโดยปกติทั่วๆ ไปจะมีอยู่ 3 ลักษณะ คือ
1. ตายเอง เมื่อถึงวัยอันควรแก่การตาย หรือที่พูดเป็นภาษาชาวบ้านว่า แก่ตาย หรือพูดเป็นทางการหน่อยก็บอกว่า ตายด้วยโรคชรา
2. ตายด้วยเหตุอื่นทำให้ตาย เช่น เกิดอุบัติเหตุตาย หรือเจ็บป่วยด้วยโรคร้าย และตายก่อนวัยอันควร และการที่คนอื่นหรือสิ่งอื่นมาทำให้ตาย เช่น คนฆ่า หรือสัตว์กัดตาย เป็นต้น ก็จัดอยู่ในประเภทถูกทำให้ตาย
3. ฆ่าตัวตายเอง หรือที่เรียกว่า อัตตวินิบาต ซึ่งมีเหตุหลากหลายมากมาย และจะได้พูดถึงต่อไปโดยละเอียด และการตายเช่นนี้ถือว่าเป็นบาป
อย่างไรก็ตาม เวลานี้สังคมไทยกำลังมีปัญหาการฆ่าตัวตายเพิ่มขึ้น จะเห็นได้ว่าเมื่อ 2 สัปดาห์ที่ผ่านมามีการฆ่าตัวตายหลายราย เริ่มด้วยนายอำเภอผูกคอตาย เศรษฐียิงตัวตายที่ลาดพร้าว นักศึกษาไปทำศัลยกรรมแล้วได้ผลไม่เป็นไปตามที่คาดหวังฆ่าตัวตาย และสุดท้ายเมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา แพทย์ รพ.ศิริราชกระโดดตึกตายด้วยวัยแค่ 29 ปี
ทำไมผู้คนในสังคมไทยมีแนวโน้มฆ่าตัวตายเพิ่มขึ้น ทั้งๆ ที่เมืองไทยเป็นเมืองพุทธ และคำสอนในพระพุทธศาสนาถือว่าการฆ่าตัวตายเป็นบาป
ดังได้บอกแล้วตอนต้นว่าโดยปกติทุกชีวิตรักตัวกลัวตาย ดังนั้น การที่มีใครสักคนอยากตายจึงถือได้ว่าคนคนนั้นไม่อยู่ในภาวะของปกติชนแน่นอน แต่มีปัญหาว่าอะไรทำให้เขาสูญเสียความเป็นปกติชน และไม่รักตัวแต่ยอมตายด้วยการทำลายตนเอง
เกี่ยวกับเรื่องนี้ ถ้านำเหตุที่ทำให้คนฆ่าตัวตายมารวบรวมและวิเคราะห์หาสาเหตุก็น่าจะอนุมานโดยสังเขปได้ดังนี้
1. ผิดหวังในชีวิต และหาทางออกไม่ได้ฆ่าตัวตายเพื่อหนีปัญหา เช่น หนุ่มสาวหรือแม้พ้นวัยแห่งความเป็นหนุ่มสาวแต่ยึดติดเรื่องความรัก ผิดหวังจากคนรักตีจากไปมีคนอื่นตามง้อขอคืนดี แต่เขาไม่ดีด้วยจึงฆ่าตัวตาย หรือในบางรายฆ่าคนรักแล้วฆ่าตัวตายตาม เป็นต้น
2. ถูกโรคร้ายเบียดเบียนรักษาไม่หาย ทนทุกข์ทรมานไม่ไหวฆ่าตัวตายเพื่อหนีความเจ็บป่วย เช่น คนที่ชอบเที่ยวสำส่อนและติดเอดส์จากหญิงหรือชายขายบริการ รักษาไม่หายจึงจบลงด้วยการฆ่าตัวตายชดใช้ความสำส่อนของตนเอง เป็นต้น
3. เป็นหนี้สิน และถูกเจ้าหนี้เร่งรัดขู่เข็ญบังคับจะจับไปทรมาน โดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้ที่เป็นหนี้นอกระบบหรือหนี้การพนันที่เจ้าหนี้เลี้ยงนักเลงไว้ทวงหนี้ เป็นต้น
การฆ่าตัวตายทั้ง 3 ประการดังกล่าวข้างต้นจะเห็นได้ว่าในปัจจุบันเกิดขึ้นบ่อยๆ และมีแนวโน้มจะมากขึ้นเรื่อยๆ ทั้งนี้ด้วยเหตุผลดังต่อไปนี้
1. ในปัจจุบันผู้คนในสังคมไทยตกอยู่ภายใต้ลัทธิบริโภคนิยม ใช้เงินเกินตัว และต้องเป็นลูกหนี้เงินนอกระบบที่มีอัตราดอกเบี้ยแพง และมีการทวงหนี้ด้วยมาตรการที่รุนแรง และบีบคั้นจนทำให้ลูกหนี้หลายรายต้องฆ่าตัวตาย
2. สังคมไทยในยุคปัจจุบันได้รับอิทธิพลจากวัฒนธรรมตะวันตกในเรื่องเสรีภาพทางเพศเพิ่มมากขึ้น จะเห็นได้จากที่เด็กวัยรุ่นใจแตกคบหาเพื่อนต่างเพศ ปล่อยตัวปล่อยใจจนมีบุตรก่อนวัยอันควรต้องทำแท้งเถื่อน และเมื่อพบกับความผิดหวังก็หันไปพึ่งเพื่อน พึ่งยาเสพติดทำให้ปัญหาหนักขึ้น เมื่อหาทางออกไม่พบก็ฆ่าตัวตาย
ส่วนแนวทางแก้ไขในเรื่องนี้ เท่าที่มองจากเหตุมาหาผลแล้วยากแก่การแก้ไขด้วยการนำเด็กเข้าวัดและสอนให้ทำดี เพราะจะต้องไม่ลืมว่าการที่เด็กมีพฤติกรรมเหลวแหลกในทางเพศก็แสดงให้เห็นชัดแล้วว่าหันหลังให้วัดและปฏิเสธความเชื่อในเรื่องกรรมอยู่ในที ดังนั้น ทางที่ดีแทนที่จะจับเด็กไปอบรมศีลธรรม ก็ควรอย่างยิ่งที่จะเริ่มต้นด้วยการนำพ่อแม่และผู้ปกครองเด็กมาร่วมกันหาแนวทางป้องกัน โดยมีครูและพระสงฆ์แนะแนวทางปกครองเด็กให้พ่อแม่รับรู้ และช่วยเป็นหูเป็นตาในการป้องปรามก่อนปัญหาเกิด ก็จะช่วยสกัดกั้นมิให้เด็กหรือแม้กระทั่งผู้ที่อายุแก่เกินที่จะเรียกว่าเด็ก แต่ยังมีความคิดแย่กว่าเด็ก มิให้เดินเข้าสู่ห้วงแห่งปัญหาไว้ล่วงหน้า ก็จะช่วยลดจำนวนการฆ่าตัวตายลงได้อย่างน้อยก็ระดับหนึ่ง แต่จะให้หมดไปคงจะยาก เพราะคนอยากตายคงหาโอกาสตายจนได้ เว้นแต่คิดได้เอง และเลิกคิดฆ่าตัวตายเองเท่านั้นจะเป็นการป้องกันได้ 100 เปอร์เซ็นต์