ลงคลุกวงใน ครม.ที่ รมต.ส่วนใหญ่แสดงความกังวลต่อจำนวนเสียงที่จะมาลงประชามติ เช่น รมว.มหาดไทย ที่กล่าวแจ้งต่อ ครม.ว่า จากทะเบียนผู้มีสิทธิลงคะแนนทั่วประเทศอายุเกิน 18 ปี มีจำนวน 46 ล้านเสียง ซึ่งตัวเลขดังกล่าวเป็นตัวเลขอย่างเป็นทางการที่สำรวจเมื่อจะสิ้นสุดธันวาคมศกนี้ โดยจะมีผู้มีสิทธิอายุเกิน 18 ปี เพิ่มขึ้นอีก 7 แสนคน จะทำให้ผู้มีสิทธิจำนวน 46.7 ล้านคน ดังนั้น การลงประชามติที่จะต้องมีผู้มาใช้สิทธิเกินกึ่งหนึ่งหรือประมาณ 24 ล้านคน ถ้ามาใช้สิทธิไม่ถึง 24 ล้านเสียง ก็จะทำให้การประชามติตกไปทันที แต่ถ้ามาใช้สิทธิเกิน 24 ล้านเสียง ต้องตรวจสอบว่า มียอด ผู้ลงประชามติเห็นด้วยกับการแก้ไขรัฐธรรมนูญเกินครึ่งหนึ่ง หรือประมาณ 12 ล้านเสียง หรือไม่
ขณะที่แกนนำตัวกลั่นของคนเสื้อแดง รมช.พาณิชย์ กล่าวว่าหากยกตัวอย่างตัวเลขที่มีการพูดกันในขณะนี้ ที่ว่ามีผู้มีสิทธิออกเสียง 46 ล้านเสียง ต้องมีผู้มาออกเสียงไม่ต่ำกว่า 23 ล้านเสียง และใน 23 ล้านเสียงนี้ต้องมีผู้เห็นด้วยเกิน 11.5 ล้านเสียงจึงจะถือว่าประชามตินั้นชอบด้วยกฎหมาย
ผู้เขียนรู้สึกเศร้าใจกับละครการเมือง ที่นักการเมือง โดยเฉพาะฝ่ายรัฐบาลพยายามเล่นเกมการเมืองแก้รัฐธรรมนูญ โดยกล่าวอ้างความชอบธรรม ว่า รัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2550 เป็นของบุคคลคนเดียว คือ คณะปฏิวัติ (ถ้าเป็นคณะไม่ใช่คนเดียว) เป็นกฎหมายที่มิใช่ประชาธิปไตย เพราะมาจากคณะปฏิวัติ มิใช่มาจากประชาชน ขณะที่พรรคการเมืองฝ่ายค้าน ได้ทำหน้าที่แฉพฤติการณ์แห่งความจงใจว่า ฝ่ายรัฐบาลมีความโน้มเอียงที่จะแก้รัฐธรรมนูญทั้งฉบับ เพื่อใคร หรืออย่างไร ซึ่งจำเป็นจะต้องเกี่ยวข้องด้วยประชาชน แต่ถึงกระนั้นผู้เขียนยังตั้งสมมติฐานว่า รัฐบาลมีความมุ่งหมายที่จะใช้ประชามติ โดยใช้เสียงของประชาชนเป็นฐานซักฟอกเพื่อสร้างความชอบธรรมในการดำเนินการ สังเกตได้จากพฤติการณ์ที่กล่าวถึงการนับตัวเลขประชาชนผู้มีสิทธิลงประชามติจะต้องไม่ต่ำกว่ากึ่งหนึ่ง และพยายามสร้างกระแสให้ออกมารับรองประชามติในการแก้รัฐธรรมนูญ ซึ่งตัวหนังสือนี้ ที่ผู้เขียนไม่แน่ใจว่า จะสร้างความยุ่งยากลำบากใดๆ ให้กับภาคประชาชนผู้เสียภาษีให้กับประเทศเท่านักการเมือง
ผู้เขียนมองไม่เห็นว่า เหตุใดกฎหมายสูงสุด จึงมีวาระซ่อนเร้นในการเขียนเพื่อจะมุ่งหมาย หรือจงใจในตัวบทกฎหมายว่าต้องการทำลายล้าง หรือกลั่นแกล้งผู้ใดหรือว่าคณะบุคคล องค์กร เพราะสมมติฐานของการเขียนกฎหมาย คือ เพื่อความสงบสุขของสุจริตชน และผลแห่งการอยู่ร่วมกันอย่างมีกติกา โดยใช้ดูแลรักษา ปกป้อง คุ้มครองคนดีซึ่งเป็นคนส่วนใหญ่ทั้งประเทศ แต่ถึงกระนั้น หากจะมีการแก้กติกาแห่งกฎหมายกันอยู่บ้างบางมาตรา ผู้เขียนคิดเห็นว่า กฎหมายก็เกิดมาจากน้ำมือของมนุษย์ ย่อมมีความบกพร่องได้ ย่อมสามารถแก้ไขได้ แต่มองไม่เห็นเหตุปัจจัยแห่งการแก้กฎหมายสำคัญทั้งฉบับ เหมือนกล่าวอ้างว่าล้างบางไปเลย จะมีความจำเป็นหรือสำคัญมากน้อยเพียงใด
อนึ่งในมุมกลับกัน ผู้เขียนคิดเห็นว่า การตรากฎหมาย โดยเฉพาะผลพวงจากการเมืองไทย โดยเฉพาะนักการเมืองทุกฝ่าย ผู้พยายามครอบงำและตีขลุมใช้วิธีคิดแทนประชาชน โดยคิดจากบนลงล่าง ซึ่งเป็นปัญหามากสำหรับการปกครองประเทศนี้ และสิ่งสำคัญที่สุด คือรัฐพยายามใช้กฎหมายมาบังคับ และกำกับประชาชนที่เคลือบด้วยเจตนาอาจหวังผลให้ยกเว้นแต่พรรคพวกตนเอง จนลืมไปว่า ประชาชนคือพี่น้องร่วมประเทศชาติ ผู้ซึ่งบางคนไม่รู้กฎหมาย อ่านหนังสือไม่ได้ อาจไม่มีความสนใจในเรื่องเหล่านั้น แต่พวกเขามีวิถีชีวิตแบบประชาชน ผู้เพียงต้องการแค่ความเป็นอยู่อย่างสงบสุข ปรารถนาจะเห็นความตั้งใจอย่างสุจริต และความจริงใจของผู้นำและผู้บริหารประเทศชาติ รวมทั้งผู้เกี่ยวข้องสำหรับการบริหารประเทศอย่างโปร่งใส
หากตั้งใจจะนับเสียงประชาชนเพื่อหวังผลให้รับร่างประชามติที่รัฐบาล บอกว่า ยังไม่รู้จะแก้กฎหมายในลักษณะใด (ทั้งฉบับหรือบางส่วน) มาตราใด (เพื่อใครหรืออะไร) นับว่ายังมีวาระซ่อนเร้นแอบแฝงสำหรับการดำเนินการ ซึ่งผู้ไม่รู้จะออกหัวหรือก้อย แต่อย่างน้อยก็ทำให้ผู้เขียนคิดถึงคำสอนของพระอริยสงฆ์ แห่งสวนโมกขพลาราม ที่กล่าวถึงประชาธิปไตย ว่าประชาธิปไตย ที่ว่ามาจากเสียงส่วนใหญ่จะเป็นเสียงแห่งสวรรค์เสมอไป แต่นั่นอาจเป็นเสียงแห่งนรกก็ได้ ถ้าเป็นประชาธิปไตยไร้ศีลธรรม
ขณะที่แกนนำตัวกลั่นของคนเสื้อแดง รมช.พาณิชย์ กล่าวว่าหากยกตัวอย่างตัวเลขที่มีการพูดกันในขณะนี้ ที่ว่ามีผู้มีสิทธิออกเสียง 46 ล้านเสียง ต้องมีผู้มาออกเสียงไม่ต่ำกว่า 23 ล้านเสียง และใน 23 ล้านเสียงนี้ต้องมีผู้เห็นด้วยเกิน 11.5 ล้านเสียงจึงจะถือว่าประชามตินั้นชอบด้วยกฎหมาย
ผู้เขียนรู้สึกเศร้าใจกับละครการเมือง ที่นักการเมือง โดยเฉพาะฝ่ายรัฐบาลพยายามเล่นเกมการเมืองแก้รัฐธรรมนูญ โดยกล่าวอ้างความชอบธรรม ว่า รัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2550 เป็นของบุคคลคนเดียว คือ คณะปฏิวัติ (ถ้าเป็นคณะไม่ใช่คนเดียว) เป็นกฎหมายที่มิใช่ประชาธิปไตย เพราะมาจากคณะปฏิวัติ มิใช่มาจากประชาชน ขณะที่พรรคการเมืองฝ่ายค้าน ได้ทำหน้าที่แฉพฤติการณ์แห่งความจงใจว่า ฝ่ายรัฐบาลมีความโน้มเอียงที่จะแก้รัฐธรรมนูญทั้งฉบับ เพื่อใคร หรืออย่างไร ซึ่งจำเป็นจะต้องเกี่ยวข้องด้วยประชาชน แต่ถึงกระนั้นผู้เขียนยังตั้งสมมติฐานว่า รัฐบาลมีความมุ่งหมายที่จะใช้ประชามติ โดยใช้เสียงของประชาชนเป็นฐานซักฟอกเพื่อสร้างความชอบธรรมในการดำเนินการ สังเกตได้จากพฤติการณ์ที่กล่าวถึงการนับตัวเลขประชาชนผู้มีสิทธิลงประชามติจะต้องไม่ต่ำกว่ากึ่งหนึ่ง และพยายามสร้างกระแสให้ออกมารับรองประชามติในการแก้รัฐธรรมนูญ ซึ่งตัวหนังสือนี้ ที่ผู้เขียนไม่แน่ใจว่า จะสร้างความยุ่งยากลำบากใดๆ ให้กับภาคประชาชนผู้เสียภาษีให้กับประเทศเท่านักการเมือง
ผู้เขียนมองไม่เห็นว่า เหตุใดกฎหมายสูงสุด จึงมีวาระซ่อนเร้นในการเขียนเพื่อจะมุ่งหมาย หรือจงใจในตัวบทกฎหมายว่าต้องการทำลายล้าง หรือกลั่นแกล้งผู้ใดหรือว่าคณะบุคคล องค์กร เพราะสมมติฐานของการเขียนกฎหมาย คือ เพื่อความสงบสุขของสุจริตชน และผลแห่งการอยู่ร่วมกันอย่างมีกติกา โดยใช้ดูแลรักษา ปกป้อง คุ้มครองคนดีซึ่งเป็นคนส่วนใหญ่ทั้งประเทศ แต่ถึงกระนั้น หากจะมีการแก้กติกาแห่งกฎหมายกันอยู่บ้างบางมาตรา ผู้เขียนคิดเห็นว่า กฎหมายก็เกิดมาจากน้ำมือของมนุษย์ ย่อมมีความบกพร่องได้ ย่อมสามารถแก้ไขได้ แต่มองไม่เห็นเหตุปัจจัยแห่งการแก้กฎหมายสำคัญทั้งฉบับ เหมือนกล่าวอ้างว่าล้างบางไปเลย จะมีความจำเป็นหรือสำคัญมากน้อยเพียงใด
อนึ่งในมุมกลับกัน ผู้เขียนคิดเห็นว่า การตรากฎหมาย โดยเฉพาะผลพวงจากการเมืองไทย โดยเฉพาะนักการเมืองทุกฝ่าย ผู้พยายามครอบงำและตีขลุมใช้วิธีคิดแทนประชาชน โดยคิดจากบนลงล่าง ซึ่งเป็นปัญหามากสำหรับการปกครองประเทศนี้ และสิ่งสำคัญที่สุด คือรัฐพยายามใช้กฎหมายมาบังคับ และกำกับประชาชนที่เคลือบด้วยเจตนาอาจหวังผลให้ยกเว้นแต่พรรคพวกตนเอง จนลืมไปว่า ประชาชนคือพี่น้องร่วมประเทศชาติ ผู้ซึ่งบางคนไม่รู้กฎหมาย อ่านหนังสือไม่ได้ อาจไม่มีความสนใจในเรื่องเหล่านั้น แต่พวกเขามีวิถีชีวิตแบบประชาชน ผู้เพียงต้องการแค่ความเป็นอยู่อย่างสงบสุข ปรารถนาจะเห็นความตั้งใจอย่างสุจริต และความจริงใจของผู้นำและผู้บริหารประเทศชาติ รวมทั้งผู้เกี่ยวข้องสำหรับการบริหารประเทศอย่างโปร่งใส
หากตั้งใจจะนับเสียงประชาชนเพื่อหวังผลให้รับร่างประชามติที่รัฐบาล บอกว่า ยังไม่รู้จะแก้กฎหมายในลักษณะใด (ทั้งฉบับหรือบางส่วน) มาตราใด (เพื่อใครหรืออะไร) นับว่ายังมีวาระซ่อนเร้นแอบแฝงสำหรับการดำเนินการ ซึ่งผู้ไม่รู้จะออกหัวหรือก้อย แต่อย่างน้อยก็ทำให้ผู้เขียนคิดถึงคำสอนของพระอริยสงฆ์ แห่งสวนโมกขพลาราม ที่กล่าวถึงประชาธิปไตย ว่าประชาธิปไตย ที่ว่ามาจากเสียงส่วนใหญ่จะเป็นเสียงแห่งสวรรค์เสมอไป แต่นั่นอาจเป็นเสียงแห่งนรกก็ได้ ถ้าเป็นประชาธิปไตยไร้ศีลธรรม